60 likes | 168 Views
Publication Clinic Workshop. สาส์นถึงผู้สนใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมต้นฉบับบทความวิจัยระดับนานาชาติ โดย. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. http://www.psu.ac.th.
E N D
Publication Clinic Workshop สาส์นถึงผู้สนใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมต้นฉบับบทความวิจัยระดับนานาชาติ โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://www.psu.ac.th
หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันที่ 20เมษายน พ.ศ. 2553 เรียน ท่านผู้สมัครเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมต้นฉบับบทความวิจัยระดับนานาชาติ ท่านผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาและคณะ ได้ให้เกียรติมอบหมายให้ผมเป็นวิทยากรหลักในการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว เนื่องจากเป็นนักวิจัยอาวุโส และมีผลงานตีพิมพ์สาขาสังคมศาสตร์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopusที่มีจำนวนสูงสุดในมหาวิทยาลัย ของเรา ผมตอบรับด้วยสำนึกว่าเป็น “น่าที่” ซึ่งควรจะทำ โดยยอมรับข้อจำกัดของตนเองที่มีประสบการณ์ด้านการสาธารณสุข และงานตี พิมพ์ด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณเป็นส่วนใหญ่ ผมได้ตกลงในหลักการกับท่าน และขอส่งสารมายังผู้สมัครเข้าร่วมประชุมดังนี้ 1.การประชุมเชิงปฏิบัติการชุดนี้ เป็นปฏิบัติการจริง ๆ และตั้งเป้าไว้ชัดเจนว่าจะนำพาพวกเราไปตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่อยู่ใน ฐานข้อมูล Web of Scienceของ ISIหรือฐานข้อมูล Scopusเท่านั้น เราจะไม่รับท่านที่ต้องการตีพิมพ์ในวารสารประจำสถาบัน หรือวารสารระดับชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลทั้งสอง เนื่องจากมหาวิทยาลัยของเราถูกประเมินความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติด้วยฐานข้อมูล ดังกล่าว 2. การวัดผลสำเร็จในเบื้องต้น คือ ในวันสุดท้ายของการประชุมเชิงปฏิบัติการระยะที่สาม เราได้ช่วยให้ท่านส่งบทความของท่านไปยัง วารสารที่ท่านเลือกจากฐานข้อมูลเหล่านั้นทางอินเตอร์เน็ต เหตุการณ์และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง เช่น บรรณาธิการของวารสารนั้น ๆ อาจจะรับบทความไว้พิจารณาและท่านจะต้องแก้ไขในภายหลัง หรือ อาจจะปฏิเสธบทความของท่านซึ่งท่านจะต้องหาทางส่งไปวารสารอื่น ๆ เป็นเรื่องที่ท่านกับวิทยากรอาจจะดำเนินการต่อไปได้ แต่ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายของการประเมินความสำเร็จของการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้
3.ผมขอให้รายละเอียดขั้นตอนการประชุมดังนี้: การประชุมเชิงปฏิบัติการมีสามระยะ เราต้องการรับอาจารย์และนักวิจัยที่เข้าร่วมได้ทั้งสามระยะเท่านั้น นอกจากนี้ทุกคนต้องทำการบ้านล่วงหน้ามาส่งในกาประชุมทุกครั้ง • a. ก่อนประชุมครั้งแรก ท่านต้องส่งใบสมัครพร้อมกับ • i. บทคัดย่อภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย • ii. ชื่อวารสารบทฐานข้อมูล Web of Scienceหรือ Scopusที่ท่านต้องการส่งบทความไปในตอนสุดท้าย • b. เมื่อสิ้นสุดวันสุดท้ายของการประชุมระยะแรก ท่านจะได้ outline ของบทความเป็นภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยหัวข้อใหญ่ (headings)หัวข้อย่อย (subheadings)และย่อหน้าซึ่งมีขอบข่ายเนื้อหาชัดเจน ซึ่งประกอบด้วยแนวทางประโยคภายในย่อหน้านั้น และแนวคิดของเอกสาร • c.จบจากการประชุมเชิงปฏิบัติการระยะแรก และก่อนที่ระยะที่สองจะเริ่มต้น ท่านต้องทำการบ้านเขียนประโยคที่จะทำให้ย่อหน้าที่เตรียมไว้ในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการสมบูรณ์มากขึ้น หาเอกสารอ้างอิงประกอบการโต้แย้งของประโยคต่าง ๆ ส่งการบ้านให้คณะผู้จัดการประชุม • d. การประชุมระยะที่สอง เป็นการวิจารณ์และขัดเกลาประโยคร่วมกัน เพื่อจะได้เรียนรู้วิธีผูกเนื้อ • ความให้สอดคล้องภายในบทความ ตลอดจนการเขียนคำวิจารณ์ (discussion)ณ จุดต่าง ๆ ภายในบทความเพื่อแสดงความรอบรู้ ลึกซึ้งและความมีวิจารณญาณของท่าน เมื่อสิ้นสุดการประชุมครั้งนี้ ท่านควรจะได้ร่างบทความ draft manuscriptที่มีเนื้อหาใกล้ • เคียงกับบทความในระยะสุดท้าย แต่ยังขาดบางส่วนที่จะต้องกลับไปทำต่อที่บ้านหรือที่สถาบัน • e. ก่อนการประชุมครั้งสุดท้าย ท่านต้องขัดเกลาเนื้อความทั้งบทความให้เรียบร้อย ปรับแต่งรูปประโยคให้อ่านง่ายและน่าอ่านและถูกไวยากรณ์ ตรวจสอบ references และ format ให้ตรงกับความต้องการของวารสาร • f. การประชุมระยะสุดท้ายเป็นการให้เพื่อนในที่ประชุมอ่านและวิจารณ์อีกรอบ แก้ไขให้เรียบเรียบร้อย และส่งบทความนั้นแบบ on-line submissionในวันสุดท้ายของการประชุม
4. สำหรับท่านที่ไม่เคยส่งบทความไปวารสารนานาชาติ ครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง แต่อย่างไรก็ตามการเตรียมผลงานให้พร้อมที่จะส่งต้องใช้ความวิริยะอุสาหะไม่น้อย ขอให้ท่านเตรียมตัวเตรียมใจ และเตรียมผล งานดังกล่าว ก่อนสมัคร 5.ถ้าท่านตัดสินใจสมัคร ขอให้ติดตามและเข้าสู่กระบวนการของเราตลอดไม่ขาดตอน เราไม่รับผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ได้มีส่วนร่วม (hand-on)ในการเตรีมบทความ และการเตรียมบทความไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะช่วงเวลาของการประชุม 3ครั้งเท่านั้น งานที่สำคัญหลายส่วนต้องไปทำที่บ้านหรือสถาบันต้นสังกัด ก่อนและในระหว่างเวลาว่างที่ไม่ได้กำลังประชุมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมที่บ้านและที่สถาบันเหล่านี้เป็นการเตรียมต้นฉบับงานวิจัยให้ก้าวหน้าไปขั้นหนึ่งก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งต่อไป ถ้าท่านเตรียมไม่สำเร็จก็จะไม่มีงานที่นำมาทำในห้องปฏิบัติการในรอบต่อไป 6. บทความที่จะส่งไปยังวารสารนานาชาติต้องเป็นบทความภาษาอังกฤษ ขอแนะนำให้ท่านติดต่อผู้ที่สามารถให้ความช่วยเหลือด้านภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ ส่วนวิทยากรจะช่วยให้ความเห็นเรื่องการเลื่อนไหล (flow)ของเนื้อหาวิชาการที่จะช่วยให้บรรณาธิการและ reviewerอ่านบทความของท่านได้สะดวกและมีแนวโน้มที่ยอมรับบทความของท่านมากขึ้น แต่ความถูกต้องทางภาษาต้องอาศัยเจ้าของภาษา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาเท่านั้น (โดยในส่วนของการสนับสนุนเรื่องการขัดเกลาภาษานั้นทางสำนักวิจัยโดย Publication Clinic จะหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ ในช่วงระหว่างระยะที่ 2-3 และในระยะที่ 3 ของการประชุมเชิงปฏิบัติการ) 7. งานวิชาการในปัจจุบันต้องอาศัยอินเตอร์เนตอย่างมาก ก่อนเข้าประชุมปฏิบัติการระยะแรกท่านต้องหาบทความที่ตีพิมพ์ในวารนานาชาติที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับงานของท่าน (benchmark paper)จำนวนหนึ่ง อ่านให้ละเอียดว่าเขาทำอะไรและเขียนอย่างไร พร้อมทั้งค้นหา referencesที่ผู้เขียนอ้างถึง แล้วจึง download referencesที่เกี่ยวข้องกับงานของท่านและอ่านเพิ่มเติม ทำเป็นวงจรเช่นนี้จนกระทั่งแน่ใจแล้วว่าไม่มีงานประเภท benchmark paperที่ท่านยังไม่ได้อ่าน
8. จากการอ่านบทความเหล่านั้น ท่านควรจะพิจารณาว่า น่าจะส่งบทความของท่านไปลงวารสารใดได้บ้าง ตรวจสอบว่าวารสารนั้นอยู่ในฐานข้อมูล ISIและ Scopusหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้โทรศัพท์ถามบรรณารักษ์ห้องสมุดของเราหรือสอบถามมาที่ สำนักวิจัยและพัฒนา (คุณพิมลพร วงศ์ชนะ-Publication Clinic หมายเลขภายใน 6959) เมื่อแน่ใจแล้วให้เข้าไปสู่ websiteของ วารสารนั้น อ่านคำประกาศแนวทางของวารสารว่าเขาจะพิจารณารับเรื่องประเภทใดบ้าง ถ้าท่านคิดว่าเขาน่าจะรับบทความของท่านไว้พิจารณา ก็ โปรดหาหน้า Instruction to authorเพื่อพิมพ์เนื้อหาทั้งหมดของหน้านั้นออกมาใช้ระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการของเรา 9. หลังจากอ่านข้อความข้างบนจบแล้ว และแน่ใจว่าจะเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ โปรดส่งอีเมล์มายังคณะผู้จัดประชุม(pimonporn.v@psu.ac.th)เพื่อยืนยันความพร้อมใจที่จะเข้าประชุมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนความตั้งใจที่จะทำการบ้านมาส่งก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการรอบต่อไป ขอแสดงความนับถือ วีระศักดิ์ จงสูวิวัฒน์วงศ์
Thank you Ms.Pimonporn Vongchana Publication Clinic E – mail: pimonporn.v@psu.ac.th Tel: 6959