310 likes | 557 Views
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : ข้อควรรู้เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายประกันสังคม วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2555 เวลา 10.00 น. ณ ห้อง F802. โดย...อาจารย์ยุพิน มินสาคร สำนักบริหารกลาง. วัตถุประสงค์. การประกันสังคมในประเทศไทย สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายประกันสังคม สิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย เงินทดแทน.
E N D
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้:ข้อควรรู้เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายประกันสังคมวันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2555 เวลา 10.00 น. ณ ห้องF802 โดย...อาจารย์ยุพิน มินสาคร สำนักบริหารกลาง
วัตถุประสงค์ • การประกันสังคมในประเทศไทย • สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายประกันสังคม • สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายเงินทดแทน
การประกันสังคมในประเทศไทยการประกันสังคมในประเทศไทย • ประเทศไทยเริ่มมีกฎหมายประกันสังคมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2495 สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม แต่เนื่องจากมีผู้คัดค้านหลายฝ่าย รัฐบาลสมัยนั้นจึงยกเลิกอย่างไม่มีกำหนด • ต่อมานักวิชาการได้เสนอให้มี “กองทุนเงินทดแทน” และได้รับการกำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และจัดตั้งสำนักงานกองทุนเงินทดแทนไว้ในกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 มกราคม 2517 • เมื่อมีการจัดตั้งกองทุนประกันสังคมตาม พรบ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 จึงโอนสำนักงานกองทุนเงินทดแทนมาไว้ด้วยกัน และตราเป็น พรบ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537
กลุ่มประชากรของโลกในปัจจุบันกลุ่มประชากรของโลกในปัจจุบัน • กลุ่มที่ 1 กลุ่ม Baby Boomer หมายถึง ประชากรที่เกิดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2489 – 2507 ในปี พ.ศ. 2555 ประเทศไทยมีคนกลุ่มนี้ประมาณ 30 ล้านคน • กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Generation xคือผู้ที่เกิดช่วงปี 2503 - 2523 • กลุ่มที่ 3 กลุ่ม Generation yคือผู้ที่เกิดช่วงปี 2528 ถึงปัจจุบัน ดังนั้น ผู้จะเกษียณอายุในช่วงนี้จึงเป็นกลุ่ม Baby Boomer รัฐจึงต้องให้ความสำคัญกับการประกันสังคมโดยจัดให้มีสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งการสงเคราะห์ชราภาพ
กฎหมายประกันสังคม พ.ศ. 2533 เป็นกฎหมายที่กำหนดให้จัดตั้ง “กองทุนประกันสังคม”เพื่อให้เป็นหลักประกันแก่ลูกจ้าง และผู้สมัครเข้าประกันตน เมื่อประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย.....อันไม่ใช่เนื่องจากการทำงานกฎหมายกำหนดให้ “ลูกจ้างหรือ ผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาล” ร่วมกันออกเงินสมทบ ใช้บังคับแก่กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ 1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 2. กรณีคลอดบุตร 3. กรณีทุพพลภาพ 4. กรณีตาย 5. กรณีสงเคราะห์บุตร 6. กรณีชราภาพ 7. กรณีว่างงาน
1. กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย (จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือนภายใน 15 เดือน) 2. กรณีคลอดบุตร (จ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือนภายใน 15 เดือน) 3. กรณีทุพพลภาพ (จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน) 4. กรณีตาย (จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายใน 6 เดือน) 5. กรณีสงเคราะห์บุตร (จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 12 เดือน ภายใน 36 เดือน) 6. กรณีชราภาพ (จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน) 7. กรณีว่างงาน (จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน) หลักเกณฑ์การได้รับสิทธิประโยชน์
การจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม • 1. เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง 2. จ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันเวลาปกติ 3. การจ่ายไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่ลูกจ้างจะนำไปใช้และไม่มีเงื่อนไขในการจ่าย 4. ต้องไม่ใช่เงินรางวัลหรือสวัสดิการหรือเงินจูงใจ • ปัจจุบันคิดอัตราเงินสมทบจากลูกจ้าง/นายจ้าง ฝ่ายละ 5% ของค่าจ้างที่ไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท
พรบ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 กฎหมายเงินทดแทน เป็นกฎหมายคุ้มครองลูกจ้าง และผู้ที่อยู่ในอุปการะ โดยการให้นายจ้างจ่ายเงินให้ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างได้รับอันตรายอันมีสาเหตุมาจากการทำงาน กฎหมายกำหนดให้มี “กองทุนเงินทดแทน” ขึ้น โดยให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนดังกล่าวตามอัตราที่กำหนด ใช้บังคับแก่กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
วัตถุประสงค์ของกองทุนเงินทดแทนวัตถุประสงค์ของกองทุนเงินทดแทน • เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วยด้วยโรคเนื่องจากการทำงาน • เพื่อให้การบำบัดรักษาและส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพ (ทั้งร่างกาย และอาชีพ) ให้สามารถเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเอง ไม่เป็นภาระแก่สังคม • ให้การสนับสนุน และป้องกันเรื่องความปลอดภัย • สุขอนามัยในการทำงาน ลดอุบัติเหตุ
การคุ้มครองของกองทุนเงินทดแทนการคุ้มครองของกองทุนเงินทดแทน ประสบอันตราย เจ็บป่วยด้วยโรค - สูญเสียอวัยวะ - สูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะ - ทุพพลภาพ - ตาย / สูญหาย ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง
สิทธิประโยชน์ในกองทุนเงินทดแทนสิทธิประโยชน์ในกองทุนเงินทดแทน 1. ค่ารักษาพยาบาล 2. ค่าทดแทน 3. ค่าทำศพ 4. ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ เสพของมึนเมา เสพสิ่งเสพติด จงใจทำให้เกิดขึ้น ยินยอมให้ผู้อื่นทำ ไม่มีสิทธิได้ เงินทดแทน
การจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนการจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน • กองทุนเงินทดแทนประกอบด้วยเงินสมทบหลักซึ่งเรียกเก็บจากนายจ้างในอัตราร้อยละ 0.2-1 ของค่าจ้างตามความเสี่ยงภัยของประเภทกิจการ และเงินสมทบตามค่าประสบการณ์ซึ่งลดหรือเพิ่มจากอัตราหลักโดยพิจารณาจากอัตราส่วนการสูญเสียหรือการเบิกเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน • ทั้งนี้ ค่าจ้างสูงสุดที่นำมาคำนวณเงินสมทบต้องไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท หรือปีละไม่เกิน 240,000 บาท/คน
รายละเอียดสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน VSกองทุนประกันสังคม 1.กรณีประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วย ค่ารักษาพยาบาล - จ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 45,000 บาท - กรณีบาดเจ็บรุนแรงต้องได้รับ การผ่าตัด จ่ายเพิ่มได้ไม่เกิน 300,000 บาท 1. กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย - เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ ระบุในบัตรรับรองสิทธิ - กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน เข้ารักษาใน รพ.ที่ใกล้ที่สุดได้ และต้องแจ้ง รพ.ตามบัตรฯ ทราบ ภายใน 3 วัน
รายละเอียดสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน VSกองทุนประกันสังคม เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีไม่สามารถทำงานได้ติดต่อกัน เกิน 3 วัน ได้รับค่าทดแทนเป็นราย เดือนร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกไปตลอด ระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ ไม่เกิน 1 ปี เงินทดแทนการขาดรายได้ ถ้าลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง ครบ 30 วันทำงานแล้ว ถ้าแพทย์ ให้หยุดพักต่อไปอีก จะได้เงินทดแทน การขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง (ที่ไม่เกิน 15,000 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน (จ่ายไม่เกินปีละ180 วัน โรคเรื้อรัง จ่ายไม่เกิน 365 วัน)
รายละเอียดสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน VSกองทุนประกันสังคม 2. กรณีทุพพลภาพ ได้รับสิทธิทันทีเมื่อเข้าเป็น ลูกจ้าง โดยได้รับค่าทดแทนเป็น รายเดือน ร้อยละ 60 ของค่าจ้าง โดยจ่ายให้ตามประเภทของการ ทุพพลภาพ แต่ไม่เกิน 15 ปี 3. ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการ ทำงาน 20,000/ค่าผ่าตัด 20,000 3. กรณีทุพพลภาพ - ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิต - ได้รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาทตลอดชีวิต
รายละเอียดสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน VSกองทุนประกันสังคม 4. กรณีตาย (1) ค่าทำศพ จำนวน 100 เท่าของอัตราสูงสุด ของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน (100 เท่า x 300 บาท ) (2) ได้ค่าทดแทนเป็นรายเดือนร้อยละ 60 ของ ค่าจ้างรายเดือนเป็นเวลา 8 ปี (จ่ายไม่เกินเดือนละ 12,000 บาท) Ex ลูกจ้างประสบเหตุจากการทำงานตายจะได้รับ สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายเงินทดแทน ดังนี้ (1) ค่าทำศพ 30,000.00 บาท (2) ค่าทดแทนเดือนละ12,000* บ.x12 ด.x8 ปี =1,152,000 บ. (* คิดจาก 60%ของเงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท) 4. กรณีตาย (1) ค่าทำศพ 40,000 บาท (2) ได้เงินสงเคราะห์ตามระยะเวลาการส่งเงินสมทบก่อนถึงแก่ความตาย ดังนี้ (2.1) ส่งเงินสมทบมาแล้ว 3 ปีขึ้นไปไม่ถึง 10 ปีได้เงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้าง เฉลี่ย 1.5 เดือน (2.2) ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปได้เงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 5 เดือน (3) ได้เงินสงเคราะห์ชราภาพคืน**
รายละเอียดสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน VSกองทุนประกันสังคม 5. กรณีสูญหาย เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า120วัน นับแต่วันเกิดเหตุ (1) ค่าทำศพ จำนวน 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน (100 เท่า x 300 บาท) (2) ได้ค่าทดแทนเป็นรายเดือนร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนเป็นเวลา 8 ปี (จ่ายไม่เกินเดือนละ12,000 บาท) Exลูกจ้างรายวัน สูญหาย อันเนื่องจากการทำงาน จะได้ (1) ค่าทำศพ 30,000.00 บาท (2) ค่าทดแทนเดือนละ 4,680* บ.x12 ด. x8 ปี = 449,280บ. (*คิดจาก 60% ของค่าจ้างรายวันขั้นต่ำ จำนวน 26 วัน/เดือน)
รายละเอียดสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน VSกองทุนประกันสังคม 6. การเจ็บป่วยด้วยโรคเนื่องจากการทำงาน โรค หรือการเจ็บป่วยบางอย่างมิได้เกิดขึ้นทันที เช่น โรคที่เกี่ยวเนื่องจากสารเคมี หรือฝุ่นใยหิน ต้องใช้เวลานานพอสมควรจึงจะแสดงอาการ ให้ยื่นคำร้องได้ภายใน 2 ปี
รายละเอียดสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน VSกองทุนประกันสังคม 2. กรณีคลอดบุตร - เบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาท/ครั้ง - ผู้ประกันตนหญิงได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน - กรณีสามี และภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ใช้สิทธิได้รวมกันไม่เกิน 4 ครั้ง
รายละเอียดสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน VSกองทุนประกันสังคม 5. กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ 400 บาท ต่อบุตร 1 คนโดยจะจ่ายให้บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์คราวละไม่เกิน 2 คน (ไม่รวมบุตรบุญธรรม)
รายละเอียดสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน VSกองทุนประกันสังคม 6. กรณีชราภาพ ได้รับเมื่อ (1) ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน (2) มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ (3) ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง วิธีการจ่ายเงิน (1) จ่ายเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ (ได้รับเพียงครั้งเดียว) (2) จ่ายเป็นเงินบำนาญ (ได้รับทุกเดือน ตลอดชีวิต) **เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557** **บำนาญชราภาพ จ่ายร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ถ้าอายุ 55 แล้วยังทำงานต่อ ได้เพิ่มอีกปีละ 1.5%)
รายละเอียดสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน VSกองทุนประกันสังคม 7. กรณีว่างงาน (1) กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานร้อยละ 50ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน (2) กรณีลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานร้อยละ 30ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน 90 วัน
กรณีว่างงาน ผู้ประกันตนต้องไม่ถูกเลิกจ้าง เนื่องจาก..... (1) ทุจริตต่อหน้าที่ เจตนากระทำความผิดทางอาญาต่อนายจ้าง (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (3) ประมาทจนเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง (4) ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับในการทำงานแม้ได้ตักเตือนแล้ว(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน(6) รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (7) ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิรับประโยชน์กรณีชราภาพ
ตัวอย่างแบบหนังสือสำหรับตัวอย่างแบบหนังสือสำหรับ ผู้ไม่มีคู่สมรส/ทายาท/บิดา/มารดาต้องทำไว้
อย่าลืม ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมาแล้ว 12 เดือน หากลาออก จะได้รับความคุ้มครองต่อไปอีก 6 เดือน ใน 4 กรณี คือ ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และตาย โดยไม่ต้องส่งเงินสมทบ โลงศพโทรศัพท์มือถือ
การสมัครเป็นผู้ประกันโดยสมัครใจ(มาตรา 39) • ผู้ที่พ้นสภาพจากการเป็นผู้ประกันตนแล้ว และประสงค์จะสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ม.39) • ให้ติดต่อสมัครที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน และนำส่ง เงินสมทบเอง เดือนละ 432 บาท • จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ดังนี้ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และชราภาพ
บุคคลซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างตามกฎหมายประกันสังคม สามารถสมัคร เข้าเป็นผู้ประกันตนได้ตามมาตรา 40 โดยจ่ายเงินสมทบเองเป็น รายเดือน จะได้รับคุ้มครองดังนี้ (ผู้ประกันตน : รัฐบาล) ทางเลือกที่ 1 จ่ายเดือนละ 100 บาท (70 : 30) ได้รับความ คุ้มครองกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ทางเลือกที่ 2 จ่ายเดือนละ 150 บาท (100 : 50) ได้รับความ คุ้มครองกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และชราภาพ (บำเหน็จ)) การสมัครเป็นผู้ประกันโดยสมัครใจ(มาตรา 40)