1 / 27

กฎหมายแรงงานสัมพันธ์

กฎหมายแรงงานสัมพันธ์. ศ.เกษมสันต์ วิลาวรรณ. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ (๒๘ มีนาคม ๒๕๑๘ - ปัจจุบัน) (กิจการเอกชน). พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ (๘ เมษายน ๒๕๔๓ - ปัจจุบัน) (รัฐวิสาหกิจ). ลักษณะ.

Download Presentation

กฎหมายแรงงานสัมพันธ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ศ.เกษมสันต์ วิลาวรรณ

  2. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ (๒๘ มีนาคม ๒๕๑๘ - ปัจจุบัน) (กิจการเอกชน) พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ (๘ เมษายน ๒๕๔๓ - ปัจจุบัน) (รัฐวิสาหกิจ)

  3. ลักษณะ • กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ เป็นกฎหมายที่ • กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลสองฝ่ายคือ ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามารถทำข้อตกลงในเรื่องสิทธิ หน้าที่ และผลประโยชน์ในการทำงานร่วมกันได้ • กำหนดวิธีการระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นให้ยุติลงโดยรวดเร็ว และด้วยความพอใจของทั้งสองฝ่ายมากที่สุด ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสงบสุขในอุตสาหกรรม อันจะนำมาซึ่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติเป็นสำคัญ

  4. การตีความ • บทบัญญัติที่เป็นวิธีการและขั้นตอน ควรตีความไปในทางหรือนัยที่จะทำให้นายจ้างและลูกจ้างอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขเป็นสำคัญ ขั้นตอนเป็นเพียง เส้นทางพาไปสู่ข้อตกลง ร่วมกันเท่านั้น • บทบัญญัติที่มีโทษทางอาญา ก็ตีความเช่นเดียวกับกฎหมายอาญาโดยทั่วไป

  5. ระบบแรงงานสัมพันธ์ในกฎหมายระบบแรงงานสัมพันธ์ในกฎหมาย COLLECT I VE BARGA I N I NG JOINT CONSULTATION การร่วมเจรจาต่อรอง COLLECTIVE BARGAINING • การจัดตั้งองค์การลูกจ้างและนายจ้าง • การเรียกร้อง • การเจรจาต่อรอง • การไกล่เกลี่ย • การชี้ขาด • การปิดงานและการนัดหยุดงาน • การกระทำอันไม่เป็นธรรม การร่วมปรึกษาหารือ JOINT CONSULTATION • คณะกรรมการลูกจ้าง

  6. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 กำหนดให้ลูกจ้างตั้งสหภาพแรงงานได้ 2 ประเภท • สหภาพแรงงานที่ผู้จัดตั้งและสมาชิกเป็นลูกจ้าง ของนายจ้างคนเดียวกัน (House union) • สหภาพแรงงานที่ผู้จัดตั้งและสมาชิกเป็นลูกจ้าง ซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกัน ไม่ว่าจะมี นายจ้างกี่คน (Industrial union)

  7. สหภาพแรงงานลูกจ้างผู้บังคับบัญชาสหภาพแรงงานลูกจ้างผู้บังคับบัญชา สหภาพแรงงานลูกจ้างธรรมดา :ลูกจ้างผู้บังคับบัญชาและลูกจ้างธรรมดาจะเป็นสมาชิกในสหภาพแรงงานเดียวกันไม่ได้ • นายจ้าง • ลูกจ้างผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการจ้าง ลดค่าจ้าง เลิกจ้าง ให้บำเหน็จ หรือลงโทษ • ลูกจ้างซึ่งไม่มีอำนาจดังเช่นลูกจ้างผู้บังคับบัญชา

  8. การจัดตั้งสหภาพแรงงานการจัดตั้งสหภาพแรงงาน 1. ลูกจ้างที่บรรลุนิติภาวะ มีสัญชาติไทย จำนวน 10 คน ขึ้นไป ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนพร้อมร่าง ข้อบังคับสหภาพแรงงาน 2. นายทะเบียน (อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ว่าราชการจังหวัด) พิจารณาคำขอและร่าง ข้อบังคับ จดทะเบียน ออกใบสำคัญ และประกาศการ จดทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา

  9. การดำเนินการหลังจดทะเบียนการดำเนินการหลังจดทะเบียน • เมื่อจดทะเบียนแล้ว ต้องจัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก ภายใน 120 วัน เพื่อ 1) เลือกตั้งกรรมการสหภาพแรงงาน 2) อนุมัติร่างข้อบังคับ 2. คณะกรรมการสหภาพแรงงานนำรายชื่อกรรมการและข้อบังคับไปจดทะเบียนใน 14 วัน 3. ชักชวนลูกจ้างเป็นสมาชิกให้ได้อย่างน้อย 20%

  10. วันลาไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานและไปร่วมประชุมของกรรมการสหภาพแรงงานวันลาไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานและไปร่วมประชุมของกรรมการสหภาพแรงงาน 1. ลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานในฐานะผู้แทน ลูกจ้างในการเจรจา การไกล่เกลี่ย และการชี้ขาดข้อพิพาท แรงงาน 2. ลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนด โดยแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลา พร้อมแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และถือว่าวันลาดังกล่าวเป็นวันทำงาน (ได้รับค่าจ้างทุกวันที่ลา)

  11. ลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนด หมายถึง การไปร่วมชุมนุมในเรื่องเกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้น และต้องเป็นสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างดังกล่าวสังกัดอยู่เท่านั้น x การร่วมประชุมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์(5297/2539) x การร่วมจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ(4700/2539)

  12. องค์การของลูกจ้าง สหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง ต้องมีวัตถุประสงค์ตามกฏหมายต้องจดทะเบียน เมื่อจดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล

  13. การควบคุมองค์การ • องค์การที่ • ดำเนินการขัดวัตถุประสงค์ ขัดกฎหมาย เป็นภัยต่อเศรษฐกิจความมั่นคงของประเทศ / ขัดต่อความสงบเรียบร้อย – ศีลธรรมอันดี • ไม่เลือกตั้งกรรมการใหม่ตามที่นายทะเบียนสั่ง • ไม่ดำเนินการติดต่อกันเกิน 2 ปี ** นายทะเบียนสั่งให้เลิกองค์การได้ **

  14. การคุ้มครองสิทธิ เพื่อให้ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิในการจัดตั้งและดำเนินการ สหภาพแรงงานและเข้าร่วมเจรจาต่อรองกับนายจ้างได้ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 กำหนด การกระทำอันไม่เป็นธรรม

  15. การกระทำอันไม่เป็นธรรมการกระทำอันไม่เป็นธรรม UNFAIR LABOUR PRACTICES ห้ามมิให้นายจ้าง 1. เลิกจ้างหรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างฯ ไม่ สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้เพราะเหตุที่ลูกจ้างฯ ได้นัดชุมนุม ทำคำร้อง ยื่นข้อเรียกร้อง เจรจา ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือ เพราะเหตุที่ลูกจ้างฯ กำลังจะกระทำการดังกล่าว 2. เลิกจ้างหรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เพราะเหตุที่ลูกจ้างนั้นเป็นสมาชิกของ สหภาพแรงงาน

  16. 3. ขัดขวางในการที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก หรือให้ ลูกจ้างออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน 4. ขัดขวางการดำเนินของสหภาพแรงงาน…… 5. เข้าแทรกแซงในการดำเนินการของสหภาพแรงงาน การกระทำอันไม่เป็นธรรม UNFAIR LABOUR PRACTICES ห้ามมิให้นายจ้าง

  17. คำขอของสหภาพแรงงาน 1.การขอปรับปรุงสภาพการจ้าง 2.การขอสถานที่เพื่อเป็นที่ทำการสหภาพแรงงาน 3.การขอวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในกิจการสหภาพแรงงาน 4.การขอประชาสัมพันธ์ในสถานประกอบการ 5.การขอติดต่อสมาชิกในสถานประกอบการ 6.การขอประชุมสมาชิกในสถานประกอบการ

  18. 7.การขอให้หักค่าจ้างสมาชิกและส่งให้สหภาพแรงงาน7.การขอให้หักค่าจ้างสมาชิกและส่งให้สหภาพแรงงาน 8.การขออนุญาตลางานเพื่อกิจการสหภาพแรงงาน 9.การขอเข้าร่วมในการสอบข้อเท็จจริงและพิจารณา โทษทางวินัย 10.การขอปรึกษาหารือเป็นประจำฯลฯ ที่นายจ้างจะได้รับเมื่อมีสหภาพแรงงาน

  19. ปัจจัยที่ทำให้มีการก่อตั้งสหภาพแรงงานปัจจัยที่ทำให้มีการก่อตั้งสหภาพแรงงาน 1. การฝ่าฝืนกฏหมายคุ้มครองแรงงาน 2. การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 3. ค่าตอบแทนที่ต่ำเกินสถานะของนายจ้าง 4. สวัสดิการไม่มีหรือไม่เพียงพอ 5. การลงโทษทางวินัยที่ไม่มีหลักเกณฑ์ 6. การบริหารงานบุคคลที่ไม่มีหลักการอันถูกต้อง

  20. 7. ระบบการยุติข้อร้องทุกข์ที่ไม่มีหรือไม่ได้ผล 8. การสื่อสารข้อความที่ขาดตอน 9. กิจการที่ลูกจ้างมีโอกาสกระทำร่วมกันไม่มี 10. ความต้องการมีตำแหน่งทางสังคม 11. ลัทธิเอาอย่าง 12. การสนับสนุนของนายจ้าง

  21. นายจ้าง สหภาพแรงงาน ยอมรับว่าสหภาพแรงงานเป็นองค์การ ยอมรับว่านายจ้างมีสิทธิในการจัดการ โดยชอบด้วยกฏหมาย (management right) ยอมรับว่าสหภาพแรงงานเป็นตัวแทน ยอมรับว่านายจ้างเป็นแหล่งงานที่ต้อง ของลูกจ้าง พึ่งพาและรักษาให้คงอยู่ ยอมรับว่าสหภาพแรงงานเป็นองค์การ ยอมรับว่านายจ้างจำเป็นต้องแสวงและ ที่มีความรับผิดชอบ รักษาผลประโยชน์ การสื่อสารข้อความที่ดีจะเป็นวิถีทางให้เกิดความเข้าใจอันดี การเจรจาต่อรองด้วยความจริงใจจะทำให้เกิดข้อตกลงที่พอใจ การแบ่งปันผลประโยชน์ที่เหมาะสมจะทำให้องค์การทั้งสองฝ่ายพัฒนา ข้อขัดแย้งทุกเรื่องสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรึกษาหารือร่วมกัน

  22. ปรัชญาแรงงานสัมพันธ์ หากฝ่ายนายจ้างกับฝ่ายลูกจ้าง(หรือสหภาพแรงงาน)ต่างปฏิบัติต่อกันด้วยดี ร่วมสร้างประโยชน์และนำมาแบ่งปันกันอย่างเหมาะสม ยอมรับในบทบาทและเคารพในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของแต่ละฝ่ายก็จะทำให้ลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความตั้งใจในการทำงานสร้างผลผลิตและบริการที่มีประสิทธิภาพทำให้นายจ้างดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมได้อย่างราบรื่น และได้รับประโยชน์หรือกำไรตามวัตถุประสงค์

  23. แรงงานสัมพันธ์เชิงลบต่อสหภาพแรงงาน ? 1. ไม่ยอมรับสหภาพแรงงาน 2. ไม่ยอมรับกรรมการสหภาพแรงงาน 3. ไม่ช่วยหรือสนับสนุนให้กรรมการสหภาพแรงงานมีความรู้กฎหมายแรงงาน และการเจรจาต่อรองอย่างถูกต้อง 4. ไม่ยอมมีปฏิสัมพันธ์กับกรรมการสหภาพแรงงาน 5. ไม่ยอมเข้าใจในบทบาทของสหภาพแรงงานและ ลักษณะของลูกจ้างในสังคมแรงงานไทย

  24. 6. ทำให้กรรมการสหภาพแรงงานหรือกรรมการลูกจ้างไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกต้องตามครรลองได้ 7. ทำให้กรรมการสหภาพแรงงานหรือผู้นำลูกจ้างต้องออกไปจากงานด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การกลั่นแกล้งไม่ให้เข้าในสถานประกอบการ ไม่มอบงานให้ทำ เลิกจ้างโดยอ้างความผิดที่ไม่ถึงขนาดที่จะเลิกจ้างได้ เป็นต้น 8. ให้เงินแก่กรรมการสหภาพแรงงานเพื่อให้ลดบทบาทการเรียกร้อง เจรจาต่อรอง หรือเพื่อให้ออกจากงานไป

  25. การร่วมเจรจาต่อรอง ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

  26. สภาพการจ้าง เงื่อนไขการจ้าง เงื่อนไขการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง ประโยชน์อื่นของนายจ้างและลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างและการทำงาน นายจ้าง ลูกจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

  27. การมีอยู่ของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างการมีอยู่ของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง 1. สถานประกอบการทุกแห่งจะมี

More Related