1.29k likes | 2.16k Views
กฎหมายลักษณะครอบครัว. โดย อาจารย์พงศพล มหาวัจน์ หัวหน้าสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่. The Law IS ?. Reason is the spirit of law. เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว( 1 ). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แบ่งศึกษาได้ 4 ส่วนสำคัญได้แก่ การหมั้น การสมรส
E N D
กฎหมายลักษณะครอบครัว โดย อาจารย์พงศพล มหาวัจน์ หัวหน้าสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
The Law IS ? Reason is the spirit of law
เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(1)เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(1) • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 • แบ่งศึกษาได้ 4 ส่วนสำคัญได้แก่ • การหมั้น • การสมรส • บิดามารดา และบุตร • ค่าอุปการะเลี้ยงดู
เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(2)เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(2) • การหมั้น • การหมั้น (มาตรา 1435-1447/2)
เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(3)เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(3) • การสมรส • เงื่อนไขแห่งการสมรส (มาตรา 1448-1460) • ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภริยา (มาตรา 1461-1464/1) • ทรัพย์สินระหว่างสามีและภริยา (มาตรา1465-1493)
เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(4)เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(4) • ความเป็นโมฆะของการสมรส (มาตรา 1494-1500) • การสิ้นสุดแห่งการสมรส (มาตรา 1501-1535) =====
เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(5)เนื้อหาในกฎหมายครอบครัว(5) • บิดามารดากับบุตร • บิดา,มารดา (มาตรา 1536-1560) • สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร (มาตรา 1561-1584/1) • ความปกครอง (มาตรา 1585-1598/18) • บุตรบุญธรรม (มาตรา 1598/19-1598/41)
กฎหมายครอบครัวในอดีต-1กฎหมายครอบครัวในอดีต-1 • กฎหมายลักษณะผัวเมียในสมัยของกรุงสุโขทัย • สมัยกรุงสุโขทัย กฎหมายลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของอินเดีย • และได้รับอิทธิพลโดยอ้อมมาจากขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของชนชาติขอม และมอญ
กฎหมายครอบครัวในอดีต-2กฎหมายครอบครัวในอดีต-2 • ระบุอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ระหว่าง พ.ศ.1828-1835 • ความสัมพันธุ์เน้นหนักไปในทางบิดา มารดา และบุตร ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสมรส • ไม่มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีและภริยา • ทรัพย์มรดกตกทอดแก่บุตรเพียงผู้เดียว
กฎหมายครอบครัวในอดีต-3กฎหมายครอบครัวในอดีต-3 • แสดงให้เห็นว่าสตรีในยุคสมัยนั้นไม่มีบทบาทในครอบครัว หรือในสังคม • และยังแสดงให้เห็นว่าบิดาหรือบุรุษนั้นเป็นใหญ่ที่สุดในครอบครัว
กฎหมายครอบครัวในอดีต-4กฎหมายครอบครัวในอดีต-4 • กฎหมายลักษณะผัวเมียในสมัยของกรุงศรีอยุธยา • ยังคงเป็นเช่นเดียวกับสมัยของกรุงสุโขทัย • แต่มีการขยายตัวของชุมชนมากขึ้นจึงได้ตรากฎหมายเกี่ยวกับครอบครัวมาใช้บังคับ • นำคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของอินเดีย ผ่านทางมอญมาเป็นแม่แบบกฎหมายลักษณะครอบครัว
กฎหมายครอบครัวในอดีต-5กฎหมายครอบครัวในอดีต-5 • กฎหมายครอบครัวในสมัยดังกล่าว เช่น • พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการผิดเมีย พ.ศ.1904 • พระราชบัญญัติเพิ่มเติมว่าด้วยการแบ่งปันสินบริคณห์ระหว่างผัวเมีย พ.ศ.1905 • กฎหมายลักษณะมูลคดีวิวาท
กฎหมายครอบครัวในอดีต-6กฎหมายครอบครัวในอดีต-6 • กฎหมายลักษณะลักพา • และกฎหมายลักษณะผัวเมีย • กฎหมายดังกล่าวมีอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์และฮินดูแทรกอยู่ทั่วไป เช่น การที่ยอมให้ชายมีภริยาได้หลายคน เป็นต้น
กฎหมายครอบครัวในอดีต-7กฎหมายครอบครัวในอดีต-7 • กฎหมายลักษณะผัวเมียในสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น • ยังคงใช้กฎหมายเก่าของกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่ง พ.ศ.2347 • ได้เกิดคดีอำแดงป้อม กับนายบุญศรีขึ้น
กฎหมายครอบครัวในอดีต-8กฎหมายครอบครัวในอดีต-8 • พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ชำระกฎหมายใหม่ให้ถูกต้อง • พร้อมกับจัดเป็นหมวดหมู่และให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกสามฉบับเก็บไว้ 3 ที่ ได้แก่ หอหลวง,ห้องเครื่อง,ศาลหลวง • และปิดตราพระราชสีห์,พระคชสีห์,บัวแก้ว • เหล่านี้เรียกว่ากฎหมายตราสามดวง
กฎหมายครอบครัวในอดีต-9กฎหมายครอบครัวในอดีต-9 • กฎหมายลักษณะผัวเมียที่น่าสนใจ • กฎหมายอนุญาตให้ชายมีภริยาได้หลายคนในขณะเดียวกัน • หญิงที่อายุยังไม่ครบ 20 ปี ยังอยู่ในอิสระของบิดามารดา จะเลือกคู่ครองด้วยตัวเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาไม่ได้
กฎหมายครอบครัวในอดีต-10กฎหมายครอบครัวในอดีต-10 • การสมรสทำได้โดยการแสดงออกโดยพิธีแต่งงานตามประเพณี โดยไม่ต้องจดทะเบียน • สามีสละภริยาไปบวช หรือภริยาสละสามีไปบวช ถือว่าขาดจากการสมรส • เมื่อภริยาทำผิดให้สามีมีสิทธิโบยได้ตามสมควรในฐานปราบปราม แต่จะทำร้ายร่างกายเกินสมควรไม่ได้
กฎหมายครอบครัวในอดีต-11กฎหมายครอบครัวในอดีต-11 • เมื่อหย่าขาดจากกันให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วน ชายได้ 2 ส่วน และหญิงได้ 1 ส่วน สำหรับบุตรนั้นถ้าตกลงกันไม่ได้ หากเป็นบุตรชายให้อยู่กับมารดา และบุตรสาวอยู่กับบิดา เว้นแต่ สามีมีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป ให้สามีมีอำนาจเลือกบุตรได้ • บุตร,หลานจะฟ้องบิดามารดา หรือปู่ย่าตายายอันเป็นบรรพบุรุษของตนเอง เป็นจำเลยไม่ได้
กฎหมายครอบครัวในอดีต-12กฎหมายครอบครัวในอดีต-12 • ถ้าภริยาหนีสามีมาอยู่บิดามารดา หรือพี่น้อง หรือบุคคลใด หากสามีถามหาบุคคลนั้นอำพราง ซุกซ่อน หรือเสือกไสไปด้วยประการใดๆ ให้ปรับไหมเป็นข้อละเมิด
กฎหมายครอบครัวในอดีต-13กฎหมายครอบครัวในอดีต-13 • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5เดิม • ใน พ.ศ.2451มีการตรวจชำระกฎหมายและยกร่างประมวลกฎหมายแพ่งฯขึ้น โดยชาวฝรั่งเศส • ได้เทียบเคียงกฎหมายต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สวิส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น อเมริกา • ประกาศใช้ในวันที่ 1ตุลาคม พ.ศ.2478
กฎหมายครอบครัวในอดีต-14กฎหมายครอบครัวในอดีต-14 • ประมลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใหม่ • ภายหลัง 14 ตุลาคม พ.ศ.2516ได้มีการเรียกร้องประชาธิปไตยเกิดขึ้น • จึงเกิดรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 ขึ้น • ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 28บัญญัติให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
กฎหมายครอบครัวในอดีต-15กฎหมายครอบครัวในอดีต-15 • จึงต้องมีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใน พ.ศ. 2519 (รวม 41 มาตรา) • เริ่มบังคับใช้ เมื่อวันที่ 16ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา • สิ่งที่ได้รับการแก้ไข เช่น • อำนาจในการทำนิติกรรมของหญิงมีสามี • หัวหน้าคู่ครอง
กฎหมายครอบครัวในอดีต-16กฎหมายครอบครัวในอดีต-16 • อำนาจการปกครองบุตรผู้เยาว์ • ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ฯลฯ =======
กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-1กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-1 • มีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใน พ.ศ. 2533โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 10พ.ศ. 2533 ใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2533 • ได้แก้ไขเพิ่มเติมทั้งสิ้น 77 มาตรา • เช่น การหมั้น
กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-2กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-2 • การจัดการสินสมรส ต้องจัดการร่วมกัน • การสมรสซ้อน • เพิ่มเติมเหตุฟ้องหย่า • ลดอายุผู้รับบุตรบุญธรรมเหลือเพียง 25ปี ฯลฯ เป็นต้น
กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-3กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-3 • ได้มีการแก้ไขกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในปี 2550-2551 โดย • พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 16 และ 19) (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2551) • แก้ไข เรื่อง ? ดู พรบ. ฉ. 16,19 ประกอบ
กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-4กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-4 • วันบังคับใช้กฎหมาย คือ ? • สาเหตุแห่งการแก้ไข คือ ? • กฎหมายลักษณะครอบครัวที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ?
กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-5กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-5 • มีข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายลักษณะครอบครัว คือ • กฎหมายครอบครัวลักษณะดังกล่าวไม่ใช้บังคับใน 4จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ • ยะลา • นราธิวาส • ปัตตานี
กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-6กฎหมายครอบครัวในปัจจุบัน-6 • สตูล • 4 จังหวัดดังกล่าวใช้กฎหมายอิสลามเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก • ======
ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัว • คดีครอบครัวโดยทั่วไปต้องพิจารณาโดยศาลเยาวชนและครอบครัว • ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 11(3) บัญญัติไว้ดังนี้
ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัว • “คดีแพ่งที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใดๆ ในทางศาลหรือเกี่ยวกับผู้เยาว์ หรือครอบครัว แล้วแต่กรณีซึงต้องบังคับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” • รวมถึงคดีที่เกี่ยวด้วยการสมรส สิทธิ และหน้าที่ หรือความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาบิดามารดา และบุตร หรือส่วนได้เสียของผู้เยาว์
ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัว • รวมทั้งคดีที่เกี่ยวด้วยสถานะและความสามารถของบุคคลอันเกี่ยวกับครอบครัว • คดีครอบครัวนั้นแตกต่างคดีสิทธิในครอบครัว และมีผลในการอุทธรณ์คดี • ซึ่งปรากฎในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224ว.2 และมาตรา 248ว.2
ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัว • นอกเหนือจะพิจารณาเขตอำนาจของศาลจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลฯ และวิธีพิจารณาฯ พ.ศ.2534 • ยังต้องพิจารณาจากคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกา อีกด้วย
การหมั้น • หมายถึง การที่ชายและหญิงทำสัญญาว่าจะสมรสอยู่กิน ด้วยกันฉันสามีภริยา • เงื่อนไขการหมั้น • ชายและหญิงที่หมั้นกันต้องมีอายุ 17 ปี บริบูรณ์ ม.1435 • หากเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดา,มารดา ม.1436
การหมั้น • ข้อสังเกต • หากฝ่าฝืน ม.1435 มีผล? • หากฝ่าฝืน ม.1436 มีผล?
การหมั้น=ของหมั้น • ถือเป็นแบบของสัญญาหมั้น • ต้องมีของหมั้นมามอบแก่หญิง • ข้อสังเกต • ฝ่าฝืน ผลเป็นอย่างไร? • สัญญาหมั้นทำด้วยวาจา หรือลายลักษณ์อักษร ก็ได้
การหมั้นฎีกาศึกษา กรณี แบบของสัญญาหมั้น • ฎีกา 676/2487=การหมั้นต้องมีสิ่งของนำไปให้ฝ่าย หญิง เป็นประเพณีมาแต่โบราณ หากชายไปสู่ขอหญิงเฉยๆ หาเรียกว่าชายนั้นหมั้นหญิงไม่ ฉะนั้นการตกลงจะทำการสมรสกันโดยไม่มีของหมั้น เมื่อมีการผิดสัญญาขึ้นจึงจะเรียกค่าทดแทนจากกันไม่ได้ • ฎีกา 1217/2496= ชายสู่ขอหญิง ได้ตกลงกันและมีการเหยียบเรือนโดยชายมีหมากพลูกับผ้าขาวไปเป็นของหมั้นตามประเพณีท้องถิ่น เป็นการหมั้นอันสมบูรณ์ตามกฎหมาย ฉะนั้นเมื่อชายผิดสัญญาหมั้นชายก็ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย(ค่าทดแทน)
การหมั้นฎีกาศึกษา กรณี แบบของสัญญาหมั้น • ฎีกา525/2509= การหมั้นจะเรียกว่าหมั้นต่อเมื่อฝ่ายชายนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิงอันเป็นเรื่องที่เข้าใจกันตามธรรมดาประเพณี เมื่อมีการหมั้นแล้วถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน โดยที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษเช่นนี้ เมื่อฝ่ายชายเพียงแต่ตกลงว่าจะสมรส โดยไม่มีการหมั้นจึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรอง หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้จะเรียกค่าทดแทนหาได้ไม่
การหมั้น=ของหมั้น • จึงพอสรุปได้ว่า ของหมั้นเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้มอบ หรือโอนให้แก่ หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น • ของหมั้นนั้นจะเป็นทรัพย์สินใดก็ได้ • ของหมั้นตามกฎหมายมีได้เฉพาะ ฝ่ายชาย ให้แก่ หญิงเท่านั้น หากเป็นกรณีที่ หญิงให้ของหมั้นแก่ ชายคู่หมั้น ทรัพย์สินดังกล่าวไม่เป็นของหมั้น
การหมั้น=ของหมั้น • ทรัพย์สินที่ชายได้ทำการหมั้นนั้น ต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของชาย หรือเป็นทรัพย์สินที่เจ้าของยินยอมให้ชายนำมาเป็นของหมั้น • ทรัพย์สินอื่นๆ ที่ชายยกให้แก่หญิงคู่หมั้นในฐานะอื่นไม่ใช่ในฐานะของหมั้น กรรมสิทธิ์ตกไปอยู่กับหญิงคู่หมั้นทันที แม้หญิงผิดสัญญาหมั้นก็เรียกคืนไม่ได้ • การให้ของหมั้นต้องให้ด้วยเจตนาที่จะสมรสกันต่อไปตามกฎหมาย
การหมั้น=ของหมั้น ฎีกาศึกษา กรณี เจตนา • ฎีกาที่ 3557/2524= ข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าชายหญิงเพียงแต่ประกอบการสมรส หาได้มีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนสมรสเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่ การประกอบพิธีสมรสดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุผลดังกล่าว เงิน แหวนเพชร และทองคำ ที่ฝ่ายชายได้อ้างว่ามอบให้แก่ฝ่ายหญิงจึงหาได้ให้ในฐานะเป็นสินสอด หรือของหมั้นตามความหมายแห่ง ปพพ ม.1437 ไม่ ฝ่ายชายจึงไม่มีสิทธิเรียกคืน
การหมั้น=ของหมั้น • ลักษณะที่สำคัญของ ของหมั้น 4 ประการ • ต้องเป็นทรัพย์สิน • ต้องเป็นของที่ฝ่ายชายให้แก่ หญิง แต่ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของชายก็ได้ • ต้องให้ไว้ในเวลาการทำสัญญา และหญิงต้องรับไว้แล้ว • ต้องเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น และต้องให้ไว้ก่อนการสมรส ถ้าให้ไว้ภายหลังการสมรสแล้วทรัพย์สินนั้นไม่ถือว่าเป็นของหมั้น
การหมั้น=คู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามสัญญาหมั้นการหมั้น=คู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามสัญญาหมั้น • พิจารณาจาก มาตรา 1437,1439 • สามารถจำแนกบุคคลที่เป็นคู่สัญญาหมั้นได้ดังนี้ • ชาย และ หญิงคู่หมั้น • บิดา มารดา ของชาย,หญิงคู่หมั้น • บุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่น บิดา,มารดา ของชาย หญิงคู่หมั้น
การหมั้น= สินสอด • คือ ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้มอบแก่ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเป็นค่าตอบแทนที่ได้เลี้ยงดูหญิงมาจนเติบใหญ่จนกระทั่งได้มาสมรสกับชาย • ลักษณะของสินสอดมี 3 ประการ • ต้องเป็นทรัพย์สิน • ต้องเป็นของที่ฝ่ายชายได้มอบให้แก่บิดา,มารดาฯ ของหญิง • เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสด้วย
การหมั้น= สินสอด • การตกลงจะให้สินสอดนั้นจะต้องตกลงให้กันก่อนการสมรส • แต่ทรัพย์สินที่เป็นสินสอดนั้นจะมอบให้แก่ฝ่ายหญิงก่อน หรือหลัง การสมรสก็ได้ • ไม่จำต้องมอบสินสอดในขณะทำการหมั้นก็ได้ • การให้สินสอดไม่มีแบบ ดังนั้นเพียงตกลงกันด้วยวาจาก็ถือได้ว่าสมบูรณ์แล้ว (ฎ.878/2518)
การหมั้น= สินสอด • สินสอดไม่ใช่สาระสำคัญของการหมั้น หรือการสมรส(ฎ.878/2518) • แม้หญิงบรรลุนิติภาวะแล้วก็อาจจะให้สินสอดกันได้ (ฎ.771/2509) • สินสอดที่ฝ่ายชายได้มอบแก่ฝ่ายหญิง กรรมสิทธิ์ตกไปยังผู้รับตั้งแต่เวลาที่ส่งมอบไปแล้ว
การหมั้น= สินสอด • แต่ฝ่ายชายก็สามารถเรียกสินสอดคืนได้ ดังนี้ • ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง(ม.1442,1444,1445ฯ) • ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายนั้นไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงได้
การหมั้น=วิธีการคืนของหมั้น หรือสินสอด • พิจารณาจาก มาตรา 1437วรรคท้าย • โดยนำมาตรา 412-418 มาใช้บังคับโดยอนุโลม • ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นหรือสินสอดเป็นทรัพย์สินอะไร ? • หากทรัพย์สินเป็นเงินตรา ฝ่ายหญิงมีหน้าที่ต้องคืนแก่ฝ่ายชายเพียงส่วนที่มีอยู่ขณะเรียกคืนเท่านั้น • หากทรัพย์สินเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินตรา ฝ่ายหญิงมีหน้าที่ต้องคืนแก่ฝ่ายชายในสภาพที่เป็นอยู่ขณะเรียกคืน
การหมั้น= การเรียกค่าทดแทน • การเรียกค่าทดแทน ม.1440 • ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียง • ค่าทดแทนความเสียหายในการเตรียมการสมรส • ค่าทดแทนความเสียหายในการจัดการทรัพย์สินหรืออาชีพการงานด้วยการคาดหมายว่าจะมีการสมรส