230 likes | 457 Views
Psychosocial Development. ดร.รังสรรค์ โฉมยา. พัฒนาการทางจิตและสังคม. เป็นการเปลี่ยนแปลงทาง อารมณ์ ความรู้สึก จิตลักษณะ จริยธรรม ปฏิสัมพันธ์ เป็นผลมาจากการเรียนรู้ในกระบวนการทางสังคม มีลักษณะพัฒนาเป็นขั้นๆ แบ่งเป็น วัยทารก เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ชรา พัฒนาการเป็นไปต่อเนื่อง ตลอดชีวิต
E N D
Psychosocial Development ดร.รังสรรค์ โฉมยา
พัฒนาการทางจิตและสังคมพัฒนาการทางจิตและสังคม • เป็นการเปลี่ยนแปลงทาง อารมณ์ ความรู้สึก จิตลักษณะ จริยธรรม ปฏิสัมพันธ์ • เป็นผลมาจากการเรียนรู้ในกระบวนการทางสังคม • มีลักษณะพัฒนาเป็นขั้นๆ • แบ่งเป็น วัยทารก เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ชรา • พัฒนาการเป็นไปต่อเนื่อง ตลอดชีวิต • ทบ.อีริคสัน และ ทบ.อัตมโนทัศน์
พัฒนาการทางจิตและสังคมพัฒนาการทางจิตและสังคม • Erik H. Erikson • ศึกษาทฤษฎีจิตวิเคราะห์กับ แอนนา ฟรอยด์ • WW2 ย้ายจากเยอรมัน ไป USA • เป็นอาจารย์สอนใน เยล เซาท์ดาโกตา แคลิฟอร์เนีย ออสตินรกส์ • เป็น Prof. จาก ม.ฮาร์วาร์ด โดยไม่เคยจบปริญญา • ผลงานเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กมากมาย
แนวคิดพื้นฐานทางทฤษฎีแนวคิดพื้นฐานทางทฤษฎี • ความต้องการพื้นฐานเหมือนกัน การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น • มีลำดับขั้น ต่ำ - สูง • มี 8 ขั้น แต่ละขั้นทุกคนจะมีปมขัดแย้งที่เรียกว่า วิกฤติการณ์ (Crisis) • แต่ละขั้นจะเกิดความรู้สึกขั้วบอกหรือขั้วลบ • เมื่อผ่านพ้นวิกฤติการณ์ ก่อให้เกิดบุคลิกภาพที่ดี
ขั้นของพัฒนาการฯ 1.ไว้วางใจ - ไม่ไว้วางใจ Trust vs Mistrust 2.เป็นตัวของตัวเอง - อาย เคลือบแคลง สงสัย Autonomy vs Shame/Doubt 3.คิดริเริ่ม - รู้สึกผิด Intiative vs Guilt 4.อุตสาหะ พากเพียร - ด้อย Industry vs Inferiority 5.มีเอกลักษณ์ - สับสนในบทบาท Identity vs
Role Confusion 6.ผูกพัน - โดดเดี่ยว Intimacy vs Isolation 7.เป็นหลักให้ผู้อื่น เป็นผู้ให้ - เฉื่อยชา Generativity vs Stagnation 8.สมบูรณ์ สมหวัง - สิ้นหวัง Ego Integrity vs Despair 8 ขั้นดังกล่าว แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนวัยเรียน (1-3) วัยเรียน (4-5) และหลังวัยเรียน (6-8)
ขั้นที่ 1 เด็กจะเรียนรู้ว่าใครเป็นผู้ให้อาหารและตอบสนองความต้องการของเขา ซึ่งต้องเอาใจใส่และสม่ำเสมอ (1.5 - 2 ปี) • ระยะที่ 2 เด็กจะฝึกการควบคุมตนเอง และเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง (2-3 ปี) ฝึกให้รับผิดชอบตนเอง นำไปสู่ความเป็นตัวของตนเอง • ระยะที่ 3 เด็กจะเรียนรู้และทำสิ่งใหม่ๆ หากถูกตำหนิ ไม่ยอมรับ จะเกิดความรู้สึกผิด (3-6 ปี)
ขั้นที่ 4 เด็กเข้าสังคม มีเพื่อน มีกิจกรรมกลุ่ม ถ้าทำได้เด็กจะเกิดวิริยะ อุตสาหะ พากเพียร หากไม่สำเร็จก็จะรู้สึกต่ำต้อย (6-12 ปี) • ขั้นที่ 5 ค้นหาตัวเอง กำหนดแนว ชีวิตของตนเอง แสวงหาเอกลักษณ์แห่งตน (ฉันคือใคร ต้องการอะไร มีความสามารถอะไร ฯลฯ) สนับสนุนให้เขาก้าวไปมีชีวิตตามที่เขาต้องการ (12-18 ปี) • ขั้นที่ 6 ผู้ใหญ่ตอนต้น มีความสัมพันธ์ที่นำไปสู่
ความผูกพัน การฟัง ความเข้าใจกันและกัน (18-35 ปี) • ขั้นที่ 7 อยากดูแลคนอื่น ต้องการให้ อยากทำประโยชน์ที่ดีต่อคนรุ่นต่อไป ต้องอาศัยพื้นฐานจากขั้นที่ 1-6 ที่ดี (35-65 ปี) • ขั้นที่ 8 ยอมรับตนเอง ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการจากขั้นที่ 1 - 7 ถือเป็นขั้นสุดท้าย (65 ปีขึ้นไป)
อัตมโนทัศน์ • Self Concept อีริคสันเสนอว่า ประสบการณ์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้อื่นในวัยเด็ก เป็นพื้นฐานการพัฒนาตน วัยรุ่นจะแสวงหาเอกลักษณ์แห่งตน ซึ่งเกี่ยวข้องกับ Self Concept • คือภาพแต่ละคนมองตนเอง ทั้งทางบวกและลบ ถ้าบวกมากจะเป็นคนที่มั่นใจในตนเองสูง • ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ
1.อัตมโนทัศน์ด้านวิชาการ มองเรื่องความสามารถด้านการเรียนที่เด่นชัดมี 2 กลุ่ม (ด้านภาษา, คำนวณ) ด้านความสามารถทางกาย 2.ด้านอื่น มองตนเองในลักษณะทางกาย ปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น (เพื่อน, พ่อแม่) พัฒนาการของอัตมโนทัศน์ • 30 เดือน (แต้มลิปติกที่ใบหน้า ส่งกระจก) • เมื่อคิดถึงภาพตนเอง จะมอง 2 ลักษณะ คือ I,Me
Me (มองตนในฐานะผู้ถูกกระทำ ถูกคิดถึง หรือถูกสร้างภาพขึ้นมา) เกิดก่อน I มี 4 ลักษณะ • 1.ภาพที่เป็นรูปนาม (Physical Self) กาย ชื่อ หรือสิ่งที่เขาเป็นเจ้าของ • 2.ภาพตนเองที่เป็นการกระทำ (Active) พฤติกรรม ความสามารถ • 3.ภาพตนเองทางสังคม (Social) บทบาทตน-ผู้อื่น • 4.ภาพตัวเองทางด้านจิตใจ (Psychological) เช่น
ความเชื่อ ความรู้สึก ความคิด จิตลักษณะต่างๆ (ซื่อสัตย์ สุภาพ วินัย มุ่งอนาคต ฯลฯ ระดับอนุบาลจะมี (Physical) เช่น ฉันมีตาสีดำ ฉันมีผมหยิก ฯลฯ ระดับประถม (Active) เช่น ฉันขี่จักรยานเก่งในหมู่บ้าน ฉันเป่ายางเก่ง ระดับมัธยมต้น (Social) ฉันเป็นคนน่าคบ ฉันขี้อาย ระดับมัธยมปลายขึ้นไป (Psychological) ฉันเป็นนักอนุรักษ์ ฉันมีความคิดก้าวหน้า ฉันเป็นคนทันสมัย ฯลฯ
I (มองตนในฐานะผู้กระทำหรือคิด) มี 4 มิติ • 1.ความต่อเนื่อง (Continuity) รู้สึกว่าตนเองยังคงเหมือนเดิม เป็นคนเดิม • 2.แบ่งแยกแตกต่าง (Distinctiveness) รู้สึกว่าตนแตกต่างจากคนอื่น • 3.อำนาจในการทำสิ่งใดๆ (Volition) รู้สึกว่าการกระทำใดๆ ของตนเกิดขึ้นเพราะตนเองบงการ • 4.การคิดไตร่ตรองเกี่ยวกับตน (Self Reflectively)
การคิดเกี่ยวกับตน รวม 3 องค์ประกอบข้างต้นเข้าด้วยกัน อัตมโนทัศน์กับชีวิตในโรงเรียน • SC+ ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติที่ดีต่อการเรียน SC- ส่งผลตรงกันข้าม • ประสบการณ์ในโรงเรียน (บรรยากาศและสภาพโรงเรียน) ส่งผลต่อ SC+ หรือ - • เด็กในโรงเรียนธรรมดา มี SC+ สูงกว่าโรงเรียนดัง
เรียกว่า The Big Fish - Little Poud Effect (เป็นหัวหมาดีกว่าเป็นหางราชสีห์) • การส่งเสริม SC+ ในโรงเรียน ทำได้โดย • 1.ให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียนให้มาก • 2.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึก • 3.ให้การยอมรับ และมองเห็นคุณค่าของเด็ก เน้นการตำหนิที่พฤติกรรมแทนบุคคล เช่น ครูไม่ชอบการมาสายของเธอเลย vs ครูไม่ชอบเธอเลย
4.เน้นกิจกรรมที่เด็กทำได้ (ได้รู้สึกว่าตนทำได้) Morality • จริยธรรม ระเบียบ กฎเกณฑ์ แนวปฏิบัติที่มีคุณค่า (เด็กจะเรียนรู้ว่าอะไรควร ไม่ควรทำ) • Kohlberg (1927) USA, นำเสนอ ทบ. ตามปรัชญาใน ทบ.ของเพียเจต์ ซึ่งจริยธรรม ต้องอาศัยหลักการคิดเชิงเหตุผล ตรรกวิทยา และการคิดเชิงนามธรรม
จริยธรรมมี 3 ระดับใหญ่ๆ ละ 2 ขั้น รวม 6 ขั้น ขั้นของจริยธรรม • ก่อนมีจริยธรรมของตนเอง (Preconventional Level)มี 2 ขั้น คือ • 1.จริยธรรมจากภายนอก MR=หลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ • 2.การตอบสนองความต้องการตนเอง การแลกเปลี่ยน MR=แสวงหารางวัล
มีจริยธรรมตามกฎเกณฑ์ของสังคม (Conventional Level)มี 2 ขั้น คือ • 3.การคาดหวังทางสังคม ความสัมพันธ์และการคล้อยตาม MR=เพื่อให้ได้การยอมรับ เป็นคนดีในสายตาตนเองและคนอื่น • 4.สังคมและคุณค่าทางสังคม MR=ทำตามกฏเกณฑ์ของสังคม พันธะที่ตนเองกำหนดขึ้นตามคุณค่าทางสังคม ต้องการเป็นพลเมืองดีของสังคม
มีจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์ของสังคม ยึดหลักการ (Postconventional Level)มี 2 ขั้น คือ • 5.หลักอุดมคติของตน MR=ทำตามหลักอุดมคติของตนเอง เพื่อความผาสุขของสังคม พันธะสัญญาความผูกพันที่มีต่อครอบครัว เพื่อน และงาน • 6.หลักจริยธรรมสากล MR=ทำตามเหตุผลที่มีพื้นฐานความเชื่อที่มีเหตุผลว่าเป็นหลักจริยธรรมที่เป็นสากล
พฤติกรรมจริยธรรม • พฤติกรรมจริยธรรม สิ่งที่มีอิทธิพลคือ แม่แบบ (Model) มีทั้ง B พึงประสงค์ ไม่พึงประสงค์ เช่น ความเสียสละ การทุจริต • พฤติกรรมสร้างเสริมสังคม (Prosocial B) B ที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน เช่น เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ร่วมมือ เสียสละ ฯลฯ • พฤติกรรมทุจริต ฉ้อโกง (Cheating B) เกิดจากการถูกกดดันจากความคาดหวัง
พฤติกรรมความก้าวร้าว (Aggression B) สาเหตุจาก การมุ่งแย่งวัตถุหรือสิทธิพิเศษบางอย่าง หรือการมุ่งทำร้ายคนอื่น (มีมากในวัยเด็ก แต่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น) Model เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว • การเลียนแบบจากภาพยนตร์ ครูควรนำเสนอแม่แบบที่ดีในการสอน การอบรม และควรอธิบายเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาแสดงความก้าวร้าว
การส่งเสริม MR ในโรงเรียน • ครูต้องเป็นแม่แบบพฤติกรรมที่ดี ไม่ก้าวร้าว • จัดห้องเรียนให้มี ที่นั่ง วัสดุ อุปกรณ์สำหรับเด็กเพียงพอทุกคน • ระวังไม่ให้เด็กได้ประโยชน์จากพฤติกรรมก้าวร้าว • ให้ความรู้ ผลดี ผลเสีย ของพฤติกรรมทางสังคมที่ดี ไม่ดี ผลที่เกิดขึ้น • ปลูกฝังพฤติกรรมความร่วมมือ สามัคคี