260 likes | 438 Views
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (สำนักงาน กปร.). เลขที่ 78 ทำเนียบรัฐบาล โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (เดิม) อาคาร 1 ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300. www.rdpb.go.th. การดำเนินงานเพื่อสนองพระราชดำริ. โดย...นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ.
E N D
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เลขที่ 78 ทำเนียบรัฐบาล โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (เดิม) อาคาร 1 ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 www.rdpb.go.th
การดำเนินงานเพื่อสนองพระราชดำริการดำเนินงานเพื่อสนองพระราชดำริ โดย...นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ รองเลขาธิการ กปร.
โครงการพระราชดำริ • ระยะแรก (ปี พ.ศ. 2496 - 2523) • ระยะปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน)
~ ในระยะแรกปี พ.ศ. 2496-2523 ~ • เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ • ทรงเริ่มกิจกรรมปลาพระราชทาน • เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรทั่วทุกแห่งโดย • ประมาณปี 2496 เสด็จฯไปยังพื้นที่ชนบทภาคกลางก่อนเป็นภาคแรก • ต่อมาปี 2498 เสด็จฯไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • ในปี 2499 เสด็จฯไปยังภาคเหนือ • ในปี 2501 เสด็จฯไปยังภาคใต้ 1
จากการเสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกภาคของประเทศเช่นนี้จากการเสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกภาคของประเทศเช่นนี้ • ทำให้ทรงทราบข้อมูลที่เป็นปัญหาความเดือดร้อนของ ประชาชนอย่างแท้จริง • ส่งผลให้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาที่ตรง ประเด็น เกิดผลสำเร็จอย่างแท้จริง • มีโครงการช่วยเหลือเกิดขึ้นต่าง ๆ มากมาย โดย • โครงการด้านพัฒนาสังคมและการปกครองได้เกิดขึ้นตั้งแต่ประมาณปี 2494 • โครงการด้านพัฒนาท้องถิ่นหรือพื้นที่ทุรกันดารในชนบทได้เกิดขึ้นประมาณปี 2496-2497 2
สาระสำคัญของโครงการพระราชดำริสาระสำคัญของโครงการพระราชดำริ ระยะแรกจะเป็นโครงการที่มุ่งแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ประชาชน อยู่ดีกินดี โดยทรงศึกษาวิธีการด้วยพระองค์เอง • เป็นปัญหาเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม โดยทรงเริ่มจากการศึกษาเรื่องพืช เช่น ข้าว พืชตระกูลถั่ว ฯลฯ • เน้นปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน และการจัดสรรที่ดิน ทำกินของราษฎร • ทรงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมฐานะความเป็นอยู่ให้สามารถพึ่งตนเองได้ 3
ประเภทของโครงการฯ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1.)โครงการที่มีลักษณะศึกษา ค้นคว้า ทดลองเป็นการส่วนพระองค์ โดยเฉพาะด้านการเกษตร ทรงเน้นการศึกษาหาแนวทางการพัฒนาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย และสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น 2.)โครงการที่มีลักษณะเริ่มเข้าไปแก้ไขปัญหาหลักของเกษตรกร ในระยะแรกโครงการยังจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะบริเวณรอบๆ ที่ประทับส่วนภูมิภาค ต่อมาก็ค่อยๆ ขยายขอบเขตออกไปสู่สังคมเกษตรกรให้กว้างขวางมากขึ้น โดยทรงเน้นวิธี “การพัฒนาแบบผสมผสาน” 4
~ ในระยะปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน) ~ จากการที่รัฐบาลได้ตระหนักถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการพัฒนาโครงการต่างๆ ซึ่งล้วนมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนับว่าเป็นโครงการที่มีส่วนเข้าไปเสริมแผนงานโครงการต่างๆ ตามนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลจึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริ ดังนี้ • ความเป็นมาในการจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) 5
พ.ศ. 2524 ประกาศ “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ซึ่งมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2524 :- • ได้กำหนดองค์กรระดับชาติ เรียกว่า “คณะกรรมการพิเศษเพื่อ ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” เรียกโดยย่อว่า “กปร.” โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และมี นายสุเมธ ตันติเวชกุล (ตำแหน่งในขณะนั้นคือผู้ช่วยเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) เป็นกรรมการ และเลขานุการ • ได้จัดตั้ง “สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพิเศษเพื่อ ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” หรือ สำนักงาน เลขานุการ กปร. ทำหน้าที่เลขานุการ กปร. โดยมีเลขานุการ กปร. เป็นผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการ กปร. 6
ต่อมา พ.ศ. 2534 มีการประกาศ “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2534 :- • มีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของ กปร. บางส่วนและมีนายก รัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ เช่นเดิม โดยมีเลขาธิการ กปร. เป็น กรรมการและเลขานุการ และกำหนดให้ กปร. มีอำนาจหน้าที่ ที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งมีหน้าที่โดยสังเขป ดังนี้ 1. ควบคุม กำกับ ดูแล ติดตามผล และประสานการดำเนินงานของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ 2. พิจารณา และกำหนดโครงการเพื่อขอรับความช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการ และการเงินจากภายใน และต่างประเทศ 7
.. หน้าที่ของ กปร. (ต่อ) .. 3. พิจารณาอนุมัติโครงการ แผนงาน และกิจกรรมใดๆ และพิจารณางบประมาณรายจ่ายเพื่อดำเนินการตามโครงการฯ และงบประมาณรายจ่ายในการบริหารงานของสำนักงาน กปร. ตามความจำเป็น 4. พิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนแปลงโครงการฯ และงบประมาณรายจ่ายเพื่อให้สอดคล้องกับโครงการฯ ได้ทุกกรณี 5. แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือเจ้าหน้าที่จากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานโครงการฯ ได้ตามความเหมาะสม 8
ได้กำหนดให้จัดตั้ง “สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” หรือเรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน กปร.”(แทนชื่อเดิมคือ สำนักงานเลขานุการ กปร.) มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านวิชาการ ประสานงาน และงานธุรการของ กปร. และอื่นๆ ตามที่ กปร. มอบหมาย 9
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535 ครม. มีมติเห็นชอบ และอนุมัติในหลักการ ให้แยกสำนักงาน กปร. ออกจาก สศช.* :- • โดยยกฐานะเป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชา โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2536 เป็นต้นมา • หลังจากนั้นได้ตรา พรฎ. แบ่งส่วนราชการสำนักงาน กปร. พ.ศ. 2538 และล่าสุดคือ การตรากฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ พ.ศ.2545 อีกครั้ง ซึ่งใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติราชการของสำนักงานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้ * สศช.หมายถึง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ 10
จากการปฏิรูประบบราชการ ทำให้มีการตรา พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ให้ไว้ ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2545หมวด 21 :- • กำหนดให้สำนักงาน กปร. เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี • นอกจากนั้นยังได้ตรา “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546” มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2546 ให้มีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของ กปร. ให้สอดคล้องกับการแบ่งสายงานระดับกระทรวงที่ปรับเปลี่ยนไป 11
พิจารณา วิเคราะห์ และกลั่นกรองแผนงาน โครงการ และงบประมาณ ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เสนอขอความเห็นชอบจาก กปร. ประสานการดำเนินงาน ให้คำปรึกษา แนะนำการดำเนินงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริให้กับหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ บริหารจัดการดำเนินงาน กำกับดูแล เร่งรัด และติดตามประเมินผล การดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ พระบรมวงศานุวงศ์เพื่อรับสนองพระราชดำริ เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการ กปร. บทบาทของสำนักงาน กปร. 12
วิสัยทัศน์ “เป็นหน่วยงานหลักในการประสาน สนับสนุนดำเนินงาน และติดตามประเมินผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนสามารถสนอง พระราชดำริได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง และสัมฤทธิ์ผล เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน” 13
คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ (กปร.) 1) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ 2) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ 3) ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการ 4) ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการ 5) ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการ 6) ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ 7) ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นกรรมการ 14
(ต่อ) 8) ราชเลขาธิการ เป็นกรรมการ 9) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ 10) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ เป็นกรรมการ 11) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการ 12) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นกรรมการ 13) ผู้บัญชาการทหารบก เป็นกรรมการ 14) รองเลขาธิการที่ราชเลขาธิการมอบหมาย จำนวน 1 คน เป็นกรรมการ 15
(ต่อ) 15) เลขาธิการ กปร. เป็นกรรมการและเลขานุการ 16) รองเลขาธิการ กปร. เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 17) ที่ปรึกษาด้านการประสานงาน โครงการฯ สำนักงาน กปร. เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 18) เจ้าหน้าที่สำนักราชเลขาธิการ จำนวน 1 คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ โดยมีองคมนตรี 1 คนเป็นที่ปรึกษาของ กปร. 16
ที่มาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1.) จากพระราชดำริโดยตรง 2.) จากฎีกาที่ประชาชนผู้เดือดร้อนเสนอมา 3.) จากหน่วยงานที่ร้องขอในเรื่องเร่งด่วน 17
ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการฯขั้นตอนการดำเนินงานโครงการฯ พระราชดำริ/พระราชดำรัส กปร./ประธาน กปร. สำนักงาน กปร. กระทรวง ทบวง หรือคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/คณะทำงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบโครงการนั้นๆ กรม กองทัพภาค จังหวัด ฯลฯ เจ้าหน้าที่/หน่วยปฏิบัติในพื้นที่/ผู้ที่ตามเสด็จ พระราชดำเนิน 18
รายงานผลการดำเนินงานสนับสนุนงบประมาณรายงานผลการดำเนินงานสนับสนุนงบประมาณ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 19
รายงานผลการดำเนินงานสนับสนุนงบประมาณโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริปีงบประมาณ 2525 – 2548 20
แผนภูมิโครงการและงบประมาณที่ กปร. อนุมัติ จำแนกตามภาคประจำปีงบประมาณ 2525-2548 21
แผนภูมิโครงการและงบประมาณที่ กปร. อนุมัติจำแนกตามด้านการพัฒนาประจำปีงบประมาณ 2525-2548 22
ปีงบประมาณ 2549 (1 ตุลาคม 2548 - 30 มกราคม 2549)งบประมาณ กปร. 2,000 ล้านบาท หน่วยงานเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 94 โครงการ/กิจกรรม เป็นเงิน 1,139.38 ล้านบาท ประธาน กปร. อนุมัติ 3 งวด 33 โครงการ/กิจกรรม เป็นเงิน 518.39 ล้านบาท สำนักงบประมาณ อนุมัติเงินงวด 8 โครงการ/กิจกรรม เป็นเงิน 75.57 ล้านบาท งบประมาณ กปร. คงเหลือ 1,391.60 ล้านบาท 23