160 likes | 482 Views
การนำเสนอผลงานวิจัยส่วนที่ 3 การวิจัยไม้พลังงานทดแทน. เตาเผากระดาษไหว้เจ้า นฤมล ภานุนำภา นำเสนอในการประชุมวิชาการด้านป่าไม้ “เทคโนโลยีด้านป่าไม้เพื่อประชาชน” วันที่ 28 - 29 มิถุนายน 2554 ณ อาคารกริต สามะพุทธิ กรมป่าไม้. เตาเผากระดาษไหว้เจ้า. นฤมล ภานุนำภา. มนัสสุดา นัทสิริพร.
E N D
การนำเสนอผลงานวิจัยส่วนที่ 3การวิจัยไม้พลังงานทดแทน เตาเผากระดาษไหว้เจ้า นฤมล ภานุนำภา นำเสนอในการประชุมวิชาการด้านป่าไม้ “เทคโนโลยีด้านป่าไม้เพื่อประชาชน” วันที่ 28 - 29 มิถุนายน 2554 ณ อาคารกริต สามะพุทธิ กรมป่าไม้
เตาเผากระดาษไหว้เจ้า นฤมล ภานุนำภา มนัสสุดา นัทสิริพร ฐิติภรณ์ บุญแย้ม เพ็ญแข เพิ่ม และน้องๆ งานพัฒนาพลังงานจากไม้ที่มิได้เอ่ยนาม
บทนำ ปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเมืองใหญ่ๆ คือ ปัญหามลภาวะที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
บทนำ มีประชากรคนจีน หรือคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงเทศกาลจะมีการเผากระดาษเงิน กระดาษทอง เครื่องประดับ รถยนต์ ชุดเครื่องแต่งกาย ที่ทำจากกระดาษส่งไปให้แก่บุคคลที่ต้องการสักการะ ถึงเทพเจ้า
บทนำ ซึ่งเป็นการเพิ่มมลภาวะทางอากาศให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เนื่องจากเตาเผากระดาษไหว้เจ้าส่วนใหญ่เป็นเตาแบบง่ายๆ
รูปแบบเตาเผากระดาษไหว้เจ้าที่ใช้กันทั่วไปรูปแบบเตาเผากระดาษไหว้เจ้าที่ใช้กันทั่วไป เตาเผากระดาษไหว้เจ้าที่ประชาชนนิยมมากที่สุดคือ เตาที่เป็นปี๊บหรือถังน้ำมัน อาจจะเจาะรูหรือไม่เจาะก็ได้ เน้นที่น้ำหนักเบาและเคลื่อนย้ายสะดวกพบเห็นทั่วไปมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เป็นอุปกรณ์หรือภาชนะที่หาได้ง่าย ของเก่า ที่ไม่ใช้แล้วหรือซื้อได้ราคาถูก ประหยัด แต่ไม่เน้นความปลอดภัย และไม่รักษา สิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร
ดัดแปลงจากภาชนะที่ไม่ใช้งานแล้วดัดแปลงจากภาชนะที่ไม่ใช้งานแล้ว มีขายตามท้องตลาด
รูปแบบเตาเผากระดาษไหว้เจ้าที่ใช้เผาที่ศาลเจ้ารูปแบบเตาเผากระดาษไหว้เจ้าที่ใช้เผาที่ศาลเจ้า จะมีรูปร่างสวยงามและก่อสร้างแบบถาวร หรือกึ่งถาวร มักจะมีปล่องระบายควัน เพราะมีการเผาในปริมาณที่มาก หรือบางวัด เผาเป็นประจำวันทุกวัน เพื่อให้ปลอดภัยจากไฟไหม้ และระบายควัน ไม่ให้รบกวนภายในวัดและบ้านเรือนบริเวณใกล้เคียง มีทั้งรูปทรงเตาเผาแบบดั้งเดิม และแบบสมัยใหม่ ซึ่งก่อสร้างเป็นรูปทรงเจดีย์ 9 ชั้น กำลังเป็นที่นิยมมากในหมู่คนไทยเชื้อสายจีน ทางภาคใต้ในวัดจีนที่มีคนศรัทธามาก ซึ่งจะมาเผากันแทบทุกวัน ทรงสูง สมัยใหม่ ดั้งเดิม
การปรับปรุงเตาเผากระดาษไหว้เจ้าการปรับปรุงเตาเผากระดาษไหว้เจ้า ให้มีคุณภาพและมีรูปร่างลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ เพื่อลดมลพิษในอากาศ ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตและสุขภาพดีขึ้น ผู้ประกอบการให้มีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตเตารูปแบบใหม่ โครงการเริ่มดำเนินการในปี 2549 และแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2551 ได้ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเตาเผากระดาษไหว้เจ้า ปริมาณการเผาในรอบปีของประชากรในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และในเมืองใหญ่ เช่น ขอนแก่น นครราชสีมา พิษณุโลก เชียงใหม่ น่าน ประจวบคีรีขันธ์ กระบี่ ตรัง และจังหวัดอื่นๆ รวม 18 จังหวัด 214 ครัวเรือน
การปรับปรุงเตาเผากระดาษไหว้เจ้าการปรับปรุงเตาเผากระดาษไหว้เจ้า การออกแบบเตา และทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน จำนวน 18 รูปแบบ เปรียบเทียบกับเตาที่มีลักษณะดี และราคาสูง ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เลือกรูปแบบเตา 3 อันดับแรกที่ชอบ นำมาประมวลร่วมกับผลการทดสอบ สรุปได้ เตาเบอร์ 17 ซึ่งเป็นเตารูปทรงเจดีย์สีทอง (สวมปล่องระบายควันได้) เป็นเตาเผาที่เหมาะสมสำหรับใช้ตามบ้านเรือน และ เตาเบอร์ 3 เป็นเตาเผากระดาษที่ใช้ตามศาลเจ้า และกรมป่าไม้จะดำเนินการส่งเสริมและเผยแพร่ต่อไป (หากมีงบประมาณ) ทดสอบประสิทธิภาพเตา แบบที่ชอบอันดับหนึ่งสำหรับใช้เผาที่บ้าน แบบที่ชอบอันดับหนึ่ง สำหรับใช้ที่ศาลเจ้า
แบบเตาเผากระดาษไหว้เจ้าที่ออกแบบและนำมาทดสอบประสิทธิภาพในห้องปฏิบัติการแบบเตาเผากระดาษไหว้เจ้าที่ออกแบบและนำมาทดสอบประสิทธิภาพในห้องปฏิบัติการ แบบสวมปล่องควันและไม่สวมปล่อง สวยงาม สีและแบบเป็นมงคล
หลักการออกแบบเตาเผากระดาษไหว้เจ้าหลักการออกแบบเตาเผากระดาษไหว้เจ้า 1. มีการเผาไหม้ดี มีควันน้อย 2. มีความทนทาน 3. มีรูปทรงสวยงาม 4. ถูกใจผู้ใช้งาน
สรุป 1. จาก 214 ครัวเรือน 90% เผากระดาษไหว้เจ้าแบบไม่มีประสิทธิภาพ เพิ่มมลพิษทางอากาศ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่น 2. ผู้เผากระดาษไหว้เจ้าส่วนใหญ่ต้องการเตาเผาที่มีคุณภาพดี เผาไหม้ดีและมีควันน้อย แต่เตาดังกล่าวไม่มีขายในท้องตลาด 3. เตาเผากระดาษไหว้เจ้าที่โครงการนำมาให้เลือกและได้ทดสอบแล้วว่ามีประสิทธิภาพ สูงสุดจากการทดลองคือ เตารูปทรงเจดีย์สีทอง ซึ่งจะสวมปล่องหรือไม่สวมปล่องก็ได้ 4. เตาเผาที่ดีต้องมีการสันดาปและการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ สะดวกต่อการใช้งาน มีลักษณะสวยงาม มีการระบายควันดี และราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย
งานพัฒนาพลังงานจากไม้ขอขอบคุณทุกท่านงานพัฒนาพลังงานจากไม้ขอขอบคุณทุกท่าน