460 likes | 666 Views
( Public Sector Management Quality Award : PMQA ). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. สถานะการบริหารจัดการองค์การ ส่วนราชการระดับกรม. เอกสารประกอบการชี้แจงตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สำหรับส่วนราชการระดับกรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554
E N D
( Public Sector Management Quality Award: PMQA ) การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สถานะการบริหารจัดการองค์การ ส่วนราชการระดับกรม เอกสารประกอบการชี้แจงตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สำหรับส่วนราชการระดับกรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 ณ ห้องคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ชั้น 4 อาคารคอนเวนชั่น โรงแรมรามาการ์เด้นส์
เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เข้าสู่การสมัครขอรับรางวัล PMQA รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐรายหมวด พัฒนาสู่ความโดดเด่นรายหมวด เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้า (Progressive Level) ผ่านการรับรองเกณฑ์ฯ 100 90 80 70 60 เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Fundamental Level) 50 40 30 20 10 หมวด 2 หมวด 3 หมวด 1 หมวด 4 หมวด 5 หมวด 6 หมวด 7 ร้อยละของการ ผ่านเกณฑ์ 2
จำนวนส่วนราชการที่ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จำแนกรายหมวด 4
ระดับกรม ค่าคะแนนเฉลี่ยตัวชี้วัด PMQA ปี 2552 จำนวนหน่วยงาน 2.1173 4.9729 ค่าเฉลี่ย 4.1795 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.6381 5
1 หมวด 1 ระดับกรม สถานะการบริหารจัดการองค์การ จำแนกรายหมวด 10 9.35 9 9.06 8.99 8 8.38 8.21 7.75 7 6 5 5.14 4 3 84 กรม 54 กรม 99 กรม 2 8 กรม 27 กรม 2 กรม 137 กรม หมวด 3 หมวด 4 หมวด 5 หมวด 6 หมวด 2 หมวด 7 หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 6 การจัดการกระบวนการ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 6
ระดับกรม หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (84 กรม) 3.1 ความรู้เกี่ยวกับผู้รับบริการฯ 3.2 การสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการฯ หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล (2 กรม) 5.1การสร้างบรรยากาศการทำงาน ความผาสุก และความพึงพอใจแก่บุคลากรฯ 5.2 การพัฒนาบุคลากรและภาวะผู้นำ หมวด 1 การนำองค์การ (99 กรม) 1.1 การนำองค์การ 1.2 ธรรมภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (8 กรม) 4.1การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลฯ 4.2 การจัดการสารสนเทศ และความรู้ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ (54 กรม) 2.1 การวางยุทธศาสตร์ 2.2 การสื่อสารและถ่ายทอดยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปปฏิบัติ หมวด 6 การจัดการกระบวนการ (27 กรม) 6.1 การออกแบบกระบวนการ 6.2 การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ (137 กรม) 7.1 มิติด้านประสิทธิผล 7.3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ 7.2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ 7.4 มิติด้านการพัฒนาองค์การ 7
ส่วนใหญ่ขาด (D) การจัดอันดับอันดับความสำคัญของการดำเนินปรับปรุง และ (L/I) การทบทวนและปรับปรุงแนวทางกำหนดตัวชี้วัดและแผนการประเมินให้ดีขึ้น LD 1 การกำหนดทิศทางองค์การ LD 5 นโยบายการกำกับองค์กรที่ดี LD 2 การมอบอำนาจ LD 6 การควบคุมภายในและตรวจสอบภายใน LD 3 กิจกรรมการเรียนรู้ LD 7 มาตรการจัดการผลกระทบทางลบ LD 4 การกำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญ 8
ข้อแนะนำการดำเนินการ หมวด 1 9
ตัวอย่างตารางมอบอำนาจ LD2 10
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 1 การนำองค์การ • คำถาม ใน LD1 การตรวจตัว D (Deployment) เรื่องการรับรู้และเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับทิศทางขององค์การนั้น กรณีของส่วนราชการระดับกรม หมายรวมถึงส่วนราชการส่วนภูมิภาคด้วยหรือไม่ • คำตอบ จากขอบเขตการดำเนินการตามเกณฑ์ PMQA กำหนดให้ดำเนินการครอบคลุมทุกหน่วยงานในส่วนราชการบริหารส่วนกลาง รวมถึงส่วนราชการบริหารส่วนกลางที่ไปตั้งอยู่ในภูมิภาคด้วยเท่านั้น แต่ยังไม่รวมถึงส่วนราชการส่วนภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ส่วนราชการควรมีการสื่อสารและถ่ายทอดเกี่ยวกับทิศทางขององค์การให้บุคลากรในสังกัดส่วนราชการส่วนภูมิภาครับรู้และเข้าใจด้วย เพื่อให้เกิดการยอมรับ และสร้างความร่วมมือในการดำเนินการให้บรรลุผลตามทิศทางที่กำหนด 11
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 1 การนำองค์การ • คำถาม การกำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญตาม LD4 ถ้าจะกำหนดเพียง 1 ตัวชี้วัดที่สำคัญ ซึ่งมีความครอบคลุมลักษณะตัวชี้วัดทั้งหมดตามเกณฑ์ สามารถเลือกแค่ตัวชี้วัดเดียวได้หรือไม่ • คำตอบ ตามเกณฑ์สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ในทางปฏิบัติ เป็นไปได้ยากที่จะมีตัวชี้วัดใดตัวชี้วัดหนึ่ง ที่จะมีลักษณะครอบคลุมทั้ง 3 ประเภทกลุ่มตัวชี้วัด อีกทั้งการพิจารณาเลือกตัวชี้วัดที่ผู้บริหารจะติดตามเป็นประจำนั้น ต้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ ซึ่งอย่างน้อยควรจะกำหนดจากยุทธศาสตร์ละ 1 ตัวชี้วัดที่สำคัญ 12
ส่วนใหญ่ขาด (D) ระยะเวลาที่ ลงนามคำรับรองฯ แล้วเสร็จ เหมาะสม (L) การจัดทำระบบ รายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อ ติดตามผลเป้าหมายความสำเร็จ ของการดำเนินการ (ระดับบุคคล) และ (I) การเชื่อมโยงระหว่างผลการประเมินการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการปฏิบัติงานกับระบบแรงจูงใจ (ระดับบุคคล) SP 1 แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ SP 6 การติดตามผลการดำเนินการ SP 2 ปัจจัยการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ SP 7การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง SP 3 การวางแผนกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล SP 4 การสื่อสารยุทธศาสตร์และการนำไปปฏิบัติ SP 5 การถ่ายทอดตัวชี้วัด 13
ข้อแนะนำการดำเนินการ หมวด 2 14
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ • คำถาม กรณีที่บุคคลมี KPI และเป้าหมายที่รับผิดชอบหลายตัว จำเป็นต้องประเมินทุกตัวหรือไม่ เพราะบางคนได้รับมอบหมายตัว KPI ระดับกรมฯ สำนักและงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ • คำตอบ จำเป็นต้องประเมินทุกตัวชี้วัดเพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติงานที่แท้จริงของแต่ละบุคคล ไม่เช่นนั้น การประเมินจะไม่ครอบคลุมบทบาทหน้าที่และภารกิจที่บุคคลนั้นรับผิดชอบ นอกจากนั้น การประเมินผลด้วยตัวชี้วัดที่มีความครบถ้วน ถูกต้อง น่าเชื่อถือ จะสามารถจำแนกความแตกต่างของผลการปฏิบัติงานได้ 15
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ • คำถาม การถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับบุคคล จำเป็นต้องทำ Template ตัวชี้วัดรายบุคคลด้วยหรือไม่ เพราะงานระดับบุคคลจะเป็นรายย่อยฯ ตัวชี้วัดน่าจะกำหนดเพียงแค่ค่าเป้าหมายที่ชัดเจนก็น่าจะเพียงพอ • คำตอบ จำเป็นต้องจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดรายบุคคล (KPI Template) ซึ่งจะอธิบายขอบเขต วิธีการจัดเก็บข้อมูล วิธีการประเมินผล และรายละเอียดอื่นๆ ของตัวชี้วัด เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนและตรงกันของผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชาในการประเมินผล 16
ส่วนใหญ่ขาด (A/I) หลักฐานการวัดความไม่พึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผลที่ได้ครบทุกกลุ่ม CS1 การกำหนดกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย CS6 ระดับการมีส่วนร่วม CS2 ช่องทางและประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสาร CS7 การวัดความพึงพอใจ CS3 การจัดการข้อร้องเรียน/ ข้อเสนอแนะ/ ข้อคิดเห็น CS8 การวัดความไม่พึงพอใจ CS4 กำหนดวิธีการปรับปรุงคุณภาพบริการ CS9 มาตรฐานการให้บริการ CS5 การสร้างเครือข่าย CS10 ระบบการติดตามประเมินผล 17
ข้อแนะนำการดำเนินการ หมวด 3 18
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • คำถาม ในกรณีบางพันธกิจ ไม่สามารถกำหนดกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ เช่น งานแผน งานงบประมาณ ซึ่งเป็นงานภายใน จะสามารถตอบโจทย์ความครอบคลุมทุกพันธกิจตาม CS1 ได้อย่างไร • คำตอบ กรณีดังกล่าว ส่วนราชการสามารถชี้แจงได้ โดยต้องมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ได้ทำการวิเคราะห์ Output ของพันธกิจ ซึ่งอาจใช้วิธีการวิเคราะห์ตาม SIPOC Model เพื่อหากลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็ได้ 19
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • คำถาม การวัดประสิทธิภาพของช่องทางตาม CS2 โดยพิจารณาจากจำนวนผู้เข้าเว็บไซต์ที่เพิ่มขึ้นนั้น หากสำรวจทางหน้าเว็บไซต์แล้ว พบว่าในแต่ละรอบของการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบ จำนวนผู้ใช้ช่องทางมีอัตราที่เท่าเดิม ไม่เพิ่มขึ้น จะวัดในเชิงประสิทธิภาพอย่างไร • คำตอบ กรณีดังกล่าว อาจสื่อได้ว่าช่องทางนั้น มีผู้เข้าใช้เป็นปกติอยู่แล้ว จึงไม่แสดงถึงอัตราที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้การวัดเรื่องประสิทธิภาพของช่องทาง อาจวัดในประเด็นอื่นได้ เช่น วัดความอัพเดทของข้อมูลข่าวสาร โดยพิจารณาจากผลความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ ซึ่งข้อมูลที่ได้ ส่วนราชการจะสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการและประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้ดีกว่า 20
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • คำถาม กรณีเป็นกรมด้านนโยบาย ข้อร้องเรียนของกรมโดยตรงจะไม่มี แต่ข้อร้องเรียนที่พบจะเป็นการร้องเรียนหน่วยงานอื่น ผ่านทางเว็บของกรม • คำตอบ กรณีดังกล่าว กรมอาจไม่มีข้อร้องเรียนเลยก็ได้ แต่ต้องมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าข้อร้องเรียนที่พบ เป็นการร้องเรียนหน่วยงานอื่น 21
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4. คำถาม แบบสำรวจความพึงพอใจและไม่พึงพอใจ สามารถใช้คำถามชุดเดียวกันได้หรือไม่ คำตอบ ในการสำรวจความไม่พึงพอใจนั้น ผู้รับบริการอาจอยู่ในความไม่พึงพอใจน้อย แต่ไม่ถึงกับไม่พึงพอใจ เพื่อระบุถึงสิ่งที่ไม่พึงพอใจอย่างเด่นชัด จึงควรแยกแบบสอบถามความไม่พึงพอใจออกมา ทั้งนี้หากจะทำการสำรวจในชุดเดียวกัน มีเงื่อนไขดังนี้ 1. ให้แสดงความแตกต่างของ Scale อย่างชัดเจน 2. ต้องมั่นใจว่าข้อกำหนดจะไม่เป็นการชี้นำไปสู่ความไม่พึงพอใจ 3. การสำรวจให้แยกกลุ่มผู้รับบริการ และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4. ควรใช้การทอดแบบสอบถาม ไม่แนะนำให้ใช้การสำรวจผ่านทางโทรศัพท์ 22
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ตัวอย่าง แบบสำรวจความไม่พึงพอใจ 23
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • คำถาม ถ้าผลสำรวจพบว่าผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจอยู่แล้ว จะนำผลดังกล่าวไปปรับปรุงอย่างไร • คำตอบ ตามเกณฑ์ต้องการให้มีการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการที่ดีขึ้น ในกรณีที่ผลสำรวจมีความพึงพอใจ ให้พิจารณาประเด็นที่มีความพึงพอใจน้อย นำมาปรับปรุงเพื่อความพึงพอใจที่มากขึ้น 24
ส่วนใหญ่ขาด (A) ฐานข้อมูลที่ครอบคลุม ถูกต้อง และทันสมัย ของผลการดำเนินงานตัวชี้วัดทุกตัวในทุกมิติ ที่อยู่ในคำรับรอง IT 1 ระบบฐานข้อมูลตามยุทธศาสตร์ IT 6 ระบบบริหารความเสี่ยงของระบบฐานข้อมูล IT 2 ระบบฐานข้อมูลสนับสนุนกระบวนการสร้างคุณค่า IT 3 ระบบฐานข้อมูลสนับสนุนกระบวนการสนับสนุน IT 4 การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร IT 7 แผนการจัดการความรู้ (KM) IT 5 ระบบการติดตาม เฝ้าระวัง และเตือนภัย (Warning System) 25
ข้อแนะนำการดำเนินการ หมวด 4 26
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ • คำถาม ในกรณีที่ส่วนราชการมีลักษณะเป็นหน่วยงานใหญ่ และมีหน่วยงานย่อยๆ ซึ่งมีความเป็นอิสระต่อกัน ในการตรวจประเมินการจัดทำฐานข้อมูล จะพิจารณาอย่างไร • คำตอบ ผู้ตรวจจะพิจารณาระบบฐานข้อมูลที่ส่วนราชการได้เลือกไว้ เช่น ถ้าใน IT1 การจัดทำฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ มีความเชื่อมโยงกับหลายๆ หน่วยงานย่อย ผู้ตรวจจะทำการสุ่มตรวจในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย แต่สำหรับ IT2 จะพิจารณาเฉพาะฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่สร้างคุณค่า 27
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ • คำถาม กรณีที่บางตัวชี้วัด ไม่สามารถจัดทำระบบฐานข้อมูลได้ จะต้องดำเนินการอย่างไร • คำตอบ ตาม IT1 กำหนดให้แสดงฐานข้อมูลผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ โดยแสดงรายละเอียดของผลการดำเนินงาน ในลักษณะของการแสดงผลใน เชิงปริมาณ เพื่อวิเคราะห์ผลได้ กรณีเป็นตัวชี้วัดขั้นตอน (milestone) อาจจะแสดงถึงผลลัพธ์การดำเนินการที่ได้ในขั้นตอนที่ 5 ได้ ทั้งนี้ฐานข้อมูลที่ใช้ต้องสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ 28
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ • คำถาม ระบบ Warning System ต้องเชื่อมโยงกับหมวดอื่นหรือไม่ • คำตอบ ระบบ Warning System ถือเป็นระบบที่ใช้ในการติดตาม เฝ้าระวัง เตือนภัย ที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ ต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ ตัวชี้วัด วิธีติดตาม ซึ่งตัวชี้วัดที่จะใช้ในการติดตามนั้น คือตัวชี้วัดที่สำคัญที่ได้มีการกำหนดไว้แล้วใน LD4 มาดำเนินการใน IT5 โดยอาจจะพิจารณาเฉพาะตัวชี้วัดที่วิกฤต (crisis) เช่น เรื่องการข่าว การต่างประเทศ เป็นต้น มีระบบติดตาม และเตือนภัย พร้อมทั้งสามารถส่งข้อมูลให้ผู้บริหารรับทราบอย่างทันถ่วงที แต่ในสถานการณ์ปกติ อาจมีการรายงานผลการติดตาม ให้ผู้บริหารรับทราบในการประชุมของฝ่ายบริหารอย่างสม่ำเสมอได้เช่นกัน 29
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 4. คำถาม องค์ความรู้ที่กำหนด ต้องสอดคล้องกับมิติที่ 1 ประสิทธิผลของการปฏิบัติราชการหรือไม่ คำตอบ การจัดทำแผนการจัดการความรู้ ให้เลือกทำ 3 องค์ความรู้ที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ ซึ่งในทางปฏิบัติ ต้องนำไปสู่การดำเนินการในมิติที่ 1 ได้ด้วย 5. คำถาม ระยะเวลาที่เหมาะสม หมายความว่าอย่างไร คำตอบ ตามแนวทางการตรวจของทริส ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม คือ ภายใน 6 เดือนแรก ของปีงบประมาณ หรือไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี หมายความว่า ให้ดำเนินการไตรมาสละ 1 ครั้ง 30
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ • คำถาม ความทันสมัยของข้อมูล ตามการดำเนินการในหมวด IT หมายความว่าอย่างไร • คำตอบ ดูว่าข้อมูลนั้นๆ รอบของการ Update เป็นอย่างไร เช่น กำหนดให้ Update ข้อมูลทุกเดือน ทุกปี ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นรายเดือนหรือรายปีเท่านั้น อาจจะสามปีครั้ง 5 ปีครั้งได้ ขึ้นอยู่กับรอบของข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้ 31
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ • คำถาม ฐานข้อมูลตามความหมายของ PMQA • คำตอบ ฐานข้อมูลต้องเป็นตัวจัดเก็บข้อมูล ให้ผู้ใช้สามารถเรียกดูย้อนหลัง คำนวณได้ สามารถเป็น Excel ได้ เพราะถือเป็นโปรแกรมที่เรียกข้อมูลหรือคำนวณได้ แต่ Word และ Power Point ไม่สามารถเรียกข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และประมวลผลได้ 32
ส่วนใหญ่ขาด (A) แผนการสร้างความผาสุก และความพึงพอใจของบุคลากรที่สอดคล้องกับปัจจัยที่กำหนด HR1 แผนการสร้างความผาสุข และความพึงพอใจของบุคลากร HR2 ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร HR3 แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล HR4 ระบบการประกันคุณภาพการฝึกอบรม HR5 แผนการสร้างความก้าวหน้า 33
ข้อแนะนำการดำเนินการ หมวด 5 34
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล • คำถาม ตามประเด็นการตรวจ HR 1 ข้อ L ที่กำหนดให้ส่วนราชการทำการสำรวจความพึงพอใจตามแผนสร้างความผาสุก ถ้าหากผลการสำรวจพบว่าบุคลากรส่วนใหญ่ไม่พึงพอใจ จะถือว่ากรมไม่ผ่านประเด็นนี้หรือไม่ • คำตอบ ไม่ เนื่องจากประเด็นนี้ต้องการให้ส่วนราชการมีระบบการประเมินความผาสุก/ ความพึงพอใจของบุคลากร อาจทำการสำรวจหรือกำหนดตัวชี้วัดเพื่อการประเมิน และให้ส่วนราชการแสดงหลักฐานเอกสารที่ชัดเจน ทั้งนี้ผลของการสำรวจว่าพึงพอใจ ไม่ได้นำมาคิดเป็นคะแนนการตรวจ แต่หากผลสำรวจในเรื่องใดที่บุคลากรส่วนใหญ่ยังไม่พึงพอใจ ควรที่ ส่วนราชการจะได้นำไปทำเป็นแผนสร้างความผาสุกในปีต่อไป 35
ส่วนใหญ่ขาด (A) การจัดทำข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการที่สร้างคุณค่าไม่ครอบคลุม (D) การนำข้อกำหนดของกระบวนการไปสู่การปฏิบัติ โดยกำหนดตัวชี้วัดของกระบวนการที่สร้างคุณค่า (L) การติดตามผลของตัวชี้วัดฯ เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการ PM 1 การกำหนดกระบวนการสร้างคุณค่า PM 4 การจัดทำแผนสำรองฉุกเฉิน PM 2 การจัดทำข้อกำหนดPM 5 มาตรฐานการปฏิบัติงาน PM 3 การออกแบบกระบวนการ PM 6 การปรับปรุงกระบวนการที่สร้างคุณค่าและกระบวนการสนับสนุน 36
ข้อแนะนำการดำเนินการ หมวด 6 37
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 6 การจัดการกระบวนการ • คำถาม กรณีเป็นข้อกำหนดเรื่องระยะเวลา สามารถใช้กระบวนการลดขั้นตอนมาตอบได้หรือไม่ • คำตอบใช้ได้ แต่แนะนำให้ใช้เรื่องอื่น เพราะเรื่องการลดขั้นตอนเป็นกระบวนการที่ปฏิบัติอยู่แล้วในทุกกระบวนการ ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อกระบวนการด้านอื่นๆ มากยิ่งขึ้น ควรกำหนดตัวชี้วัดกระบวนการเรื่องอื่นควบคุมด้วย 38
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หมวด 6 การจัดการกระบวนการ • คำถาม กรณีกระบวนการมีแผนการดำเนินการระยะยาว เช่น การสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและพึ่งตนเองได้ ตัวชี้วัดกระบวนการควรกำหนดอย่างไร ให้มีความเหมาะสม • คำตอบ ตัวชี้วัดกระบวนการควรกำหนดให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกระบวนการ จากกรณีดังกล่าว แม้จะเป็นแผนการทำงานระยะยาว แต่ควรกำหนดตัวชี้วัดระยะสั้นเป็นตัวควบคุมกระบวนการทำงานด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าระหว่างการจัดทำแผน จะสามารถนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อสนับสนุนความยั่งยืนตามที่กำหนดได้ 39
FAQ คำถามที่พบบ่อยจากคลินิกให้คำปรึกษาทุกบ่ายวันศุกร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 หมวด 6 การจัดการกระบวนการ 3. คำถาม ในปีนี้ สามารถนำกระบวนการสร้างคุณค่า และกระบวนการสนับสนุนที่ได้กำหนดไว้เมื่อปีที่แล้ว มาดำเนินการได้หรือไม่ คำตอบ สามารถนำมาใช้ได้ ถ้ายุทธศาสตร์ไม่เปลี่ยน แต่ต้องแสดงให้เห็นว่าได้มีการทบทวน วิเคราะห์แล้วในปีปัจจุบัน 4. คำถาม การดำเนินการใน PM5 ต้องมีความเชื่อมโยง (Integration) อย่างไร คำตอบ พิจารณาจากคู่มือที่ท่านทำมา ว่าไปเชื่อมโยงกับการดำเนินงานในหมวดไหนบ้าง (อย่างน้อย 1 ตัวอย่าง) 40
RM 1 แผนปฏิบัติการที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย RM 6 การดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง RM 2 ความพึงพอใจของผู้รับบริการ RM 7 บุคลากรพัฒนาตามแผนพัฒนาขีด สมรรถนะ/แผนพัฒนาบุคลากร RM 3 การดำเนินการตามมาตรฐานเวลา RM 8 ความครอบคลุม ถูกต้อง ทันสมัย ของกระบวนการสร้างคุณค่าของฐานข้อมูลสนับสนุนยุทธศาสตร์ RM4 การดำเนินการตามมาตรฐานเวลาของ RM 9 การดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้กระบวนการสนับสนุน RM5 การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่าย RM 10 โครงการตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี 41 11
เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการระดับก้าวหน้า (Progressive Level) 42
เกณฑ์ PMQA ระดับก้าวหน้า (Progressive Level : PL) เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้า เป็นเกณฑ์ที่พัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์การได้ปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และเป็นกรอบการประเมินที่สามารถบ่งชี้ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และสะท้อนให้เห็นถึงระดับการพัฒนาของส่วนราชการโดยเฉลี่ยเป็นระดับที่กระบวนการสัมฤทธิ์ผล ดังนี้ • มีกระบวนการ/ระบบที่มีประสิทธิภาพและทำอย่างเป็นระบบเพื่อรองรับกิจกรรมในหัวข้อที่ประเมิน (Approach) • กระบวนการ/ระบบ เป็นที่เข้าใจยอมรับ และมีบทบาทสนับสนุนกระบวนการ/กิจกรรมในกิจกรรมด้านนี้ (Deployment) • องค์กรมีการประเมินประสิทธิผลของกระบวนการ/ระบบของกิจกรรมด้านนี้ และมีการปรับปรุงให้กระบวนการ/ระบบให้ดีขึ้น (Learning) • กระบวนการ/ระบบเกี่ยวกับกิจกรรมด้านนี้สอดรับ สนับสนุนกิจกรรมระดับสำคัญขององค์กรที่ระบุไว้ในภารกิจ/ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Integration) 43
เกณฑ์ PMQA ระดับก้าวหน้า (Progressive Level : PL) กรอบแนวคิดที่สำคัญ 3 ประการ • Systematic คือ ความเป็นระบบของกระบวนการต่างๆ ของส่วนราชการที่จะทำให้ส่วนราชการสามารถดำเนินการไปได้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกันทั่วทั้งองค์กร • 2) Sustainable คือ การแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น มุ่งเน้นในการนำกระบวนการที่กำหนดไว้อย่างเป็นระบบไปสู่การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนของส่วนราชการ • 3) Measurable คือ การกำหนดตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการควบคุม ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการของส่วนราชการ รวมทั้งใช้ในการศึกษาเทียบเคียง (Benchmark) เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาส่วนราชการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สำหรับรายละเอียดของเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้า สำนักงาน ก.พ.ร. จะเผยแพร่ให้ส่วนราชการทราบต่อไป 44
Thank You for Healthy Organization !! 12