380 likes | 698 Views
บทบาทพนักงานอัยการและสหวิชาชีพ ในการคุ้มครองเด็ก สตรี ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว. โดย นายสาโรช นักเบศร์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการสูงสุด. กฎหมายคุ้มครองเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว. พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
E N D
บทบาทพนักงานอัยการและสหวิชาชีพในการคุ้มครองเด็ก สตรี ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว โดย นายสาโรช นักเบศร์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการสูงสุด
กฎหมายคุ้มครองเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว • พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 • พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 • พรบ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (สอบสวนเด็ก) • ประมวลกฎหมายอาญา (วิธีการเพื่อความปลอดภัย,โทษ) • ประมวลกฎหมายแพ่งฯ (ครอบครัว,ผู้ปกครอง) • พรบ.ป้องกันและปราบการค้ามนุษย์ 2551
พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว2550 • เหตุผลที่ประกาศใช้ พรบ. -ความรุนแรงในครอบครัวเป็นความผิดต่อบุคคลในครอบครัว -มาตรการทางอาญามีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ในครอบครัว -มาตรการทางสังคมช่วยคุ้มครองผู้ถูกกระทำมิให้ถูกกระทำซ้ำ -มาตรการทางสังคมให้โอกาสผู้กระทำกลับตัวไม่กระทำผิดซ้ำ -มาตรการทางสังคมเหมาะสมกว่ามาตรการทางอาญา
เจตนารมณ์ของ พรบ.(มาตรา 15) -มุ่งถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันในครอบครัวเป็นสำคัญ -คุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว -สงวนและคุ้มครองสถานภาพของการสมรส ถ้าไม่สามารถรักษา ไว้ได้ให้การหย่าเป็นไปด้วยความเป็นธรรม และเสียหายน้อยที่สุด -คุ้มครองและช่วยเหลือครอบครัว -ช่วยเหลือสามีภริยาและบุคคลในครอบครัวให้ปรองดอง และปรับปรุงความสัมพันธ์
บุคคลในครอบครัว • คู่สมรส คู่สมรสเดิม • ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันท์สามีภริยา • บุตร บุตรบุญธรรม • สมาชิกในครอบครัว • บุคคลที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน
กระทำความรุนแรงในครอบครัวกระทำความรุนแรงในครอบครัว • กระทำโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ ของบุคคลในครอบครัว • กระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตราย แก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ ของบุคคลในครอบครัว • บังคับ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม ให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำ โดยมิชอบ
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรการคุ้มครองผู้ถูกกระทำ การดำเนินคดีผู้กระทำผิด ม.5 การแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ม.4 ฐานความผิดกระทำรุนแรงในครอบครัว ม.6 การคุ้มครองเบื้องต้น ม.7 ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ม.9 ห้ามโฆษณาเผยแพร่ ม.8 สอบสวน-ฟ้อง 48 ชม. 3ผัด 6 วัน ม.10 บรรเทาทุกข์ชั่วคราวระหว่างสอบสวนม.8ว2 ฟ้องศาลเยาชน,ศาลอื่น ม.11 บรรเทาทุกข์ชั่วคราวโดยศาลม.12 พิพากษา ม.12 ปรับแก้พฤติกรรมผู้กระทำก่อนยอมความ ม.12 ปรับแก้พฤติกรรมแทนการลงโทษ
กระบวนการใช้บังคับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้กูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง การดำเนินคดีผู้กระทำผิด ม. 5 แจ้ง พนจ.ตำรวจ ปกครอง ม.4,7 ร้องทุกข์ใน 3 เดือน ม.6 มาตรการคุ้มครอง ผู้ถูกกระทำเบื้องต้น ม.9 ห้ามโฆษณาเผยแพร่ ม.8พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน สอบปากคำผู้ถูกกระทำ ม.10 มาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว ขออนุญาตฟ้อง ม.12 มาตรการกำหนดเงื่อนไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนยอมความ ม.8 อัยการฟ้อง ไม่ฟ้อง,ยุติ ม.15 ม.11 มาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว ศาลเยาวชน ศาลอื่นที่มีโทษสูงกว่า ม.12ว.2มาตรการกำหนดเงื่อนไขปรับเปลี่ยนพฤติกรมก่อนยอมความ ลงโทษ ยกฟ้อง ม.12 ว.1 มาตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้กระทำผิดแทนการลงโทษ
การดำเนินคดีฐานทำความรุนแรงในครอบครัวการดำเนินคดีฐานทำความรุนแรงในครอบครัว • การร้องทุกข์ (มาตรา4,6,7,8) • การสอบสวน (มาตรา8ว1,8ว3) • การฟ้องคดี (มาตรา8ว1,8ว2) • การพิจารณาพิพากษา (มาตรา12,14,15)
การร้องทุกข์ 1.ยอมความได้ รวมถึงทำร้าย ม.295 (ม.4) 2.โทษ จำ 6 เดือน ปรับ 6,000 บาท (ม.4) 3.ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่ อยู่ในวิสัยและโอกาส (ม.7,8) 4.ผู้เสียหายร้องทุกข์เอง (ม.6,7) 5.พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องทุกข์แทน(ม.6)
การฟ้องคดี(ม.8ว2) 1. เขตอำนาจศาล 1.1 ความรุนแรง ศาลเยาวชน 1.2 ความรุนแรง+ม.391 ศาลเยาวชน 1.3 ความรุนแรง+ม.295 ศาลแขวง 1.4 ความรุนแรง+ม.297 ศาลจังหวัด,อาญา 1.5 ทหารทำรุนแรง+โทษไม่สูงกว่า ศาลเยาวชน 1.6ทหารทำรุนแรง +โทษสูงกว่า ศาลทหาร 1.7เด็กทำความรุนแรงฯ ศาลเยาวชน 2. ใช้บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.นี้โดยอนุโลม
การพิจารณาพิพากษา 1.การพิจารณา การยื่น การรับฟังพยานหลักฐาน 1.1 คดีที่ขึ้นศาลเยาวชน ใช้วิ.เยาวชนโดยอนุโลม(ม.14) 1.2 คดีที่ขึ้นศาลแขวง ใช้วิ.แขวง 1.3 คดีที่ขึ้นศาลจังหวัด,ศาลอาญา ใช้วิ.อาญา 1.4 คดีที่เด็กเป็นผู้ต้องหา ใช้วิ.เยาวชน 2. การพิพากษา ศาลอาจใช้มาตรการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมแทนการลงโทษได้(ม.12)
มาตรการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว1.แจ้งเหตุและคุ้มครองเบื้องต้น (ชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่) ม6.พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจ -เข้าไปในเคหสถานที่เกิดเหตุ -จัดให้ผู้ถูกกระทำรับการตรวจ จากแพทย์ -จัดให้ผู้ถูกกระทำรับคำปรึกษา จากจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ -จัดให้มีการร้องทุกข์ตามประสงค์ ม5.ผู้ถูกกระทำ ผู้พบ-ทราบเหตุ แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ม9.ห้ามโฆษณาเผยแพร่ ต่อสาธารณชน(6เดือน6หมื่น)
ม.10 พนักงานเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่, ม.11ศาล กำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว -ให้ผู้กระทำได้รับการตรวจจากแพทย์ -ชดใช้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น -ห้ามเข้าไปในที่พำนักของครอบครัว -ห้ามเข้าใกล้ตัวบุคคลใดในครอบครัว -กำหนวิธีการดูแลบุตร ม.10รายงาน ศาล ใน48ชม. ม4,7.ร้องทุกข์ใน3เดือน 2. คุ้มครองระหว่างสอบสวน (ชั้นพนักงานสอบสวน) ม8.พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนและความ เห็นให้อัยการเพื่อฟ้องใน48ชม.หรือ 3ผัดx6วัน ม12.พนักงานสอบสวนจัดให้มีการไกล่เกลี่ย กำหนดเงื่อนไขปรับแก้พฤติกรรมผู้กระทำก่อน การยอมความ –กำหนดวิธีการฟื้นฟู บำบัดรักษา คุมความประพฤติ ให้ชดใช้เงินช่วยเหลือ ทำงาน บริการสังคม ละเว้นการกระทำที่เป็นเหตุเกิด ความรุนแรงในครอบครัวทำทัณฑ์บน ขออนุญาตฟ้อง อัยการฟ้อง ไม่ฟ้อง,ยุติ
ม.11 ในระหว่างการพิจารณาคดี ศาลกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ -ให้ผู้กระทำเข้ารับการตรวจจากแพทย์ -ชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ -ห้ามเข้าไปในที่พำนักของครอบครัว -ห้ามเข้าใกล้ตัวบุคคลในครอบครัว -กำหนดวิธีการดูแลบุตร 3.คุ้มครองระหว่างพิจารณา (ชั้นศาล) ศาลอื่นกรณีความผิด กรรมเดียวที่มีโทษสูงกว่า ศาลเยาวชน ม15.หลักเปรียบเทียบให้ยอมกัน พิจารณา ม12.ศาลจัดให้มีการไกล่เกลี่ยกำหนดเงื่อนไข ปรับแก้พฤติกรรมผู้กระทำก่อนการยอมความ พิพากษา ม12.ศาลใช้มาตรการปรับแก้พฤติกรรมผู้กระทำ แทนการลงโทษ –วิธีฟื้นฟู บำบัดรักษา คุมประพฤติ ชดใช้เงิน ทำงานบริการสาธารณะ ละเว้นการกระทำที่ เป็นเหตุเกิดความรุนแรง ทำทัณฑ์บน ลงโทษ ยกฟ้อง
พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก 2546สงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพส่งเสริมความประพฤติ การคุ้มครองเด็กที่ถูกทารุณกรรม การดำเนินคดีผู้กระทำผิด • แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ม.29,41 กระทำผิดต่อเด็ก ม.26 • คุ้มครองสวัสดิภาพ ม.30,37,41,42,43 ทารุณกรรม • ห้ามโฆษณาเผยแพร่ ม.27 ไม่ให้สิ่งจำเป็น ไม่รักษาพยาบาล ให้เด็กมีพฤติกรรมเสี่ยง ให้เด็กทำงานอันตราย
ทารุณกรรมเด็ก • ทำให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ • เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจเด็ก • กระทำผิดทางเพศต่อเด็ก • ใช้เด็กทำในลักษณะน่าเป็นอันตรายแก่ร่างกายจิตใจ • ใช้เด็กกระทำขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรม * ไม่ว่าเด็กยินยอมหรือไม่
การคุ้มครองเด็กที่ถูกทารุณกรรมตามพรบ.คุ้มครองเด็ก2546การคุ้มครองเด็กที่ถูกทารุณกรรมตามพรบ.คุ้มครองเด็ก2546 มาตรการคุ้มครองเด็กที่ถูกทารุณกรรม การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก การดำเนินคดีผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 41, 42,37 โดยศาล ม.43 อัยการฟ้อง ไม่ฟ้อง ลงโทษ ศาลเยาวชน ยกฟ้อง
การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กโดยพนักงานเจ้าหน้าที่การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ 1.ผู้พบเห็น / ทราบ แจ้งหรือรายงานพนักงานเจ้าหน้าที่ ฯ (ม.29,41) 2.พนักงานเจ้าหน้าที่ฯตรวจค้นและแยกตัวเด็ก (ม.41) 3.ตรวจร่างกายและจิตใจเด็ก (ม.42) 4.สืบเสาะพินิจและส่งเด็กไปสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก (ไม่เกิน7วัน ขยายได้ 30วัน) (ม.42) 5.ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก (ม.37)
การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กโดยคำสั่งศาล(ม.43)การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กโดยคำสั่งศาล(ม.43) 1.กรณีที่มีการฟ้องผู้ปกครองหรือญาติของเด็กเป็นคดีอาญา -มีเหตุสมควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องจะทำทารุณกรรมเด็กอีก -ศาลสั่งคุมประพฤติ ห้ามเข้าเขตกำหนด ห้ามเข้าใกล้ตัวเด็ก ทำทัณฑ์ -กรณีจำเป็นเร่งด่วน ศาลอาจสั่งให้จับกุมผู้ที่จะทำทารุณกรรมเด็กมาขังได้ ครั้งละไม่เกิน30วัน 2.กรณีที่ยังไม่ฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ปกครอง-ญาติของเด็กเป็นคดีอาญา -พนักงานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิ์ภาพ อัยการ ยื่นขอต่อศาลสั่งไม่ให้ทำทารุณกรรม คุมประพฤติ เรียกประกันได้ -กรณีจำเป็นเร่งด่วน ศาลอาจสั่งให้จับและกุมขังได้ไม่เกิน30วันเช่นกัน
มาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและบุคคลในครอบครัวตามพรบ.ศาลเยาวชนฯ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๗๒ คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว - ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ร้องต่อศาลเยาวชนฯ - ผู้ถูกกระทำฯไม่อยู่ในสภาพหรือวิสัยที่จะร้องเองได้ ให้ญาติ พนักงาน เจ้าหน้าที่ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ องค์กรซึ่งมีหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย องค์กรซึ่งมีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กฯ หรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหายจะกระทำแทนก็ได้ มาตรา ๑๗๙ คุ้มครองเด็กที่ถูกปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก -เด็กหรือผู้ปกครองร้องต่อศาลเยาวชนฯ และนำ ม.๑๗๒ มาใช้โดยอนุโลม
บทบาทพนักงานเจ้าหน้าที่บทบาทพนักงานเจ้าหน้าที่ คุ้มครองเบื้องต้น (ม.5,6,9) คุ้มครองระหว่างคดี (ม.10,11) คุ้มครองก่อนยุติคดี (ม.12) รับแจ้งเหตุ ประมวลข้อเท็จจริง รับแจ้งการยอมความ สืบค้นข้อเท็จจริง ขอพนจ.คุ้มครองชั่วคราว ไกล่เกลี่ยประนีประนอม จัดให้รับการตรวจรักษา ขอศาลคุ้มครองชั่วคราว จัดทำบันทึกข้อตกลง จัดให้รับการปรึกษาแนะนำ ติดตาม-รายงานผล ติดตามรายงานผล แจ้งสิทธิ - จัดให้ร้องทุกข์ ประสานงาน ประสานงาน
แนวทางปฏิบัติการคุ้มครองเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ 1.การคุ้มครองเบื้องต้น 1.1 การรับแจ้งเหตุ (ม.5/ม.29) - การบันทึกรายละเอียดที่รับแจ้ง (ระเบียบข้อ6) - การประเมินเหตุการณ์เบื้องต้น 1.2 การดำเนินการคุ้มครองเบื้องต้น (ม.6/ม.41,42,43) - การสืบค้นข้อเท็จจริง/เข้าไปในเคหสถาน (ระเบียบข้อ7,8,10) - จัดให้มีการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจ - จัดให้ได้รับการปรึกษาแนะนำ / แจ้งสิทธิ (ระเบียบข้อ9,11) - จัดให้มีการร้องทุกข์ / ร้องทุกข์แทน (ระเบียบข้อ12,14) - รายงานผล /ประมวลข้อเท็จจริง (ระเบียบข้อ13,15)
2.การคุ้มครองระหว่างดำเนินคดี2.การคุ้มครองระหว่างดำเนินคดี 2.1 การคุ้มครองชั่วคราวระหว่างดำเนินคดี(ม.10,11) - ประสานงานกับพนักงานสอบสวนขอคุ้มครองชั่วคราว ตาม ม.10,11 (ระเบียบข้อ10) - ประสานงานกับพนักงานสอบสวนแจ้งคำสั่งตาม.10 (ระเบียบข้อ11) - ติดตามและรายงานผลการปฏิบัติตามคำสั่ง ม.10,11
2.2 การไกล่เกลี่ยทำข้อตกลงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้กระทำความรุนแรงกรณียอมความ ถอนคำร้องทุกข์ - พนักงานสอบสวนอาจของให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย(ม.16) - พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรไกล่เกลี่ยประนีประนอม(ระเบียบข้อ6) - พนักงานเจ้าหน้าที่อาจตั้งคณะผู้ไกล่เกลี่ยประนีประนอม(ม.16) - ในการไกล่เกลี่ยไม่ควรให้คู่กรณีเผชิญหน้ากัน ควรเจรจาคนละครั้ง - เป็นคนกลางประสานความข้อเสนอเงื่อนไขและข้อต่อรองของคู่กรณี - เมื่อตกลงกันได้ให้จัดทำสัญญายอมความ คร.9,บันทึกข้อตกลง คร.10 (ระเบียบข้อ5,7) - รายงานผลการไกล่เกลี่ยต่อพนักงานสอบสวน - ติดตาม สอดส่อง และรายงานผลการปฏิบัติต่อ พนส.(ระเบียบข้อ8) - กรณีตกลงกันไม่ได้ ให้จัดทำบันทึกและรายงานพนักงานสอบสวน
3.กรณีผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงไม่ร้องทุกข์3.กรณีผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงไม่ร้องทุกข์ 3.1 แจ้งสิทธิ ให้คำปรึกษาแนะนำ (ม.6) 3.2 กรณีความผิดไม่ร้ายแรงและคู่กรณียินยอม จัดให้มีการไกล่เกลี่ยประนีประนอม (ระเบียบข้อ6) - เป็นคนกลางหรือตั้งผู้ไกล่เกลี่ยทำการประนีประนอม - กรณีเจรจาตกลงกันได้ให้จัดทำบันทึกข้อตกลงกำหนดเงื่อนไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตาม ม.12 ว 2 - ติดตามสอดส่อง แนะนำผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว - กรณีฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง แจ้งสิทธิแนะนำผู้ถูกกระทำ 3.3แนะนำใช้สิทธิขอคุ้มครองสวัสดิภาพต่อศาลเยาวชนและครอบครัว(ม.172,179 ศาลเยาวชนฯ)
บทบาทพนักงานอัยการในการคุ้มครองเด็ก สตรี และผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว • ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด(ศาลเยาวชน,ศาลอื่น) • คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย • ขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองเด็ก (ม.42,43) • ขอให้ศาลคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว(ม.10,11) • ขอให้ศาลคุ้มครองสวัสดิภาพผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว(ม.172,179พรบ.ศาลเยาวชนฯ)
บทบาทสหวิชาชีพในการคุ้มครองเด็ก สตรี และผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว • พนักงานเจ้าหน้าที่ (ศูนย์ปชาบดี 1300,ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว) • พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ • นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ • จิตแพทย์ แพทย์ พยาบาล บุคลากรทาง การแพทย์ (ศูนย์พึ่งได้ oscc) • พนักงานสอบสวน • พนักงานอัยการ(ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิเด็กและสถาบันครอบครัว และ สคช)
ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก สตรี และผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ๑. คณะกรรมการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก สตรี และผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวจังหวัด -ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก สตรี และผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวในจังหวัด เป็นกรรมการ ๒. คณะกรรมการสหวิชาชีพเพื่อการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก สตรี และผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวจังหวัด -สหวิชาชีพที่ทำงานด้านการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก สตรี และผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวในจังหวัด เป็นกรรมการ
คณะกรรมการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก สตรี และผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวจังหวัด ๑. กำหนดนโยบายและสร้างระบบงานคุ้มครองสวัสดิภาพและระบบงานป้องกันการกระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวแบบบูรณาการในระดับจังหวัด ๒. ให้คำปรึกษาแนะนำการปฏิบัติงานและการแก้ปัญหาแก่คณะกรรมการสหวิชาชีพเพื่อการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก สตรี และผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวจังหวัด
คณะกรรมการสหวิชาชีพเพื่อการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก สตรี และผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวจังหวัด ๑. บูรณาการการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองสวัสดิภาพและการป้องกันการกระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวของสหวิชาชีพในจังหวัด ๒. ให้คำปรึกษาแนะนำการปฏิบัติงานและการแก้ปัญหาแก่สหวิชาชีพในการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก สตรี และผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ๓. จัดประชุมสหวิชาชีพในการกำหนดแนวทางการคุ้มครองสวัสดิภาพและวางแผนการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก สตรี และผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
คลินิคสหวิชาชีพเพื่อครอบครัวอบอุ่นคลินิคสหวิชาชีพเพื่อครอบครัวอบอุ่น ๑. ให้คำปรึกษาแนะนำในด้านจิตวิทยา สังคมสงเคราะห์ กฎหมาย เพื่อการคุ้มครองสวัสดิภาพและการป้องกันการกระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ๒. ช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ยประนีประนอมปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว โดยใช้มาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพตามหลักการของกฎหมาย ๓. ให้คำปรึกษาแนะนำที่เกี่ยวกับปัญหาครอบครัวทั่วไป
แนวทางการคุ้มครองแบบสหวิชาชีพ(Case conference) • ประสานส่งต่อข้อมูลและผู้ถูกกระทำ • ประชุมกลุ่มสหวิชาชีพ • วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง • สหวิชาชีพนำเสนอ case • กลุ่มสหวิชาชีพอื่นซักถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม • แต่ละสหวิชาชีพเสนอความเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ • ที่ประชุมกลุ่มสหวิชาชีพร่วมกันกำหนดแนวทางการคุ้มครอง
Case conference โดยทีมสหวิชาชีพ