1 / 14

น้ำดื่ม..น้ำใช้ ในโรงเรียน

น้ำดื่ม..น้ำใช้ ในโรงเรียน.

Download Presentation

น้ำดื่ม..น้ำใช้ ในโรงเรียน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. น้ำดื่ม..น้ำใช้ ในโรงเรียน

  2. น้ำ เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ในการดำรงชีวิตของคนเราเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะน้ำเพื่อการบริโภค นอกจากจะต้องมีปริมาณที่เพียงพอแล้ว ยังต้องมีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ตามเกณฑ์เสนอแนะคุณภาพน้ำบริโภค ขององค์การอนามัยโลก หรือเกณฑ์คุณภาพน้ำประปา กรมอนามัย พ.ศ.2543 ทั้งนี้ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะเด็ก ซึ่งจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า

  3. โรงเรียนควรจัดให้มีน้ำสะอาดไว้ สำหรับดื่มและใช้ให้พอเพียงด้วย โดยคำนวณน้ำดื่มได้ประมาณ 5 ลิตร/คน/วัน ส่วนน้ำใช้ ประมาณ 10 ลิตร/คน/วัน แหล่งน้ำที่สามารถจัดหามาได้มี 3 ทางเลือก คือ น้ำประปา น้ำฝนที่สะอาด และน้ำจากบ่อที่ถูกสุขลักษณะ                     •  น้ำประปา เป็นน้ำที่ผ่านการกรองและฆ่าเชื้อโรคแล้ว จึงเป็นน้ำที่ปลอดภัยอาจได้แหล่งน้ำดิบมาจากน้ำผิวดินหรือน้ำใต้ดินอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือใช้จากทั้งสองแหล่ง ขึ้นกับความต้องการปริมาณน้ำให้พอเพียง                     •  น้ำฝน เป็น น้ำสะอาดที่สุด ที่ได้จากธรรมชาติ แต่ต้องมีภาชนะรองรับเก็บกักไว้อาจเป็นถังเก็บน้ำฝน ตุ่มน้ำ หรือภาชนะอื่นใดก็ตาม แต่ควรมีขนาดใหญ่หรือมีความจุที่เพียงพอที่จะเก็บน้ำฝนไว้ดื่มไว้ใช้ได้ตลอด ปี หรืออย่างน้อยต้องสามารถใช้ต่อไปได้อีกตลอด 8 เดือน หลังจากหมดฝนไปแล้ว และเพื่อความมั่นใจในความสะอาดของน้ำ ควรล้างทำความสะอาดภาชนะที่เก็บกักน้ำฝน อย่างน้อยปีละครั้ง และก่อนรองรับน้ำฝนใหม่ ควรปล่อยให้น้ำฝนได้ชะล้างสิ่งสกปรกบนหลังคาให้สะอาดเสียก่อน หากโรงเรียนมีหลายทางเลือก ควรแยกน้ำฝนไว้ใช้ดื่ม และน้ำประปาหรือน้ำจากบ่อเอาไว้เป็นน้ำใช้                     •  น้ำบ่อหรือน้ำใต้ดิน เป็น น้ำฝนที่ตกลงบนดินแล้วซึมลงไปเป็นน้ำใต้ดิน น้ำบ่อลึกหรือน้ำบาดาลเป็นน้ำที่มีความสะอาดพอ แต่ควรจะลึกเกินกว่า 3 เมตร ตั้งอยู่ห่างจากแหล่งโสโครกไม่น้อยกว่า 30 เมตร เพื่อให้ถูกสุขลักษณะ ควรทำเป็นบ่อคอนกรีต ขอบบ่อสูงจากระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เทลานซีเมนต์รอบปากบ่อ โดยมีขอบลาน ไม่น้อยกว่า 1 เมตร ปากบ่อมีฝาปิดครอบ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำหรือติดคันสูบมือโยก

  4. การจัดการน้ำบริโภคในโรงเรียนการจัดการน้ำบริโภคในโรงเรียน --โรงเรียนในพื้นที่ กรุงเทพมหานครเกือบทุกสังกัดใช้น้ำประปาเป็นน้ำดื่ม คิดเป็นร้อยละ 98 มีเพียงโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษาโรงเรียนเดียวเท่านั้น ที่ใช้น้ำบรรจุขวดเป็นน้ำดื่ม สำหรับปริมาณน้ำบริโภค ส่วนใหญ่มีปริมาณเพียงพอ และมีจุดบริการน้ำดื่ม สำหรับนักเรียน เป็นลักษณะแบบเปิด จากก๊อกน้ำร้อยละ 95 และ 93 ตามลำดับ ด้านการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ก่อนนำมาบริโภค ส่วนใหญ่ใช้วิธการกรอง โดยมีการทำความสะอาดเครื่องกรอง 6 เดือนต่อครั้ง และปีละครั้ง ร้อยละ 29 และ 26 ตามลำดับ

  5. ด้านภาชนะสำหรับน้ำดื่ม โรงเรียนร้อยละ 75 มีภาชนะสำหรับดื่มน้ำที่จุดบริการ โดยนักเรียนจะจัดหามาใช้เป็นส่วนตัวร้อยละ 43 โรงเรียนจัดให้โดยใช้ภาชนะรวมร้อยละ 30 และเป็นแก้วกระดาษร้อยละ 2 และมีความสะอาดของภาชนะ สำหรับดื่มร้อยละ 79 ซึ่งส่วนใหญ่จะล้างทำความสะอาดภาชนะทุกวัน ร้อยละ 71 ผู้รับผิดชอบในการจัดหาน้ำดื่ม ส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ของภารโรง ร้อยละ 68 รองลงมาเป็นครู เจ้าหน้าที่ฝ่านอาคาร และอาสาสมัครนักเรียน โดยโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และสังกัดเอกชน ไม่มีผู้รับผิดชอบในการจัดหาน้ำดื่ม ร้อยละ 14 และ 6 ตามลำดับ ความสะอาดบริเวณจุดบริการ และบริเวณโดยรอบส่วนใหญ่ ไม่มีคราบสกปรก ร้อยละ 77 และไม่มีน้ำท่วมขัง หรือเฉอะแฉะ บริเวณพื้นร้อยละ 55

  6. --สำหรับโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดต่างๆ โรงเรียนทุกสังกัดใช้น้ำประปาเป็นน้ำดื่ม คิดเป็นร้อยละ 55 น้ำฝนร้อยละ 19 น้ำบากาลร้อยละ 16 น้ำบ่อตื้นร้อยละ 6 และน้ำบรรจุขวดร้อยละ 4 โดยพบว่า โรงเรียนที่ใช้น้ำฝนสำหรับบริโภคมีเพียง 2 สังกัด โดยโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน การประถมศึกษามีสัดส่วน การใช้น้ำฝนร้อยละ 22 และ สังกัดกรมสามัญศึกษาร้อยละ 10 และโรงเรียนส่วนใหญ่มี ปริมาณน้ำดื่ม เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 83 ด้านจุดบริการน้ำดื่ม โรงเรียนร้อยละ 60 มีจุดบริการน้ำดื่มสำหรับนักเรียน ลักษณะของจุดบริการน้ำดื่มเป็นแบบเปิดจากก๊อกน้ำ ร้อยละ 31 และแบบภาชนะใส่มีฝาปิดร้อยละ 15 สำนักงานการประถมศึกษาร้อยละ 18 ไม่ทำความสะอาดเครื่องกรองน้ำ

  7. การปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนนำมาบริโภค ร้อยละ 71 ปรับปรุงด้วยวิธีการกรอง สำหรับการทำความสะอาดเครื่องกรอง ของโรงเรียนส่วนใหญ่ ทำความสะอาด 1-6 เดือนต่อครั้ง ยกเว้นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาร้อยละ 18 ไม่ทำความสะอาดเครื่องกรองน้ำ ด้านภาชนะน้ำดื่ม โรงเรียนร้อยละ 62 มีภาชนะสำหรับดื่มน้ำ ที่จุดบริการ โดยโรงเรียนในสังกัดเอกชน และสำนักงานการประถมศึกษาส่วนใหญ่ นักเรียนจะจัดหาภาชนะสำหรับดื่มน้ำ มาใช้เป็นส่วนตัว แต่โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา และเทศบาล โรงเรียนจัดหาภาชนะให้ ภาชนะสำหรับดื่มน้ำร้อยละ 47 มีความสะอาด และล้างทำความสะอาดทุกวัน ร้อยละ 54 ยกเว้นโรงเรียนในสังกัดเอกชน มีการล้างภาชนะทุกวัน

  8. ผู้รับผิดชอบในการจัดหาน้ำดื่ม ส่วนใหญ่เป็นของภารโรงร้อยละ 57 รองลงมาเป็นครู อาสาสมัครนักเรียน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายอาคาร • สำหรับความสะอาดบริเวณจุดบริการน้ำดื่ม และบริเวณโดยรอบ ส่วนใหญ่ไม่มีคราบสกปรก ร้อยละ 54 และไม่มีน้ำท่วมขัง หรือเฉอะแฉะบริเวณพื้นร้อยละ 58

  9. คุณภาพน้ำบริโภคในโรงเรียนคุณภาพน้ำบริโภคในโรงเรียน --น้ำบริโภคของโรงเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียร้อยละ 15 โดยโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา และสำนักงานการประถมศึกษาไม่พบการปนเปื้อน สำหรับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน พบการปนเปื้อนในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ร้อยละ 19 และ 18 ตามลำดับ --ส่วนน้ำบริโภคของโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดต่างๆ มีการปนเปื้อนแบคทีเรียร้อยละ 65 โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ มีสัดส่วนการปนเปื้อนสูงสุด ในบรรดาโรงเรียนในสังกัดต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 67

  10. หากพิจารณา การปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ตามประเภทของน้ำบริโภค ที่มีการปนเปื้อนสูงอันดับแรก ได้แก่ น้ำฝน ร้อยละ 80 รองลงมาเป็นน้ำบาดาลร้อยละ 67 น้ำบรรจุขวดร้อยละ 66 น้ำบ่อตื้นร้อยละ 61 และน้ำประปาร้อยละ 59

  11. จำนวนและระดับความสูงที่เหมาะสมของอ่างน้ำพุและอ่างล้างมือ แยกตามระดับชั้นเรียน • หมายเหตุ * เฉพาะนักเรียนมัธยมชาย ควรจัดให้มีจำนวนอ่างน้ำพุ 1 ที่ /50 คน และอ่างล้างมือ 1 ที่ /30 คน

  12. ข้อเสนอแนะ จากข้อมูลและสถานการณ์ดังกล่าว ผู้วิจัยได้จัดการประชุมนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ครู และนักเรียน เพื่อร่วมกันพิจารณาข้อเสนอแนะ ในการจัดการคุณภาพน้ำบริโภคในโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนต่างๆ และหน่วยงานที่เหมาะสม ดังนี้ • จัดระบบการเรียนรู้ การรับผิดชอบงานและการดูแลคุณภาพน้ำบริโภคในโรงเรียน โดยมีนักเรียนเป็นศูนย์กลาง • จัดให้มีการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภค ด้วยวิธีการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำอย่างง่าย การดูแลรักษาภาชนะ สำหรับดื่มน้ำให้สะอาด การดูแลเครื่องกรองน้ำ เป็นต้น โดยอาสาสมัครนักเรียน ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วม และรับทราบปัญหา • ให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ผลของคุณภาพน้ำ และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไข • ให้นักเรียนจัดทำระบบข้อมูลติดตาม ผลการดำเนินงาน และรายงานผลต่อผู้บริหาร และประชาชนสัมพันธ์ภายในโรงเรียน

  13. ควรจะเน้นการจัดจุดบริการน้ำดื่ม ให้สัมพันธ์กับกิจกรรม และความสะดวก เช่น สถานที่ออกกำลังกายของนักเรียน และโรงอาหาร • ควรให้ความสำคัญกับภาชนะ สำหรับดื่มน้ำ ในเรื่องความสะอาด และความสะดวกในการนำมาใช้ โดยในระดับอนุบาล และประถมศึกษา โรงเรียนควรจัดภาชนะ สำหรับดื่มน้ำไว้บริการ และต้องทำความสะอาดทุกวัน สำหรับในระดับมัธยมศึกษา ให้นักเรียนจัดหา และรักษาความสะอาดเอง • จัดสภาพพื้นที่ในบริเวณจุดบริการน้ำดื่มให้สะอาด จะต้องไม่เฉอะแฉะ และไม่มีน้ำขัง • ควรเน้นการดูแลรักษาเครื่องกรองน้ำ ตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์ ในกรณีโรงเรียนใช้เครื่องกรองน้ำในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ • กรณีน้ำดิบ เช่น น้ำบาดาล น้ำประปามีปัญหา ให้โรงเรียนประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบสาธารณูปโภค ของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณ • ผลิตภัณฑ์น้ำดื่มที่นำมาจำหน่ายภายในโรงเรียน จะต้องได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองจาก อย. • ควรรณรงค์ประชาสัมพันธ์การดื่มน้ำสะอาด ในปริมาณที่เพียงพอ โดยจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น โปสเตอร์ โดยใช้กลุ่มนักเรียนเป็นพรีเซนเตอร์ การประกวดเรียงความ และงานศิลปะ • ส่งเสริมการรับรองมาตรฐาน การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพน้ำบริโภคในโรงเรียน ในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

More Related