440 likes | 572 Views
ตัวอย่างการกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม. ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด.
E N D
ตัวอย่างการกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มตัวอย่างการกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม
ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด จากวิสัยทัศน์ของจังหวัดที่ว่า“เป็นเมืองน่าอยู่เป็นศูนย์กลางภูมิภาคทางด้านการค้าการลงทุนการบริการและการคมนาคมขนส่งมุ่งสู่สากล”ทางจังหวัดได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์และได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่คาดว่าจะสามารถนำพาจังหวัดให้บรรลุวิสัยทัศน์ได้ทั้งหมด 7 ประเด็นดังต่อไปนี้ • การแก้ไขปัญหาความยากจน • การพัฒนาเมืองและชนบทอย่างยั่งยืน • สร้างศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ • การพัฒนาทุนมนุษย์ • สร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยว • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • การจัดระบบการบริหารจัดการ
ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 “การสร้างศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ” 3. สร้างศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ 1. เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด ร้อยละ 3 3.1 สร้างศักยภาพการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม 3.2 สร้างศักยภาพการแข่งขันภาคการเกษตร 3.3 สร้างศักยภาพการแข่งขันภาคการค้า การลงทุน และการบริการ 2. เพิ่มมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ร้อยละ 10 3.4 สร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP ทางจังหวัดเล็งเห็นว่า ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 “การสร้างศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ”เป็นประเด็นยุทธศาสตร์หลักที่สำคัญ และควรนำมาวิเคราะห์เป็นอันดับแรกในการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) ทางทีมงานฯ จึงเริ่มต้นการจากการทบทวนข้อมูลรายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และกลยุทธ์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
กลยุทธ์จังหวัด จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าทางจังหวัดได้ตั้งเป้าประสงค์เพื่อที่จะบรรลุประเด็นยุทธศาสตร์เรื่อง “การสร้างศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ” ไว้ 2 ประการด้วยกัน ได้แก่ การเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) และการเพิ่มมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP จากเป้าประสงค์ในการเพิ่มมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ทางจังหวัดได้กำหนดกลยุทธ์ “การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP”ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันเพื่อให้จังหวัดสามารถบรรลุเป้าประสงค์ได้ ตัวอย่างกรณีศึกษานี้จะใช้กลยุทธ์ “การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP”นี้เพื่อเป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์กระบวนงานปัจจุบันตามรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป
กลยุทธ์ “การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP” ทางทีมงานจังหวัดได้จัดประชุมระดมความคิด เพื่อรวบรวมกระบวนงานหลักที่สนับสนุนกลยุทธ์การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP ให้สำเร็จ โดยระบุกระบวนงานหลักในปัจจุบันที่สนับสนุนการสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP ตามรายละเอียดดังแสดงใน แบบฟอร์มที่ 1.1 ชุดที่ 1: แบบฟอร์มเพื่อรวบรวมกระบวนงานในปัจจุบันที่สนับสนุนแต่ละกลยุทธ์ ในขณะเดียวกัน ระหว่างที่ทางทีมงานฯได้ระดมความคิดเพื่อรวบรวมกระบวนงานหลักในปัจจุบันดังกล่าวนั้น การประชุมยังได้มีการวิเคราะห์ถึงกระบวนงานที่ยังไม่มีการดำเนินการในปัจจุบัน แต่มีความสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ของกลยุทธ์ ดังนั้น จึงมีการระบุรายชื่อกระบวนงานเหล่านี้ ไว้ใน แบบฟอร์มที่ 1.1 ชุดที่ 2: แบบฟอร์มเพื่อรวบรวมกระบวนงานที่ควรจะดำเนินการแต่ยังไม่ได้ดำเนินการในปัจจุบัน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตรประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตร
การเกษตร พัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร พัฒนาตลาดและขยายช่องทางการจัดจำหน่าย เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร • จัดหาและพัฒนาแหล่งต้นน้ำ • ส่งเสริมการจัดสร้างและปรับปรุงแหล่งกักเก็บน้ำ • วางแผนและจัดการน้ำให้มีความเหมาะสมต่อการเกษตร • ควบคุมมลพิษที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ • ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพดิน • สำรวจและจัดหาพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมเพิ่มเติม • ศึกษา และกำหนด Zoning พื้นที่การเกษตร • พัฒนาระบบการเก็บรักษา การกระจาย และการขนส่งผลิตผลทางการเกษตร
การเกษตร พัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร พัฒนาตลาดและขยายช่องทางการจัดจำหน่าย เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร • พัฒนาและจัดสรรพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่มีคุณภาพ • พัฒนาและถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยีทางการเกษตร • จัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อเกษตรกร • ส่งเสริมการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายเกษตรกร
การเกษตร พัฒนาตลาดและขยายช่องทางการจัดจำหน่าย เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร พัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร • พัฒนาและส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร • ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร ตามระบบมาตรฐาน GAP • ส่งเสริมและพัฒนาการนำผลผลิตทางการเกษตรไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน
การเกษตร พัฒนาตลาดใหม่และขยายช่องทางการจัดจำหน่าย เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร พัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร • ขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า • พัฒนาตลาดใหม่ • ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการค้าการลงทุนประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการค้าการลงทุน
การค้า การลงทุน สร้างความพร้อมผู้ประกอบการและ นักลงทุนท้องถิ่น สร้างแรงจูงใจต่อนักลงทุนต่างถิ่น การพัฒนาตลาดรองรับ และขยายช่องทางการค้า การพัฒนาเครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน • สำรวจความพร้อม และศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัด • ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการการค้า และการลงทุน • ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรมพื้นฐานเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ • พัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับธุรกิจการค้า และอุตสาหกรรม • จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและเขตสิทธิพิเศษทางการค้า และลงทุน • จัดตั้งศูนย์บริการ เพื่อการค้าและการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จและครบวงจร
การค้า การลงทุน สร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาตลาดรองรับ และขยายช่องทางการค้า สร้างความพร้อมผู้ประกอบการและนักลงทุนท้องถิ่น การพัฒนาเครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สร้างแรงจูงใจต่อนักลงทุนต่างถิ่น • ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ และถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยีแก่ผู้สนใจ • พัฒนาผู้ประกอบการ และนักลงทุนเที่ยวกับวิทยาการจัดการและการค้า • จัดหาแหล่งเงินทุน • ส่งเสริมและกำหนดสิทธิพิเศษแก่ผู้ประกอบการและนักลงทุนท้องถิ่น
การค้า การลงทุน สร้างความพร้อมผู้ประกอบการและ นักลงทุนท้องถิ่น สร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาตลาดรองรับ และขยายช่องทางการค้า การพัฒนาเครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สร้างแรงจูงใจต่อนักลงทุนต่างถิ่น • ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ศักยภาพความพร้อมของจังหวัด • พัฒนาปัจจัยที่จำเป็นต่อคุณภาพชีวิต
การค้า การลงทุน สร้างความพร้อมผู้ประกอบการและ นักลงทุนท้องถิ่น สร้างแรงจูงใจต่อนักลงทุนต่างถิ่น สร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาตลาดรองรับ และขยายช่องทางการค้า การพัฒนาเครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน • เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สินค้าของจังหวัด • พัฒนา และส่งเสริมการสร้างสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อบ้าน • ศึกษา และพัฒนาตลาดเพื่อการส่งออก
การค้า การลงทุน สร้างแรงจูงใจต่อนักลงทุนต่างถิ่น การพัฒนาตลาดรองรับ และขยายช่องทางการค้า สร้างความพร้อมผู้ประกอบการและ นักลงทุนท้องถิ่น การพัฒนาเครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน สร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน • เผยแพร่ศักยภาพของจังหวัด และจูงใจให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เข้ามีส่วนร่วม • เสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเครือข่าย Logistic
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยวประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาความพร้อมภาคบริการ พัฒนาช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ อนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง • ศึกษาและสำรวจ แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด • พัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด • พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเติบโตด้านการท่องเที่ยว • สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาความพร้อมภาคบริการ พัฒนาช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ อนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง • พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและธุรกิจให้มีคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการ • จัดตั้งจุดบริการการท่องเที่ยวแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) • กำหนดและตรวจสอบ คุณภาพ มาตรฐานการบริการของสถานประกอบการ • กำกับดูแล รักษาความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว • เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุร้าย
การท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาความพร้อมภาคบริการ พัฒนาช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ อนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง • ศึกษาและวิจัยแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีในจังหวัด • การจัดทำแผนบริหารจัดการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมของจังหวัด • สร้างเครือข่ายองค์กรและชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม • กำจัดและควบคุมมลพิษทางสิ่งแวดล้อม • เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความรู้ทางวิชาการเพื่อสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาความพร้อมภาคบริการ อนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง พัฒนาช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ • สำรวจพฤติกรรมการท่องเที่ยว และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย • ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด • พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการท่องเที่ยว
แบบฟอร์มที่ 1.1 ชุดที่ 1: แบบฟอร์มเพื่อรวบรวมกระบวนงานในปัจจุบันที่สนับสนุนแต่ละกลยุทธ์
แบบฟอร์มที่ 1.1 ชุดที่ 2: แบบฟอร์มเพื่อรวบรวมกระบวนงานที่ควรจะดำเนินการแต่ยังไม่ได้ดำเนินการในปัจจุบัน
การวิเคราะห์กระบวนงานปัจจุบันการวิเคราะห์กระบวนงานปัจจุบัน จากแบบฟอร์มที่ 1.1 ชุดที่ 1 จะเห็นได้ว่า ทางจังหวัดมีกระบวนงานหลักที่สนับสนุนกลยุทธ์การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP ทั้งหมด 6 กระบวนงาน โดยในลำดับถัดไป ทางจังหวัดจำเป็นต้องวิเคราะห์ในรายละเอียดของแต่ละกระบวนงานดังกล่าวทั้งหมด โดยใช้แบบฟอร์มที่ 1.2 และ 1.3 เป็นตัวช่วยในการกรอกข้อมูล และเมื่อได้วิเคราะห์กระบวนงานครบทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย จะเป็นขั้นตอนเพื่อวิเคราะห์ในภาพรวมของกระบวนงานทั้งหมด เพื่อคัดเลือกกระบวนงานที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาปรับปรุงโดยใช้แบบฟอร์มที่ 4.1 และ 4.2 ในขั้นตอนสุดท้ายต่อไป ตัวอย่างกรณีศึกษานี้ จะทำการวิเคราะห์ กระบวนงานที่ 4“การคัดสรรผลิตภัณฑ์” (เพื่อใช้เป็นตัวอย่างเท่านั้น ทางจังหวัดและส่วนราชการยังคงต้องทำให้ครบทุกกระบวนงาน)
กระบวนงานที่ 4“การคัดสรรผลิตภัณฑ์” ในการวิเคราะห์กระบวนงานการคัดสรรผลิตภัณฑ์นั้น ทางทีมงานฯ ได้ระดมความคิดเพื่อระบุกิจกรรมที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการจัดทำกระบวนงานการคัดสรรฯในปัจจุบัน โดยรวบรวมรายชื่อกิจกรรม ดัชนีชี้วัด และรอบระยะเวลา ดังแสดงใน แบบฟอร์มที่ 1.2: แบบฟอร์มรายละเอียดกระบวนงาน (Process)
แบบฟอร์มที่ 1.2: แบบฟอร์มรายละเอียดกระบวนงาน (Process)
“กิจกรรม” ของกระบวนงานที่ 4 การคัดสรรผลิตภัณฑ์ หลังจากที่ระบุรายชื่อกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนงานการคัดสรรผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะทำการระบุรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมใน แบบฟอร์มที่ 1.3: แบบฟอร์มรายละเอียดกิจกรรม (Activity) เพื่อระบุ คำอธิบายโดยสังเขป อุปสรรคหรือปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้แต่ละกิจกรรมที่ดำเนินการในปัจจุบัน โอกาสในการปรับปรุงการดำเนินกิจกรรม และระบุหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งบทบาท เพื่อให้สามารถทราบได้ว่า แต่ละกิจกรรมนั้นมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด จะเห็นได้ว่า กระบวนงานการคัดสรรผลิตภัณฑ์นั้น มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 7 กิจกรรมด้วยกัน โดยแต่ละกิจกรรมจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์รายละเอียดในแบบฟอร์มที่ 1.3 ดังแสดงรายละเอียดในหน้าถัดไป
กิจกรรมที่ 4.1: แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานคัดสรร
กิจกรรมที่ 4.2: จัดการประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการ
กิจกรรมที่ 4.3: การประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการคัดสรร
กิจกรรมที่ 4.4: การลงทะเบียนผู้ผลิตชุมชน และผู้ประกอบการ
กิจกรรมที่ 4.5: อบรมผู้ผลิตชุมชน
กิจกรรมที่ 4.6: การให้คะแนน/จัดระดับ
กิจกรรมที่ 4.6: การให้คะแนน/จัดระดับ (ต่อ)
กิจกรรมที่ 4.7: จัดทำทะเบียนผู้ผลิตชุมชน และผู้ประกอบการ
ภาพแสดงกระบวนงานการคัดสรรผลิตภัณฑ์ภาพแสดงกระบวนงานการคัดสรรผลิตภัณฑ์ การจัดทำร่างภาพแสดงกระบวนงาน จะช่วยให้จังหวัดเข้าใจและสามารถเห็นภาพรวมของกระบวนงานการคัดสรรผลิตภัณฑ์ได้ชัดเจนมากขึ้น โดยภาพร่างจะแสดงให้เห็นถึงกิจกรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม ดังแสดงในหน้าถัดไป
หน่วยงาน เวลา ภาพแสดงกระบวนงานในปัจจุบันของการคัดสรรผลิตภัณฑ์ 5 วัน แต่งตั้งกรรมการและคณะทำงานคัดสรร ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องและคณะกรรมการ 23 วัน 12 วัน การประชาสัมพันธ์ 3 วัน ลงทะเบียนผู้ผลิตชุมชนและผู้ประกอบการ 3-4 วัน อบรมผู้ผลิตชุมชน 9 วัน การให้คะแนน / จัดระดับ ได้รับ 3 ดาว ขึ้นไป ใช่ ได้รับ 3 ดาว ขึ้นไป ใช่ ได้รับ 3 ดาว ขึ้นไป ใช่ ได้รับ 3 ดาว ขึ้นไป ใช่ กระบวนงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ 3 วัน จัดทำทะเบียนผู้ผลิตชุมชน และผู้ประกอบการ ประกาศผลและจัดทำ/ส่งรายชื่อฐานข้อมูล สิ้นสุด
การวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกกระบวนงานการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกกระบวนงาน หลังจากที่ทางจังหวัดได้วิเคราะห์และรวบรวมรายละเอียดของกระบวนงานทั้ง 6 กระบวนงานภายใต้กลยุทธ์ “การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP”เรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนสุดท้าย จะเป็นการวิเคราะห์แต่ละกระบวนงานในภาพรวม เพื่อพิจารณาคัดเลือกกระบวนงานที่มีความสำคัญต่อกลยุทธ์และจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น และเป็นกระบวนงานที่มั่นใจได้ว่ามีความเป็นไปได้สูงในการนำไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ การวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกกระบวนงานนั้น จังหวัดจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายด้าน โดยให้คะแนนความสำคัญและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากแต่ละกระบวนงาน ตามเกณฑ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้ • เป็นกระบวนงานหลักที่สนับสนุนเป้าประสงค์หลักของกลยุทธ์ • ช่วยลดเวลาในการทำงาน • เพิ่มคุณภาพการให้บริการ และ • ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน
การวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกกระบวนงาน (ต่อ) ในขณะเดียวกัน จังหวัดยังจำเป็นต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดและอุปสรรคที่อาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง โดยปัจจัยดังกล่าวอาจได้แก่ • ข้อกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติ • โครงสร้างการจัดแบ่งส่วนงานราชการ • ความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ • การสนับสนุนจากหน่วยงานราชการส่วนกลาง • ฯลฯ โดยกระบวนงานทั้งหมดภายใต้กลยุทธ์ “การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP” สามารถวิเคราะห์และให้คะแนนได้ดังแสดงใน แบบฟอร์มที่ 4.1: แบบฟอร์มการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกกระบวนงานที่ควรพิจารณาปรับปรุง ดังต่อไปนี้
แบบฟอร์มที่ 4.1: การวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกกระบวนงานที่ควรพิจารณาปรับปรุง
การคัดเลือกกระบวนงาน เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์กระบวนงานปัจจุบันครบทุกกระบวนงานแล้ว ทางจังหวัดจะต้องพิจารณาคัดเลือกกระบวนงานที่มีความสำคัญและเหมาะสม สามารถปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีความเป็นไปได้สูงในการนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยกระบวนงานที่ได้รับการคัดเลือกนั้น ทางจังหวัดได้ระบุจัดลำดับรายชื่อกระบวนงานใน แบบฟอร์มที่ 4.2: แบบฟอร์มการสรุปรวบรวมกระบวนงานที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อพิจารณาปรับปรุง ดังแสดงในหน้าถัดไป
แบบฟอร์มที่ 4.2: แบบฟอร์มการสรุปรวบรวมกระบวนงานที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อพิจารณาปรับปรุง * กระบวนงานในแบบฟอร์มที่ 4.2 นี้ ถือว่าเป็นกระบวนงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินกลยุทธ์และมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาปรับปรุงสูง และจะเป็นกระบวนงานทั้งหมดที่จัดหวัดจะต้องนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบกระบวนงานใหม่ต่อไป
เสร็จสิ้นการวิเคราะห์กระบวนงานปัจจุบันภายใต้กลยุทธ์ “การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP” การวิเคราะห์กระบวนงาน “การคัดสรรผลิตภัณฑ์” ในปัจจุบันภายใต้กลยุทธ์ “การสร้างศักยภาพการแข่งขันในสินค้า OTOP”ที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ “สร้างศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ”ที่ได้แสดงไว้ในเอกสารชุดนี้ เป็นเพียงการวิเคราะห์กระบวนงานเพียงกระบวนงานเดียว โดยจังหวัดจะต้องดำเนินการวิเคราะห์กระบวนงานส่วนที่เหลืออื่นๆ ภายใต้แต่ละกลยุทธ์ให้ครบถ้วนต่อไป