260 likes | 476 Views
การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจการผลิตข้าวหอมมะลิ. ในพื้นที่โครงการเฉลิมพระเกียรติตามรอยพระบาทครองราชย์ 60 ปี ฟื้นฟูปฐพีไทย. เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยพระบาง ตำบลไผ่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ปีการเพาะปลูก 2549/50. น.ส.ศิริพร เผือกยิ้ม สพข.4. กิจกรรมที่ดำเนินการในปี 2549.
E N D
การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจการผลิตข้าวหอมมะลิการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจการผลิตข้าวหอมมะลิ ในพื้นที่โครงการเฉลิมพระเกียรติตามรอยพระบาทครองราชย์ 60 ปี ฟื้นฟูปฐพีไทย เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยพระบาง ตำบลไผ่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ปีการเพาะปลูก 2549/50 น.ส.ศิริพร เผือกยิ้ม สพข.4
กิจกรรมที่ดำเนินการในปี 2549 1. งานจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ 2,500 ไร่ 1.1 ทางลำเลียงในไร่นา จำนวน 8.7 กม. 1.2 ท่อระบายน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง .60 ม. จำนวน 18 แห่ง 1.3 บ่อน้ำในไร่นา ขนาด 1,260 ลบ.ม. จำนวน 64 บ่อ 1.4 ปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 1 จำนวน 103 กม. 2. การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ จำนวน 568,750 กล้า 3. รณรงค์ส่งเสริมไถกลบตอซัง จำนวน 2,500 ไร่ 4. ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงบำรุงดิน จำนวน 2,500 ไร่5. ส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีฯ จำนวน 1,000 ราย ที่มา : สพด.ศรีษะเกษ
แผนงาน/งบประมาณ ปี 2550 ที่มา : สพด.ศีรษะเกษ
วัตถุประสงค์ในการศึกษาวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปทางเศรษฐกิจและสังคมและปัญหาต่าง ๆ ของเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่โครงการเฉลิมพระเกียรติตามรอยพระบาทครองราชย์ 60 ปี ฟื้นฟูปฐพีไทย เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำพระบาง ตำบลไผ่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตของเกษตรกรผลิตข้าวหอมมะลิโดยวิธีการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยเคมีอย่างเดียว
ขอบเขตการศึกษา 1. ศึกษาเฉพาะการผลิตข้าวหอมมะลินาปี (นาหว่าน) พันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105ปีการเพาะปลูก 2549/50 2. เลือกศึกษาเกษตรกรที่ได้รับบริการจากกรมพัฒนาที่ดินซึ่งผลิตข้าวหอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี (ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านคูสระ หมู่ 5,7,10) 3. เลือกศึกษาเกษตรกรที่ไม่ได้รับบริการจากกรมพัฒนาที่ดินซึ่งผลิตข้าวหอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว (ซึ่งอยู่ในและนอกหมู่บ้านคูสระ หมู่ 5,7,10)
วิธีการศึกษา การเก็บรวมรวมข้อมูล 1. ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลสำรวจเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิ (นาหว่าน) โดยเลือกสุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 ราย - เกษตรกรผลิตข้าวหอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี จำนวน 50 ราย - เกษตรกรผลิตข้าวหอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยเคมี จำนวน 50 ราย 2. ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมเอกสาร รายงาน การศึกษา งานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 สถานีพัฒนาที่ดินศรีสะเกษ
วิธีการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล 1. การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ใช้เครื่องมือทางสถิติอย่างง่ายในการอธิบายในรูปของร้อยละและค่าเฉลี่ย 2. การวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยแบ่งการวิเคราะห์ ดังนี้ 2.1การวิเคราะห์ฟังก์ชันการผลิต โดยใช้แบบจำลองการผลิตแบบคอบบ์ - ดักลาส แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับปัจจัยการผลิต
วิธีการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล 2.2 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิต โดยการวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิค และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ 2.3 การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ โดยพิจารณาต้นทุนและผลตอบแทนต่อหน่วยพื้นที่การผลิต
ผลการศึกษา 1. ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรที่สำรวจ จากการสัมภาษณ์เกษตรกรหัวหน้าครัวเรือนซึ่งมีทั้งหมด 100 ราย หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 51-60 ปี ซึ่งหัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษา มีขนาดครอบครัว เฉลี่ยประมาณ 4-6 คน การถือครองที่ดินส่วนใหญ่เป็นของตนเอง ร้อยละ 98.67 พืชที่เกษตรกรนิยมปลูกนอกจากข้าวหอมมะลิ คือ หอมแดง
2. ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการผลิตข้าวหอมมะลิ
3. ผลการวิเคราะห์ฟังก์ชันการผลิต 3.1 สมการการผลิตข้าวหอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับ ปุ๋ยเคมี lnY = 4.149 + 0.205 lnX1 + 0.262 lnX2 + 0.658 lnX3 (t-test) (3.213)*** (4.029)*** (6.270)*** R-square = 0.771 F-statistic = 51.492*** R-square adjust = 0.756 S.E = 0.122 df. = 46 สามารถเขียนเป็นสมการคอบบ์ – ดักลาส ได้ดังนี้ Y = 63.371 X10.205 X20.262 X30.658 ที่มา : จากการคำนวณ
3. ผลการวิเคราะห์ฟังก์ชันการผลิต 3.2 สมการการผลิตข้าวหอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยเคมี • lnY = 4.048 + 0.474 lnX1 + 0.557 lnX2 • (t-test) (5.090)*** (5.972)*** • R-square = 0.731 F-statistic = 63.771*** • R-square adjust = 0.719 S.E = 0.159 • df. = 47 สามารถเขียนเป็นสมการคอบบ์ – ดักลาส ได้ดังนี้ Y = 57.283 X10.474 X20.557 ที่มา : จากการคำนวณ
3. ผลการวิเคราะห์ฟังก์ชันการผลิต โดยที่ *** = มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กำหนดให้ Y = ผลผลิตข้าวหอมมะลินาปี (กิโลกรัมต่อไร่) X1 = ปริมาณแรงงานคนที่ใช้ในการผลิตข้าวหอมมะลิ (วันงานต่อไร่) (เตรียมดิน การใส่ปุ๋ย การดูแลรักษา) X2 = ปริมาณปุ๋ยเคมี (กิโลกรัมต่อไร่) X3 = ปริมาณพืชปุ๋ยสด (กิโลกรัมต่อไร่)
4. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการใช้ปัจจัยการผลิต 4.1 การคำนวณหาประสิทธิภาพทางเทคนิค การวัดประสิทธิภาพทางเทคนิค เป็นการพิจารณาว่าถ้ามีปัจจัยการผลิตเปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วยแล้วจะทำให้ผลผลิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เมื่อกำหนดให้ระดับของการใช้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ ณ มัชฌิมเรขาคณิตหรือเป็นการพิจารณาผลิตภาพเพิ่ม โดยใช้สูตร bi * (Y) MPPXi = Xi โดยที่ bi = ค่าสัมประสิทธิ์ของปัจจัยชนิดที่ i Y = ผลผลิตที่ได้จากการคำนวณโดยให้ปัจจัยคงที่ ณ มัชฌิมเรขาคณิต Xi = ค่ามัชฌิมเรขาคณิต i = 1,2,3,...,n
4. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการใช้ปัจจัยการผลิต 4.1 การคำนวณหาประสิทธิภาพทางเทคนิค การคำนวณหาผลผลิตการผลิตข้าวหอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี lnY = 4.149 + 0.205 lnX1 + 0.262 lnX2 + 0.658 lnX3 lnY = 4.149 + 0.205 ln(1.882) + 0.262 ln(17.920) + 0.658 ln(4.381) lnY = 4.149 + 0.205(0.632) + 0.262 (2.886) + 0.658 (1.477) lnY = 6.007 หรือ Y = 406.083 โดยที่ X1 = ปริมาณแรงงานคนเท่ากับ 1.882 วันงานต่อไร่ ณ มัชฌิมเรขาคณิต X2 = ปริมาณปุ๋ยเคมีเท่ากับ 17.920 กิโลกรัมต่อไร่ ณ มัชฌิมเรขาคณิต X3 = ปริมาณพืชปุ๋ยสดที่ค่า 4.381 กิโลกรัมต่อไร่ ณ มัชฌิมเรขาคณิต ที่มา : จากการคำนวณ
4. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการใช้ปัจจัยการผลิต 4.1 การคำนวณหาประสิทธิภาพทางเทคนิค การคำนวณหาผลผลิตการผลิตข้าวหอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยเคมี lnY = 4.048 + 0.474 lnX1 + 0.557 lnX2 lnY = 4.048 + 0.474 ln(1.658) + 0.557 ln(18.890) lnY = 4.048 + 0.474 (0.505) + 0.557 (2.939) lnY = 5.924 หรือ Y = 374.042 โดยที่ X1 = ปริมาณแรงงานคนเท่ากับ 1.658 วันงานต่อไร่ ณ มัชฌิมเรขาคณิต X2 = ปริมาณปุ๋ยเคมีเท่ากับ 18.890 กิโลกรัมต่อไร่ ณ มัชฌิมเรขาคณิต ที่มา : จากการคำนวณ
4. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการใช้ปัจจัยการผลิต 4.2 การคำนวณหาประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ตามทฤษฎีการผลิตการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดจะต้องใช้ปัจจัยชนิดนั้นจนกระทั่งอัตราส่วนระหว่างมูลค่าผลผลิตเพิ่มจากการใช้ปัจจัยชนิดนั้นต่อราคาปัจจัยมีค่าเท่ากับ 1 พอดี มูลค่าผลผลิตเพิ่ม VMPXi = MPPXi * Py VMPXi สัดส่วนมูลค่าผลผลิตเพิ่มต่อราคาปัจจัย Pxi ที่มา : จากการคำนวณ
4. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการใช้ปัจจัยการผลิต 4.2 การคำนวณหาประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ถ้า MPPXi* Py = 1 แสดงว่าการใช้ปัจจัยการผลิตชนิดนั้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม Pxi MPPXi* Py < 1 แสดงว่าการใช้ปัจจัยการผลิตชนิดนั้นมากกว่าระดับที่ เหมาะสม ควรใช้ปัจจัยชนิดนั้นลดลง Pxi MPPXi* Py > 1 แสดงว่าการใช้ปัจจัยการผลิตชนิดนั้นน้อยกว่าระดับที่ เหมาะสม ควรใช้ปัจจัยชนิดนั้นเพิ่มขึ้น Pxi
4. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการใช้ปัจจัยการผลิต กำหนดให้ > ราคาข้าวหอมมะลิ (PY) เท่ากับ 9.30 บาทต่อกิโลกรัม (ราคาเฉลี่ยในท้องถิ่นที่เกษตรกรจำหน่ายได้) > ค่าแรงงาน (PX1) เท่ากับ 150 บาทต่อวันงาน (แรงงานเฉลี่ยในท้องถิ่น) > ค่าปุ๋ยเคมี (PX2) เท่ากับ 10.40 บาทต่อกิโลกรัม (ราคาเฉลี่ยปุ๋ยเคมีในท้องถิ่น) > ค่าพืชปุ๋ยสด (PX3) เท่ากับ 25 บาทต่อกิโลกรัม (ราคาที่กรมพัฒนาที่ดินกำหนด) ที่มา : จากการสำรวจ
4. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการใช้ปัจจัยการผลิต ประสิทธิภาพของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมปุ๋ยเคมี ที่มา : จากการคำนวณ
4. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการใช้ปัจจัยการผลิต ประสิทธิภาพของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยเคมี ที่มา : จากการคำนวณ
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวหอมมะลิการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวหอมมะลิ ที่มา : จากการคำนวณ
ข้อวิจารณ์ 1. ผลผลิตข้าวหอมมะลิมีความสัมพันธ์กับแรงงานคน ปริมาณปุ๋ยเคมีและปริมาณปุ๋ยพืชสดในทิศทางเดียวกันและผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของเกษตรกรที่ผลิตข้าวหอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมีสูงกว่าเกษตรกรที่ใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานและสอดคล้องกับ +++ สาคร เหมือนตา (2547 : 95) ที่พบว่าหลังการใช้ปุ๋ยพืชสดเกษตรกรได้ผลผลิตข้าวหอมมะลิโดยเฉลี่ย 380 กิโลกรัมต่อไร่สูงกว่าผลผลิตก่อนการใช้ปุ๋ยพืชสดซึ่งได้ผลผลิตเฉลี่ย 312.97 กิโลกรัมต่อไร่ +++ กรมพัฒนาที่ดิน (2548 : 10-4 – 10-7) จากผลการศึกษาโครงการต่าง ๆ พบว่าการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก แกลบ ตอซังข้าวและสารโพลิเมอร์-อาร์ สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้นได้ในระดับที่แตกต่างกัน วัสดุที่โดดเด่นทั้งด้านการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนคือ ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ แต่การใช้ให้ได้ผลดีที่สุดต้องใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 6-16-8 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่
ข้อวิจารณ์ 2. เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยการใช้ปริมาณปุ๋ยเคมีมีปริมาณใกล้เคียงกัน สาเหตุเนื่องจากเกษตรกรที่ใช้ปุ๋ยพืชสดยังขาดความมั่นใจว่าปุ๋ยพืชสดจะช่วยให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นได้แต่ทดลองใช้เพราะต้องการปรับปรุงบำรุงดินตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน
ข้อเสนอแนะ 1. จากการศึกษา พบว่าปุ๋ยเคมียังเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่มีผลต่อผลผลิตข้าวหอมมะลิ เกษตรกรที่ผลิตข้าวหอมมะลิโดยใช้ปุ๋ยพืชสดมีการใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณใกล้เคียงกันกับเกษตรกรที่ไม่ใช้ปุ๋ยพืชสด ควรมีการควบคุมปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ให้เท่ากัน และกำหนดให้ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีแตกต่างกัน 2. จากผลการวิเคราะห์เป็นการสำรวจข้อมูลจากเกษตรกรที่ปลูก-เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จในปีการเพาะปลูก 2549/50 ซึ่งเป็นเพียงปีการผลิตเดียว ควรเก็บข้อมูลผลผลิตประมาณ 2-3 ปี และควรศึกษาถึงสภาพความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูก หลังจากการที่เกษตรกรนำพืชปุ๋ยสดมาใช้ เพื่อที่จะได้เห็นสภาพการเปลี่ยนแปลงของดินและให้เห็นความแตกต่างระหว่างพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้พืชปุ๋ยสด