290 likes | 540 Views
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ติดตั้ง อุปกรณ์เครือข่าย. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง กำหนดโปรโตคอลที่ต้องการใช้ในเครือข่าย. ครูปนัดดา กองมนต์ รายวิชา อินเทอร์เน็ตและการสร้างเว็บ 1 โรงเรียนศรี สำโรงชนูป ถัมภ์ จังหวัดสุโขทัย. โปรโตคอล ( Protocol ). ความหมายของโปรโตคอล.
E N D
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ติดตั้งอุปกรณ์เครือข่าย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7เรื่องกำหนดโปรโตคอลที่ต้องการใช้ในเครือข่าย ครูปนัดดา กองมนต์ รายวิชา อินเทอร์เน็ตและการสร้างเว็บ 1 โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์ จังหวัดสุโขทัย
โปรโตคอล (Protocol) ความหมายของโปรโตคอล โปรโตคอลที่สำคัญที่พบได้บ่อย ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เนื้อหา IP Address, Subnetwork การตรวจสอบ IP Address
ความหมายของ (Protocol) การเชื่อมโยงเครือข่ายที่มีฮาร์ดแวร์ต่างกันจำเป็น ต้องกำหนดข้อตกลงร่วม โปรโตคอล (Protocol) เรียกว่า โปรโตคอล (protocol) ซึ่งการกำหนด Protocolมีไว้เพื่อให้คอมพิวเตอร์สื่อสารกันตามข้อกำหนด
โปรโตคอลที่สำคัญที่พบได้บ่อยในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โปรโตคอลที่สำคัญที่พบได้บ่อยในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1. โปรโตคอล TCP/IP(ทีซีพี/ไอพี) โปรโตคอล (Protocol) 2. โปรโตคอล IPX / SPX (ไอพีเอ็ก/เอสพีเอส) 3. โปรโตคอล NetBEUI(เน็ตบีอียูไอ)
1. โปรโตคอล TCP/IP(ทีซีพี/ไอพี) เป็นโปรโตคอลที่นิยมใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่ายและเป็นโปรโตคอลหลักของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต TCP/IP เป็นโปรโตคอลที่เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ และเป็นโปรโตคอลที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเลือกใช้ ดังนั้นเครือข่ายอื่นๆ ที่จะติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต้องมีโปรโตคอลนี้ด้วย
2. โปรโตคอล IPX / SPX (ไอพีเอ็ก/เอสพีเอส) เป็นการรวม2โปรโตคอลเข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นโปรโตคอลหลักในการติดต่อสื่อสาร ในเครือข่ายที่ใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่าย NetWare IPX / SPX IPX (InterNetwork Packet Exchange) ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่อยู่ในเครือข่ายต่างกัน เมื่อโปรโตคอล IPXส่งข้อมูล โปรโตคอลนี้จะไม่มีการตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล
2. โปรโตคอล IPX / SPX (ไอพีเอ็ก/เอสพีเอส) (ต่อ) SPX (Sequenced Packet Exchange) เป็นโปรโตคอลที่ขยายความสามารถของโปรโตคอล IPX IPX / SPX เมื่อโปรโตคอล SPX ส่งข้อมูล มันจะเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สองเครือข่ายและคอยตรวจสอบการส่งข้อมูล เหมือนกับการรับประกันว่าการส่งข้อมูลไม่มีการผิดพลาด
3. โปรโตคอล NetBEUI (เน็ตบีอียูไอ) เป็นโปรโตคอลที่ใช้เครือข่ายเล็กๆ ที่ใช้ระบบ ปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ เป็นโปรโตคอลขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากไม่ต้องการหน่วยความจำและพลังการประมวลในการทำงานมาก NetBEUI ทำให้ NetBEUIสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าโปรโตคอลอื่น ๆ แต่โปรโตคอลนี้ไม่สามารถใช้ในเครือข่ายบริเวณกว้างได้
IP Address (Internet Protocal) address 0.0.0.0 – 255.255.255.255 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดอยู่บนอินเตอร์เน็ตก็เปรียบคล้าย ๆ กับเครื่องโทรศัพท์ที่มีเบอร์เฉพาะตัว ซึ่งก็จะมีเพียงเบอร์เดียวในโลก IP Address IP Address เป็นตัวเลขที่ผู้ดูแลระบบกำหนดขึ้นมา จะไม่ซ้ำกันถ้าอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน และใช้ตัวเลข 4 ชุด แต่ละชุดใช้ 8 บิต (รวม 32 บิต) อ้างอิงค่าได้ 0 ถึง 255 ในแต่ละชุด
IP Address (Internet Protocal) address 0.0.0.0 – 255.255.255.255 • IP Address เป็นตัวเลขขนาด 32 บิต แบ่งออกเป็น 4 ชุด ๆ ละ 8 บิต • ดังนั้นตัวเลข 1 ชุดที่เราเห็นคั่นด้วยจุดนั้น จึงแทนได้ด้วยตัวเลขจาก 0 ถึง 255 • ตัวเลข 4 ชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Network Number และส่วนของ Host Number • โดยขนาดของแต่ละส่วนจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ในเน็ตเวิร์ค Class ใด ซึ่ง Class ของเน็ตเวิร์คแบ่งออกเป็น 4 Classes ดังนี้
IP Address (Internet Protocal) address IP address ประกอบด้วยเลขฐานสอง 32 หลัก ดังนั้นในแต่ละหลักของคลาส แบบต่างๆ ของ IP address จะเป็นดังนี้ > คลาส A 0NNNNNNN.nnnnnnnn.nnnnnnnn.nnnnnnnn > คลาส B 10NNNNNN.NNNNNNNN.nnnnnnnn.nnnnnnnn > คลาส C 110NNNNN.NNNNNNNN.NNNNNNNN.nnnnnnnn > คลาส D 1110nnnn.nnnnnnnn.nnnnnnnn.nnnnnnnn > คลาส E 1111nnnn.nnnnnnnn.nnnnnnnn.nnnnnnnn N คือ หมายเลขเครือข่าย (Network address) n คือ หมายเลขอุปกรณ์เครือข่าย (Host address)
IP Address (Internet Protocal) address 1. Class A 0NNNNNNN.nnnnnnnn.nnnnnnnn.nnnnnnnn • Class A เป็นเน็ตเวิร์คขนาดใหญ่ ระดับประเทศ ระดับโลก • มี Network Number ตั้งแต่ 1.0.0.0 ถึง 127.0.0.0 • นั่นคือใน Class นี้จะมีส่วนของ Host Number ถึง 24 บิต ซึ่งอนุญาตให้มีจำนวนเครื่องได้ 1.6 ล้านเครื่องใน 1 เน็ตเวิร์ค • ซึ่งจะมีเน็ตเวิร์คขนาดใหญ่แบบนี้ได้เพียง 127 เน็ตเวิร์คเท่านั้น
IP Address (Internet Protocal) address 1. Class A 0NNNNNNN.nnnnnnnn.nnnnnnnn.nnnnnnnn ขึ้นต้นหลักแรก ด้วยค่า 0 24 หลักต่อมาเป็น หมายเลขอุปกรณ์เครือข่าย (Host address) 0.0.1 ถึง 255.255.254 (16,777,214 ตำแหน่ง ) 7 หลักต่อมาเป็น หมายเลขเครือข่าย (Network address) 1 ถึง 126 (126ตำแหน่ง )
IP Address (Internet Protocal) address 2. Class B 10NNNNNN. NNNNNNNN.nnnnnnnn.nnnnnnnn • เป็นเน็ตเวิร์คขนาดกลาง บริษัท มหาวิทยาลัย • มี Network number ตั้งแต่ 128.0.0.0 ถึง 191.255.0.0 • นั่นคือใน Class นี้มีส่วนของ Network Number 16 บิต • และส่วนของ Host Number ได้ 16 บิต • ทำให้มีจำนวนเน็ตเวิร์คได้ถึง 16320 เน็ตเวิร์ค และ 65024 Host
IP Address (Internet Protocal) address 2. Class B 10NNNNNN.NNNNNNNN.nnnnnnnn.nnnnnnnn ขึ้นต้น 2 หลักแรกด้วยค่า 10 16 หลักต่อมาเป็น หมายเลขอุปกรณ์เครือข่าย (Host address) 0.1 ถึง 255.254 ( 65,534 ตำแหน่ง ) 14 หลักต่อมาเป็น หมายเลขเครือข่าย (Network address) 128.0 ถึง 191.255 ( 16,384 ตำแหน่ง )
IP Address (Internet Protocal) address 3. Class C 110NNNNN.NNNNNNNN.NNNNNNNN.nnnnnnnn • เป็นเน็ตเวิร์คขนาดเล็ก มี Network Number ตั้งแต่ 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.0 • นั่นคือใน Class นี้มีส่วนของ Network Number 24 บิต และส่วนของ Host Number 8 บิต • ทำให้มีจำนวนของเน็ตเวิร์คได้ถึง 2 ล้านเน็ตเวิร์คและมีจำนวน Host • ในแต่ละเน็ตเวิร์คเท่ากับ 254 Hosts
IP Address (Internet Protocal) address 3. Class C 110NNNNN. NNNNNNNN.NNNNNNNN.nnnnnnnn ขึ้นต้น 3 หลักแรกด้วยค่า 110 8 หลักต่อมาเป็น หมายเลขอุปกรณ์เครือข่าย (Host address) 1 ถึง 254 ( 254 ตำแหน่ง ) 21 หลักต่อมาเป็น หมายเลขเครือข่าย (Network address) 192.0.0 ถึง 223.255.255 ( 2,097,152 ตำแหน่ง )
IP Address (Internet Protocal) address 4. Class D 1110nnnn.nnnnnnnn.nnnnnnnn.nnnnnnnn • เป็นส่วนที่เก็บรักษาไว้สำหรับใช้ในอนาคต สำหรับส่งข้อมูลแบบ Multicast (ไม่มีการใช้งานจริง) มี IP Address ตั้งแต่ 244.0.0.0 ถึง 254.0.0.0
IP Address (Internet Protocal) address 5. Class E 1111nnnn.nnnnnnnn.nnnnnnnn.nnnnnnnn • สำรองไว้เพื่อการพัฒนา
Subnetwork • Subnetwork หรือ Subnet คือการแบ่ง IP Address ออกเป็นเครือข่ายย่อยๆ • เนื่องจากการแบ่งจำนวนเครือข่ายย่อย และจำนวนอุปกรณ์เครือข่าย ในแต่ละคลาสไม่เท่ากัน • ดังนั้นจึงต้องมีตัวช่วยเพื่อใช้แบ่งว่า IP Address ส่วนใดที่ใช้เป็น ตำแหน่งเครือข่าย (Network address) และส่วนใดใช้เป็น ตำแหน่งอุปกรณ์เครือข่าย (Host address) ซึ่งตัวช่วยดังกล่าวเราจะเรียกว่า Subnet mark
Subnetwork • Subnet mark ของแต่ละคลาสจะเป็นดังนี้ > คลาส A 255.0.0.0 > คลาส B 255.255.0.0 > คลาส C 255.255.255.0 • เมื่อเรารู้ IP Address และ Subnet mark เราก็สามารถหาตำแหน่งเครือข่าย (Network Address) และตำแหน่งอุปกรณ์เครือข่าย (Host Address) ได้ไม่ยาก
การตรวจสอบ IP Address 1 คลิกที่ปุ่ม Start