790 likes | 999 Views
4.4 Resistivity logs and Induction logs.
E N D
4.4 Resistivity logs and Induction logs ความต้านทานไฟฟ้า (electrical resistivity) ของวัตถุเป็นความสามารถในการต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านวัตถุนั้นๆ ชั้นหินซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บน้ำมันจะไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ เนื่องจากทั้งเม็ดตะกอนและสารไฮโดรคาร์บอนไม่นำไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านชั้นหินได้ก็ต่อเมื่อมีน้ำที่มีสารละลายอยู่ในช่องว่างของเนื้อหิน
ความเข้มข้นของสารละลายเป็นตัวกำหนดความสามารถในการต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า โดยที่สารละลายที่มีความเข้มข้นมากจะมีค่าความต้านทานไฟฟ้าต่ำหรือนำไฟฟ้าได้ดี ในชั้นหินที่มีความพรุนสูงที่อิ่มตัวด้วยน้ำจะมีค่าความต้านทานไฟฟ้าต่ำ ดังนั้นการวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการศึกษาถึงค่าความอิ่มตัวด้วยน้ำของชั้นหิน
ค่าความต้านทานไฟฟ้าของชั้นหิน สามารถวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงค่ากระแสไฟฟ้า (current variations) โดยใช้เครื่องมือ electrical devices หรือ วัดจากค่าการเปลี่ยนแปลงค่ากระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (induced current variation) โดยใช้เครื่องมือ induction devices
4.4.1 Formation factor and porosity รูปร่างและขนาดของเม็ดตะกอน การคัดขนาด การเชื่อมประสาน มีความสำคัญอย่างมากกับการกำหนดค่าความพรุนและการกระจายตัวของความพรุน สัมประสิทธิ์ความซึมได้ ความอิ่มตัวด้วยน้ำ
สำหรับ clean formation สัดส่วนระหว่างค่าความต้านทานไฟฟ้าของชั้นหินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ 100 % (R0) กับค่าความต้านทานไฟฟ้าของน้ำที่อยู่ในช่องว่างทั้งหมดของชั้นหินนั้น (Rw) อัตราส่วนนี้เรียกว่า formation factor (F) ซึ่งคำนวณได้จากสมการ
ในชั้นหินที่มีค่าความพรุนสูง ค่าความต้านทานไฟฟ้า R0 จะมีค่าลดลง ซึ่งมีผลให้ค่า formation factor มีค่าลดลงด้วย ดังนั้นค่า formation factor เป็นสัดส่วนผกผันกับค่าความพรุน สมการของ Archie แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง formation factor (F) และ ความพรุน (), ดังนี้
เมื่อ a = ค่าคงที่ ระหว่าง 0.6 - 2.0 ขึ้นกับชนิดของหิน m = cementation factor (หรือ tortuosity factor หรือ porosity exponent) มีค่าระหว่าง 1.0 - 3.0 ขึ้นกับ ชนิดของตะกอน รูปร่างของช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอน ความพรุนและการกระจายตัวของความพรุน การเชื่อมประสาน และ การกดทับ
m = 1.3 สำหรับ unconsolidated sandstones = 1.4-1.5 สำหรับ very slightly cemented = 1.5-1.7 สำหรับ slightly cemented = 18-1.9 สำหรับ moderately cemented = 2.0-2.2 สำหรับ highly cemented
สำหรับชั้นหินเนื้อไม่แน่น (uncompacted formation) (Humble formula) หรือ สำหรับชั้นหินเนื้อแน่น (compacted formation)
อย่างไรก็ดีเคยมีผู้เสนอความสัมพันธ์ระหว่างค่า a และ m ดังนี้ สำหรับ sands สำหรับ carbonate rocks
Formation factor โดยทั่วไปมีค่าอยู่ระหว่าง 5 ถึง 500 ในชั้นหินทรายที่ซึมน้ำได้ดีมีค่า F ประมาณ 10 ส่วนชั้นหินปูนที่น้ำซึมผ่านได้ยากจะมีค่า F ประมาณ 300 ถึง 400
4.4.2 Water saturation ค่าความอิ่มตัว (saturation) ด้วยของเหลวใดๆ ของชั้นหิน เป็นสัดส่วนของช่องว่างที่มีของเหลวนั้นๆบรรจุอยู่เทียบกับช่องว่างทั้งหมดที่มีอยู่ในเนื้อหิน
เนื่องจากค่าความต้านทานไฟฟ้าของชั้นหินมีความสัมพันธ์กับค่าความอิ่มตัวด้วยน้ำ (Sw) ของชั้นหินนั้นๆด้วย โดยที่ ค่าความอิ่มตัวด้วยน้ำเป็นสัดส่วนของช่องว่างที่มีน้ำบรรจุอยู่ ส่วนที่เหลือ (1-Sw) จึงเป็นสัดส่วนของช่องว่างที่มีสารไฮโดรคาร์บอนบรรจุอยู่ สำหรับ clean formation ค่าความอิ่มตัวด้วยน้ำ (Sw) ของชั้นหิน คำนวณจากสมการค่าความอิ่มตัวด้วยน้ำของ Archie ดังนี้
เมื่อ n = saturation exponent มีค่าอยู่ระหว่าง 1.2-2.2 แต่ใช้ค่าประมาณ 2.0 หรือ = หรือ = หรือ = เมื่อ k = ค่าสัมประสิทธิ์ความซึมได้ (millidarcies) P = ค่าความเค็ม (thousands ppm)
ในส่วนของ flushed zone คำนวณค่าความอิ่มตัวด้วยน้ำ (mud filtrate, Sxo) จากสมการ เมื่อ Rmf = ค่าความต้านทานไฟฟ้าของ mud filtrate Rxo = ค่าความต้านทานไฟฟ้าของ flushed zone
พิจารณาอัตราส่วนระหว่างค่าความอิ่มตัวด้วยน้ำใน virgin zone และ flushed zone เป็นไปตามสมการ
สมการเหล่านี้มีความเหมาะสมสำหรับการคำนวณค่าต่างๆ ในชั้นหินที่เป็น clean formation ซึ่งมีการกระจายตัวของความพรุนดี ในชั้นหินที่มีรอยแตกหรือรู สมการเหล่านี้ก็ยังสามารถใช้ได้แต่ความแม่นยำอาจคลาดเคลื่อนได้บ้าง
4.4.3 Sxo and Hydrocarbon movability ค่า Sxo มีความคำคัญมากในการบอกถึงปริมาณของสารไฮโดรคาร์บอนที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เนื่องจากว่าเมื่อ mud filtrate แทรกตัวเข้าไปในชั้นหิน มันจะเข้าไปแทนที่ทั้งในส่วนที่เป็นน้ำในชั้นหินและส่วนของสารไฮโดรคาร์บอนที่เคลื่อนที่ได้ ค่า Sxo มีค่าเท่ากับ (1-Srh) เมื่อ Srh เป็นสัดส่วนของสารไฮโดรคาร์บอนที่เหลืออยู่ (residual hydrocarbon saturation) ค่า Srh ขึ้นอยู่กับความหนืดของสารไฮโดรคาร์บอน โดยค่า Srh มีค่าเพิ่มขึ้นตามความหนืดของสารไฮโดรคาร์บอน
ในขณะเมื่อชั้นหินอยู่ในสภาพปกติ ยังไม่เกิดการแทรกตัวของ mud filtrate สัดส่วนของสารไฮโดรคาร์บอนมีค่าเท่ากับ (1-Sw) หลังจากเกิดการแทรกตัวของ mud filtrate ไปแทนที่ของเหลวในชั้นหิน สัดส่วนของสารไฮโดรคาร์บอนมีค่าเท่ากับ (1-Sxo) ความแตกต่างของค่าทั้งสองคือปริมาณสารไฮโดรคาร์บอนที่เคลื่อนที่ได้ซึ่งเท่ากับ (Sxo-Sw) เปอร์เซ็นต์ของสารไฮโดรคาร์บอนที่เคลื่อนที่ได้หาได้จากสมการ
ค่าที่คำนวณได้สามารถนำไปใช้ในการกำหนดความสามารถในการให้สารไฮโดรคาร์บอนของชั้นหินค่าที่คำนวณได้สามารถนำไปใช้ในการกำหนดความสามารถในการให้สารไฮโดรคาร์บอนของชั้นหิน
4.4.4 Resistivity of clays แร่ดินซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของหินดินดาน และยังอาจแทรกอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอน ทำให้ค่าความต้านทานไฟฟ้าของชั้นหินเปลี่ยนแปลงได้ การเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานไฟฟ้าของชั้นหินที่มีแร่ดินแทรกอยู่หรือค่าความต้านทานไฟฟ้าของชั้นหินดินดานที่มีค่าต่ำเนื่องจากว่า แร่ดินสามารถนำไฟฟ้าได้ ความสามารถในการนำไฟฟ้าของแร่ดินจะขึ้นกับชนิดของแร่ดิน และพื้นที่ผิวของแร่ดิน การนำไฟฟ้าของแร่ดินเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การนำไฟฟ้าเนื่องจากน้ำที่อยู่ในโครงสร้างของแร่ดินและโครงสร้างของแร่ดินเอง
โครงสร้างของแร่ดินเป็นชั้นของ silicate ซึ่งมีผิวเป็นประจุลบ ทำให้ประจุบวกของอิออนต่างๆมาล้อมรอบและจับตัวกับโมเลกุลของน้ำที่ล้อมรอบ Na+ อีกชั้นหนึ่ง น้ำที่ล้อมรอบแร่ดินเหล่านี้เรียกว่า bound water
4.4.5 Resistivity devices การวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าของชั้นหินเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการประเมินศักยภาพของชั้นหินสำหรับการเป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม หลักการง่ายๆ สำหรับเครื่องมือคือการส่งกระแสไฟฟ้าเข้าไปในชั้นหิน และวัดการตอบสนองของชั้นหินที่มีต่อกระแสไฟฟ้าที่ส่งเข้าไป โดยใช้ตัวรับสัญญาณไฟฟ้าซึ่งมีค่าระยะห่างระหว่างตัวส่งกระแสไฟฟ้ากับตัวรับสัญญาณไฟฟ้าที่คงที่ค่าหนึ่ง ค่าระยะห่างระหว่างตัวส่งกระแสไฟฟ้ากับตัวรับสัญญาณไฟฟ้าจะเป็นตัวกำหนดความลึกที่เครื่องมือจะสามารถวัดเข้าไปในชั้นหินได้
Resistivity devices เป็นเครื่องมือชนิดแรกที่ถูกนำมาใช้ในการสำรวจหยั่งธรณีในหลุมเจาะ โดยออกแบบให้สามารถวัดค่าความผิดปกติของความต้านทานไฟฟ้าใต้ผิวดินที่สอดคล้องกับลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาหรือบริเวณที่มีการสะสมตัวของสินแรโลหะ ในส่วนของการนำมาใช้ในการสำรวจหยั่งธรณีในหลุมเจาะในปัจจุบัน เครื่องมือถูกออกแบบให้สามารถทำงานได้เฉพาะในหลุมเจาะที่มีน้ำโคลนแบบ conductive mud (salt mud) เท่านั้น ส่วนหลุมเจาะที่มีน้ำโคลนแบบ non-conductive mud (oil-based mud และ freshwater-based mud) ใช้ไม่ได้
4.4.5.1 Non-focused long-spacing tools เครื่องมือนี้ใช้สำหรับวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าของชั้นหิน Rt ในบริเวณ virgin zone เครื่องมือถูกออกแบบโดยใช้หลักการง่ายๆ ประกอบด้วย ขั้วกระแสไฟฟ้า 2 ขั้วสำหรับใช้ส่งกระแสไฟฟ้าที่มีความเข้มคงที่เข้าไปในชั้นหิน เป็นผลให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าขึ้น ซึ่งสามารถวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้านี้ได้โดยใช้ขั้วศักย์ไฟฟ้า 2 ขั้ว นำค่าที่วัดได้ไปคำนวณหาค่าความต้านทานไฟฟ้าของชั้นหิน
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าความต้านทานไฟฟ้าของชั้นหินที่วัดได้เครื่องมือนี้ได้แก่ ความต้านทานไฟฟ้าของน้ำโคลน ความต้านทานไฟฟ้าของชั้นหินดินดานในบริเวณใกล้เคียง ขนาดของหลุมเจาะ ความหนาของชั้นหิน ความลึกของ invasion zone
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่จะทำให้เครื่องมือสามารถอ่านค่า Rt ได้ถูกต้องควรจะเป็นดังนี้ 1. ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของหลุมเจาะควรจะน้อยกว่า 12” 2. ความหนาของชั้นหินควรจะมากกว่า 15’ 3. ความลึกของ invasion zone ควรจะน้อยกว่า 40”
1. Normal configuration Normal devices ประกอบด้วยขั้วกระแสไฟฟ้า (current electrode) 2 ขั้ว และ ขั้วศักย์ไฟฟ้า (potential electrode) 2 ขั้ว ในขั้วกระแสไฟฟ้าขั้วหนึ่ง (A) และขั้วศักย์ไฟฟ้าขั้วหนึ่ง (M) ติดตั้งอยู่บนเครื่องมือที่หย่อนลงไปในหลุมเจาะ ส่วนทางทฤษฎี ขั้วที่เหลืออีก 2 ขั้วจะอยู่บนผิวดิน (B, N) แต่ในทางปฏิบัติ ขั้วศักย์ไฟฟ้าทั้งสองขั้ว (M, N) จะวางอยู่บนเครื่องมือเหนือขั้วกระแสไฟฟ้า (A) เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องการให้เกิดการเหนี่ยวนำไฟฟ้าขึ้น
ระยะห่างระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้า (A) กับขั้วศักย์ไฟฟ้าตัวที่อยู่ใกล้ (M) มีค่าเท่ากับ 16 นิ้ว สำหรับ short normal และ 64 นิ้ว สำหรับ long normal ความต้านทานไฟฟ้าของน้ำโคลนและขนาดของหลุมเจาะ มีผลอย่างมากกับความสามารถในการวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าของ Normal devices
2. Lateral and inverse configuration Lateral device ประกอบด้วยขั้วกระแสไฟฟ้า 2 ขั้ว และ ขั้วศักย์ไฟฟ้า 2 ขั้วเช่นกัน แต่การจัดวางขั้วไฟฟ้าแตกต่างกัน ในทางทฤษฎี ขั้วกระแสไฟฟ้าหนึ่งขั้ว (A) และขั้วศักย์ไฟฟ้า 2 ขั้ว (M, N) จะถูกติดตั้งอยู่บนเครื่องมือ โดยให้ขั้วกระแสไฟฟ้า (A) อยู่เหนือขั้วศักย์ไฟฟ้าทั้งสอง ส่วนขั้วกระแสไฟฟ้าอีกขั้วหนึ่ง (B) จะอยู่บนผิวดิน
ในทางปฏิบัติ มีการสลับตำแหน่งระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้าและขั้วศักย์ไฟฟ้า โดยเอาขั้วกระแสไฟฟ้า 2 ขั้ว ติดตั้งไว้บนเครื่องมือและขั้วศักย์ไฟฟ้า 2 ขั้วติดตั้งไว้เหนือขั้วกระแสไฟฟ้า กำหนดให้ระยะห่างระหว่างจุดกึ่งกลางของขั้วกระแสไฟฟ้า (O) กับขั้วศักย์ไฟฟ้าตัวใกล้ (M) มีค่าเท่ากับ 18 ฟุต 8นิ้ว
3. Rt from the log ค่า Rt จาก log เป็นการเปรียบเทียบค่าความต้านทานไฟฟ้าของชั้นหินกับค่าความต้านทานไฟฟ้าของน้ำโคลนและบริเวณรอบๆชั้นหิน ชั้นหินสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม โดยอาศัยค่าอัตราส่วนของ R16/Rm ดังนี้ 1. R16/Rm < 10 : เป็นชั้นหินที่มีค่าความต้านทานไฟฟ้าต่ำ เครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาค่า Rt คือ Short normal และ Long normal
2. 10 < R16/Rm < 50 : เป็นชั้นหินที่มีค่าความต้านทานไฟฟ้าปานกลาง Long normal เหมาะสำหรับค่าอัตราส่วน R16/Rm < 20 และ Lateral log เหมาะสำหรับค่าอัตราส่วน R16/Rm > 20 3. R16/Rm > 50 : เป็นชั้นหินที่มีค่าความต้านทานไฟฟ้าสูง Lateral log เหมาะสำหรับการหาค่า Rt
4.4.5.2 Focused long-spacing tools เครื่องมือถูกออกแบบให้สามารถบังคับทิศทางการเดินทางของกระแสไฟฟ้า ให้ไหลเข้าไปในชั้นหินเป็นบริเวณแคบๆ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการรบกวนของกระแสไฟฟ้าจากชั้นหินบริเวณใกล้เคียงเมื่อชั้นหินมีความหนาน้อย และช่วยในการกำหนดขอบเขตรอยต่อของชั้นหินได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
เครื่องมือประเภทนี้เหมาะสำหรับการวัดค่าในบริเวณที่มีค่า Rt/Rm สูง (salt mud และ/หรือ highly resistive formations) หรือ มีความแตกต่างของค่าความต้านทานไฟฟ้าระหว่างชั้นหินสูง (Rt/Rs หรือ Rs/Rt) นอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับชั้นหินที่มีความหนาน้อยถึงปานกลาง ความสามารถในการตรวจสอบของเครื่องมือมีทั้งระดับลึก ระดับปานกลาง และ ระดับตื้น ทำให้สามารถวัดได้ทั้งค่า Rt และ Rxo
1. Induction logs Induction logs ออกแบบให้ใช้วัดค่าความนำไฟฟ้าของชั้นหินในที่ระยะลึกในบริเวณ virgin zone โดยไม่ให้มีผลกระทบจาก invasion zone เครื่องมือประกอบด้วยขดลวด 2 ชุด เรียกว่า ขดลวดปล่อยกระแส (transmitter coil) และ ขดลวดรับสัญญาณ (receiving coil) มีระยะห่าง 40 นิ้ว (6FF40) หรือ 28 นิ้ว (6FF28) กระแสไฟฟ้าสลับความถี่สูง (20 kHz) ถูกส่งไปยังขดลวดปล่อยกระแส ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กปฐมภูมิขึ้นมีความเข้มของสนามแม่เหล็กที่คงที่ ไปเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าทุติยภูมิขึ้นในชั้นหิน
ความเข้มของกระแสไฟฟ้าทุติยภูมิที่เกิดขึ้นเป็นสัดส่วนกับค่าการนำไฟฟ้าของชั้นหินและพื้นที่หน้าตัดของชั้นหินที่ถูกรบกวนด้วยกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ค่าการนำไฟฟ้าของชั้นหินกำหนดได้จากปริมาณกระแสไฟฟ้าที่สามารถไหลได้ในชั้นหิน ชั้นหินที่มีค่าการนำไฟฟ้าสูงแสดงว่ามีกระแสไฟฟ้าทุติยภูมิเกิดขึ้นในชั้นหินมาก และมีค่าความต้านทานกระแสไฟฟ้าต่ำ กระแสไฟฟ้าทุติยภูมินี้จะไปเหนี่ยวนำให้เกิดสัญญาณขึ้นในขดลวดรับสัญญาณ สัญญาณที่รับได้จะถูกเปลี่ยนไปเป็นค่าการนำไฟฟ้าและบันทึกเป็นค่าการนำไฟฟ้าปรากฏของชั้นหิน
ส่วนความเข้มของสัญญาณจะเป็นสัดส่วนกับปริมาณกระแสไฟฟ้าและค่าการนำไฟฟ้า ชั้นหินที่มีค่าการนำไฟฟ้าต่ำหรือความต้านทานไฟฟ้าสูง สัญญาณที่วัดได้อาจมีค่าต่ำมากจนในบางครั้งไม่สามารถวัดได้ ซึ่งมักพบเมื่อขั้นหินมีค่าความต้านทานไฟฟ้าที่ประมาณ 150 โอห์ม-เมตร
ข้อดีอันหนึ่งของ Induction tools คือ สามารถวัดได้ทั้งในหลุมเปล่าที่ไม่มีน้ำโคลน หรือหลุมที่มีน้ำโคลนแบบ non-conductive mud (oil-based mud และ freshwater-based mud) ในกรณีที่น้ำโคลนเป็นแบบ conductive mud (salt mud) ต้องมีการแก้ค่าในกรณีที่ต้องการนำค่าที่วัดได้มาคำนวณ
เนื่องจาก Induction logs ใช้วัดค่าการนำไฟฟ้าของชั้นหิน แทนที่จะวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า ดังนั้น Induction logs จึงเหมาะสำหรับชั้นหินที่มีค่าความต้านทานไฟฟ้าต่ำ เช่นชั้นหินทรายที่มีความพรุนสูง มากกว่าชั้นหินปูนที่มีความพรุนต่ำ นอกจากนั้นสภาพที่เหมาะสมที่จะใช้ Induction logs คือ 1. อัตราส่วนของ Rmf/Rw มากกว่า 3 2. ค่า Rt น้อยกว่า 150 โอห์ม-เมตร 3. ความหนาของชั้นหินมากกว่า 30 ฟุต
2. Laterologs Laterologs หรือ Guard logs ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าของชั้นหินที่การเจาะใช้น้ำโคลนแบบ salt mud มีหลักการคือการบังคับทิศทางของกระแสไฟฟ้าที่ส่งจากขั้วกระแสไฟฟ้าเข้าไปในชั้นหิน ให้มีลักษณะที่ตั้งฉากกับชั้นหิน โดยกำหนดให้ค่ากระแสมีค่าคงที่และวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า
การบังคับทิศทางของกระแสไฟฟ้าที่ส่งจากขั้วกระแสไฟฟ้าทำได้โดยการสร้างกระแสไฟฟ้าจากขั้วบังคับกระแสไฟฟ้า (guard electrode) ให้กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณแคบๆ ความกว้างของบริเวณนี้จะขึ้นอยู่กับระยะห่างและการจัดวางขั้วควบคุม เป็นการป้องกับผลกระทบที่เกิดจากหลุมเจาะและชั้นหินข้างเคียง
Laterologs เหมาะสมที่จะใช้ในสภาพที่ 1. อัตราส่วนของ Rmf/Rw น้อยกว่า 3 2. เส้นผ่าศูนย์กลางของหลุมเจาะน้อยกว่า 16 นิ้ว 3. ค่าความต้านทานไฟฟ้าของชั้นหินมากกว่า 150 โอห์ม-เมตร 4. ความหนาของชั้นหินอาจมีค่าน้อยกว่า 10 ฟุต
Laterolog-7, LL-7 กระแสไฟฟ้าความเข้มคงที่ถูกส่งออกมาจากขั้วกระแสไฟฟ้า (A0) ซึ่งอยู่ตรงกลาง จะถูกควบคุมด้วยขั้วบังคับกระแสไฟฟ้า 2 ขั้วที่อยู่ด้านนอกสุด (A1, A2) ซึ่งอยู่ห่างกัน 80 นิ้ว ขั้วบังคับความต่างศักย์ไฟฟ้า (monitor electrode) 2 คู่ (M1-M2, M1’-M2’) ที่อยู่ระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้าและขั้วบังคับกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะพยายามให้ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่าง M1-M1’ และ M2-M2’ มีค่าเป็นศูนย์ ทำให้กระแสไฟฟ้าที่ถูกส่งออกมาจากขั้วกระแสไฟฟ้า A0 เกิดเป็นแถบในแนวราบแทรกเข้าไปในชั้นหินได้
ความกว้างของแถบกระแสไฟฟ้าเท่ากับระยะห่างจุดกึ่งกลางระหว่าง ระหว่าง M1-M1’ (O1) และ M2-M2’ (O2) โดยปกติมีค่าเท่ากับ 32 นิ้ว Laterolog 7 เหมาะสำหรับชั้นหินที่ต้านทานไฟฟ้า