390 likes | 853 Views
โครงการต้นกล้าสีขาว. การจัดการที่ยั่งยืน. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. ที่มา : ดร. ปรียานุช พิบูลสราวุธ โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. ความพอประมาณ พอเหมาะกับสภาพ ของตน พอควรกับสิ่งแวด ล้อมทางกายภาพ / สังคม
E N D
โครงการต้นกล้าสีขาว การจัดการที่ยั่งยืน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มา : ดร. ปรียานุช พิบูลสราวุธ โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ความพอประมาณ • พอเหมาะกับสภาพ ของตน • พอควรกับสิ่งแวด ล้อมทางกายภาพ / สังคม • (ไม่โลภจนเบียดเบียนตัวเอง/ผู้อื่น /ทำลายสิ่งแวดล้อม) • ความมีเหตุมีผล • ไม่ประมาท (รอบรู้ / มีสติ) • รู้สาเหตุ – ทำไม • รู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง • รู้ผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นในด้านต่างๆ • มีภูมิคุ้มกันที่ดี • สุขภาพดี • พร้อมรับความเสี่ยง ต่างๆ (วางแผน / เงินออม /ประกัน) • ทำประโยชน์ให้กับ ผู้อื่น/สังคม • เรียนรู้ / พัฒนาตน อย่างต่อเนื่อง คุณลักษณะของคน/กิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพึ่งตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ในที่สุด ที่มา : ดร. ปรียานุช พิบูลสราวุธ โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ที่มา : ดร. ปรียานุช พิบูลสราวุธ โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ตัวอย่างความพอเพียงในองค์กรเอกชน แพรนด้านจิวเวอรี่ ที่มา : ดร. ปรียานุช พิบูลสราวุธ โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
CSR ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics) ตลาด/ลูกค้า สังคม ธุรกิจ ผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ Corporate Citizenship การเป็นพลเมืองที่ดี กรอบของการจัดการที่ยังยืนและจริยธรรมทางธุรกิจ การกำกับกิจการที่ดี Corporate Governance การจัดการที่ยั่งยืน Corporate Sustainability
เศรษฐกิจพอเพียง การจัดการที่ยั่งยืน สิ่งแวดล้อม สังคม
ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม(Corporate Social Responsibility CSR) ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม หมายถึงการดำเนินงานกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งระยะสั้นและระยาว ด้านการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งในองค์กรหรือทรัพยากรภายนอกองค์กรในอันที่จะอยู่รวมกันในสังคมได้อย่างยั่งยืน ปกติสุข (www.sedb.org)
คำว่า “กิจกรรม” ในความหมายข้างต้น หมายรวมถึง การคิด การพูด และการกระทำ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การวางแผน การตัดสินใจ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ การบริหารจัดการ และการดำเนินงานขององค์กร สังคมใกล้ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับองค์กรโดยตรง ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า ครอบครัวของพนักงาน ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ เป็นต้น สังคมไกล คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรโดยอ้อม ได้แก่ คู่แข่งขันทางธุรกิจ ประชาชนทั่วไป เป็นต้น
สังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ CSR • พร้อมที่จะให้สาธารณชน • ตรวจสอบ • ความเป็นอยู่ที่ดีของ พนักงาน • คุณภาพชีวิต • จรรยาบรรณทางธุรกิจ • การควบคุมมลภาวะ • การลดการใช้ทรัพยากร • ผลกระทบธุรกิจต่อ • สิ่งแวดล้อม • การลดของเสีย • สุขอนามัยและความปลอดภัย • Fiduciary Duty • ระมัดระวัง • ความซื่อสัตย์ • กฎข้อบังคับ • การเปิดเผยข้อมูล • ผลการดำเนินงานที่สร้าง • คุณค่าให้ผู้ถือหุ้น
กลยุทธ์ที่เชื่อมโยงกับCSR การมีส่วนร่วม • ชุมชน การลงทุนทางสังคม • การตรวจสอบและจัดทำรายงานด้านสังคมและ • สิ่งแวดล้อมจรรยาบรรณทางธุรกิจการจัด • ECO-Efficiency • ตรวจสอบและดำเนินการตามข้อบังคับทางกฎหมาย สร้างคุณค่า ลดอันตราย ดำเนินการข้อกฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระดับของการมีความรับผิดชอบต่อสังคม เครื่องมือ
ขั้นที่ 1 ไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย · ดำเนินการที่ขัดต่อกฎหมาย · ละเลยกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ขั้นที่ 2 ปฎิบัติตามกฎหมาย · ปฎิบัติตามกฎข้อบังคับ · ดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมขั้นต่ำ · การทำ CSR เพียงแต่พูด · ดูแลสิ่งแวดล้อมที่ปลายเหตุ ขั้นที่ 3 ปฎิบัติดีกว่าที่กฎหมายกำหนด · จากการป้องกันเป็นการแก้ไข · ดำเนินการด้าน ECO-Efficiency , กระบวนการผลิตที่สะอาด · ตระหนักถึงการลงทุนเพื่อชุมชนและทำการตลาดเพื่อสังคมเพื่อเสริมสร้าง ภาพลักษณ์ ขั้นที่ 4 กลยุทธ์แบบบูรณาการ · บริษัทมีความตั้งใจจะดำเนินการบูรณาการการจัดการที่ยั่งยืนในกลยุทธ์ธุรกิจ · เสาะแสวงหาโอกาสและลงทุนที่คำนึงถึงความเสี่ยง · มีข้อได้เปรียบการแข่งขันจากการมีการดำเนินการที่ยั่งยืน ขั้นที่ 5 มีเป้าหมาย · พลังผลักดันที่มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงการเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของธุรกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม · เห็นว่าการจัดการที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่ถูกต้องควรทำ
CSR มี 2 มิติ ดังนี้ มิติภายใน การปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมภายในจะ เกี่ยวกับ • การบริหารทรัพยากรมนุษย์ • การเรียนรู้ในองค์กร • การมอบหมายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ • การสื่อสาร ข้อมูล • การสมดุลย์ ชีวิตการงาน ครอบครัว • การจัดสรรกำไร • ความปลอดภัย • การสรรหา ไม่มีการกีดกัน • สุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน • การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง • การจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
มิติภายนอก • ชุมชน • ว่าจ้างแรงงานในชุมชน จ่ายภาษี จัดการผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมกับชุมชน • ช่วยเหลือสนับสนุนชุมชนด้านการศึกษา วัฒนธรรม การกีฬา โดยการบริจาค • พันธมิตรกับหุ้นส่วนทางธุรกิจ ได้แก่ ผู้จัดจำหน่าย ลูกค้า มีการ ผลิตสินค้าที่ตอบสนองต่อลูกค้าโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ มี จรรยาบรรณและดูแลสิ่งแวดล้อม • สิทธิมนุษยชน • ดำเนินการตามมาตรฐานแรงงาน กฎหมาย และนโยบายการค้า • การไม่มีคอร์ปรับชั่น • ภาคธุรกิจต้องดำเนินการโดยมีจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสังคม • สิ่งแวดล้อมภายนอก
ปัจจัยผลักดันที่ทำให้มีการจัดทำรายงาน CSR 1. การเปิดเผยข้อมูล ตามแนวคิดของ WBCSO ถ้าธุรกิจเชื่อในตลาดเสรีที่ผู้บริโภคมีทางเลือกดังนั้นธุรกิจจะต้องรับความรับผิดชอบสำหรับการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกของผู้บริโภค 2. การใช้ข้อมูลของภาครัฐ รัฐบาลหลายประเทศได้ปรับเปลี่ยนโดยให้ภาคธุรกิจเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณะเพิ่มเติมจากระบบการสั่งการและควบคุมเป็นกลยุทธ์ที่ภาครัฐต้องการดูแลจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม 3. ผู้บริโภค ความต้องการของผู้บริโภคเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
1993 1996 1999 2002 Non-Financial Reporting by the Global Fortune Top 250 35% 45% Non-Financial Reporting by the Top 100 Companies in 19 Countries 13% 17% 24% 28% Independent Verification of Reports 15% 18% 27% 4. นักลงทุน นักลงทุนต้องการทราบข้อมูลด้านความเสี่ยงและการรับผิดชอบทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน มีผลการศึกษาวิจัยพบว่าผลสำเร็จด้านการเงินมีความสัมพันธ์กับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม 5. ความสนใจของผู้ประกอบการในการจัดทำรายงาน เป็นการพัฒนาและเรียนรู้ขององค์กร
ประโยชน์ของCSR 1. สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน • สร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดี • การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ • ผลการดำเนินงานทางการเงินดีขึ้น • เพิ่มยอดขายและความจงรักภักดีของลูกค้า • เพิ่มความสามารถในการดึงดูดและรักษาบุคลากร 2. สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ 3. ดึงดูดและรักษานักลงทุนที่มีคุณภาพ ซึ่งก่อให้เกิด • สร้างคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้น • ลดต้นทุนทางการเงิน • ลดความเสี่ยงทางการเงิน
CSR สำหรับ SMEs “IT’s the right thing to do” ปัญหาของ SMEs ในการทำ CSR 1.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ CSR สูงเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินตามกฎระเบียบตาม กฎหมายตามแนวคิดของผู้ประกอบการ 2.SMEs ไม่มีอำนาจต่อรองกับผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบที่จะจัดหาจำหน่ายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่ง แวดล้อมและสังคม 3.ลูกค้าที่ซื้อสินค้าไม่ได้มีจิตสำนึกในการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4.การสื่อสารให้บุคลากรในองค์กรให้มีจิตสำนึกด้าน CSR แนวทางของ SMEs 1.ค้นหาความคาดหวังและประโยชน์ร่วมกันกับกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง 2.ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการหาแนวทางด้าน CSR 3.ประชาสัมพันธ์การดำเนินการด้าน CSR 4.เลือกการทำ CSR ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ
จรรยาบรรณทางธุรกิจ (Code of Conduct) • ข้อพึงปฏิบัติต่อลูกค้า • ข้อพึงปฏิบัติต่อคู่ค้า • ข้อพึงปฏิบัติต่อพันธมิตรธุรกิจธนาคาร • ข้อพึงปฏิบัติต่อคู่แข่ง • 5. ข้อพึงปฏิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม • 6. ข้อพึงปฏิบัติในฐานะผู้บังคับบัญชา • ข้อพึงปฏิบัติในฐานะผู้บังคับบัญชา • ข้อพึงปฏิบัติในฐานะเพื่อนร่วมงาน • ข้อพึงปฏิบัติในการทำงานและความประพฤติส่วนตัว • 10. ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูล • 11. ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายในเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ • 12. ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการขัดแย้งทางผลประโยชน์ • 13. ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการรับประโยชน์อื่นใด • 14. การรักษาทรัพย์สินของธนาคาร • 15. ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ข้อพึงปฏิบัติต่อลูกค้า 1.1 ให้บริการลูกค้าอย่างเต็มใจเต็มกําลังความสามารถด้วยความเสมอ ภาคเป็นธรรมพร้อมให้คําแนะนําช่วยเหลือมีนํ้าใจและใช้กริยา วาจาที่สุภาพอ่อนโยน 1.2 พร้อมรับฟังปัญหาพยายามค้นหาสาเหตุและวิธีการแก้ไขปัญหาให้ ลูกค้าได้อย่างดี 1.3 ห้ามเปิดเผยข้อมูลหรือความลับของลูกค้าเว้นแต่กฎหมายกําหนดให้ ต้องเปิดเผยข้อมูลหรือได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้า
2. ข้อพึงปฏิบัติต่อคู่ค้า 2.1 พนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อ.ขายทรัพย์สินสินค้าและบริการทุกชนิด ของธนาคารต้องยึดหลักผลประโยชน์สูงสุดของธนาคารโดยไม่คํานึงถึง ผลประโยชน์ส่วนตนหรือของพวกพ้องทั้งนี้ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องอยู่บน พื้นฐานของความจริง ไม่ทําให้ผู้ซื้อหรือผู้ขายทรัพย์สินสินค้าและบริการเข้าใจ ผิดพลาดหรือได้รับข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน 2.2 หลีกเลี่ยงการรับของกํานัล สินนํ้าใจการรับเชิญไปในงานเลี้ยงประเภท สังสรรค์ หรืองานเลี้ยงรับรองจากผู้ซื้อหรือผู้ขายทรัพย์สินสินค้าและบริการที่ จัดขึ้นให้เป็นการส่วนตัวหรือหมู่คณะอย่างเฉพาะเจาะจงรวมถึงการรับเชิญไป ดูงานที่ผู้ซื้อหรือผู้ขาย สินค้าและบริการเสนอตัวเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายที่ เกี่ยวข้องให้ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงข้อครหาต่างๆที่อาจจะมีขึ้นและป้องกันมิให้ เกิดความโน้มเอียงที่จะช่วยเหลือตอบแทนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นพิเศษในโอกาส หลัง
3. ข้อพึงปฏิบัติต่อพันธมิตรธุรกิจธนาคาร 3.1 ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ธนาคารทําพันธกิจร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ 3.2 ให้ความช่วยเหลือในลักษณะเอื้ออํานวยผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน เพื่อผลทางธุรกิจโดยรวม
4. ข้อพึงปฏิบัติต่อคู่แข่ง 4.1 ไม่ใส่ร้ายป้ายสีกลั่นแกล้งหรือไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงของคู่แข่ง 4.2 หลีกเลี่ยงการตกลงหรือการพูดคุยถกเถียงกับพนักงานของหน่วย งานหรือสถาบันการเงินอื่นๆเกี่ยวกับตําแหน่งที่ตั้งภูมิประเทศ การตลาดการจัดสรรลูกค้าอัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์บริการหรือแผนธุรกิจต่างๆซึ่งอาจส่งผลกระทบ ต่อการแข่งขันทางธุรกิจของธนาคาร
5. ข้อพึงปฏิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 5.1 พึงปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ อย่างมีเกียรติ 5.2 ประพฤติตนโดยคํานึงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมและ ประเทศชาติ 5.3 ให้ความสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะที่เป็นประโยชน์ร่วมพัฒนา สังคมชุมชนสิ่งแวดล้อมตลอดจนมุ่งสร้างสรรค์และอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ 5.4ให้ความร่วมมือสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลเพื่อผลประโยชน์ของ ประเทศ
6. ข้อพึงปฏิบัติในฐานะผู้บังคับบัญชา 6.1 เป็นผู้นําและแบบอย่างที่ดีมีความยุติธรรมและมีวินัย 6.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริตมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 6.3 ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจอย่างรอบคอบ 6.4 สอนงานแนะนำงานถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่ใต้ บังคับบัญชา ควบคุมดูแลให้สามารถปฏิบัติงานได้สําเร็จ 6.5 รับฟังปัญหาตลอดจนให้ข้อคิดเห็นและปรึกษาด้วยความจริงใจ มีเหตุผล
7. ข้อพึงปฏิบัติในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชา 7.1 เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยระเบียบ และข้อปฏิบัติของธนาคาร 7.2 เสนอความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงระบบงานด้วยความสุจริตใจและ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 7.3 มีความเต็มใจที่จะปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย 7.4 มีวินัยให้เกียรติผู้บังคับบัญชาไม่แสดงอาการก้าวร้าวกระด้าง กระเดื่อง
8. ข้อพึงปฏิบัติในฐานะเพื่อนร่วมงาน 8.1 ให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจและเต็มความ สามารถ 8.2 ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานด้วยความสุภาพให้เกียรติ 8.3 มีความสามัคคีและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ 8.4 มีความอดทนอดกลั้นมีวินัยและเสียสละเพื่อส่วนรวม 8.5 ละเว้นการใส่ร้ายป้ายสีและกระทำการในลักษณะของการแข่งขัน กันเอง
9. ข้อพึงปฏิบัติในการทํางานและความประพฤติส่วนตัว 9.1 ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจให้กับงานในหน้าที่และความรับผิดชอบอุทิศตนและมุ่งมั่นในการ ทำงาน 9.2 หมั่นฝึกฝนพัฒนาตนเองเพิ่มพูนความรู้ความสามารถเพื่อนำมาพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น 9.3 ต้องศึกษาทำความเข้าใจและปฏิบัติตามนโยบายระเบียบคำสั่งตลอดจนหนังสือเวียนของ ธนาคาร 9.4 มีวินัยประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นพนักงานของธนาคารที่มีความน่าเชื่อถือ ทั้งด้านกิริยามารยาทการแต่งกายบุคลิกภาพและการวางตัวไม่ประพฤติตนในทางเสื่อมเสียชื่อ เสียงทั้งต่อตนเองและธนาคารเช่นการเที่ยวเตร่เล่นการพนันใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือมีหนี้สินล้น พ้นตัว การทะเลาะวิวาทเป็นต้น 9.5 ห้ามพนักงานครอบครองหรือใช้สารเสพติดและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในที่ทำงานหรือมา ทำงานในขณะที่ได้รับอิทธิพลจากการออกฤทธิ์ของสารเสพติดหรือจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 9.6 ห้ามคุกคามทางวาจาเช่นใส่ความบิดเบือนข้อเท็จจริงทำให้เสียชื่อเสียงหรือคุกคาม ทางกายเช่นข่มขู่ทำร้ายร่างกายหรือคุกคามทางเพศหรือการคุกคามอื่นที่มองเห็นได้ เช่นสื่อข้อความก้าวร้าวแสดงอากัปกริยาหรือรูปภาพที่ก่อให้เกิดความขุ่นเคือง 9.7 ร่วมมือกันทำงานเป็นทีมและสร้างความสามัคคีกลมเกลียวในองค์กร 9.8 ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา
10. ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูล 10.1 ข้อมูลของธนาคารทุกประเภทต้องเป็นจริงและถูกต้องโดยพนักงานต้อง รับผิดชอบร่วมกันบันทึกข้อมูลและจัดทํารายงานให้ถูกต้องและทันต่อเวลา ตลอดจนอยู่บนบรรทัดฐานของมาตรฐานที่กําหนดอย่างโปร่งใส 10.2 ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของธนาคารลูกค้าผู้ซื้อหรือผู้ขายสินค้าและ บริการให้กับผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้จัดการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น 10.3 กำหนดวิธีควบคุมการจัดทำสำเนาส่งโทรสารและการจัดเก็บข้อมูลอย่าง เหมาะ สมปลอดภัยเพื่อป้องกันมิให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลหรือความลับ เหล่านั้นนอกจากนี้พึงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงข้อมูลลับในที่สาธารณะเช่นลิฟต์ ห้องโถงร้านอาหารห้องนํ้าหรือบริการขนส่งสาธารณะเป็นต้น
11. ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายในเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ 11.1 ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์เช่นหุ้นหุ้นกู้ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อ หุ้นใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ของกิจการใดๆที่ยังไม่ ประกาศให้สาธารณะได้ทราบ (หรืออาจเรียกว่าเป็นข้อมูลภายใน) และห้ามพนักงานซึ่งมีโอกาสรับทราบข้อมูลภายในทำการซื้อขาย หลักทรัพย์ของบริษัทเหล่านี้เด็ดขาดโดยจะต้องปกปิดข้อมูลนั้น เป็นความลับสูงสุด 11.2 ห้ามให้ข้อมูลภายในแก่บุคคลอื่นซึ่งอาจจะนำไปใช้เป็นข้อมูลใน การซื้อขายหลักทรัพย์หรือส่งผ่านข้อมูลไปยังผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง เนื่องจากเป็นการกระทำผิดกฎหมาย
12. ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการขัดแย้งทางผลประโยชน์ 12.1หลีกเลี่ยงการมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเงินและ/หรือความสัมพันธ์ กับบุคคลภายนอกอื่นๆที่จะส่งผลให้ธนาคารต้องเสียผลประโยชน 12.2 หลีกเลี่ยงการลงทุนส่วนตัวในบริษัทที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจ หรือการดำเนินงานในธนาคารหากพนักงานมีการลงทุนใน บริษัทดังกล่าวก่อนที่จะมาทำงานกับธนาคารจะต้องรายงาน กรรมการผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทราบ 12.3 การดำรงตำแหน่งกรรมการเจ้าหน้าที่พนักงานตัวแทนหรือที่ ปรึกษาของบริษัทที่ทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการกับธนาคาร หรือบริษัทในเครือจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ ธนาคารก่อน 12.4 ห้ามใช้ชื่อสถานที่หรือความสัมพันธ์ของธนาคารเพื่อผล ประโยชน์ส่วนตัว
13. ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการรับประโยชน์อื่นใด 13.1 ห้ามพนักงานรับของกำนัลและ / หรือสิ่งจูงใจใดๆไม่ว่าจะเป็นเงินทอง สิ่งของบริการหรือผลประโยชน์รูปแบบต่างๆและห้ามมอบหมายหรือสั่ง การให้ผู้อื่นรับของกำนัลและ/หรือสิ่งจูงใจแทนตนอันอาจมีผลต่อการ ตัดสินใจทางธุรกิจของพนักงานในนามธนาคาร 13.2 เทศกาลอันเป็นประเพณีนิยมพนักงานอาจรับของขวัญได้เพื่อรักษาไมตรี หรือความสัมพันธ์อันดีแต่จะต้องมีมูลค่าไม่เกิน 3,000.- บาทโดยควร หลีกเลี่ยงกรณีที่อาจทำให้เกิดภาพลักษณ์ของการเกื้อหนุนหรือการมีพันธะ ต่อกัน 13.3ละเว้นการให้ของกำนัลแก่ผู้บังคับบัญชาหรือรับของกำนัลจากผู้ใต้บังคับ บัญชาที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการให้หรือรับดังกล่าวกระทำเพื่อหวังผลต่อ การเลื่อน ชั้นเลื่อนตำแหน่งหรือพิจารณาความดีความชอบประจำปี
14. การรักษาทรัพย์สินของธนาคาร 14.1 ใช้และรักษาทรัพย์สินของธนาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่นำไปใช้เพื่อ ประโยชน์ส่วนตนหรือบุคคลภายนอกและต้องดูแลรักษาทรัพย์สินของ ธนาคารมิให้สูญหายหรือชำรุดเสียหายหรือนำไปใช้ในทางที่ผิดตลอดจน ต้องใส่ใจปฏิบัติตามขั้นตอนของการรักษาความปลอดภัยและการตื่นตัวต่อ สถานการณ์ที่อาจทำให้ทรัพย์สินของธนาคารเกิดความชำรุดเสียหาย ทรัพย์สินของธนาคารดังกล่าวได้แก่เงินสดเครื่องมือทางการเงินเอกสาร ยานพาหนะวัสดุอุปกรณ์ชื่อธนาคารเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆรวมถึง ข้อมูลต่างๆทรัพย์สินทางปัญญา (โปรแกรมคอมพิวเตอร์รูปจำลองฯลฯ) และบริการต่างๆ 14.2 ต้องเปิดเผยและมอบผลประโยชน์ในการคิดค้นและพัฒนาที่จัดทำขึ้น ในระหว่างเป็นพนักงาของธนาคารให้แก่ธนาคารเมื่อพนักงานพ้นสภาพ การเป็นพนักงาน สิทธิในทรัพย์สินและข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาระหว่างการ ทำงานกับธนาคารให้ถือเป็นทรัพย์สินของธนาคารเท่านั้นจึงห้ามกระทำ การคัดลอกขายหรือเผยแพร่ข้อมูลซอฟท์แวร์และทรัพย์สินทางปัญญาใน รูปแบบอื่นๆ
15. ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 15.1 ไม่ติดตั้งและคัดลอกซอฟท์แวร์ใดๆที่ไม่ใช่ซอฟท์แวร์ที่ธนาคารจัดไว้ให้ลง ในเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ของธนาคารหากมีความ จำเป็นในการปฏิบัติงานต้องขออนุมัติจากธนาคารก่อน 15.2ห้ามเข้าถึงข้อมูลธนาคารเพื่อคัดลอกเผยแพร่ลบทิ้งทำลายหรือ เปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือกระทำการอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายโดยไม่ได้ รับอนุญาต 15.3 ห้ามใช้ระบบอินทราเน็ตอินเตอร์เน็ตและอิเล็กทรอนิกส์เมล์ในธุรกิจ ส่วนตัวของตนเองหรือผู้อื่น 15.3หลีกเลี่ยงการใช้เวบไซต์ที่ธนาคารถือว่าผิดกฎหมายหรือละเมิดศีลธรรม โดยไม่เผยแพร่ข้อมูลของเวบไซต์ดังกล่าวต่อผู้อื่นและงดเว้นที่จะส่งข้อความ เผยแพร่ทางอินทราเน็ตอินเตอร์เนตทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ก่อให้เกิดอุปสรรค ในการปฏิบัติงานของธนาคารหรือฝ่าฝืนนโยบายของธนาคารที่เป็นการ ละเมิดศีลธรรมและผิดกฎหมาย 15.5ห้ามกระทำการใดๆในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะนำไปสู่การกระทำ ทุจริตหรือเพื่อประโยชน์อื่นๆที่มิชอบโดยให้ใช้ในธุรกิจของธนาคารเท่านั้น
การกำกับกิจการที่ดี(Corporate Governance – CG) การกำกับกิจการที่ดีจะเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในองค์กร เพื่อให้แน่ใจว่ามีความสมดุลในส่วนได้เสียของทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder) หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น หมวดที่ 2 การปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
ดังนั้นถ้าใช้แนวความคิดข้างต้นการบริหารจัดการที่ดีหรือ ธรรมาภิบาลจะประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ • ความโปร่งใส (transparency) ซึ่งหมายถึง การตัดสินใจและการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ต้องสามารถเปิดเผยให้สาธารณชนทราบได้ ไม่มีลักษณะลับลมคมใน งานบางอย่างของหน่วยงานของรัฐต้องทำเป็นความลับ แต่งานส่วนใหญ่ต้องเปิดเผยพร้อมที่จะให้ประชาชนได้รับทราบและตรวจสอบ • ความซื่อสัตย์สุจริต (honesty) เรื่องนี้คงเป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้ว หมายความรวมถึงความซื่อสัตย์สุจริตที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎระเบียบข้อบังคับและตามขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม • ความรับผิดชอบ (responsibility) อันหมายถึง ความตระหนักในหน้าที่ที่จะต้องปฎิบัติว่ามีขอบเขตมากน้อยเพียงใดและต้องรับผิดถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้น • ความสามารถที่จะอธิบายได้ (accountability) ต่อผู้ที่ตนต้องอยู่ในความดูแลหรือควบคุมหรือต่อสาธารณชน จะเห็นได้ว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับความโปร่งใส ความซื่อสัตย์ สุจริต และความรับผิดชอบ เมื่อมีเรื่องราวๆ เกิดขึ้นหรือเมื่อหน่วยงานของรัฐตัดสินใจในนโยบายใดนโยบายหนึ่งจะต้องสามารถตอบข้อซักถามหรืออธิบายต่อผู้ควบคุมหรือประชาชนทั่วไปถ้าการทำงานไม่โปร่งใสไม่ซื่อสัตย์และไม่ยอมรับผิดชอบคงจะอธิบายต่อผู้อื่นได้ยาก • การมีหลักนิติธรรม (rule of law) การตัดสินใจและการดำเนินงาน ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายจะทำตามอำเภอใจของผู้บริหารหรือของผู้ปกครองไม่ได้ • หลักคุณธรรม (morality) อาจมีบางเรื่องที่กฎหมายครอบคลุมไม่ถึงจึงต้องอาศัยหลักของคุณธรรม คือ การดำเนินงานไม่ควรคำนึงถึงความถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามหลักคุณธรรมด้วย
ในส่วนของธรรมาภิบาลของภาคเอกชนหรือระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่าgood corporate governance นั้นมีลักษณะเช่นเดียวกันกับธรรมาภิบาลในภาครัฐ คือ • มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีผลประโยชน์ร่วมอื่น ซึ่งรวมทั้งลูกค้าและชุมชนที่บริษัทหรือที่กิจการนั้นๆ ตั้งอยู่ • มีความโปร่งใสในการบริหารจัดการ รวมทั้งความโปร่งใสในการตัดสินใจและการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ • มีความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ • เน้นการสร้างมูลค่าและผลตอบแทนระยะยาว • คำนึงถึงความซื่อสัตย์สุจริตรวมทั้งต่อต้านการให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ • คำนึงถึงหลักคุณธรรมและจริยธรรมและควรมีการจัดทำประมวลจริยธรรมทางธุรกิจให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน • ปรับปรุงกลไกการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพ เช่น ระบบบัญชี ต้องเป็นมาตรฐานสากล
ตารางแสดงข้อแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับกฎหมายตารางแสดงข้อแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับกฎหมาย
โดยดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการจัดการที่ยั่งยืน 3 ด้านได้แก่ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง • ความพึงพอใจของลูกค้า • ความพึงพอใจของผู้จัดจำหน่าย • ความพึงพอใจของพนักงาน • ภาพลักษณ์ของธุรกิจ • อัตราการใช้งานของโรงงาน • ผลตอบแทนจากการลงทุน • ความเสี่ยงของธุรกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม • การใช้ทรัพยากร • มลภาวะ • การปฏิบัติตามข้อบังคับตามกฎหมาย • อัตราของเสีย ด้านสังคม • ความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์และบริการที่จะมีผลกระทบ • ความรับผิดชอบต่อสังคม • การมีส่วนช่วยเหลือพัฒนาสังคม/ชุมชน