1 / 165

ที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต

ที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต. ประมวลกฎหมายอาญา. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. สุวัฒน์ ไวยุพัฒนธี ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3. ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง. หลักการสำคัญในการเขียน บันทึกการค้นและจับกุม.

Download Presentation

ที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สุวัฒน์ ไวยุพัฒนธี ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง

  2. หลักการสำคัญในการเขียนหลักการสำคัญในการเขียน บันทึกการค้นและจับกุม 1. ต้องมีข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับข้อกล่าวหา 2. ต้องมีข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับอำนาจการตรวจค้นและจับกุมของเจ้าพนักงาน

  3. ข้อเท็จจริงสอดคล้อง กับข้อกล่าวหา 1. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับความผิดตามกฎหมายสรรพสามิต 2. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญา

  4. ข้อเท็จจริงสอดคล้อง กับอำนาจจับกุม 1. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับอำนาจเจ้าพนักงานตามกฎหมายสรรพสามิต 2. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  5. กฎหมายที่สำคัญซึ่งเกี่ยวกับกฎหมายที่สำคัญซึ่งเกี่ยวกับ การปฏิบัติราชการของหน่วยงานจัดเก็บภาษี กฎหมายในการจัดเก็บภาษีอากร การบริหารจัดเก็บภาษี การตรวจปราบปราม - ประมวลรัษฎากร - กฎหมายศุลกากร - กฎหมายสรรพสามิต - พ.ร.บ. ชดเชยค่าภาษีอากร - พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ - ป. อาญา - ป. วิ. อาญา - พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯลฯ กฎหมายควบคุมการปฏิบัติราชการ - พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน - พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน - พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร - พ.ร.บ. วิ. ปกครอง - พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด - กฎหมายอื่น

  6. การตรวจปราบปราม ตามกฎหมายสรรพสามิต ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 มาตรา 1(3), 17, 31, 59, 80, 83, 84, 90, 91, 95, 102 และ 105

  7. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา - มาตรา 2 (2) (3) (4) (7) (8) (9) (10) (11) (13) (16) (20) (21) (22) - มาตรา 16, 17, 37, 38, 61, 66 - การจับ มาตรา 77-87 ที่สำคัญคือ มาตรา 78, 80 วรรค 1, 81, 82 และ 83 - การค้น มาตรา 91-104 ที่สำคัญคือมาตรา 92, 93, 96, 98 (2) และ 102 การตรวจปราบปราม ตามกฎหมายสรรพสามิต

  8. มาตรา 4 “เจ้าพนักงานสรรพสามิต” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนสังกัดกรมสรรพสามิต “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายวามว่า ข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงการคลังหรือบุคคลอื่น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต

  9. ประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 12 กันยายน 2546 1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมสรรพสามิต ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527ภายในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ 2. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมศุลกากร ตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 54 เฉพาะสินค้านำเข้า 3. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมศุลกากร ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 79 ถึง 85 เฉพาะสินค้านำเข้า 4. เจ้าหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศให้เป็นสถานที่ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 53 วรรคสี่ พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต

  10. มาตรา 131 “เพื่อประโยชน์ในการจับกุมปราบปรามผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา” มาตรา 134 “ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานสรรพสามิตเป็นผู้จับกุมผู้ต้องหาในความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามพระราชบัญญัตินี้ ...” ผู้มีอำนาจตรวจค้นและจับกุม ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต

  11. มาตรา 2(16) “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ” หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้ง ...เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต …ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา

  12. มาตรา 16 “... อำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในการที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหลาย … ซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจนั้น ๆ” มาตรา 17 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาทั้งปวง” ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา

  13. มาตรา 4 “เจ้าพนักงานสรรพสามิต” หมายความว่า เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าพนักงานสรรพสามิตและผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ พ.ร.บ. สุรา

  14. ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ(ข้อ 2.4) - ผ.อ. สรรพสามิตภาค - ผ.อ. สำนักงานสรรพสามิตกรุงเทพ ฯ ผู้ทำหน้าที่เป็นสรรพสามิตกรุงเทพ ฯ พื้นที่ 1-5 - สรรพสามิตพื้นที่ เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต 7 เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 และเจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต 7 ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ - สรรพสามิตพื้นที่สาขา และเจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต 7 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. สุรา

  15. ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ(ข้อ 2.4) - ผ.อ. สำนัก ฯ เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี และนายตรวจสรรพสามิต สำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม - ผ.อ. ส่วน เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ส่วนตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม ของสำนักงานสรรพสามิตภาค - เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต นักวิชาการสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. สุรา

  16. ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ(ข้อ 2.4) - เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต นักวิชาการสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต และเจ้าพนักงานสรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา - เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นักวิชาการสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 5 พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. สุรา

  17. มาตรา 28 “ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจโรงงานสุราที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ หรือสถานที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำ หรือขาย หรือเก็บสุรา หรือเชื้อสุรา หรือสินค้าอื่นใดที่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ในเวลาทำการ” มาตรา 29 “เพื่อประโยชน์ในการจับกุมและปราบปรามผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา” พ.ร.บ. สุรา

  18. มาตรา 55 “ให้อธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการกรมสรรพสามิตเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่จับกุมและปราบปรามผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา” พ.ร.บ. ยาสูบ

  19. ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 เจ้าพนักงานมีหน้าที่จับกุมปราบปราม ตาม พ.ร.บ. ยาสูบ(ข้อ 3.4) - ผ.อ. สำนัก ฯ เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี และนายตรวจสรรพสามิต สำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม - ผ.อ.สรรพสามิตภาค ผ.อ. ส่วนตรวจสอบ ฯ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ส่วนตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม ของสำนักงานสรรพสามิตภาค - สรรพสามิตพื้นที่ เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ยาสูบ

  20. ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 เจ้าพนักงานมีหน้าที่จับกุมปราบปราม ตาม พ.ร.บ. ยาสูบ(ข้อ 3.4) - สรรพสามิตพื้นที่สาขา เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต และเจ้าพนักงานสรรพสามิต ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา - เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต นักวิชาการสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ซึ่งปฏิบัติราชการในสำนักงานสรรพสามิตกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 - 5 เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ยาสูบ

  21. มาตรา 4 “เจ้าพนักงาน” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีแต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 12 “เพื่อที่จะดูว่าได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัติและกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เพื่อทำการตรวจค้นได้” พ.ร.บ. ไพ่

  22. ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 เจ้าพนักงานปฏิบัติการตามพ.ร.บ. ไพ่(ข้อ 4.1) - ผ.อ. สรรพสามิตภาค - ผ.อ. สำนักงานสรรพสามิตกรุงเทพ ฯ ผู้ทำหน้าที่เป็นสรรพสามิตกรุงเทพ ฯ พื้นที่ 1-5 - สรรพสามิตพื้นที่ เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต 7 เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 และเจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต 7 ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ - สรรพสามิตพื้นที่สาขา และเจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต 7 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ไพ่

  23. ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 เจ้าพนักงานตามมาตรา 12 พ.ร.บ. ไพ่(ข้อ 4.2) - ผ.อ. สำนัก ฯ เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี และนายตรวจสรรพสามิต สำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม - ผ.อ. ส่วน เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ส่วนตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม ของสำนักงานสรรพสามิตภาค - เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ - เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต นักวิชาการสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต และเจ้าพนักงานสรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ไพ่

  24. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่ (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80 (2) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด

  25. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 (3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตามมาตรา 66(2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้ (4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117

  26. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี

  27. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ

  28. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81 ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน

  29. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (13) "ที่รโหฐาน" หมายความถึงที่ต่าง ๆ ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถานดั่งบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 (13) "สาธารณสถาน" หมายความว่า สถานที่ใด ๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้

  30. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น (2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน

  31. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 (3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น (4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือได้ใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน

  32. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 (5) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตามมาตรา 78 การใช้อำนาจตาม (4) ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้ค้นส่งมอบสำเนาบันทึกการตรวจค้นและบัญชีทรัพย์ที่ได้จากการตรวจค้น รวมทั้งจัดทำบันทึกแสดงเหตุผลที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้แก่ผู้ครอบครองสถานที่ที่ถูกตรวจค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบหนังสือดังกล่าวแก่บุคคลเช่นว่านั้นในทันทีที่กระทำได้ และรีบรายงานเหตุผลและผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป

  33. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96 การค้นในที่รโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก มีข้อยกเว้นดังนี้ (1) เมื่อลงมือค้นแต่ในเวลากลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จจะค้นต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้ (2) ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้ (3) การค้นเพื่อจับผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญจะทำในเวลากลางคืนก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตพิเศษจากศาลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

  34. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(9) “หมายอาญา” หมายความถึง หนังสือบงการที่ออกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการจับ ขัง จำคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จำเลย หรือนักโทษ หรือให้ทำการค้น รวมทั้งสำเนาหมายจับหรือหมายค้นอันได้รับรองว่าถูกต้อง และคำบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับหรือหมายค้นแล้ว ตลอดจนสำเนาหมายจับหรือหมายค้นที่ได้ส่งทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77

  35. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 61 ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 97 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจหน้าที่จัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา ซึ่งได้มอบหรือส่งมาให้จัดการภายในอำนาจของเขา หมายอาญาใดซึ่งศาลได้ออก จะมอบหรือส่งไปยังพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งอยู่ภายในเขตอำนาจของศาลดั่งระบุในหมาย หรือแก่หัวหน้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจประจำจังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือตำบล ซึ่งจะให้จัดการให้เป็นไปตามหมายนั้นก็ได้ ในกรณีหลังเจ้าพนักงานผู้ได้รับหมายต้องรับผิดชอบในการจัดการตามหมายนั้น จะจัดการเองหรือสั่งให้เจ้าพนักงานรองลงไปจัดการให้ก็ได้ หรือจะมอบหรือส่งสำเนาหมายอันรับรองว่าถูกต้องให้แก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจคนอื่นซึ่งมีหน้าที่จัดการตามหมายซึ่งตนได้รับนั้นก็ได้ ถ้าหมายนั้นได้มอบหรือส่งให้แก่เจ้าพนักงานตั้งแต่สองนายขึ้นไป เจ้าพนักงานจะจัดการตามหมายนั้นแยกกันหรือร่วมกันก็ได้

  36. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 97 ในกรณีที่ค้นโดยมีหมาย เจ้าพนักงานผู้มีชื่อในหมายค้นหรือผู้รักษาการแทนซึ่งต้องเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตั้งแต่ระดับสามหรือตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตำรวจตรีขึ้นไปเท่านั้น มีอำนาจเป็นหัวหน้าไปจัดการให้เป็นไปตามหมายนั้น

  37. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 98 การค้นในที่รโหฐานนั้นจะค้นได้แต่เฉพาะเพื่อหาตัวคนหรือสิ่งของที่ต้องการค้นเท่านั้น แต่มีข้อยกเว้นดังนี้ (1) ในกรณีที่ค้นหาสิ่งของโดยไม่จำกัดสิ่ง เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจยึดสิ่งของใด ๆ ซึ่งน่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อเป็นประโยชน์หรือยันผู้ต้องหาหรือจำเลย (2) เจ้าพนักงานซึ่งทำการค้นมีอำนาจจับบุคคลหรือสิ่งของอื่นในที่ค้นนั้นได้ เมื่อมีหมายอีกต่างหาก หรือในกรณีความผิดซึ่งหน้า

  38. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น ในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด

  39. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 102 วรรคหนึ่ง การค้นในที่รโหฐานนั้น ก่อนลงมือค้นให้เจ้าพนักงานผู้ค้นแสดงความบริสุทธิ์เสียก่อน และเท่าที่สามารถจะทำได้ให้ค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หรือถ้าหาบุคคลเช่นกล่าวนั้นไม่ได้ ก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งเจ้าพนักงานได้ขอร้องมาเป็นพยาน

  40. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรคหนึ่ง ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับพร้อมด้วยผู้จับ เว้นแต่สามารถนำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ให้นำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดังกล่าว แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป

  41. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรคสอง ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ หากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับพร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและจะไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับ หรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี ในการนี้ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าวไว้ด้วย

  42. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรคสาม ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการปกป้องทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับนั้น

  43. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานหรือราษฎรผู้ทำการจับต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83 โดยทันที และเมื่อถึงที่นั้นแล้ว ให้ส่งตัวผู้ถูกจับแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจของที่ทำการของพนักงานสอบสวนดังกล่าวเพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้

  44. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84 วรรคสี่ ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือตามมาตรา 83 วรรคสองแก่ผู้ถูกจับ แล้วแต่กรณี

  45. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้ (1) ในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนศาลพิจารณา (2) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว

  46. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 (3) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทซึ่งเกิดในกรุงเทพมหานคร เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้ทำการในตำแหน่งนั้น ๆ ได้เปรียบเทียบแล้ว (4) ในคดีซึ่งเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว

  47. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 38 ความผิดตามอนุมาตรา (2)(3) และ (4) แห่งมาตราก่อน ถ้าเจ้าพนักงานดั่งกล่าวในมาตรานั้นเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจำคุกให้มีอำนาจเปรียบเทียบดังนี้ (1) ให้กำหนดค่าปรับซึ่งผู้ต้องหาจะพึงชำระ ถ้าผู้ต้องหาและผู้เสียหายยินยอมตามนั้น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่กำหนดให้ภายในเวลาอันสมควรแต่ไม่เกินสิบห้าวันแล้ว คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาด ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้ว ไม่ชำระเงินค่าปรับภายในเวลากำหนดในวรรคก่อน ให้ดำเนินคดีต่อไป (2) ในคดีมีค่าทดแทน ถ้าผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบให้เจ้าหน้าที่กะจำนวนตามที่เห็นสมควรหรือตามที่คู่ความตกลงกัน

  48. คำพิพากษาศาลฎีกา ที่เกี่ยวข้องกับ ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา

  49. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2492 ความผิดซึ่งหน้าได้กระทำขึ้นในที่รโหฐานกำนันเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองมีอำนาจที่จับผู้กระทำผิดตามความในมาตรา 78 (1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยไม่มีหมายจับและมีอำนาจที่จะเข้าค้นจับในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นตามมาตรา 92 ได้ โจทก์กับพวกได้สมคบกันต้มกลั่นสุราเถื่อนในเวลากลางคืน จำเลยเป็นกำนันปกครองท้องที่กับพวกได้ไปแอบดูเห็นโจทก์กับพวกกำลังต้มกลั่นสุราเถื่อนอยู่ในบ้านจึงพากันเข้าไปจับกุมดังนี้นับว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามมาตรา 96 (2) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถึงแม้เป็นเวลาค่ำคืนจำเลยก็กระทำได้

  50. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2525 นายสิบและพลตำรวจสงสัยว่าจำเลยจะกินสุราเถื่อนในเวลาค่ำคืนจึงเข้าไปเพื่อจะจับกุมโดยไม่มีหมายไม่ได้เพราะไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าและตำรวจไม่มีอำนาจตามขึ้นไปจับจำเลยบนเรือนอันเป็นที่รโหฐานเพราะไม่ใช่กรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หากตำรวจขืนขึ้นไปจับจำเลยจำเลยทำร้ายเอาก็ไม่เป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน

More Related