1.17k likes | 1.62k Views
ความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล : การบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยระบบคุณภาพตามแนวทาง เกณฑ์คุณภาพการศึกษา. TQA. ดร.นิพนธ์ เสือก้อน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดราชโอรส Nipo_ndr@hotmail.com 08-1801-6374. ประเด็นสนทนาเพื่อการนำไปใช้ในวันนี้. ที่มาที่ไปของเกณฑ์คุณภาพการศึกษา.
E N D
ความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล : การบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยระบบคุณภาพตามแนวทาง เกณฑ์คุณภาพการศึกษา TQA ดร.นิพนธ์ เสือก้อน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดราชโอรส Nipo_ndr@hotmail.com 08-1801-6374
ประเด็นสนทนาเพื่อการนำไปใช้ในวันนี้........ประเด็นสนทนาเพื่อการนำไปใช้ในวันนี้........ • ที่มาที่ไปของเกณฑ์คุณภาพการศึกษา • MBNQA คืออะไร มีวิวัฒนาการอย่างไร • เหตุที่ต้องใช้เกณฑ์ความเป็นเลิศ (Baldrige Education Criteria) • เกณฑ์คุณภาพการศึกษา คืออะไร? • วัตถุประสงค์ของเกณฑ์เป็นอย่างไร? • คุณลักษณะและการใช้ประโยชน์ • ระดับพัฒนาการของเกณฑ์คุณภาพการศึกษา • กรอบความคิดของเกณฑ์คุณภาพการศึกษา • เนื้อหาของเกณฑ์คุณภาพการศึกษา
ที่มาที่ไปของรางวัลคุณภาพแห่งชาติThailand Quality Award: TQA T Q A เป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเป็นเลิศในการบริหารจัดการขององค์กรที่ทัดเทียมกับมาตรฐานโลก (MBNQA) คืออะไร
Malcolm Baldrige National Quality Award: MBNQA • เป็นมาตรฐานขององค์กรที่แสวงหาวิธีการดำเนินการที่มุ่งสู่คุณภาพระดับสูงสุด และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน • เป็นกรอบให้องค์กรใช้ในการปรับปรุงระบบและกระบวนงานสู่คุณภาพที่ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง • ใช้ประเมินระบบคุณภาพและเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างองค์กรต่างๆ บทพื้นฐานของความเข้าใจในองค์ประกอบที่สำคัญของระบบคุณภาพ
Baldrige Education Criteriaเกณฑ์คุณภาพการศึกษา • ภาคธุรกิจเล็งเห็นความสำคัญของภาคบริการสุขภาพและภาคการศึกษาว่ามีสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการสร้างความเป็นเลิศทางธุรกิจ • ภาคธุรกิจจึงริเริ่มโครงการที่ใช้แนวทาง MBNQA ในภาคการศึกษา • เกณฑ์คุณภาพการศึกษาจึงถูกประกาศใช้เป็นทางการในปี 1999 หรือ พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา
วัตถุประสงค์ของการประกาศใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาวัตถุประสงค์ของการประกาศใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษา • เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ระบบการบริหารจัดการโดยรวมของสถาบันการศึกษา • เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการศึกษามีผลการดำเนินการ และมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ • ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างสถาบันการศึกษาเองและกับองค์กรภาคธุรกิจและภาคบริการ
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ Thailand Quality Award • เป็นรางวัลระดับมาตรฐานโลก ซึ่งมีพื้นฐานทางด้านเทคนิค และกระบวนการตัดสินเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (The Malcolm Baldrige National Quality Award: MBNQA) TQA เป็นต้นแบบของรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่หลายๆประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ใช้
ประเทศไทยกับ MBNQA.... • วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๓๙ วันลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี TQA • กำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ • มอบให้สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือ เพื่อเผยแพร่ สนับสนุน และผลักดันในการพัฒนา ขีดความสามารถการบริหารจัดการตามเกณฑ์ที่อยู่ในระดับมาตรฐานโลก
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ...รางวัลคุณภาพแห่งชาติ... 1.ช่วยปรับปรุงวิธีดำเนินการ ความสามารถ และผลดำเนินการขององค์กร มีบทบาท ที่สำคัญ ๓ ประการ 2.กระตุ้นให้มีการสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างองค์กรต่างๆ 3.เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการ การดำเนินการ เป็นแนวทางในการวางแผน และช่วยเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ขององค์กร
เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ • เป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมินสถาบันการศึกษาในภาพรวม คืออะไร • อยู่ในกรอบของการดำเนินงานที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ • สามารถใช้ประเมินได้ทั้งโรงเรียนและเขตการศึกษา • เป็นที่ยอมรับกันในประเทศชั้นนำต่างๆทั่วโลก • เป็นเกณฑ์เดียวกับเกณฑ์การประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ
เกณฑ์คุณภาพการศึกษา... 1. เพื่อให้โรงเรียนต่างๆได้ใช้เกณฑ์นี้ไปพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการ ขีดความสามารถ และผลลัพธ์ให้ดีขึ้น วัตถุประสงค์ 2. เป็นกลไกในการสื่อสารและการแบ่งปันเรียนรู้จากวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 3. เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้าใจและทบทวนผลการดำเนินการในระบบการบริหารจัดการของโรงเรียน รวมทั้งเป็นแนวทางในการวางแผนและเป็นโอกาสในการเรียนรู้ของโรงเรียนเอง
เกณฑ์คุณภาพการศึกษา... 1. ใช้เป็นแนวทางที่บูรณาการในการจัดการผลการดำเนินการของตนเอง 2. ทำให้การจัดการศึกษามีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อประโยชน์กับผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่งผลต่อคุณภาพและความยั่งยืน จะช่วยโรงเรียนได้อย่างไร ? 3. ช่วยปรับปรุงประสิทธิผลและขีดความสามารถในการบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร 4. เกิดการเรียนรู้ทั้งในระดับองค์กรและบุคคล
คุณลักษณะสำคัญของเกณฑ์...คุณลักษณะสำคัญของเกณฑ์... ๑ • ผลลัพธ์ด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการ มุ่งเน้น ผลลัพธ์ • ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า • ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร • ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กร และการกำกับดูแลองค์กร • ผลลัพธ์ด้านการเงินและการตลาด
คุณลักษณะสำคัญของเกณฑ์...คุณลักษณะสำคัญของเกณฑ์... ๒ • จุดเน้นอยู่ที่ผลลัพธ์ ไม่ใช่วิธีปฏิบัติ เครื่องมือ หรือโครงสร้าง ไม่กำหนดวิธีการ • การเลือกใช้เครื่องมือ เทคนิค ระบบ และโครงสร้างขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆและลักษณะเฉพาะขององค์กร • มุ่งเน้นข้อกำหนดเพราะจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ และสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม
คุณลักษณะสำคัญของเกณฑ์...คุณลักษณะสำคัญของเกณฑ์... • เป้าประสงค์สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ๓ สนับสนุน มุมมองเชิงระบบ • เป็นรากฐานของโครงสร้างขององค์กรที่บูรณาการระหว่างค่านิยมและแนวคิดหลัก โครงร่างองค์กร เกณฑ์ แนวทางให้คะแนน การมุ่งเน้นผลลัพธ์ การเป็นเหตุและผล และการเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อต่างๆ • เป็นวงจรการเรียนรู้ PDCA (PDSA)
คุณลักษณะสำคัญของเกณฑ์...คุณลักษณะสำคัญของเกณฑ์... • มีข้อกำหนดเน้นที่ผลการดำเนินการ มี ๗ หมวด ๑๗ หัวข้อ ๔๑ ประเด็นพิจารณา และ ๘๔ คำถามเจาะลึก ๔ สนับสนุน การตรวจประเมินที่เน้นเป้าประสงค์ • แนวทางให้คะแนน อธิบายถึงมิติต่างๆของการตรวจประเมิน ได้แก่ การะบวนการและผลลัพธ์ เพื่อที่จะนำไปสู่การปรับปรุงผลการดำเนินการในทุกด้าน เครื่องมือการบริหารจัดการที่สำคัญ
การนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาไปใช้...เพื่อดูว่า...การนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาไปใช้...เพื่อดูว่า... • โรงเรียนมีการบริหารถูกทิศทางภายใต้การนำอย่างมีวิสัยทัศน์ • โรงเรียนเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้ • โรงเรียนมีวิธีการรวบรวมและใช้สารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการวางแผนและบรรลุเป้าหมายทั้งในปัจจุบันและอนาคต • มีวิธีการพัฒนาและใช้ความสามารถของครูและบุคลากร • มีวิธีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสีย ความผิดพลาด ผู้เรียนมีการเรียนรู้ตรงตามเป้าหมาย และการบริการ • การปรับปรุงในแง่มุมอื่นๆที่ดีจากมุมมองของผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน บุคลากร ระบบงานและการเงิน
ระดับการพัฒนาการขององค์กรระดับการพัฒนาการขององค์กร ระดับการตั้งรับปัญหา เป้าประสงค์ เชิงกลยุทธ์และ การปฏิบัติงาน 0-25 % การปฏิบัติมีลักษณะเป็นกิจกรรมมากกว่าเป็นกระบวนการ ส่วนใหญ่ตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ขาดการกำหนดเป้าประสงค์ที่ดี
ระดับการพัฒนาการขององค์กรระดับการพัฒนาการขององค์กร ระดับเริ่มเป็นระบบ 30-45 % เป้าประสงค์ เชิงกลยุทธ์และ การปฏิบัติงาน การปฏิบัติมีลักษณะเริ่มต้นด้วยการใช้กระบวนงานที่สามารถทำซ้ำได้ มีการประเมิน ปรับปรุง เริ่มประสานงานระหว่างหน่วยงานภายใน มีการกำหนดกลยุทธ์ เป้าประสงค์เชิงปริมาณในบางเรื่อง
ระดับการพัฒนาการขององค์กรระดับการพัฒนาการขององค์กร ระดับ สอดคล้องไปทางเดียวกัน 50-65 % เป้าประสงค์ เชิงกลยุทธ์และ การปฏิบัติงาน การปฏิบัติมีลักษณะเป็นกระบวนงานที่สามารถทำซ้ำได้ มีการประเมินอย่างสม่ำเสมอเพื่อการปรับปรุง โดยมีการแบ่งปันความรู้ การประสานงานระหว่างหน่วยงานภายใน กระบวนการตอบสนองกลยุทธ์และเป้าประสงค์ของโรงเรียนในหลายด้าน
ระดับการพัฒนาการขององค์กรระดับการพัฒนาการขององค์กร ระดับ แนวทางที่มีการบูรณาการ 70-100 % เป้าประสงค์ เชิงกลยุทธ์และ การปฏิบัติงาน การปฏิบัติมีลักษณะเป็นกระบวนงานที่เป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ทำซ้ำได้ และมีการประเมินอย่างสม่ำเสมอเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลง มีการปรับปรุงโดยความร่วมมือของหน่วยงานอื่น ผ่านการวิเคราะห์ การแบ่งปันสารสนเทศและความรู้ ส่งผลให้การทำงานข้ามหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นกระบวนการ ใช้ตัวชี้วัดติดตามความก้าวหน้าของเป้าประสงค์ มีนวัตกรรมการปฏิบัติงานที่สำคัญ
แนวคิดความเป็นเลิศที่สร้างความแตกต่าง...แนวคิดความเป็นเลิศที่สร้างความแตกต่าง... องค์กรที่ดี องค์กรที่ดีกว่า • ชี้นำโดยผู้นำ • การนำอย่างมีวิสัยทัศน์ • มุ่งเน้นผลผลิต • มุ่งเน้นที่ผู้เรียน • ได้มาตรฐาน • ได้การเรียนรู้ขององค์กร • เห็นคุณค่าของผู้ปฏิบัติ คู่ความร่วมมือ • คิดสวนทางกับผู้ส่งมอบ • มุ่งความคล่องตัว • ปฏิบัติงานตามเงื่อนเวลา • มีผลงานทีละไตรมาส • มุ่งเน้นอนาคต • สร้างนวัตกรรม • ปฏิบัติตามคู่มือ • ตัดสินและบริหารตามความรู้สึก • บริหารจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง • รับผิดชอบต่อสังคมในมุมกว้าง • ปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับ • เน้นการสร้างคุณค่าและผลลัพธ์ • มุ่งเน้นผลเฉพาะหน้า • มุมมองเชิงภาระหน้าที่ • มุมมองเชิงบูรณาการของระบบ
องค์ประกอบหลักของรางวัลคุณภาพแห่งชาติองค์ประกอบหลักของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ผลลัพธ์ด้านผลิตภัณฑ์ และกระบวนการ ผลลัพธ์ด้านการเงิน และการตลาด การนำองค์กร ผลลัพธ์ มุมมองเชิงระบบ ๕ การนำองค์กร อย่างมีวิสัยทัศน์ การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ และการสร้างคุณค่า ความเป็นเลิศ ที่มุ่งเน้นลูกค้า การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นการปฏิบัติ ความรับผิดชอบ ต่อสังคมในมุมกว้าง กระบวนการ ๖ การเรียนรู้ระดับ องค์กรและบุคคล การจัดการโดย ใช้ข้อมูลจริง ค่านิยมและแนวคิดหลัก การมุ่งเน้นบุคลากร การมุ่งเน้นลูกค้า ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กร และการกำกับดูแล การให้ความสำคัญกับ บุคลากรและพันธมิตร การจัดการ เพื่อนวัตกรรม ๑๑ การมุ่งเน้นอนาคต ความคล่องตัว การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร
กรอบความคิดของเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ โครงร่างองค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และสภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ ๒ การวาง แผนกลยุทธ์ ๕ การมุ่งเน้น บุคลากร ๑ การนำองค์กร ๗ ผลลัพธ์ ๓ การมุ่งเน้นผู้เรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ๖ การจัดการ กระบวนการ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
บทนำ: โครงร่างองค์กร โครงร่างองค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และสภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ คือภาพรวมขององค์กร เป็นสิ่งสำคัญที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงาน และเป็นความท้าทายสำคัญที่องค์กรเผชิญอยู่ เป็นจุดเริ่มต้นของการประเมินตนเอง และการเขียนรายงานเพื่อสมัครขอรับรางวัล ความสำคัญ ช่วยในการระบุสารสนเทศที่สำคัญ ข้อกำหนด และผลลัพธ์การดำเนินการที่สำคัญ ใช้ตรวจประเมินรายงานวิธีการ และผลการดำเนินงาน รวมถึงการตรวจเยี่ยมเพื่อทำความเข้าใจองค์กร องค์กรอาจนำโครงร่างองค์กรมาใช้เพื่อการประเมินตนเองเบื้องต้น
บทนำ: โครงร่างองค์กร ๑. ลักษณะองค์กร: ลักษณะที่สำคัญขององค์กรคืออะไร อธิบายถึงสภาพแวดล้อมการดำเนินงานขององค์กรและความสัมพันธ์ที่สำคัญกับลูกค้า ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
บทนำ: โครงร่างองค์กร ๑. ลักษณะองค์กร : ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร (๑) ผลิตภัณฑ์: ผลิตภัณฑ์หลัก, เป้าหมายความสำเร็จ, กลไกที่ใช้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ (๒) วิสัยทัศน์และพันธกิจ: วัฒนธรรม เจตจำนง วิสัยทัศน์ ค่านิยม พันธกิจ สมรรถนะ หลัก และความเกี่ยวข้องกับพันธกิจ (๓) ลักษณะโดยรวมของบุคลากร: การจำแนกบุคลากร ระดับการศึกษา ความผูกพัน กับพันธกิจและวิสัยทัศน์ ความหลากหลายของลักษณะงาน กลุ่มต่างๆในองค์กร (๔) สินทรัพย์: อาคารสถานที่ เทคโนโลยี และวัสดุอุปกรณ์ขององค์กร (๕) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ: สภาพแวดล้อมภายใต้กฎ ระเบียบ กฎ ระเบียบเกี่ยวกับ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การจัดทะเบียน มาตรฐาน สิ่งแวดล้อมการเงิน ฯลฯ
บทนำ: โครงร่างองค์กร ๑. ลักษณะองค์กร : ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร (๑) โครงสร้างองค์กร: ลักษณะโครงสร้าง ระบบการกำกับดูแล และระบบรายงาน (๒) ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วยเสีย: ส่วนตลาด กลุ่มลูกค้า และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ความต้องการและความคาดหวังของกลุ่มดังกล่าว ความแตกต่างของความต้องการของแต่ละกลุ่ม (๓) ผู้ส่งมอบและพันธมิตร: ประเภทและบทบาทของผู้ส่งมอบ พันธมิตร และผู้ให้ความร่วมมือ กลไกที่สำคัญและการสื่อสาร บทบาทของกลุ่มดังกล่าวในการสร้างนวัตกรรม และข้อกำหนดสำคัญของห่วงโซ่อุปทาน
บทนำ: โครงร่างองค์กร ๑. ลักษณะองค์กร: ลักษณะที่สำคัญขององค์กรคืออะไร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (STAKEHOLDERS) บุคคลหรือกลุ่มที่ได้รับหรืออาจได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติและความสำเร็จขององค์กร อาทิ ลูกค้า คู่ความร่วมมือ คณะกรรมการกำกับดูแล ผู้ถือหุ้น ผู้ส่งมอบ ผู้เสียภาษี องค์กรที่ดูแลกฎ ระเบียบ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ให้ทุนดำเนินการ ชุมชนและสมาคมวิชาชีพ เป็นต้น
บทนำ: โครงร่างองค์กร ๒. สภาวการณ์ขององค์กร : ก. สภาพแวดล้อมด้านการแข่งขัน (๑) ลำดับในการแข่งขัน: ลำดับที่ ขนาดและการเติบโตเทียบกับองค์กรอื่นในลักษณะเดียวกัน จำนวนและประเภทคู่แข่ง (๒) การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน: การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โอกาสในการสร้างนวัตกรรมและความร่วมมือ (๓) แหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ: แหล่งข้อมูลสำคัญเชิงเปรียบเทียบและเชิงแข่งขันในธุรกิจเดียวกัน และธุรกิจอื่น ข้อจำกัดในการได้มาซึ่งข้อมูล
บทนำ: โครงร่างองค์กร ๒. สภาวการณ์ขององค์กร : ข. บริบทเชิงกลยุทธ์ ความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญด้านธุรกิจ/บริการ ด้านการปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในมุมกว้าง และด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กร
บทนำ: โครงร่างองค์กร ๒. สภาวการณ์ขององค์กร : ค. ระบบปรับปรุงผลการดำเนินการ ส่วนประกอบสำคัญของระบบปรับปรุงผลการดำเนินการ รวมทั้งกระบวนประเมินผล กระบวนการเรียนรู้ระดับองค์กรและกระบวนการสร้างนวัตกรรม
กรอบความคิดของเกณฑ์ โครงร่างองค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และสภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ เป็นการตรวจประเมินว่าการกระทำของผู้นำระดับสูงขององค์กรได้ชี้นำและทำให้องค์กรมีความยั่งยืนอย่างไร ตรวจประเมินระบบการกำกับดูแลองค์กร วิธีการที่องค์กรใช้เพื่อบรรลุด้านกฎหมาย จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง และการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ ๒ การวางแผนกลยุทธ์ ๕ การมุ่งเน้น บุคลากร ๑ การนำองค์กร ๗ ผลลัพธ์ การดำเนินการ ๓ การมุ่งเน้นลูกค้า ๖ การมุ่งเน้น การปฏิบัติ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๑ ผู้นำระดับสูงนำองค์กรอย่างไร : ก. วิสัยทัศน์ ค่านิยม พันธกิจ (๑) วิสัยทัศน์และค่านิยม: การดำเนินการกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยม การถ่ายทอดวิสัยทัศน์และค่านิยมไปสู่การปฏิบัติ ความมุ่งมั่นของผู้นำระดับสูงต่อค่านิยมขององค์กร (๒) การส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม: การปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูงแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและจริยธรรม การสร้างบรรยากาศของการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและจริยธรรม
หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๑ ผู้นำระดับสูงนำองค์กรอย่างไร : ก. วิสัยทัศน์ ค่านิยม พันธกิจ (๓) การสร้างองค์กรที่ยั่งยืน: ผู้นำระดับสูงมีวิธีการทำให้องค์กรมีความยั่งยืนและประสบความสำเร็จในเรื่อง.... - การสร้างบรรยากาศของการปรับปรุงผลการดำเนินการ การบรรลุพันธกิจและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ การสร้างนวัตกรรม การเป็นผู้นำผลการดำเนินการและความคล่องตัวขององค์กร - การสร้างวัฒนธรรมบุคลากรที่ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าอย่างคงเส้นคงวาและเสริมสร้างความผูกพันของลูกค้า - สร้างบรรยากาศเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทั้งระดับองค์กรและระดับบุคคล - พัฒนาและเสริมสร้างทักษะความเป็นผู้นำ - มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ระดับองค์กร วางแผนสืบทอดตำแหน่ง และการพัฒนาผู้นำในอนาคตขององค์กร
หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๑ ผู้นำระดับสูงนำองค์กรอย่างไร : ข. การสื่อสารและผลการดำเนินการขององค์กร • การสื่อสาร: วิธีดำเนินการสื่อสารและสร้างความผูกพันกับบุคลากรในองค์กร และวิธีดำเนินการที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในเรื่อง... • - การกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารที่ตรงไปตรงมาแบบสองทาง • - การสื่อสารที่เป็นการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ • - การให้รางวัล ยกย่อง ชมเชย และการให้ความสำคัญกับลูกค้า/ธุรกิจ (๒) การทำให้เกิดการปฏิบัติการอย่างจริงจัง: การดำเนินการที่ทำให้เกิดการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง การปรับปรุงผลการดำเนินการ วิธีการระบุสิ่งที่ต้องทำในการกำหนดความคาดหวังของผลการดำเนินการ วิธีการสร้างคุณค่าที่คำนึงถึงความสมดุลระหว่างลูกค้ากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๒ การกำกับ ดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อองค์กร ในมุมกว้าง : ก. การกำกับดูแลองค์กร (๑) ระบบการกำกับดูแลองค์กร: วิธีดำเนินการทบทวนและทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในเรื่องสำคัญในระบบการกำกับดูแลองค์กร... - ความรับผิดชอบของผู้บริหาร - ความรับผิดชอบด้านการเงิน - ความโปร่งใส การคัดเลือกคณะกรรมการที่กำกับดูแลองค์กรและนโยบายการเปิดเผยข้อมูล - ความอิสระในการตรวจสอบภายในและภายนอก - การปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ถือหุ้น
หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๒ การกำกับ ดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อองค์กร ในมุมกว้าง : ก. การกำกับดูแลองค์กร (๒) การประเมินผลการดำเนินการ: - วิธีดำเนินการประเมินผลการดำเนินการ และการใช้ผลการดำเนินการกำหนด ค่าตอบแทนของผู้นำองค์กร - วิธีการประเมินผลการดำเนินการของคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กร และการใช้ ผลการทบทวนผลการดำเนินการไปพัฒนา ปรับปรุงประสิทธิผลของการนำองค์กร ของผู้นำ ของคณะกรรมการฯ และของระบบการนำองค์กรในโอกาสต่อไป
หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๒ การกำกับ ดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อองค์กร ในมุมกว้าง : ข. การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม • การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ: • - วิธีการดำเนินการคาดการณ์ล่วงหน้ากรณีที่ผลิตภัณฑ์และการปฏิบัติเกิดผลกระทบ • เชิงลบต่อสังคมทั้งในปัจจุบัน และอนาคต • - วิธีการเตรียมการเชิงรุกเกี่ยวกับความกังวลและผลกระทบเชิงลบที่จะเกิดขึ้น • - วิธีการดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและกระบวนจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มี • ประสิทธิผล • - กระบวนการ ตัวชี้วัด และเป้าประสงค์สำคัญที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบและการดำเนินงานเรื่องความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๒ การกำกับ ดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อองค์กร ในมุมกว้าง : ข. การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม (๒) การประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม: - วิธีการดำเนินการเสริมสร้างและการสร้างความมั่นใจในการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม - กระบวนการ ตัวชี้วัดที่สำคัญในการส่งเสริมและการกำกับดูแลการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมภายใต้โครงสร้าง การปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า พันธมิตร ผู้ส่งมอบ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ - วิธีการดำเนินการในการกำกับดูแลกรณีที่มีการกระทำที่ขัดต่อประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๒ การกำกับ ดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคมใน มุมกว้าง : ค. ความรับผิดชอบต่อสังคมในมุมกว้าง และการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ (๑) ความผาสุกของสังคมในวงกว้าง: - การกำหนดกลยุทธ์และการปฏิบัติที่คำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของสังคม - การมีส่วนในการสร้างความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ (๒) การสนับสนุนชุมชน: - วิธีการดำเนินการสำคัญในการสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน - วิธีการกำหนดชุมชนที่สำคัญขององค์กร - กิจกรรมที่องค์กร ผู้นำองค์กรและบุคลากรในการใช้สมรรถนะหลักขององค์กรเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
กรอบความคิดของเกณฑ์ โครงร่างองค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และสภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ เป็นการตรวจประเมินว่าองค์กรจัดทำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการขององค์กรอย่างไร รวมทั้งตรวจประเมินการนำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการที่เลือกไว้ไปปฏิบัติ การปรับเปลี่ยนเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ตลอดจนวิธีการวัดผลความก้าวหน้า ๒ การวางแผน เชิงกลยุทธ์ ๕ การมุ่งเน้น บุคลากร ๑ การนำองค์กร ๗ ผลลัพธ์ การดำเนินการ ๓ การมุ่งเน้นลูกค้า ๖ การมุ่งเน้น การปฏิบัติ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๑ การจัดทำกลยุทธ์: อธิบายถึงวิธีการที่องค์กรใช้ในการสร้างกลยุทธ์ที่ให้ความสำคัญกับความท้าทายเชิงกลยุทธ์และใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ รวมทั้งวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญขององค์กรและเป้าประสงค์ที่เกี่ยวข้อง
หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๑ การจัดทำกลยุทธ์: ก. การจัดทำกลยุทธ์ (๑) กระบวนการวางแผนกลยุทธ์: - วิธีการ ขั้นตอน ผู้ที่เกี่ยวข้องสำคัญ การระบุจุดบอดที่อาจจะเกิดขึ้นของกระบวนการจัดทำกลยุทธ์ - วิธีการกำหนดสมรรถนะหลักขององค์กร ความท้าทายและความได้เปรียบเชิง กลยุทธ์ขององค์กร - วิธีการกำหนดกรอบเวลาของแผนระยะสั้น ระยะยาว
หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๑ การจัดทำกลยุทธ์: ก. การจัดทำกลยุทธ์ (๒) การวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์: - วิธีการสร้างความมั่นใจในการนำองค์ประกอบต่อไปนี้มาประกอบการวางแผนกลยุทธ์ วิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ... ๑) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์กร ๒) แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ตลาด ผลิตภัณฑ์ ความนิยมขิงลูกค้า การแข่งขัน ภาวะทางเศรษฐกิจ กฎระเบียบ และข้อบังคับ ๓) ความยั่งยืน สมรรถนะหลัก การคาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคตขององค์กรและคู่แข่งขัน หรือการเทียบเคียงองค์กรในระดับเดียวกัน ๔) ความสามารถในการแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๑ การจัดทำกลยุทธ์: ข. วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (๑) วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ: - อะไรคือวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ - ตารางเวลาที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์สำคัญ - เป้าประสงค์ที่สำคัญที่สุดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (๒) การพิจารณาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์:ตอบสนองในสิ่งต่อไปนี้.... - ความท้าทาย การได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ โอกาสในการสร้างนวัตกรรมของผลผลิต การปฏิบัติการ และรูปแบบการดำเนินการ - การใช้ประโยชน์จากสมรรถนะหลักขององค์กรปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต - ความสมดุลระหว่างความท้าทาย โอกาส และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด - การยกระดับความสามารถขององค์กรในการปรับตัว
หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๒ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ : อธิบายถึงวิธีการแปลงวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ไปสู่แผนปฏิบัติการ สรุปแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ ตัวชี้วัดสำคัญของแผนปฏิบัติการ การคาดการณ์ผลกรดำเนินการในอนาคตเปรียบเทียบกับตัวชี้วัด
หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๒ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ : ก. การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (๑) การทำแผนปฏิบัติการ: - วิธีการและสาระสำคัญของการจัดทำแผนปฏิบัติการ - ความสัมพันธ์ต่อวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ - สาระของการเปลี่ยนแปลงสำคัญด้านผลิตภัณฑ์ ลูกค้าและตลาด ผู้ส่งมอบและพันธมิตร และวิธีการดำเนินการ (๒) การนำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติ: - วิธีการถ่ายทอดแผนไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร บุคคล ผู้ส่งมอบและพันธมิตร - วิธีการที่ทำให้เกิดความมั่นใจว่าผลการดำเนินการที่สำคัญตามแผนฯมีความยั่งยืน
หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๒ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ : ก. การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (๓) การจัดสรรทรัพยากร: - วิธีการสร้างความมั่นใจว่ามีทรัพยากรด้านการเงินและอื่นๆเพียงพอตามแผนฯ - วิธีจัดสรรทรัพยากร การจัดการด้านความเสี่ยงด้านการเงินและอื่นๆ (๔) แผนด้านบุคลากร: - แผนด้านบุคลากรที่สำคัญที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ - แผนปฏิบัติการระยะสั้น ระยะยาวที่คำนึงผลกระทบต่อบุคลากร - การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับขีดความสามารถและอัตรากำลัง
หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๒ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ : ก. การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (๕) ตัววัดผลการดำเนินการ: - ตัวชี้วัดผลการดำเนินการที่สำคัญที่ใช้ติดตามผลลัพธ์และประสิทธิผล - วิธีการที่จะสร้างความมั่นใจถึงระบบการวัดผล ความสอดคล้อง ครอบคลุมเรื่องที่ปฏิบัติและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญทั้งหมด (๖)การปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการ: - วิธีการปรับเปลี่ยนแผนและการนำไปใช้ปฏิบัติตามสถานการณ์บังคับ