1 / 41

เทคนิคการสร้างคุณภาพ

เทคนิคการสร้างคุณภาพ. 5 ส. เพื่อการพัฒนาองค์กร. 5 ส. เพื่อการพัฒนาองค์กร. ในการจัดสถานที่ให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย รักษาความสะอาด เป็นเรื่องที่ ทุกๆหน่วยงาน องค์กร และประเทศทำกันมานาน แต่ เรื่อง 5ส นั้น ประเทศญี่ปุ่นได้เป็นคนคิด พัฒนาหลักการขึ้นมา ปี1986 หนังสือ 5S เล่มแรกได้จัดพิมพ์

Download Presentation

เทคนิคการสร้างคุณภาพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เทคนิคการสร้างคุณภาพ

  2. 5 ส. เพื่อการพัฒนาองค์กร

  3. 5 ส. เพื่อการพัฒนาองค์กร • ในการจัดสถานที่ให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย รักษาความสะอาด เป็นเรื่องที่ ทุกๆหน่วยงาน องค์กร และประเทศทำกันมานาน • แต่ เรื่อง 5ส นั้น ประเทศญี่ปุ่นได้เป็นคนคิด พัฒนาหลักการขึ้นมา • ปี1986 หนังสือ 5S เล่มแรกได้จัดพิมพ์ • ประเทศไทยได้มีการเริ่มนำมาใช้โดย บ. เอ็น เอช เค สปริง ประเทศไทย จำกัด และ บ.ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นบริษัทไทยแห่งแรกที่ทำ 5ส • ปัจจุบัน 5ส เป็นเทคนิคที่ทำกันแพร่หลายทั่วโลก

  4. ทำไมต้อง 5 ส. • 5 ส. เป็นเรื่องเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ • 5 ส. เป็นรากแก้วและเป็นพื้นฐานของ • ระบบคุณภาพ และผลผลิต • 5 ส. นำไปสู่เรื่อง ISO TPM TQM

  5. 5ส คืออะไร 5 ส คือ การปรับปรุงสภาพการทำงาน เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ประสิทธิภาพในการทำงานและคุณภาพของงาน ซึ่งเป็นพื้นฐานในสร้างสรรค์ คุณภาพ

  6. วัตถุประสงค์ ของ 5ส ประกอบด้วย • เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นระเบียบสะอาด • พัฒนาความคิดของบุคลากรในการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง • เสริมสร้างความมั่นคงในการประกันคุณภาพ • เสริมสร้างการทำงานที่ดีความมีระเบียบวินัยรักความสะอาด ให้กับบุคลากรทุกคน

  7. ทำไมต้องมี 5 ส. ? • 5 ส. เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่ช่วยพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ • ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนของการดำเนินกิจกรรม 5 ส. ได้แก่ สถานที่ทำงานและ สภาพแวดล้อมการทำงานสะอาด ปราศจากสิ่งสกปรก บุคลากรมีสุขภาพกายและ • จิตที่ดี บุคลากรมีระเบียบวินัยมากขึ้น • ขจัดความสิ้นเปลืองของทรัพยากรคน วัสดุและงบประมาณ และการลดการเก็บ เอกสารที่ซ้ำซ้อนลง • ช่วยลดต้นทุนขององค์กร • ก่อให้เกิดการทำงานที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย • สร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานของพนักงาน • สร้างความพึงพอใจและความมั่นใจให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ • เป็นพื้นฐานของการก้าวสู่การใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเช่น TPM, JIT, TQC ในหน่วยงานต่อไป

  8. 5 ส.ใช้ทั่วโลก ญี่ปุ่น ไทย อังกฤษ คำแปล SEIRI สะสาง SCREENED คัดแยก SEITON สะดวก SYSTEMATIC เป็นระเบียบ SEISO สะอาด SPOTLESS สะอาด SEIKETSU สุขลักษณะ STANDAIZATION ถูกสุขลักษณะ SHITSUKE สร้างนิสัย SELF-DISCIPLINED มีวินัย

  9. สะสางต้องมั่นใจว่าในสถานที่ทำงาน มีเฉพาะของที่จำเป็นใช้งานเท่านั้น ความหมาย การแยกสิ่งของต่างๆ ที่จำเป็น ออกจาก สิ่งของที่ไม่จำเป็น และขจัดสิ่งของที่ ไม่จำเป็นออกไป การแยกแยะ สิ่งจำเป็น หรือไม่จำเป็น สามารถพิจารณาได้จากความถี่ในการใช้งาน ขั้นตอนการทำ “สะสาง” • ขั้นที่ 1 • สำรวจ กำหนดขอบเขต พื้นที่ ความรับผิดชอบ เพื่อทำการสะสาง โดยพิจารณาว่า “จำเป็น” หรือ “ไม่จำเป็น” • ขั้นที่ 2 • แยกสิ่งของต่างๆ โดยคัดเลือกเฉพาะของที่จำเป็นเท่านั้น และขจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกไป • ขั้นที่ 3 • ผู้บริหารต้องรับผิดชอบ ตรวจสอบสิ่งของที่ไม่จำเป็น เพื่อที่จะนำไปขายหรือทิ้งไป

  10. สะสาง ขจัดสิ่งของที่ไม่ต้องการออกไปสะสาง ขจัดสิ่งของที่ไม่ต้องการออกไป สะสาง (แยกสิ่งของให้ชัด) ของที่จำเป็นในการทำงาน ของที่ไม่จำเป็นในการทำงาน ของที่ไม่จำเป็น ของที่ไม่จำเป็น *การแยกสิ่งของที่ไม่จำเป็นฟังดูรู้สึก ว่าง่าย แต่ปฏิบัติจริงจะค่อนข้างยาก หาที่เก็บ ขาย ทิ้ง เนื่องจากไม่ค่อยแน่ใจว่าสิ่งใดใช้หรือไม่ใช้

  11. สะดวก หมายถึง : การจัดสิ่งของ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆในที่ทำงาน ให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน สะดวก เป็นเรื่องของนามธรรม ยากที่จะวัดได้ แต่อย่างไรก็ตามสามารถวัดได้จากเวลาที่ใช้ในการค้นหา เป็นตัวกำหนด วิธีวางหลังจากจัดให้เป็นระเบียบแล้วนับว่าสำคัญมาก ต้องคำนึงถึงด้านความปลอดภัย คุณภาพ และ ประสิทธิภาพด้วย

  12. ขั้นตอนการทำ “สะดวก” • ขั้นที่ 1 • กำหนดวิธีการจัดเก็บเป็นระเบียบ แบ่งหมวดหมู่ เป็นระบบ • ขั้นที่ 2 • กำหนดที่อยู่สิ่งของให้แน่นอน ชัดเจนมีตาราง ผังแสดงตำแหน่ง • ขั้นที่ 3 • จัดเก็บและกำหนดป้ายชื่อสิ่งของต่างๆ • ขั้นที่ 4 • การนำไปใช้ ต้องนำมาเก็บที่เดิม • ขั้นที่ 5 • รักษาระเบียบ ปรับปรุงจัดวางอยู่เสมอ

  13. สะอาดการทำความสะอาดเป็นการตรวจสอบสะอาดการทำความสะอาดเป็นการตรวจสอบ ความหมาย การทำความสะอาด อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และสถานที่ทำงาน เพื่อให้ปราศจากฝุ่นละออง และคราบสกปรก โดยทำอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง เพื่อป้องกันความสกปรก

  14. ขั้นตอนการทำ “สะอาด” • ขั้นที่ 1 • กำหนดพื้นที่รับผิดชอบ • ขั้นที่ 2 • ศึกษาวิธีการใช้งาน และการทำความสะอาดที่ถูกต้อง • ขั้นที่ 3 • ทำความสะอาดทุกจุดพื้นที่ และเครื่องจักรอุปกรณ์ • ขั้นที่ 4 • ขจัดปัญหาต้นเหตุแห่งความสกปรก และจัดทำเป็นมาตรฐาน • ขั้นที่ 5 • ขยายการทำความสะอาดทั่วทั้งหน่วยงาน

  15. สุขลักษณะ ความหมาย การดูแลสถานที่ทำงานให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีบรรยากาศที่น่าทำงาน การรักษามาตรฐานที่ดี ของความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความสะอาดในสถานที่ทำงาน ให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดเวลา และปรับปรุง ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาพ อนามัย และความปลอดภัย สุขลักษณะเกิดได้อย่างไร • กำหนดให้มีการปฏิบัติกิจกรรม 3ส แรกอย่างเป็นประจำ สม่ำเสมอ • กำหนด มาตรฐานหรือ แนวทางในการปฏิบัติที่เกี่ยวกับ 3ส แรก • แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผล เพื่อให้เกิดการรักษามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

  16. สร้างนิสัยสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานสร้างนิสัยสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน ความหมาย สร้างนิสัยในการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ และฝึกฝนให้พนักงานรู้จักค้นคว้า และ ปรับปรุง ปฏิบัติเป็นประจำจนกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ขั้นตอนการทำ “สร้างนิสัย” • ขั้นที่ 1 • ปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ • ขั้นที่ 2 • ติดตามผลการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ • ขั้นที่ 3 • จัดประกวดพื้นที่ และมีการให้รางวัล เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจผู้ปฏิบัติงาน

  17. ขั้นตอนการทำ “สร้างนิสัย” • ขั้นที่ 1 • ปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ • ขั้นที่ 2 • ติดตามผลการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ • ขั้นที่ 3 • จัดประกวดพื้นที่ และมีการให้รางวัล เพื่อสร้างขวัญ และกำลังใจผู้ปฏิบัติงาน

  18. การลดต้นทุนกับกิจกรรม 5 ส • กิจกรรม 5 ส. มักจะไม่ได้รับความใส่ใจอย่างจริงจัง ทั้งๆ ที่กิจกรรม 5 ส. นอกจากจะช่วยสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยทำให้เกิดการเพิ่มคุณภาพ ส่งมอบสินค้าทันเวลา มีความปลอดภัยในการทำงานแล้ว กิจกรรม 5 ส. ยังช่วยลดต้นทุนในสถานที่ทำงานได้ ดังนี้ • สะสาง : ช่วยลดต้นทุนโดยขจัดให้เหลือแต่ของที่จำเป็นในการทำงานการสะสางจะทำให้สามารถควบคุมปริมาณของพัสดุได้ง่าย ไม่มีอุบัติเหตุที่เกิดจากการวางของเกะกะรวมถึงลดค่าเช่าพื้นที่ในการจัดเก็บสิ่งของ เวลาและจำนวนคนในการตรวจนับพัสดุระหว่างปี • สะดวก : ช่วยลดต้นทุนด้วยการลดเวลาที่ไร้ประสิทธิภาพในการทำงาน คือ การลดเวลาในการค้นหาเครื่องมือ วัสดุ สินค้า ข้อมูล และช่วยลดอุบัติเหตุของพนักงานจากการเก็บและวางสิ่งของที่ไม่ถูกต้อง • สะอาด : ช่วยลดต้นทุนการซ่อมและซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ที่หมดอายุก่อนกำหนด เพราะการทำความสะอาดถือเป็นพื้นฐานของการบำรุงรักษาเครื่องจักร • สุขลักษณะ : เน้นการรักษามาตรฐานและปรับปรุงให้ดีขึ้น สุขลักษณะจะช่วยลดต้นทุนในเรื่องความผิดพลาดต่าง ๆ ได้ และที่สำคัญคือสุขลักษณะจะเป็นการปูพื้นฐานให้พนักงานปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงาน ทำให้ไม่มีการทำงานที่ผิดขั้นตอน • สร้างนิสัย : การมีทัศนคติที่ดีของพนักงานในการทำงานการสร้างนิสัยจะทำให้บุคลากรช่วยกันปรับปรุงวิธีการทำงาน ปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดต้นทุนโดยรวมลง

  19. 10 ขั้นตอนในการดำเนินงาน 5ส • กำหนดนโยบาย • จัดตั้งคณะกรรมการ • จัดทำแผนดำเนินการ • แบ่งพื้นที่รับผิดชอบ • เริ่มดำเนินการ ด้วย Big Cleaning Day • ปฏิบัติการตามแผน 5ส • ตรวจพื้นที่เพื่อแก้ไขปรับปรุงโดยสมาชิกภายในพื้นที่เอง • คณะกรรมการตรวจสอบ และประเมิน5ส • ตั้งเป็นมาตรฐาน • รักษาไว้และปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

  20. การบริหารกิจกรรม 5 ส และ 5 ต้อง • การเตรียมความพร้อม 5 ส ภายในหน่วยงาน • ผู้บริหารระดับต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (Commitment) • ต้องมีนโยบาย แผนดำเนินงานและปฏิบัติเป็นขั้นตอน • ต้องมีคณะกรรมการติดตามผล การดำเนินกิจกรรม 5ส อย่างต่อเนื่อง • ต้องมีตรวจติดตาม มีเกณฑ์การตัดสิน เพื่อที่จะประเมินผลการดำเนินกิจกรรม 5ส ในแต่ละหน่วยงาน • สถานที่ บริเวณ เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ และพื้นที่กลางที่แต่ละหน่วยงานใช้ร่วมกันนั้น ต้องกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน

  21. ประโยชน์ที่ได้รับ • พนักงานจะทำงานได้รวดเร็วขึ้น มีความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น บรรยากาศและสภาพ แวดล้อมดีขึ้น • ความร่วมมือ ร่วมใจ จะถูกสร้างให้เกิดขึ้น พนักงานจะรักหน่วยงานมากขึ้น • พนักงานจะมีระเบียบวินัยมากขึ้น ตระหนักถึงผลเสียของความไม่เป็นระเบียบในสถานที่ทำงาน ต่อการเพิ่มผลผลิต และถูกกระตุ้นให้ปรับปรุงระดับความสะอาดของสถานที่ทำงานให้ดีขึ้น • พนักงานปฏิบัติตามกฎระเบียบ คู่มือความปลอดภัย และคู่มือปฏิบัติงาน ทำให้อุบัติเหตุและความ เสี่ยงต่าง ๆ ลดลง • พนักงานจะมีจิตสำนึกของการปรับปรุง ซึ่งจะนำไปสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน • เป็นการยืดอายุของเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ เมื่อใช้อย่างระมัดระวัง มีการดูแลรักษาที่ดี และการจัดเก็บอย่างถูกวิธี ในที่ที่เหมาะสม • การไหลเวียนของวัสดุ และ work in process จะราบรื่นขึ้น • พื้นที่ในสถานที่ทำงานมีระเบียบ โล่ง มีที่ว่าง สะอาด สามารถสังเกตสิ่งผิดปกติต่าง ๆ ได้ง่ายดาย เห็นได้ชัดเจน • การใช้วัสดุคุ้มค่าขึ้น ต้นทุนจะต่ำลง • สถานที่ทำงานสะอาด ช่วยให้อัตราของเสียลดลง และเห็นปัญหาเรื่องคุณภาพได้ชัดเจน

  22. TQM (Total Quality Management)

  23. การจัดการคุณภาพรวม Total Quality Management • เป็นการจัดการปรับปรุงกิจการใหม่ทั้งหมดภายในองค์การทั้งผลผลิตและกระบวนการผลิต • โดยเน้นที่ความพึงพอใจของลูกค้า มีลักษณะดังนี้ • เน้นให้เกิดภาพลักษณ์ของคุณภาพสินค้าหรือบริการ • ให้ความสำคัญของลูกค้าทั้งภายนอกและภายในองค์การ • ใช้ระบบการทำงานเป็นทีม • ให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วม • เป็นนโยบายและแผนขององค์การ • สร้างอุปกรณ์และกระบวนการในการแก้ไขปัญหา • มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง • จัดการศึกษาและฝึกอบรมให้บุคคลากรอย่างสม่ำเสมอ

  24. การสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า ทั้งภายในและภายนอกโดยลดจำนวน การใช้ทรัพยากรลง เทคนิคTechnique เครื่องมือTools ค่านิยมหลักCore Value Model by Hellsten & Klefsio, 2000. p. 242 จุดเน้นของ TQM. 1. เน้นความเป็นระบบ คือการเป็นเครือข่าย ของส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำงานด้วยกัน ให้บรรลุเป้าหมาย

  25. Commitment Participation Scientific Knowledge Model by Logothetis, 1992. p. 4 2. เน้นหลักความจริงในการจัดการคุณภาพทั้งองค์การ

  26. ลูกค้าCustomer คุณภาพQuality นโยบายPolicy องค์การOR.G Model by Steve Cohenand Ronald Brand, 1993 3. เน้นที่กระบวนทัศน์ ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Vision) ให้ช่วยเกิดความเป็นเลิศโดยเฉพาะระบบระเบียบ ต้องมุ่งเน้นลูกค้า มุ่งคุณภาพ มุ่งเป้าหมาย

  27. 4. เน้นที่การเปลี่ยนแปลง (Brain Lehancy and other, 2000) 4.1 เปลี่ยนแปลงกระบวนการ4.2 เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง4.3 เปลี่ยนแปลงค่านิยม4.4 เปลี่ยนแปลงการจัดสรรอำนาจ

  28. โครงสร้างองค์การแบบ TMQ โครงสร้างองค์การแบบเดิม ผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหาร ระดับสูง ผู้บริหารระดับล่าง และหัวหน้างานขั้นต้น ผู้บริหาร ระดับกลาง ผู้บริหาร ระดับกลาง ผู้บริหารระดับล่าง และหัวหน้างานขั้นต้น ผู้บริหาร ระดับสูง ผู้ปฏิบัติงาน Model by Melnyk & Denzlen, 1996 . P. 294

  29. กลุ่มกิจกรรม คิวซี ( Quality Control Circle : QCC )

  30. Quality Control circle QCC QCC คืออะไร การแก้ไขและปรับปรุงความไม่พอใจของลูกค้าโดยใช้กิจกรรม กลุ่มย่อยภายในที่ทำงานเดียวกันโดยสมัครใจอย่างต่อเนื่อง ระบบการบริหารงานโดยผลักดันให้บุคคลหน้างานได้พัฒนาตนเอง หน่วยงานและองค์กรอย่างต่อเนื่องโดยกระบวนการคิดค้นและ วิเคราะห์สาเหตุที่รากเหง้าเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน ของตนเองแล้วก่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระยะยาว

  31. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของQCCปัจจัยแห่งความสำเร็จของQCC 1. การสร้างแนวความคิดด้านคุณภาพแก่พนักงาน 2. การบริหารงานการแก้ปัญหาโดยผ่านQC story 3. ตัดสินใจด้วยข้อเท็จจริงโดยอาศัยกลวิธีทางสถิติ หรืออาศัย 7 QC Tool

  32. ปัญหาคืออะไร • ปัญหาคือช่องว่างระหว่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันเทียบกับ สถานการณ์ในอุดมคติหรือที่ตั้งเป้าหมายไว้ เป้าหมายหรืออุดมคติ สภาพปัจจุบัน (Actual) ปัญหา

  33. แก้ปัญหาแบบธรรมดา แก้ปัญหาแบบ QC ประสบปัญหา ประสบปัญหา วิเคราะห์และระบุ สาเหตุชองปัญหา ใช้ประสบการณ์สันชาตญาณ หาทางออก นำมาตรการตอบโต้ปัญหา ที่อาการไปปฏิบัติ นำมาตรการตอบโต้ปัญหา ที่สาเหตุไปปฏิบัติ รูปแบบการแก้ไขปัญหา

  34. QC story คืออะไร คือกระบวนการทางการแก้ปัญหาหรือทางการคิดอย่างมีระบบและมีเหตุมีผลโดยการเรียนรู้กระบวนการบริหารโครงการหรือ Plan-Do-Check-Action(P-D-C-A)

  35. ปัจจัยที่สำคัญของ QCstory 1. ต้องมีมุมมองปัญหาบนแนวคิดด้านคุณภาพ 2. 7 ขั้นตอนการแก้ปัญหา(P-D-C-A) 3. การใช้เครื่องมือคุณภาพ(7 QC TOOL)

  36. 1. การกำหนดหัวข้อปัญหา 2. การสำรวจสภาพปัจจุบันและตั้งเป้าหมาย 3. การวางแผนแก้ไข 4. การวิเคราะห์สาเหตุ 6. การติดตามผล 7. การทำให้เป็นมาตรฐาน ขั้นตอนการแก้ปัญหาแบบ QC story Cycle QC Story Planวางแผน 5. การกำหนดมาตรการตอบโต้และการปฏิบัติ Do - ปฏิบัติ Check - ตรวจสอบ Act - มาตรฐาน

  37. บทบาท หน้าที่สำหรับการส่งเสริมQCC • ระดับปฏิบัติการหน้างาน - เรียนรู้แนวคิดทางด้านควบคุมคุณภาพ - การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง • ระดับการจัดการ - ให้ความรู้และเป็นที่ปรึกษา - สนับสนุนกิจกรรม QCC - ตรวจติดตามการทำกิจกรรมกลุ่ม QCC • ผู้บริหารระดับสูง - ทำความเข้าใจแนวคิดด้านคุณภาพแบบ BIG Q - ทำความเข้าใจปรัชญาแนวคิด QCC - สนับสนุนการให้การศึกษาแก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง - ติดตามผลและวินิจฉัย QCC อย่างต่อเนื่อง

  38. บทบาท หน้าที่สำหรับการส่งเสริมQCC ผู้บริหารระดับสูง วินิจฉัย QCC ระดับการจัดการ ที่ปรึกษา ระดับปฏิบัติการหน้างาน ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

  39. 8. วางแผนการกำหนดกิจกรรมเรื่องต่อไป

  40. วงจรการบริหารที่สนับสนุนQCCวงจรการบริหารที่สนับสนุนQCC ระดับปฏิบัติการหน้างาน ระดับการจัดการ

More Related