270 likes | 363 Views
การชี้แจงนโยบาย. เรื่อง การจัดหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และ เรื่อง การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญา โดย ดร.จิรณี ตันติรัตนวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา การสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อการสร้างแนวปฏิบัติที่ดี
E N D
การชี้แจงนโยบาย เรื่อง การจัดหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และ เรื่อง การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญา โดย ดร.จิรณี ตันติรัตนวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา การสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อการสร้างแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การจัดหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และเรื่อง การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญา วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2551 เวลา 09.00 – 09.30 น. ณ ห้องจูปีเตอร์ ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 หลักการที่เกี่ยวข้อง ม.6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข ม.7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 (ต่อ) วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และ ความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ม.8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้ (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ม.9 การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้ (3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบ ประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 (ต่อ) ระบบการศึกษา ม.15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย (1) การศึกษาในระบบเป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน (2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น ในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของ การศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จ การศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้อง กับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 (ต่อ) (3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือ แหล่งความรู้อื่น ๆ สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือ ทั้งสามรูปแบบก็ได้ ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่าง รูปแบบเดียวกัน หรือต่างรูปแบบได้ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน
ระดับนโยบาย แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษาและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานที่ 2 : แนวการจัดการศึกษาจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบริหารโดยใช้สถานศึกษา เป็นฐาน มาตรฐานที่ 3 : แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ การสร้างวิถีการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ให้เข้มแข็ง มาตรฐานที่ 1 : คุณลักษณะของคนไทยที่ พึงประสงค์ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข มาตรฐาน การศึกษาปฐมวัย สพฐ. มาตรฐาน การอาชีวศึกษา สอศ. มาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. มาตรฐานการอุดมศึกษา สกอ.
มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานด้านการบริหาร จัดการการอุดมศึกษา มาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต สกอ. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (NQF) NQF สาขาวิชาที่ 1 NQF สาขาวิชาที่ 2 NQF สาขาวิชาที่ 3 รายละเอียดของหลักสูตรแต่ละสาขาวิชา (Program Specifications) มหาวิทยาลัย/ คณะ/อาจารย์ รายละเอียดของรายวิชา (Course Specifications)
โครงสร้างและระดับขั้นการศึกษาในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาโครงสร้างและระดับขั้นการศึกษาในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
คุณลักษณะสำคัญในแต่ละระดับและแต่ละขอบเขตของการเรียนรู้คุณลักษณะสำคัญในแต่ละระดับและแต่ละขอบเขตของการเรียนรู้ ที่มา : ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ รายงานการวิจัย กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 31 กรกฎาคม 2551
ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาระดับต่าง ๆ จำนวนหน่วยกิตและกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้
กลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อย่างน้อย 5 ด้าน 1. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ หมายถึง การพัฒนา นิสัยในการประพฤติอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และด้วยความรับผิดชอบทั้งใน ส่วนตนและส่วนรวม สามารถปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในความขัดแย้งทาง ค่านิยม มีการพัฒนานิสัยและการปฏิบัติตนอย่างมีศีลธรรม ยึดฐานคิดทาง ศีลธรรมทั้งในเรื่องส่วนตัวและสังคม 2.ความรู้ หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ การนึกคิด และการนำเสนอ ข้อมูล การวิเคราะห์และจำแนกข้อเท็จจริงในหลักการ ทฤษฎี ตลอดจน กระบวนการต่าง ๆ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ 3. ทักษะเชาวน์ปัญญา หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ และประยุกต์ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฏี และกระบวนการ ต่าง ๆ มาใช้ในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ เมื่อต้อง เผชิญกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน
กลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อย่างน้อย 5 ด้าน (ต่อ) 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ หมายถึง ความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีความสามารถในการวางแผนและ รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง 5. ทักษะการวิเคราะห์และการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการคิด วิเคราะห์และสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูด การเขียน การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งความสามารถในการใช้เทคนิคพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์และสถิติ ประยุกต์ใช้ได้กับทุกสาขาวิชา และจะต้องเพิ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ ทางด้านทักษะพิสัย (psychomotor skill) สำหรับสาขาวิชาที่ต้องมีการพัฒนา ทักษะทางกายภาพสูง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ 1. ผลลัพธ์การเรียนรู้ในกลุ่มการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ มุ่งให้ใช้กับนักศึกษาทุกระดับในทุกสาขาวิชา แม้ว่าบางสาขาวิชานักศึกษาจะต้องรู้อยู่แล้ว เช่น จรรยาบรรณของ แพทย์ จรรยาบรรณของนักบัญชี และจรรยาบรรณของนักกฎหมาย เป็นต้น 2. ผลลัพธ์การเรียนรู้ในกลุ่มความรู้ และกลุ่มทักษะเชาวน์- ปัญญา มุ่งผลเฉพาะตามสาขาวิชา ซึ่งจะต้องระบุรายละเอียดของ ความรู้และทักษะที่เหมาะสมไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร (program specifications) และรายละเอียดของรายวิชา (course specifications) ด้วย
ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ต่อ) 3. ผลลัพธ์การเรียนรู้ในทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ ความรับผิดชอบมุ่งหวังให้ใช้กับนักศึกษาทุกระดับชั้น ในทุกสาขาวิชา 4. ผลลัพธ์การเรียนรู้ในทักษะการวิเคราะห์และการสื่อสาร เป็นตัวบ่งชี้ทั่วๆ ไปที่ควรประยุกต์ใช้กับนักศึกษาทั้งหมดไม่ว่าจะเรียน ในสาขาวิชาใด และอาจเน้นให้มีผลการเรียนรู้ที่ชำนาญยิ่งขึ้นเมื่อ นักศึกษาเรียนอยู่ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกลุ่มมาตรฐานนี้ เช่น นักศึกษาที่เรียนวิชาเอกด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จะได้รับ ความคาดหวังให้มีความชำนาญด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้ กลุ่มความรู้ และกลุ่มทักษะเชาวน์ปัญญา มากกว่าที่จะเป็นความมุ่งหวัง สำหรับทุกคนภายใต้กลุ่มทักษะการวิเคราะห์และการสื่อสาร
การผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพตามกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้การผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพตามกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่คาดหวังอย่างน้อย 5 ด้าน การดำเนินการจะต้องคำนึงถึง กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ แนวทาง นโยบายที่เกี่ยวข้อง เช่น 1. ประกาศ ศธ. เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2. ประกาศ ศธ. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ.2548 3. ประกาศ ทม. เรื่อง หลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนรู้เข้าสู่ การศึกษาในระบบ พ.ศ.2545 4. ประกาศ ศธ. เรื่อง หลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการ หลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล พ.ศ.2548 5. ประกาศ ศธ. เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี แบบก้าวหน้าในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2549
6. ประกาศ ศธ. เรื่อง แนวทางความตกลงร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ พ.ศ.2550 7. คุณภาพของอาจารย์ เทคนิควิธีการสอนและการวัดและ ประเมินผล (POD Network) 8. การพัฒนาสื่อการสอน คู่มือ/เอกสารประกอบการสอน
NQF ระดับ 2 คุณวุฒิระดับปริญญาตรี (4 ปี)
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง วิชาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์ ที่กว้างไกล มีความเข้าใจธรรมชาติ ตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารความหมาย ได้ดี มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมทั้งของไทย และของประชาคมนานาชาติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต และดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดวิชาศึกษาทั่วไปในลักษณะจำแนกเป็น รายวิชา หรือลักษณะบูรณาการใด ๆ ก็ได้ โดยผสมผสานเนื้อหาวิชาที่ ครอบคลุมสาระของกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภาษา และ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ หมายถึง • วิชาแกน วิชาเฉพาะด้าน วิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชาชีพ • ที่มุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติงานได้ • หมวดวิชาเลือกเสรี หมายถึง • วิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ตามที่ตนเองถนัด • หรือสนใจ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ใน • หลักสูตรระดับปริญญาตรีโดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า • 6 หน่วยกิต
การจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ควรพิจารณา 1. โครงสร้างของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2. รายวิชาที่เปิดสอน 3. แผนการสอน 4. เทคนิควิธีการสอน 5. สื่อการสอน/คู่มือ/เอกสารประกอบการสอน 6. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน 7. การวัดและประเมินผล 8. สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ทั้งในระดับบริหาร อาจารย์ และนักศึกษา 9. พัฒนาอาจารย์ผู้สอนในด้านเทคนิควิธีการสอน การพัฒนาสื่อการสอน/ คู่มือ/เอกสารประกอบการสอน ให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 10. การบริหารจัดการ