1 / 111

กระบวนการยุติธรรมทางอาญา

กระบวนการยุติธรรมทางอาญา. พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงานวัน "นิติศาสตร์จุฬา" ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2512 ทรงเตือน นักกฎหมายและนักปกครอง

angelos
Download Presentation

กระบวนการยุติธรรมทางอาญา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระบวนการยุติธรรมทางอาญา

  2. พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงานวัน "นิติศาสตร์จุฬา" ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2512 ทรงเตือน นักกฎหมายและนักปกครอง • "...กฎหมายกับความเป็นอยู่ที่เป็นจริงอาจขัดกัน และในกฎหมายก็มีช่องโหว่มิใช่น้อยเพราะเราปรับปรุงกฎหมายและการปกครองอย่างโดยอาศัยหลักการของต่างประเทศโดยมิได้คำนึงถึงความเป็นอยู่ของประชาชนว่าที่ใด ควรเป็นอย่างไรร้ายกว่านั้นก็ไม่คำนึงถึงว่า การปกครองของทางราชการ บางทีไปไม่ถึงประชาชนด้วยซ้ำจึงทำให้ประชาชนต้องตั้งกฎหมายของตนเอง ซึ่งไม่ได้หมายความว่า เลวเป็นแต่มีบางสิ่งบางอย่างขัดกับกฎหมายของบ้านเมือง..."

  3. ทรงชี้ให้เห็นถึงสาเหตุประการหนึ่งที่ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมคือบทบัญญัติของกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ดังความตอนหนึ่งว่า"...แต่บังเอิญกฎหมายบอกว่า สงวนนั้น ใครบุกรุกไม่ได้ เขาจึงเดือดร้อน ป่าสงวนนั้นเราขีดเส้นบนแผนที่ เจ้าหน้าที่จะไปถึงได้หรือไม่ก็ช่างและส่วนมากก็ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ไปดังนั้นราษฎรจะทราบได้อย่างไรว่าที่ที่เขามาอาศัยอยู่เป็นป่าสงวน....."

  4. "...เป็นหน้าที่ของผู้รู้กฎหมายที่จะต้องไปทำความเข้าใจ คือ ไม่ใช่ไปกดขี่ให้ใช้กฎหมายโดยเข้มงวดแต่ไปทำให้ต่างฝ่ายเข้าใจว่า เราอยู่ร่วมประเทศเดียวกัน ต้องอยู่ด้วยกันด้วยความอะลุ้มอล่วย ไม่ใช่กดขี่ซึ่งกันและกัน เมื่อไม่กี่วันมานี้ไปที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปพูดถึงคำว่า พอสมควรว่าเป็นหัวใจของประชาธิปไตยอธิบายว่าคนเรามีสิทธิเสรีภาพแต่ถ้าใช้สิทธิเสรีภาพของแต่ละคนเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ ต้องมีพอสมควรเสรีภาพต้องมีจำกัดในสังคม หรือในประเทศเสรีภาพของแต่ละคน จะต้องถูกจำกัดด้วยเสรีภาพของผู้อื่นจึงเห็นได้ว่า "พอสมควร" เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ "พอสมควร" ก็เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเราจะปกครองหรือช่วยให้บ้านเมืองมีขื่อมีแป เราจะปฏิบัติตรงตามกฎหมายทั้งหมดไม่ได้ .นักกฎหมายทั้งหลายรวมทั้ง นักกฎหมายในอนาคตด้วย จะต้องทราบว่ากฎหมายนั้นมีไว้ สำหรับให้มีช่องโหว่ในทางปฏิบัติไม่ใช่ว่าจะทำได้ตรงไปตรงมาตามตัวบท จำต้องใช้ความพินิจพิจารณาเสมอ...."

  5. พระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงาน "วันรพี" เมื่อวันพุธที่ 27 มิถุนายน 2516 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานซึ่งมีความบางตอนทรงเน้นถึงความสำคัญของกฎหมาย ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม และหน้าที่ของผู้รักษากฎหมาย ดังมีความบางตอนว่า“....กฎหมายมีไว้สำหรับให้มีความสงบสุขในบ้านเมือง มิใช่ว่ากฎหมายมีไว้สำหรับบังคับประชาชนถ้ามุ่งหมายที่จะบังคับประชาชนก็กลายเป็นเผด็จการ กลายเป็นสิ่งที่บุคคลหมู่น้อยจะต้องบังคับกับบุคคลหมู่มากในทางตรงกันข้าม กฎหมายมีไว้สำหรับให้บุคคลส่วนมากมีเสรีและอยู่ได้ด้วยความสงบ...”

  6. ทรงเน้นย้ำเสมอว่า กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ในการรักษาความยุติธรรม ไม่ควรถือว่ากฎหมายสำคัญกว่าความยุติธรรมดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้ตาม หลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2520 • "...ท่านทั้งหลายศึกษาวิชากฎหมายมาได้ถึงเพียงนี้ย่อมเข้าใจได้ว่าต่างมีความตั้งใจที่จะประกอบการงานด้านกฎหมายเป็นหลักต่อไปกฎหมายไทยนั้นได้รับความเชื่อถือยกย่องทั่วไปในนานาประเทศ ว่าเป็นกฎหมายที่มีมาตรฐานสูง .... 

  7. ...แต่หากนำไปใช้ให้ผิดวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์โดยการพลิกแพลงบิดพลิ้วให้ผันผวนไปด้วยความหลงผิดด้วยอคติ หรือด้วยเจตนาอันไม่สุจริตต่างๆ กฎหมายก็เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพลงทันทีและกลับกลายเป็นพิษเป็นภัยแก่ประชาชนอย่างใหญ่หลวงผู้ที่ต้องการจะใช้กฎหมายสร้างสรรค์ความผาสุกสงบและความเป็นปึกแผ่นก้าวหน้าของประชาชนและบ้านเมืองจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาวัตถุประสงค์อันจริงแท้ของกฎหมายแต่ละฉบับไว้ให้แน่วแน่เสมอไป อย่างไม่มีข้อแม้ประการใดๆพร้อมทั้งต้องรักษาอุดมคติ จรรยา ความสุจริต และมโนธรรมของ นักกฎหมายไว้โดยรอบคอบเคร่งครัด เสมอด้วยรักษาชีวิตของตนเองกฎหมายไทยจึงจะทรงคุณค่าอันสมบูรณ์บริบูรณ์ เป็นที่เชื่อถือยกย่องอยู่โดยตลอดได้ไม่ต้องกลายเป็นกฎหมายโบราณล้าสมัย ดังที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้นในบางครั้งบางคราว"

  8. ความยุติธรรมตามกฎหมาย (Justice according law) • กฎหมาย (legality) ต้องมีความชอบธรรม (legitimacy) • การใช้ดุลยพินิจของผู้บังคับใช้กฎหมายจะเป็นการแก้ไขคุณลักษณะที่ตายตัว (rigidity) และลดความแข็งกระด้างของกฎหมายในการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม • หากกฎหมายขัดแย้งกับความยุติธรรมในลักษณะที่ตัวบทกฎหมายที่ถูกบัญญัติขึ้นไว้อย่างไม่ยุติธรรมหรือการที่ผู้บังคับใช้กฎหมายบังคับใช้ตัวบทกฎหมายที่ยุติธรรมอย่างไม่ยุติธรรม (Misconduct) การใช้ดุลยพินิจจะเป็นการบรรเทาเบาบางความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งในหลักการพื้นฐานต้องยึดไว้ในหลักความยุติธรรม

  9. ความหมายของกระบวนการยุติธรรมความหมายของกระบวนการยุติธรรม • กระบวนการยุติธรรม หมายความถึง วิธีการดำเนินการแก่ผู้ที่ประพฤติฝ่าฝืนกฎหมาย โดยอาศัยองค์กร และบุคลากรที่กฎหมายให้อำนาจไว้ • กระบวนการยุติธรรมที่สำคัญ ได้แก่ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง กระบวนการยุติธรรมทางแรงงาน กระบวนการยุติธรรมในศาลเยาวชน และครอบครัวกลาง และกระบวนการยุติธรรมในศาลภาษีอากร

  10. กระบวนการยุติธรรมทางอาญาCRIMINAL PROCEDURE DUE PROCESS OF LAW • หมายถึง การดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ในการบังคับใช้กฎหมาย ทางอาญา เช่น หน่วยงานตำรวจ อัยการ ศาล หน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในการปฏิบัติตามกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและการวินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นไปตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็น กระบวนการชั้นสืบสวน สอบสวน พิจารณา พิพากษา หรือบังคับคดีหรือ กระบวนการอื่นใดเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม

  11. หลักการของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหลักการของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา • มุ่งสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน • ให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ เสรีภาพของปัจเจกบุคคล • มีกระบวนการสอบสวนเป็นกระบวนการต้นทางของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ในการสืบสวน สอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน และในการนำตัวผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตัดสินคดีและท้ายที่สุดคือการลงโทษ

  12. แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานยุติธรรมทางอาญาแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานยุติธรรมทางอาญา • อลัน อาร์คคอฟฟี่ (AlanR. Coffey) • การบริหารงานยุติธรรมทางอาญาเป็นระบบงานที่ประกอบด้วยระบบงานย่อยหลายระบบ ซึ่งมีลักษณะ แตกต่างจากระบบงานอื่นๆ และแตกต่างกันในหน้าที่และความรับผิดชอบ ระหว่างระบบยุติธรรมย่อยๆ ด้วยกันด้วย การบริหารงานยุติธรรมทางอาญา จึงมีกระบวนการพิเศษอีกมากมายหลายอย่าง

  13. การบริหารงานยุติธรรมต้องประกอบด้วยการบริหารงานยุติธรรมต้องประกอบด้วย 1. ปัจจัยเหตุ(input) คือ อาชญากรรม หรือการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายที่มีโทษทางอาญา

  14. - การกระทำที่เป็นความผิดในหรือโดยตัวของมันเอง (mala in se)เช่น ฆ่าผู้อื่น ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ชิงทรัพย์และ ปล้นทรัพย์ ฯลฯ ซึ่งทุกประเทศหรือทุกสังคมบัญญัติเป็นความผิดทางอาญา - การกระทำที่โดยทั่วไปที่ไม่เป็นความผิด แต่รัฐหรือกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดทางอาญา (mala prohibita) เช่น ความผิดต่อ พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ร.บ. อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิด พ.ร.บ. ปรามการค้าประเวณีพ.ร.บ. การพนัน พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯลฯ ซึ่งความผิดประเภทนี้บางประเทศอาจบัญญัติให้เป็นความผิดทางอาญา แต่อีกบางประเทศอาจไม่บัญญัติให้เป็นความผิดทางอาญา

  15. 2.กระบวนการ (process)คือ กระบวนการทำงาน ของตำรวจ ทนายความ อัยการ ศาล คุมประพฤติและราชทัณฑ์ • 3.ผลที่ได้ออกมา (output) คือ ป้องกันสังคมและการลดอาชญากรรมในสังคม

  16. ข้อสังเกต กระบวนการยุติธรรมมีส่วนสัมพันธ์และสืบเนื่องต่อกัน ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงในนโยบายการปฏิบัติงานในระบบหนึ่งระบบใด ผลของการเปลี่ยนแปลงในนโยบายนั้น อาจมีผลกระทบกระเทือนถึงระบบงานอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรมด้วยกัน เช่น ถ้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีนโยบายในการปราบปรามอาชญากรรมโดยระดมจับกุมผู้กระทำความผิดอย่างเข้มงวด ศาลย่อมจะมีคดีมากจนไม่สามารถจะพิจารณาให้เสร็จไปในเวลาอันสมควร และเรือนจำของกรมราชทัณฑ์จะมีผู้ต้องขังระหว่างสอบสวนและพิจารณาคดีมากมายจนล้นคุก

  17. ทฤษฎีว่าด้วยหลักการปฏิบัติของหน่วยในกระบวนการยุติธรรม ในการอำนวยความยุติธรรม • 1. ทฤษฎีควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model) ต้องการส่งเสริมประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม โดยมุ่งควบคุม ระงับและปราบปรามอาชญากรรมเป็นหลัก ทฤษฎีนี้เชื่อว่า การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สามารถจะควบคุมและปราบปรามอาชญากรรม หรือจับกุมอาชญากรมาลงโทษตามกฎหมายได้ ย่อมเป็นการกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและเสรีภาพของประชาชนผู้สุจริต ดังนั้น กระบวนการยุติธรรมที่ดีต้องมีสถิติการจับกุมสูงๆ เป็นหลักที่เน้นประสิทธิภาพ คือการประสบผลสำเร็จโดยการลงแรงและลงทุนน้อยที่สุดและการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่รัฐต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็วและเด็ดขาด โดยการค้นหาความจริงในกระบวนการยุติธรรมจะดำเนินการไปตามขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอไม่หยุดชะงักดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นการปฏิบัติงานประจำ และเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมมีดุลยพินิจในการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเต็มที่

  18. 2. ทฤษฎีกระบวนการนิติธรรม (Due Process Model) เป็นหลักที่ตรงข้ามกับทฤษฎีควบคุมอาชญากรรม คือ ในการปฏิบัติหน้าที่ต้องยึดหลักนิติธรรม เน้นการคุ้มครองสิทธิบางอย่างของประชาชน มากกว่าการพยายามป้องกันอาชญากรรม เป็นหลักการที่เน้นคุณภาพ คือ กระบวนการที่มีคุณภาพต้องเป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อน ซับซ้อนและสามารถแก้ไขจุดบกพร่องตัวเองได้และมีมาตรฐานเป็นเช่นเดียวกันทุกกรณี ดังนั้น กระบวนการยุติธรรมที่ดีต้องเน้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งต้องมีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม

  19. หลักการตามรัฐธรรมนูญ • 1. หลักสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ • สิทธิ เป็นอำนาจที่กฎหมายรับรองคุ้มครองให้แก่บุคคลในอันที่จะเรียก ร้องให้บุคคลอื่นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง สิทธิจึงก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลอื่นด้วย • เสรีภาพเป็นสภาพการณ์ที่บุคคลมีอิสระในการที่จะกระทำการอย่างใด อย่างหนึ่งตามประสงค์ของตน (ไม่ก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลอื่น) • เหตุผลในการมีข้อจำกัดในสิทธิเสรีภาพ คือ เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลอื่น เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน

  20. 2. หลักการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ • เป็นคุณค่าที่ไม่ขึ้นกับเวลาสถานที่ และต้องให้คุณค่าดังกล่าวมีผลตามกฎหมาย ต้องเคารพความในเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน การทำร้ายหรือทรมานอย่างทารุณโหดร้าย การลงโทษด้วยวิธีการใดๆ ที่เป็นการลดคุณค่าความเป็นมนุษย์หรือกระทำการใดๆ ที่เป็นการดูถูกเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น การนำคนมาเป็นทาส การค้ามนุษย์ จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะยอมรับได้

  21. ป.อาญา มาตรา 18 • โทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอดชีวิตมิให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หากผู้กระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีและต้องระวางโทษประหารชีวิตให้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุกห้าสิบปีแทน

  22. ป.วิ.อาญา มาตรา 247 • หญิงใดจะต้องประหารชีวิต ถ้ามีครรภ์อยู่ให้รอไว้จนพ้นกำหนดสามปีนับแต่คลอดบุตรแล้ว ให้ลดโทษประหารชีวิตลงเหลือจำคุกตลอดชีวิต เว้นแต่เมื่อบุตรถึงแก่ความตายก่อนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว

  23. ข้อสังเกต แม้ความจำเป็นของรัฐในการรักษาความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นเหตุผลสำคัญที่รัฐสามารถใช้ในการบัญญัติกฎหมายที่มีโทษประหาร ชีวิตและจำกัดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานต่าง ๆ ของประชาชน แต่จะลงโทษโดยวิธีทารุณโหดร้ายหรือ ประหารชีวิตในลักษณะที่เป็นการลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ไม่ได้ • เช่น การนำผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดแล้วมาแถลงข่าวประจานต่อหน้าสื่อมวลชนหรือบุคคลทั่วไป หรือการประหารชีวิตด้วยวิธีการทารุณโหดร้ายหรือลดคุณค่าความเป็นมนุษย์โดยการนำศีรษะเสียบประจานไม่ได้

  24. 3. หลักความเสมอภาค • บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมายเท่าเทียมกัน ซึ่งชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน เป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญที่ทำให้ประชาชนทุกคนได้รับการปฏิบัติจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน แบ่งได้ 4 ประการคือ เสมอภาคทั่วไปตามหลักกฎหมาย เสมอภาคเฉพาะเรื่อง เสมอภาคในกระบวนการยุติธรรม และเสมอภาคในการรับบริการสาธารณะ

  25. 4. หลักประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรม (Effectiveness) • การที่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมจะต้องดำเนินการอย่างมีความคุ้มทุนและคุ้มค่าทางเศรษฐกิจรวมถึงการใช้ทรัพยากร เช่น เจ้าหน้าที่วัสดุ อุปกรณ์ รวมทั้งด้านงบประมาณอย่างคุ้มค่ากับเวลาและสิทธิและเสรีภาพ ที่ประชาชนต้องนำมาเข้าแลกกับความยุติธรรม

  26. 5. หลักความโปร่งใสในการใช้อำนาจรัฐ • การที่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมต้องสามารถที่จะตรวจสอบ การปฏิบัติงานหรือเหตุผลในการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สามารถมี ข้อสงสัยหรือข้อซักถามจากภาคประชาชน ภาคเอกชน เป็นต้น ต้องมีองค์กรที่มีความเป็นกลางหรือมีความเป็นอิสระที่สามารถเข้ามาดำเนินการ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมได้

  27. 6. หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) • การที่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมมีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินการในหลายๆ ระดับ เช่น ระดับแรกสุดคือการถูกจัดการไปจนถึง ระดับสูงสุดคือระดับการกำหนดนโยบาย ซึ่งเป็นช่องทางที่จะทำให้ประชาชน เกิดความเชื่อถือเชื่อมั่น และเกิดความศรัทธาตามมาแก่หน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรมต่อไป

  28. 7.หลักการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ส่วนที่ 4 สิทธิในกระบวนการยุติธรรม มาตรา 39 • บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดไม่ได้ แต่มิได้หมายความว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ เพียงแต่จะใช้วิธีการทรมานเพื่อให้ได้มาซึ่งคำรับสารภาพไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการลงโทษก่อนที่จะมีการพิจารณาและพิพากษา

  29. สิทธิของผู้ต้องหาตาม ป. วิ.อาญา มีหลายมาตรา เช่น • ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา • ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม • ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ • พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและที่จะแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้ • ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนตักเตือน พูดให้ท้อใจหรือใช้กลอุบายอื่นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคำซึ่งอยากจะให้ด้วยความเต็มใจ • ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำหรือจัดให้ทำการใด ๆ ซึ่งเป็นการให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ทรมาน ใช้กำลังบังคับ หรือกระทำโดยมิชอบประการใด ๆ เพื่อจูงใจให้เขาให้การอย่างใด ๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น เป็นต้น

  30. 8. หลักการไม่ถูกดำเนินคดีหลายครั้ง (Ne Bis in Idem or Double Jeopardy) • การไม่ถูกดำเนินคดีหลายครั้ง หมายถึง ความคุ้มครองบุคคลจากการถูกดำเนินคดีในศาลมากกว่าหนึ่งครั้ง สำหรับการกระทำความผิดอันเป็นฐานแห่งการถูกดำเนินคดีที่ศาลได้พิพากษายกฟ้องแล้วหรือได้พิพากษาลงโทษในการกระทำที่ถูกกล่าวหานั้นแล้ว เพราะการดำเนินคดีหลายครั้งต่อผู้ถูกกล่าวหาในการกระทำครั้งเดิมที่ผู้ถูกพิจารณาและพิพากษาไปแล้วถือเป็นความไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกดำเนินคดี

  31. เช่น ในกรณีที่การกระทำความผิดข้อหาทำร้ายร่างกายนั้นถูกฟ้องดำเนินคดีและมีคำพิพากษาลงโทษถึงที่สุดไปแล้ว ต่อมาภายหลังมีข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จะไปดำเนินคดี ข้อหาทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายสาหัสอีกไม่ได้ • แต่การอุทธรณ์ต่อศาลสูงเพื่อพิพากษากลับแก้หรือยกเลิกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นกรณีที่การพิจารณาคดีต่อจำเลยคนนั้นยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่องยังไม่เสร็จสิ้น จึงไม่ถือว่าเป็น การละเมิดต่อหลักการ Ne Bis in Idem

  32. ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) บัญญัติให้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องจะนำคดีมาฟ้องใหม่ไม่ได้ • กรณีจะถือว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง จะต้องปรากฏว่าจำเลยต้องถูกดำเนินคดีในคดีนั้นอย่างแท้จริงไม่ใช่เป็นการดำเนินคดีในลักษณะที่สมยอมกัน หากคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีคดีกันอย่างสมยอมเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง โดยหวังผลป้องกันมิให้รัฐสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีต่อจำเลยได้อีกจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงยังไม่ระงับ

  33. ป.อาญา มาตรา 10 บัญญัติว่า หากมีการดำเนินคดีผู้กระทำความผิดในต่างประเทศมาแล้วและการกระทำความผิดที่ถูกลงโทษนั้นเป็นความผิดตามมาตราต่าง ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 7(2) และ (3) มาตรา 8 และมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรเพราะการกระทำนั้นอีกถ้าได้มีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัวผู้นั้นหรือศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษและผู้นั้นได้พ้นโทษแล้ว

  34. องค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา • 1. ผู้กระทำผิด (Offender) ประกอบด้วยผู้ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน คือ ผู้ที่ยังไม่ได้กระทำใด ๆ ที่ละเมิดบรรทัดฐานของสังคม และผู้ที่เป็นอาชญากร คือ ผู้ที่ได้กระทำใดๆ ที่ละเมิดบรรทัดฐานของสังคมโดยบรรทัดฐานของสังคม ในปัจจุบัน คือ กฎหมาย • 2. เหยื่ออาญากรรม (Victim) โดยเหยื่ออาชญากรรมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ • ระดับปฐมภูมิได้แก่ เหยื่อที่เป็นผู้ถูกกระทำโดยตรง • ระดับทุติยภูมิได้แก่ เหยื่อที่เป็นผู้ที่ใกล้ชิดเหยื่อและได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมโดยอ้อม • ระดับตติยภูมิได้แก่ประชาชนในชุมชนที่อยู่บริเวณสถานที่ที่เป็นที่เกิดเหตุอาชญากรรม หรือสังคมโดยรวม

  35. 3. ระบบงานยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice System) ได้แก่ หน่วยงานตำรวจ หน่วยงานอัยการ หน่วยงานศาล และหน่วยงานในกระทรวง ยุติธรรม รวมถึงหน่วยปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดในชุมชน (Community Base Program) โดยใช้แนวทางยุติธรรมชุมชน ซึ่งจะเป็นการขัดเกลานิสัยความ ประพฤติเพื่อคืนคนดีสู่สังคม (Re-socialization) • 4. สังคม (Society) ประกอบไปด้วยภาคประชาชน ภาคเอกชนและ ภาคประชาสังคม ที่จะเป็นการส่งเสริมการสร้างความร่วมมือในกระบวนการ ยุติธรรม และมีกระบวนการการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในสังคมด้วยการส่งบุคคลที่พ้นจากกระบวนการยุติธรรมสู่หน่วยงานที่ดูแลต่อในสังคม

  36. องค์กรและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาองค์กรและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

  37. 1. ตำรวจหรือพนักงานสอบสวน • เป็นองค์กรที่สำคัญที่สุดองค์กรหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพราะเป็นองค์กรแรกที่รับผิดชอบต่อกระบวนการยุติธรรมก่อนที่คดีหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ผ่านไปยังพนักงานอัยการ และเข้าสู่การพิจารณาของศาล

  38. เป็นผู้จับกุมผู้กระทำความผิด และทำการรวบรวมพยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนแล้วส่งเรื่องหรือสำนวนสอบสวนให้พนักงานอัยการ ซึ่งเป็นทนายของ แผ่นดิน ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล เมื่อศาลพิพากษาลงโทษแล้ว เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะควบคุมตัวผู้นั้นไว้ในเรือนจำเพื่ออบรม ดัดนิสัย และฝึกอาชีพต่อไป

  39. ตำรวจ (Police) • “ตำรวจ” เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาเขมรคือคำว่า ตรวจตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 คือ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย” • ตำรวจก็คือ ผู้มีหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ คำว่า “พิทักษ์” แปลว่า ดูแลคุ้มครอง พลเมืองของประเทศ ดังนั้น ตำรวจจึงเป็นผู้ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงในการดูแลคุ้มครอง ให้เกิดความสงบสุขแก่พลเมืองของประเทศ

  40. คำว่า โปลิศเป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษคือ Police ใช้เรียกผู้ทำหน้าที่ตำรวจที่จัดตั้งอย่างเป็นองค์กรเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยได้ทรงพระกรุณาฯโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้นายร้อยเอก แซมมวล โยเซฟ เบิร์ดเอมส์ เป็นผู้จัดตั้งกองโปลิศเมื่อ พ.ศ. 2403 มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศแทนข้าหลวงกองจับและกองตระเวนซ้ายขวา องค์กรตำรวจที่ตั้งขึ้นใหม่นี้โดยมากจ้างพวกแขกมลายูและแขกอินเดียมาเป็นตำรวจเรียกกองตำรวจนี้ว่ากองโปลิศคอนสเตเบิ้ลต่อมาจึงมาใช้คนไทย

  41. คำว่า COP ย่อมาจาก ConstableofPatrolแปลว่า ตำรวจลาดตระเวน หรือ พลตระเวน โดยหลังจากที่ทรงพระกรุณาฯโปรดเกล้าฯตั้งกองโปลิศ เมื่อปี พ.ศ. 2403 แล้ว ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อกองโปลิศ เป็นกองพลตระเวน ซึ่งในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 นี้ มีองค์กรที่ทำหน้าที่ตำรวจ 2 หน่วย คือ กองพลตระเวนขึ้นกับกระทรวงนครบาล กับกรมตำรวจภูธร ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย ทั้ง 2 หน่วยนี้ต่างทำหน้าที่เป็นตำรวจเช่นเดียวกัน • ต่อมา พ.ศ. 2458 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ รวมกองพลตระเวนกับกรมตำรวจภูธร เรียกชื่อว่า "กรมตำรวจ"

More Related