1 / 69

การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา

การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา. HOW TO WRITE EPIDEMIOLOGIC INVESTIGATION REPORT. Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. กระชับ. 1. CONCISE. ชัดเจน. น่าสนใจ. 6. INTERESTING. 2. CLEAR. GOLDEN Rule. Bureau of Epidemiology

Download Presentation

การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยาการเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา HOW TO WRITE EPIDEMIOLOGIC INVESTIGATION REPORT Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

  2. กระชับ 1. CONCISE ชัดเจน น่าสนใจ 6. INTERESTING 2. CLEAR GOLDEN Rule Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 5. PRESENTABLE 3. ACCEPTABLE 4. READABLE นำเสนอได้ชัดเจน เป็นที่ยอมรับ อ่านได้ง่าย GOLDEN RULE OF REPORT WRITING

  3. ขอบเขตเนื้อหา Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 1. วัตถุประสงค์การเขียนรายงาน 2. ประเภทของรายงาน 3. วิธีการเขียนรายงาน 4. ประโยชน์ของการเขียนรายงาน

  4. วัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานสอบสวนโรควัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานสอบสวนโรค WHY? Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 1. เพื่อรายงานผลการสอบสวนทางระบาดวิทยา 2. เพื่อเสนอข้อคิดเห็นแก่ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง 4. เพื่อบันทึกเหตุการณ์ระบาดของโรคหรือปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้น 3. เพื่อเป็นองค์ความรู้และแนวทางในการสอบสวนโรคในครั้งต่อไป

  5. ประเภทของรายงานการสอบสวนประเภทของรายงานการสอบสวน Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 1. รายงานการสอบสวนเสนอผู้บริหาร 1.1 รายงานการสอบสวนเบื้องต้น (Preliminary Report) 1.2 รายงานการสอบสวนสรุปเสนอผู้บริหาร (Final Report) 2. รายงานการสอบสวนฉบับสมบูรณ์ (Full Report) 3. รายงานบทความวิชาการ (Scientific Article)

  6. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น • (Preliminary Report) Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

  7. หลักการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้นหลักการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค หลักการเขียนเดียวกัน แต่รายงานการ สอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย ให้ระบุรายละเอียดข้อมูลผู้ป่วยแต่ละราย - รายงานการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย - รายงานการสอบสวนการระบาด

  8. องค์ประกอบของรายงานการสอบสวนเบื้องต้นองค์ประกอบของรายงานการสอบสวนเบื้องต้น ความเป็นมา ผลการสอบสวนโรค Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลัก แนวโน้มของการระบาด ความยาว 1-2 หน้ากระดาษ A4 กิจกรรมควบคุมโรคที่ทำไปแล้ว สรุปความสำคัญ และเร่งด่วน ข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ

  9. บทนำหรือ ความเป็นมา Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค บอกให้ทราบถึงเหตุการณ์ ผิดปกติที่นำไปสู่การ สอบสวนการระบาด วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น เกิดอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ แหล่งข่าวใด ผู้ให้ข่าวเป็นใคร ข้อมูลเบื้องต้นของ Index case ขนาดของปัญหาที่ได้รับแจ้ง เริ่มสอบสวนและเสร็จสิ้นเมื่อไร วัตถุประสงค์ในการสอบสวนโรค

  10. ผลการศึกษา • สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจำนวนผู้ป่วย เสียชีวิต • ผู้ป่วยเป็นใคร หรือเป็นกลุ่มเสี่ยงใด • แหล่งรังโรคและวิธีถ่ายทอดโรค • สาเหตุของการระบาด • ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการระบาด • ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ศึกษาสิ่งแวดล้อม Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น

  11. กิจกรรมควบคุมโรคที่ดำเนินการแล้วกิจกรรมควบคุมโรคที่ดำเนินการแล้ว • ระบุกิจกรรมควบคุมโรคที่ดำเนินการแล้ว • ระบุหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการควบคุมโรค • รายงานผลการควบคุมโรคในเบื้องต้น Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น

  12. แนวโน้มของการระบาด • จำนวนผู้ป่วยยืนยัน ผู้ป่วยสงสัยที่พบ • พบสาเหตุหรือแหล่งรังโรคหรือไม่ • มาตรการควบคุมโรคมีประสิทธิภาพหรือไม่ • อยู่ในฤดูการระบาดของโรคหรือไม่ Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พยากรณ์แนวโน้มการระบาด โดยประมวลจาก วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น

  13. สรุปความสำคัญทางสาธารณสุข และความเร่งด่วน • สรุปขนาดของปัญหา และผลกระทบต่อประชาชน • เป็นการระบาดหรือเป็นโรคอุบัติใหม่หรือไม่ • ต้องการความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ • ระดับของผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น

  14. ข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ • มาตรการควบคุมโรคเดิมที่ต้องดำเนินการต่อ • ระบุมาตรการใหม่ที่ต้องดำเนินการเพิ่ม • ระบุหน่วยงานที่ต้องประสานงานดำเนินการ • ให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังโรคต่อเนื่อง Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น

  15. ตัวอย่างรายงานการสอบสวนเบื้องต้นตัวอย่างรายงานการสอบสวนเบื้องต้น

  16. ตัวอย่าง รายงานการสอบสวนโรคอุจาระร่วงอย่างแรง เสนอผู้บริหารสาธารณสุข เรื่อง การสอบสวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง เรียน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนาแบบสอบสวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2544 งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุขสมบูรณ์ ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ห้องชันสูตรโรงพยาบาลจังหวัดสุขสมบูรณ์ว่า ผลการตรวจอุจจาระของ ดญ.จุ๊บ ทองอ่อน อายุ 14 ปี พบเชื้อ V. Cholerae 01. Inaba โดยผู้ป่วยมารับการรักษาที่โรงพยาบาลวันที่ 11 สิงหาคม 2544 เวลา 9.35 น. ด้วยอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำหลายครั้ง ทีมสอบสวนและควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุขสมบูรณ์ ร่วมกับทีมสอบสวนและควบคุมโรค คปสอ. เมือง และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยชอนไพร ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคในพื้นที่ ระหว่างวันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรค แหล่งรังโรค และควบคุมป้องกันการระบาดของโรค

  17. ผลการสอบสวนโรค พบว่าผู้ป่วย ดญ.จุ๊บ ทองอ่อน อายุ 14 ปี เป็นนักเรียนโรงเรียนมัธยมในตำบลชอนไพร อยู่บ้านเลขที่ 18 ม. 1 ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัดสุขสมบูรณ์ มีประวัติเริ่มป่วยวันที่ 9 สิงหาคม 2544 เวลา 23.00 น. มารับการรักษาที่โรงพยาบาลวันที่ 11 สิงหาคม 2544 เวลา 9.35 น. ด้วยอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำหลายครั้ง ไม่มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน 2-3 ครั้ง อ่อนเพลีย ไม่ปวดท้อง ไม่ได้นอนโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Acute diarrhea จ่ายยา Norfloxacin และน้ำเกลือแร่ แล้วให้กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้าน สภาพบ้านผู้ป่วยมีลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียวตั้งอยู่กลางทุ่งนา อยู่ห่างเพื่อนบ้านไปเกือบครึ่งกิโลเมตร หลังคามุงแฝก สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้านสะอาด ส้วมที่บ้านเป็นส้วมซึมซึ่งอยู่คนละด้านกับบ่อน้ำน้ำดื่มน้ำใช้มาจากบ่อ แต่ต้มน้ำดื่ม ดญ.จุ๊บอาศัยอยู่กับพี่สาวอีก 1 คน ซึ่งมีอายุ 16 ปี และมีอาการถ่ายเหลว หลายครั้ง ภายหลังจาก ดญ.จุ๊บ ป่วยได้ 1 วัน แต่ไม่ได้ไปรักษาที่โรงพยาบาล ทั้งสองคนจะทำอาหารด้วยกันและรับประทานขณะร้อนๆในมื้อเย็น ส่วนมื้อเที่ยงซื้ออาหารกินที่โรงเรียน และดื่มน้ำกรองในโรงเรียนซึ่งนำมาจากน้ำประปาในตำบล

  18. จากการสอบถามประวัติการรับประทานอาหารพบอาหารที่สงสัยเป็นสาเหตุ ได้แก่ หมูปิ้ง ที่ซื้อมาจากร้านขายของชำในหมู่บ้าน และรับประทานหลังจากทิ้งค้างไว้นานหลาย ชั่วโมง โดยที่ไม่ได้อุ่น หมูปิ้งนี้ร้านขายของชำรับมาจากร้านค้าในตลาด และพบว่ามีการ ปนเปื้อนเชื้อ V. cholerae 01, Inaba ซึ่งต้นตอการปนเปื้อนเชื้อมาจากเขียงหมูเถื่อนใน หมู่บ้าน ซึ่งผลการส่งตรวจตัวอย่างเศษหมูติดเขียงพบเชื้อ V. Cholerae 01, Inaba และได้ ทำ rectal swab คนชำแหละหมู 2 คน ส่งเพาะเชื้อพบ V. cholerae 01, Inaba ในคน ชำแหละ 1 ราย ทั้งสองคนมีประวัติถ่ายเหลวในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คนชำแหละที่ไม่ พบเชื้อได้รับยาปฏิชีวนะแล้ว ส่วนคนที่พบเชี้อยังไม่ได้รับการรักษา มาตรการควบคุมโรคที่ทีมสอบสวนและควบคุมโรคได้ดำเนินการแล้ว มีดังนี้ ให้ยารักษาผู้ที่มีอาการอุจจาระร่วงและผู้สัมผัสที่ตรวจพบเชื้อทุกราย ทำลายเชื้อที่อาจจะ เหลืออยู่ในห้องส้วมที่บ้านของผู้ป่วยและผู้ที่ตรวจพบเชื้อ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ สั่งให้คน ชำแหละหมูหยุดทำงาน จนกว่าโรคสงบ ให้สุขศึกษาในเรื่องพฤติกรรมการปรุงและการ บริโภคอาหารแก่แม่ค้า เพื่อปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในร้านค้าร้านขายของชำ และเขียงหมู เพื่อป้องกันการระบาดในภายหน้า

  19. แม้ว่าการระบาดของโรคอหิวาตกโรคในครั้งนี้ที่มีแหล่งรังโรคร่วมจากเขียงหมู มีแนวโน้มว่าจะสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ เนื่องจากได้ตรวจพบแหล่งรังโรคที่แพร่เชื้อพร้อมทั้งสามารถขัดขวางการถ่ายทอดเชื้อจากแหล่งนี้ได้แล้วก็ตาม ทีมสอบสวนโรค มีข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ ดังนี้ 1. เฝ้าระวังเชิงรุกในพื้นที่ จนกว่าจะไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 10 วัน 2. แจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ดำเนินการปิดเขียงหมูเถื่อนรายนี้ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคในภายหน้า 3. แจ้งหน่วยบริการสาธารณสุขต่างๆในจังหวัดทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการระบาดของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นอีกได้ในระยะนี้ เรียนมาเพื่อทราบ และพิจารณาสั่งการต่อไป

  20. 2. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวน สรุปเสนอผู้บริหาร (Final Report) Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค • หลักการเดียวกันกับการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ • แต่มีเพียงองค์ประกอบหลักเท่านั้น ได้แก่ • ชื่อเรื่อง • ผู้รายงานและทีมสอบสวนโรค • ความเป็นมา • วัตถุประสงค์ • วิธีการศึกษา • ผลการสอบสวน • มาตรการควบคุมป้องกันโรค • สรุปผล

  21. 3. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ (Full report) Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

  22. องค์ประกอบของรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ (1) Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค • ชื่อเรื่อง (Title) • ผู้รายงานและทีมสอบสวนโรค (Principal Investigator & Team) • บทคัดย่อ (Abstract) • บทนำหรือความเป็นมา (Introduction or Background) • วัตถุประสงค์ (Objectives) • วิธีการศึกษา (Methodology) • ผลการสอบสวน (Results)

  23. องค์ประกอบของรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ (2) Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค • มาตรการควบคุมและป้องกันโรค (Prevention & Control Measures) • วิจารณ์ผล (Discussion) • สรุปผล (Conclusion) • ข้อเสนอแนะ (Recommendations) • ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวน (Limitations) • กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgment) • เอกสารอ้างอิง (Reference)

  24. Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ชื่อเรื่อง - สั้น กระชับ - ตรงประเด็น - ความหมายครบถ้วน

  25. Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ผู้รายงานและทีมสอบสวน - ชื่อ - หน่วยงาน - ตำแหน่ง

  26. บทคัดย่อ บทนำ (และวัตถุประสงค์) Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค - ไม่เกิน 1 หน้า A4 - หัวข้อหลัก - สรุปย่อรายงาน วิธีการศึกษา ผลการศึกษา สรุปและข้อเสนอแนะ คำสำคัญ องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์

  27. บทนำหรือ ความเป็นมา Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค บอกให้ทราบถึงเหตุการณ์ ผิดปกติที่นำไปสู่การ สอบสวนการระบาด องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ เกิดอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ แหล่งข่าวใด ผู้ให้ข่าวเป็นใคร ข้อมูลเบื้องต้นของ Index case ขนาดของปัญหา คณะสอบสวนประกอบด้วยหน่วยใด เริ่มสอบสวนและ เสร็จสิ้นเมื่อไหร่

  28. องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ วัตถุประสงค์ในการสอบสวนโรค Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค • ให้ระบุวัตถุประสงค์เฉพาะของการสอบสวนโรค เช่น • เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค • เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคตาม • บุคคล เวลา สถานที่ • เพื่อค้นหาแหล่งโรค วิธีการถ่ายทอดโรค และผู้สัมผัสโรค • เพื่อหามาตรการในการป้องกันควบคุมโรค • อื่นๆ ตามแต่กรณี เช่น ศึกษาประสิทธิภาพวัคซีน

  29. วิธีการศึกษาที่ใช้ในการสอบสวนโรควิธีการศึกษาที่ใช้ในการสอบสวนโรค ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา - รูปแบบที่ใช้ในการศึกษา Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค - นิยามผู้ป่วย ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ - ศึกษาทางห้องปฏิบัติการ สิ่งแวดล้อม • Case-control study • Cohort study - เครื่องมือที่ใช้ในการสอบสวน - สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์

  30. ผลการศึกษา 1 2 3 Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ยืนยันการเกิดโรค ยืนยันการระบาด ข้อมูลทั่วไป • ยืนยันการวินิจฉัยเบื้องต้น • อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วย • ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  31. ผลการศึกษา Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ 1 2 3 ยืนยันการเกิดโรค ยืนยันการระบาด ข้อมูลทั่วไป • แสดงจำนวนผู้ป่วยของโรค หรือเหตุการณ์ที่ผิดปกติโดยเปรียบเทียบ • กับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนๆ จากค่ามัธยฐาน 5 ปี • แสดงให้เห็นชัดถึงพื้นที่ที่มีการระบาด เช่น อัตราป่วยรายพื้นที่

  32. ผลการศึกษา Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค • ข้อมูลประชากร • ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่เกิดโรค • เส้นทางคมนาคมและพื้นที่ติดต่อ • ข้อมูลทางเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม • ข้อมูลสุขาภิบาล สาธารณูปโภค • ข้อมูลสิ่งแวดล้อม เช่น ปริมาณน้ำฝน องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ 1 2 3 ยืนยันการเกิดโรค ยืนยันการระบาด ข้อมูลทั่วไป

  33. ผลการศึกษา Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ 4 5 6 7 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาทางสภาพแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค 4.1 ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ลักษณะการกระจายโรคตามบุคคล ลักษณะการกระจายโรคตามเวลา ลักษณะการกระจายโรคตามสถานที่ 4.2 ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

  34. ผลการศึกษา Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ 4 5 6 7 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาทางสภาพแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค • ประเภทวัตถุตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เก็บจากผู้ป่วย • และปัจจัยเสี่ยงที่น่าจะเป็นสาเหตุของการระบาด • สถานที่ส่งตรวจ • ผลการตรวจที่ได้

  35. ผลการศึกษา Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ 4 5 6 7 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาทางสภาพแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค อธิบายเหตุการณ์แวดล้อมที่มีความสำคัญ ต่อการระบาดของโรค สภาพโรงครัว แหล่งน้ำ ส้วม กรรมวิธีการปรุงอาหาร

  36. ผลการศึกษา Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ 4 5 6 7 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาทางสภาพแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค เฝ้าระวังโรคต่ออีกเป็นระยะเวลา 2 เท่าของระยะฟักตัวของโรค

  37. มาตรการควบคุมและป้องกันโรคมาตรการควบคุมและป้องกันโรค • เพื่อควบคุมการระบาดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น • เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่ Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค Agent Host Environment องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์

  38. วิจารณ์ผล Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น วิเคราะห์หาเหตุผลและสมมติฐาน ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น วิจารณ์ความสำเร็จหรือล้มเหลวในการควบคุมโรค ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างหรือคล้ายคลึง กับการระบาดในอดีตหรือไม่ อย่างไร

  39. ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวนโรคปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวนโรค Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ • ระบุปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น • ข้อจำกัดที่พบในขณะสอบสวนโรค • บอกแนวทางการแก้ไขปัญหา สำหรับการสอบสวนครั้งต่อไป

  40. สรุปผลการสอบสวน Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ยืนยันการเกิดโรคและการระบาด แหล่งรังโรค วิธีถ่ายทอดโรค กลุ่มเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง สถานการณ์ล่าสุด

  41. ข้อเสนอแนะ • ข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรการควบคุมป้องกันโรค • ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงการสอบสวนในครั้งหน้า Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ให้สอดคล้องและจำเพาะ กับผลการศึกษา องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์

  42. กิตติกรรมประกาศ Bureau of Epidemiology สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เอกสารอ้างอิง องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ • ผู้ให้ความร่วมมือในการสอบสวนโรค • ผู้ให้การสนับสนุนด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ • ผู้ที่ให้ข้อมูลอื่นๆ ประกอบการสอบสวนโรค • รูปแบบแวนคูเวอร์ ( Vancouver Style) • รูปแบบมาตรฐาน อื่นๆ ตามที่วารสารกำหนด

  43. ตัวอย่างรายงานสอบสวนโรคตัวอย่างรายงานสอบสวนโรค

  44. รายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ Botulism จากหน่อไม้อัดปี๊บ ในจังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2541 Foodborne botulism from home canned bamboo shoot, Nan province, Thailand, 1998 นพ. พงศ์เทพวงศ์วัชรไพบูลย์1 นพ.พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ2 พญ.ลักขณา ไทยเครือ1 นาย ธัญญา วิเศษสุข2 นส.ศุภวรรณ นันทวาส2 นายอนุวัฒน์ ธนะวงศ์4 นส.สุกัลยา เล็กศิริวิไล3 1กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข 2 สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดน่าน 3 โรงพยาบาลน่าน 4 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าวังผา

  45. ความเป็นมา วันที่ 14 เมษายน 2541 คณะสอบสวนโรคได้รับทราบข้อมูลจากอายุรแพทย์ของโรงพยาบาลน่าน ว่ามีผู้ป่วย 6 ราย มีอาการทางระบบประสาท ได้แก่ หนังตาตก, พูดไม่ชัด, กลืนลำบาก,แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลน่าน โดยเริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่ 10-13 เมษายน 2541 และทั้ง 6 รายมาจากอำเภอท่าวังผา แพทย์ได้ให้การวินิจฉัยว่าสงสัยเกิดจากพิษ Botulinum toxin คณะสอบสวนโรคจากกองระบาดวิทยาร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน จึงได้ทำการสอบสวนโรคระหว่างวันที่ 15 –18 เมษายน 2541

  46. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและการระบาดของโรค 2. เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรค ในแง่ บุคคลเวลาสถานที่ และปัจจัยเสี่ยง 3. เพื่อค้นหาแหล่งที่มาของการแพร่ระบาด 4. เพื่อหาแนวทางในการควบคุม และป้องกันการ แพร่กระจายของโรค

  47. วิธีการศึกษา 1.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา 1.1 ทบทวนบันทึกการรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลน่าน ตั้งแต่วันที่ 10-14 เมษายน 2541 โดยมีนิยามผู้ป่วยดังนี้ นิยามผู้ป่วย คือผู้ที่มีอย่างน้อย 3 ใน 10 อย่างดังต่อไปนี้ หนังตาตก, กลืนลำบาก, พูดไม่ชัด, เสียงอาการ แหบ, ปากแห้ง, เจ็บคอ, อุจจาระร่วง, อาเจียน, แขนขาอ่อนแรง แบบ symmetrical 1.2 ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในหมู่บ้านหนองบัว และหมู่บ้านดอนแก้ว อำเภอท่าวังผา 2.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ ทำการศึกษาแบบ Case-control study เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค โดยมีกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเปรียบเทียบดังนี้ ผู้ป่วยมีอาการตามนิยามเช่นเดียวกับการศึกษาทางระบาดวิทยาเชิงพรรณา และอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว และหมู่บ้านดอนแก้ว อำเภอท่าวังผา ในช่วงเวลา 10-16 เมษายน 2541 กลุ่มเปรียบเทียบ เป็นแม่บ้านที่มาช่วยงานศพของผู้ป่วยในวันที่ 16 เมษายน 2541 เวลา 13.00 – 14.30 น. และไม่มีอาการตามนิยามผู้ป่วย

  48. 3.การศึกษาสิ่งแวดล้อม 3.1 ศึกษาวิธีการผลิตหน่อไม้อัดปี๊บ ในหมู่บ้าน 3.2 สำรวจบ้านที่ผลิตหน่อไม้อัดปี๊บและจำนวนหน่อไม้อัดปี๊บที่มี อยู่ในหมู่บ้าน 4. การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ 4.1 เก็บอุจจาระผู้ป่วย 2 ราย ตัวอย่างดินบริเวณรอบร้านขายหน่อไม้ปี๊บที่ สงสัย และอาหารที่สงสัยอื่นๆ ส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อ Clostridium botulinum ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4.2 เก็บตัวอย่างหน่อไม้อัดปี๊บในบ้านผู้ป่วยและจากร้านที่ขายหน่อไม้ อัดปี๊บในหมู่บ้าน ส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อ Clostridium botulinum ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ ตรวจหา botulinum toxin ที่ US Army Medical Research Institue for Infectious Disease

  49. ผลการศึกษา 1.การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา จากการทบทวนบันทึกการรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลน่าน ตั้งแต่วันที่ 10-14 เมษายน 2541 พบผู้ป่วย 9 รายซึ่งทั้ง 9 รายอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว และหมู่บ้านดอนแก้วอำเภอท่าวังผา จึงได้ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในทั้งสองหมู่บ้านพบผู้ป่วยอีก 4 ราย รวมพบ ผู้ป่วยทั้งสิ้น 13 รายโดยมีลักษณะตาม เวลาสถานที่และ บุคคลดังนี้

  50. รูปที่ 1 จำนวนผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ Botulism จำแนกตามวันที่เริ่มป่วย หมู่บ้านหนองบัวและดอนแก้ว อ.ท่าวังผา จ.น่าน, 10-17 เมษายน 41 (N=13) จำนวน (คน) วันที่ เดือนเมษายน 2541

More Related