460 likes | 682 Views
การพยากรณ์โรคไข้เลือดออก. ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปี 2555. วิไลลักษณ์ หฤหรรษ พงศ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ วิชุตา นาม เกษ นักวิชาการ สารณ สุขปฏิบัติการ. กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ. บทนำ.
E N D
การพยากรณ์โรคไข้เลือดออกการพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปี 2555 วิไลลักษณ์ หฤหรรษพงศ์นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ วิชุตา นามเกษนักวิชาการสารณสุขปฏิบัติการ กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ
บทนำ • การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ เป็นหนึ่งมาตรการในการทำงานของกรมควบคุมโรค เพื่อการคุ้มครองสุขภาพประชาชนในลักษณะของการคาดการณ์ หรือการทำนายล่วงหน้าเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพต่างๆที่จะเกิดขึ้นในรอบปี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน เกิดความตระหนัก เกิดความรู้ ความเข้าใจถึงสาเหตุ การป้องกัน การดูแลสุขภาพ และการรับมือกับสถานการณ์เมื่อเกิดโรค • จากการวิเคราะห์สถานการณ์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาโรคและภัยสุขภาพของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา พบว่า :โรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและมีการแพร่ระบาดของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นกลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ จึงได้จัดทำรายงานการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และสระบุรี ปี 2555 เพื่อคาดการณ์แนวโน้ม สถานการณ์ จำนวนผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรค เพื่อให้ข้อเสนอแนะ/แนวทางในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระบาดวิทยาของการเกิด การกระจายของโรคไข้เลือดออก ตามบุคคล เวลา และสถานที่ ในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ 2. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง กลุ่มเสี่ยง และพื้นที่เสี่ยง ต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก เพื่อคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออก ปี 2555 3. เพื่อพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์อนุกรมเวลา (Time series Analysis) ในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปี 2555 4. เพื่อให้ข้อเสนอแนะ/แนวทางในการวางแผนป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในปี 2555
วิธีการศึกษา (ต่อ) • สถานการณ์โรค ปีพ.ศ.2535 – 2554 - รูปแบบการเกิดโรค การกระจายของโรคตามลักษณะบุคคล เวลา สถานที่ - แนวโน้มการระบาด - กลุ่มเสี่ยง - ช่วงเวลาการเกิดโรค - การกระจายของโรคตามพื้นที่ • ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก: - การเปลี่ยนแปลงของซีโรทัยป์ - ปริมาณน้ำฝน • การประเมินความเสี่ยงของพื้นที่ระดับตำบล (RiskAssessment) การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive Study)
วิธีการศึกษา (ต่อ) การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (AnalysisStudy) • การพยากรณ์การเกิดโรคล่วงหน้า ใช้การพยากรณ์เชิงปริมาณ หรือ อนุกรมเวลา (Time series Analysis)เป็นเทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ หรือเทคนิคทำให้เรียบยกกำลังสามหรือ วินเตอร์โมเดล (Triple Exponential Smoothing or Winter’s model)
การวิเคราะห์ข้อมูล • ใช้สถิติค่าความถี่ จำนวน ร้อยละ อัตราส่วนและสัดส่วน โดย: 1. วิเคราะห์ข้อมูลการเกิดและการกระจายของโรค ข้อมูลด้านระบาดวิทยาเพื่อดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงตาม บุคคล เวลา และสถานที่ 2. วิเคราะห์ข้อมูลSerotypeของไวรัสเด็งกี่และปริมาณน้ำฝน เพื่อดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจส่งผลต่อการระบาดและความรุนแรงของโรค 3. การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงระดับตำบล โดยใช้แนวคิดด้านการประเมินความเสี่ยง (RiskAssessment) ในแต่ละปัจจัยเสี่ยง เพื่อให้ค่าน้ำหนักคะแนน ในแต่ละปัจจัย และใช้ผลคะแนนรวมแสดงระดับค่าคะแนนความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ 4. การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกด้วยการพยากรณ์เชิงปริมาณ หรือ อนุกรมเวลา (Time series Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ เพื่อหาค่าพยากรณ์ปรับเรียบ (Series)ค่าแนวโน้มของข้อมูล (Trend) และค่าดัชนีฤดูกาล(Seasonal indices)
การกำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์ของโอกาสและความรุนแรงการกำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์ของโอกาสและความรุนแรง
ผลการศึกษา การพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 1 กรุงเทพฯ 1. ภาพรวมสถานการณ์โรคปี พ.ศ. 2535-2554
รูปที่ 1 อัตราป่วยต่อแสนประชากรโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2535 – 2554 เปรียบเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลังและประเทศไทย ที่มา : สำนักระบาดวิทยา (รายงาน 506) สามปีเว้นหนึ่งปี
รูปที่ 2 ร้อยละของอัตราป่วยตายโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปีพ.ศ. 2535 – 2554 เปรียบเทียบกับตัวชี้วัดและประเทศไทย ที่มา : สำนักระบาดวิทยา (รายงาน 506)
รูปที่ 3 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2554 จำแนกรายเดือน เปรียบเทียบกับปีพ.ศ. 2553 และค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง ที่มา : สำนักระบาดวิทยา (รายงาน 506)
2. กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค
รูปที่ 4 ร้อยละของจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2545-2554 จำแนกตามเพศ ที่มา : สำนักระบาดวิทยา (รายงาน 506)
2. กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค
รูปที่ 5 ร้อยละของอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2535-2554 จำแนกตามกลุ่มอายุ ที่มา : สำนักระบาดวิทยา (รายงาน 506)
2. กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค
รูปที่ 6 ร้อยละของจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปีพ.ศ. 2549-2554 จำแนกตามอาชีพ ที่มา : สำนักระบาดวิทยา (รายงาน 506)
รูปที่ 7 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2535-2554 จำแนกรายเดือน ที่มา : สำนักระบาดวิทยา (รายงาน 506)
รูปที่ 8 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปี พ.ศ.2535-2544 จำแนกรายเดือน ที่มา : สำนักระบาดวิทยา (รายงาน 506)
รูปที่ 9 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545-2554 จำแนกรายเดือน ที่มา : สำนักระบาดวิทยา (รายงาน 506)
4. การกระจายของโรคตามพื้นที่
รูปที่ 10 อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2535-2554 จำแนกรายจังหวัด ที่มา : สำนักระบาดวิทยา (รายงาน 506)
รูปที่ 11 อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2545-2554 จำแนกรายจังหวัด ที่มา : สำนักระบาดวิทยา (รายงาน 506)
5.ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง • 5.1. การเปลี่ยนแปลงของเชื้อไวรัสเด็งกี่ • 5.2. ข้อมูลปริมาณน้ำฝน
รูปที่13ร้อยละของSerotypeโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ จำแนกรายปี พ.ศ. 2548-2555 เปรียบเทียบกับประเทศไทย จำแนกรายปี พ.ศ. 2516-2555 ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ประเทศไทย จากรายงานการตรวจหาซีโรทัยป์ไวรัสไข้เลือดออก สคร.ที่1 กรุงเทพฯ ปี 2554 พบสัดส่วนของ type 2 มากที่สุด รองลงมา คือ type 1 type 3 และ type 4 เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเชื้อไวรัสเด็งกี่ พบว่าพื้นที่ สคร.ที่ 1 มีแนวโน้มสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศไทย โดยพบว่าในช่วงปี 2516-2531 มีการรายงานชนิดเชื้อ type 2 มากที่สุดและ สูงมากกว่าร้อยละ 50 ของสัดส่วน ซีโรทัยป์ทั้งหมด ปี 2532-2537 พบการเปลี่ยนแปลงของการติดเชื้อสูงขึ้นใน type 1และ 4 ในช่วงปี 2538-2542 พบการเปลี่ยนแปลงของการติดเชื้อสูงขึ้นใน ype 3 และลดลงในช่วงปี 2543 – ปัจจุบันโดยพบว่าผู้ป่วยประมาณร้อยละ 70 มีสัดส่วนของ type 1และ 2 เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเชื้อไวรัสเด็งกี่ ในช่วง5 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบันพบสัดส่วนของ type 2และ 3 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
รูปที่ 14 เปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกกับปริมาณน้ำฝน ปีพ.ศ. 2535 – 2554 จำแนกรายเดือน ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ที่มา : ปริมาณน้ำฝน กรมอุตุนิยมวิทยา ปริมาณน้ำฝน (มม.) พบว่าจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจะเริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้นหลังจากที่ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่เพิ่มขึ้นประมาณ 4–8 สัปดาห์ เมื่อนำค่าปริมาณน้ำฝนมาวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง ด้วยวิธี Simple Linear Regression พบว่าปริมาณน้ำฝนมีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ป่วย ( r = 0.32 , P.value < 0.01 ) ปัจจัยด้านปริมาณน้ำฝนสามารถทำนายจำนวนป่วยโรคไข้เลือดออก ได้ร้อยละ 10 ( R2 = 0.1 , P.value < 0.01 )
6. การประเมินความเสี่ยงของพื้นที่ (RiskAssesment) การประเมินความเสี่ยงของพื้นที่ระดับตำบล ในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ จำนวน 432 ตำบล เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีโอกาสเสี่ยง โดยใช้เกณฑ์พิจารณาตามกรอบแนวทางการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง สรุปได้ว่าจังหวัดนนทบุรี เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงมาก ต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ รองลงมาคือจังหวัดปทุมธานีพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดสระบุรีตามลำดับ โดยมีตำบลที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดในปี พ.ศ. 2555 ดังนี้
6. การประเมินความเสี่ยงของพื้นที่ (RiskAssesment) (ต่อ) • จังหวัดนนทบุรี เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงมาก โดยมีตำบลที่มีความเสี่ยงสูงมากและเสี่ยงสูง จำนวน 32 ตำบล จากจำนวนทั้งสิ้น 52 ตำบล ตำบลที่มีความเสี่ยงสูงมาก จำนวน 11 ตำบล ดังนี้ อำเภอเมือง ได้แก่ ตำบลตลาดขวัญ บางเขน บางกระสอ บางไผ่ ท่าทราย บางศรีเมือง บางรักน้อย และบางกร่าง อำเภอบางบัวทอง ได้แก่ ตำบลบางรักใหญ่ อำเภอบางใหญ่ ได้แก่ ตำบลบางม่วง อำเภอปากเกร็ด ได้แก่ ตำบลคลองเกลือ
6. การประเมินความเสี่ยงของพื้นที่ (Risk Assesment) (ต่อ) • จังหวัดปทุมธานี มีตำบลที่มีความเสี่ยงสูงมากและเสี่ยงสูง จำนวน 11 ตำบล จากจำนวนทั้งสิ้น 60 ตำบล ตำบลที่มีความเสี่ยงสูงมาก จำนวน 3 ตำบล ดังนี้ อำเภอเมือง ได้แก่ ตำบลบ้านฉาง บ้านกระแชง และบางปรอก • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีตำบลที่มีความเสี่ยงสูงมากและเสี่ยงสูง จำนวน 8 ตำบล จากจำนวนทั้งสิ้น 209 ตำบล ตำบลที่มีความเสี่ยงสูงมาก จำนวน 4 ตำบล ดังนี้ อำเภอพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ตำบลประตูชัย หัวรอ หันตราและคลองสระบัว • จังหวัดสระบุรี ไม่มีตำบลที่มีความเสี่ยงสูงมากและเสี่ยงสูง
ภาพที่ 1 แสดงระดับความเสี่ยงของการระบาดโรคไข้เลือดออก พื้นที่รับผิดชอบ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปี 2555 ระดับความเสี่ยงของการระบาดโรคไข้เลือดออก พื้นที่เขต1
ภาพที่ 2 แสดงระดับความเสี่ยงของการระบาดโรคไข้เลือดออกจำแนกรายจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปี 2555
7. การคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก พ.ศ.2555 จากการนำข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรายเดือน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 – 2554ในภาพรวมพื้นที่รับผิดชอบสคร.ที่ 1 กรุงเทพฯ มาวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลาโดยวิธีของ Winter พบรูปแบบการระบาดเป็นแบบสามปีเว้นหนึ่งปี ซึ่งพอจะคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2555 ประมาณ 2,130 ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ 80.61 ต่อประชากรแสนคน
ตารางที่ 2 ผลการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2555 จำแนกรายเดือน
รูปที่ 16 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกปี พ.ศ. 2535 – 2554 และจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จากการพยากรณ์ ปี พ.ศ. 2555 ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ จำแนกรายเดือน ที่มา : สำนักระบาดวิทยา (รายงาน 506)
รูปที่ 17 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 1 กรุงเทพฯ จากการพยากรณ์และรายงานจริง ปี พ.ศ. 2555 ที่มา : สำนักระบาดวิทยา (รายงาน 506)
รูปที่ 18 อัตราป่วยต่อแสนประชากรโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2535 – 2554 และจากการพยากรณ์ ปี พ.ศ. 2555 ที่มา : สำนักระบาดวิทยา (รายงาน 506)
8. สรุปผลการวิเคราะห์และการพยากรณ์โรคไข้เลือดออก • พบการระบาดมีแนวโน้มลดลง พบลักษณะการระบาดเป็นแบบสามปีเว้นหนึ่งปี • อัตราป่วยตายมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องต่ำกว่าค่าเป้าหมาย • กลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 5-9 ปี โดยคาดว่าอัตราป่วยในเด็กกลุ่มอายุต่ำกว่า 9 ปี น่าจะมีแนวโน้มลดลง และอัตราป่วยในช่วงอายุ 15 - 34 ปี มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อาชีพที่คาดว่ามีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือ กลุ่มอาชีพนักเรียน นักศึกษา • ปัจจัยเสี่ยง คาดว่าจะพบการระบาดของเชื้อไวรัสเด็งกี่ทุกซีโรทัยป์ โดยจะพบสัดส่วนของ Dengue serotype 2และ 3 เพิ่มสูงขึ้น จากการศึกษาข้อมูลปริมาณน้ำฝน พบว่าจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นหลังจากที่ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่เพิ่มขึ้นประมาณ 4–8 สัปดาห์
8. สรุปผลการวิเคราะห์และการพยากรณ์โรคไข้เลือดออก (ต่อ) • พื้นที่เสี่ยง จากข้อมูลการประเมินความเสี่ยงของพื้นที่ระดับตำบล พบว่าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เป็นแหล่งชุมชนเมืองและมีประชากรหนาแน่น โดยคาดว่าจังหวัดนนทบุรีเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงมากต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก รองลงมาคือจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยาและจังหวัดสระบุรี • การคาดการณ์จำนวนผู้ป่วย พอจะคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2555 ทั้งสิ้นประมาณ 2,130 ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ 80.61 ต่อประชากรแสนคน โดยคาดว่าแนวโน้มการระบาดใกล้เคียงกับ ปี พ.ศ. 2554 โดยมีจำนวนผู้ป่วยลดลงจากปีที่ผ่านมา • การคาดการณ์ช่วงเวลาการระบาด พบว่าสามารถพบผู้ป่วยกระจายในทุกเดือน โดยจะพบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างในเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม
ข้อจำกัด • เป็นการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าด้วยการคำนวณทางสถิติ ในช่วงระยะเวลา 1 ปี ภายใต้สถานการณ์ที่สภาพลักษณะทั่วไปต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก ดังนั้นในกรณีที่มีการเปลี่ยนของปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรค อาจทำให้จำนวนผู้ป่วยคลาดเคลื่อนจากค่าพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยได้
ข้อเสนอแนะ • สำหรับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1. การประเมินความเสี่ยงในระดับพื้นที่ โดยวิเคราะห์ข้อมูลในระดับตำบล , หมู่บ้าน เพื่อจัดลำดับความเสี่ยงของพื้นที่ในการพยากรณ์การระบาดและเตือนภัยรวมถึงการกำหนดมาตรการ แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการวางแผนจัดเตรียมงบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์เพื่อการป้องกันควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การเฝ้าระวังแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ยังคงเป็นมาตรการหลักที่เน้นการควบคุมยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค โดยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง การดำเนินการประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย เพื่อคาดการณ์ความหนาแน่นของประชากรยุงในการเฝ้าระวังป้องกันก่อนเกิดการระบาดของโรค 3. กลุ่มเด็กอายุ 5-14 ปี (นักเรียน) เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค ควรเน้นการเฝ้าระวังในโรงเรียน และพบกลุ่มอายุ 15-34 ปี มีแนวโน้มอัตราป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จึงควรดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคในแหล่งเสี่ยงสูงต่อการได้รับเชื้อไข้เลือดออก
ข้อเสนอแนะ(ต่อ) 4. จากการพยากรณ์พบแนวโน้มการระบาดของซีโรไทป์ 2 และ 3 เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อความรุนแรงของผู้ป่วย บุคลากรที่เกี่ยวข้องจึงควรทบทวนมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก โดยการเพิ่มขีดความสามารถของสถานพยาบาลในการรักษา DSS/DHF และจัดระบบการส่งต่อผู้ป่วยผ่านสถานบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน 5. เนื่องจากในปัจจุบันพบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ตั้งแต่เดือนเมษายน – พฤษภาคมดังนั้น จึงควรการเร่งรัดการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าก่อนเริ่มต้นฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงการระบาดของโรค 6. ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะด้านการพยากรณ์โรคให้กับเจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล เพื่อให้สามารถคาดการณ์สถานการณ์ และเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป
กิตติกรรมประกาศ ขอขอบพระคุณ นายแพทย์นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ที่ให้การสนับสนุนและข้อเสนอแนะในการพยากรณ์โรค ขอขอบคุณคณะกรรมการและคณะทำงานพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ที่ร่วมดำเนินการรวบรวมข้อมูล/วิเคราะห์และร่วมแสดงความคิดเห็นในการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกครั้งนี้ รวมถึงเจ้าหน้าที่กรมอุตุนิยมวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ช่วยอนุเคราะห์ข้อมูล ขอบพระคุณคณาจารย์จากสำนักระบาดวิทยาทุกท่าน นายแพทย์โสภณ เอี่ยมสิริถาวร คุณชาญชัยณรงค์ ทรงคาศรี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น คุณจีรพัฒน์ เกตุแก้ว สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่ช่วยประสิทธ์ประศาสตร์ความรู้ ให้คำแนะนำและวิธีการเขียนรายงานการพยากรณ์ในครั้งนี้
ขอบคุณค่ะ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ