620 likes | 959 Views
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาตและอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 27 มีนาคม 2556. สรุปสาระสำคัญ. กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศใน
E N D
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาตและอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 27 มีนาคม 2556
สรุปสาระสำคัญ • กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (23 กันยายน 2556 ) • ให้ยกเลิก • (1) กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาตและอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2546 • (2) กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาตและอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 1. น้ำมัน - ผู้ใดประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำมันโดยได้แจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ในประเภทหรือลักษณะของกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2546 อยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบกิจการที่ได้แจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ที่เกี่ยวกับน้ำมันตามกฎกระทรวงนี้ และหากประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป ให้แจ้งการประกอบกิจการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎกระทรวงนี้ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 1. น้ำมัน - ผู้ใดประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำมันที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ในประเภทหรือลักษณะของกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2546 อยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบกิจการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ที่เกี่ยวกับน้ำมันตามกฎกระทรวงนี้จนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุ สำหรับการต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามข้อ 13
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 1. น้ำมัน - ผู้ใดประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำมันที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ที่ได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2546 ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุม ประเภทที่ 3 ที่เกี่ยวกับน้ำมันตามกฎกระทรวงนี้ จนกว่าจะได้รับแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 1. น้ำมัน - คำขอใด ๆ ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2546 ที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมัน ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาให้ถือว่าเป็นคำขอตามกฎกระทรวงนี้โดยอนุโลม
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 2. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว - ผู้ใดประกอบกิจการเกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวโดยได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2529) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2514 อยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ตามประเภทหรือลักษณะของกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ตามกฎกระทรวงนี้ ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ที่เกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามกฎกระทรวงนี้
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 2. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว - ผู้ใดประกอบกิจการเกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวโดยได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2529) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2514 อยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ที่เข้าประเภทหรือลักษณะของกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎกระทรวงนี้ ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ที่เกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามกฎกระทรวงนี้
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 2. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว - ผู้ประกอบกิจการซึ่งถือว่าได้แจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 หรือได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 หากประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้แจ้งการประกอบกิจการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 2. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว - ผู้ใดประกอบกิจการเกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ได้แจ้งการครอบครองก๊าซปิโตรเลียมเหลวซึ่งเป็นวัตถุอันตรายอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ที่เข้าประเภทหรือลักษณะของกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ตามกฎกระทรวงนี้ ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบกิจการควบคุมที่ได้แจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ที่เกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามกฎกระทรวงนี้
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 2. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว - ผู้ใดประกอบกิจการเกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่โดยได้แจ้งการครอบครองก๊าซปิโตรเลียมเหลวซึ่งเป็นวัตถุอันตรายอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ที่เข้าประเภทหรือลักษณะของกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎกระทรวงนี้ ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบกิจกาควบคุมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ที่เกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามกฎกระทรวงนี้ ทั้งนี้ การครอบครองก๊าซปิโตรเลียมเหลวของผู้ประกอบกิจการดังกล่าวต้องไม่เกินปริมาณตามที่ได้แจ้งไว้ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าว
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 2. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว - ผู้ประกอบกิจการซึ่งถือว่าได้แจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 หรือได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 หากประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้แจ้งการประกอบกิจการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 2. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว - ผู้ใดประกอบกิจการเกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบรรจุก๊าซ หรือได้รับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองก๊าซปิโตรเลียมเหลวซึ่งเป็นวัตถุอันตรายตามที่กฎหมายกำหนด อยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ที่เข้าประเภทหรือลักษณะของกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎกระทรวงนี้ ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบกิจการควบคุมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ที่เกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามกฎกระทรวงนี้จนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุ สำหรับการต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามข้อ 13
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 2. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว - คำขอใด ๆ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2529) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2514 และคำขอและหนังสือใด ๆ ตามกฎกระทรวง(พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ประกอบกับประกาศ กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2546 ที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการก๊าซปิโตรเลียมเหลว ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขอตามกฎกระทรวงนี้โดยอนุโลม
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 3. ก๊าซธรรมชาติ - ผู้ใดประกอบกิจการเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติโดยได้รับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นวัตถุอันตราย ตามที่กฎหมายกำหนด อยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ที่เข้าประเภทหรือลักษณะของกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎกระทรวงนี้ ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบกิจการควบคุมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ที่เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติตามกฎกระทรวงนี้จนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุ สำหรับการต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามข้อ 13
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 3. ก๊าซธรรมชาติ - ผู้ใดประกอบกิจการโดยมีน้ำมันไว้ในครอบครองเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าลักษณะกิจการควบคุมประเภทที่ 2 หรือกิจการควบคุมประเภทที่ 3 อยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้แจ้งการประกอบกิจการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 3. ก๊าซธรรมชาติ - เพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยของการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามข้อ 17 (1) (9) (18) (19) (20) และ (23) ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงตามมาตรา 7 กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกอบกิจการดังกล่าวใช้บังคับ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ • (1) ผู้ใดประกอบกิจการที่เข้าประเภทหรือลักษณะของกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามข้อ 17 (1) (19) และ (20) อยู่แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
สรุปสาระสำคัญ • (2) ผู้ใดประกอบกิจการที่เข้าประเภทหรือลักษณะของกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามข้อ 17 (9) (18) และ (23) อยู่แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ภายใน 180 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และให้ผู้อนุญาตออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบกิจการนั้น • (3) ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามข้อ 17 (1) (9) (18) (19) (20) และ (23) นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตตามกฎกระทรวงนี้และให้ผู้อนุญาตพิจารณาออกใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ให้แก่ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 3. ก๊าซธรรมชาติ - คำขอและหนังสือใด ๆ ตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ประกอบกับประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552 ที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขอตามกฎกระทรวงนี้โดยอนุโลม
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 4. ในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการยกเลิกการกำหนดให้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุอันตรายในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ให้ถือว่าการแจ้งหรือการขอรับใบอนุญาตการประกอบกิจการตามกฎกระทรวงนี้เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซธรรมชาติตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย แล้วแต่กรณี
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 5. ในกรณีที่รัฐมนตรีได้ประกาศให้น้ำมันอื่นเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตาม (2) ของบทนิยามคำว่า “น้ำมันเชื้อเพลิง” ในมาตรา 4 ให้ผู้มีน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวไว้ในครอบครองในวันที่ประกาศนั้นใช้บังคับ และเข้าลักษณะกิจการควบคุมประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 หรือประเภทที่ 3 ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้สำหรับกิจการควบคุมประเภทนั้นภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
สรุปสาระสำคัญ • บทเฉพาะกาล • 6. บรรดาประกาศที่ออกตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2546 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ใช้บังคับกับการประกอบกิจการน้ำมันได้ต่อไป ส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้ จนกว่าจะมีประกาศตามกฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ซึ่งต้องไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
สรุปสาระสำคัญ • “น้ำมัน” หมายความว่า น้ำมันดิบ น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตาม (2) ของบทนิยามคำว่า “น้ำมันเชื้อเพลิง” ในมาตรา 4 • “ก๊าซปิโตรเลียมเหลว” หมายความว่า ก๊าซปิโตรเลียมที่ประกอบด้วยโพรเพน โพรพิลีนนอร์แมลบิวเทน ไอโซบิวเทน หรือบิวทิลีน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างผสมกัน • “ก๊าซธรรมชาติ” หมายความว่า (1) ก๊าซปิโตรเลียมที่ประกอบด้วยมีเทนเป็นส่วนใหญ่ หรือ (2) ก๊าซที่เกิดจากการเสื่อมสลายผุพังของสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งที่สืบเนื่องจากสิ่งมีชีวิต
สรุปสาระสำคัญ • หมวด 1 บททั่วไป การเก็บน้ำมัน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซธรรมชาติ ตามประเภทและลักษณะของกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ให้เก็บในภาชนะบรรจุน้ำมัน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซธรรมชาติตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ • ส่วนที่ 1 น้ำมัน • 1. น้ำมันมี 3 ชนิด ดังต่อไปนี้ • (1) ชนิดไวไฟมาก ได้แก่ น้ำมันที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 37.8 องศาเซลเซียส • (2) ชนิดไวไฟปานกลาง ได้แก่ น้ำมันที่มีจุดวาบไฟตั้งแต่ 37.8 องศาเซลเซียสขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียส • (3) ชนิดไวไฟน้อย ได้แก่ น้ำมันที่มีจุดวาบไฟตั้งแต่ 60 องศาเซลเซียสขึ้นไป
สรุปสาระสำคัญ • 2. ภาชนะบรรจุน้ำมันมี 5 ประเภท ดังต่อไปนี้ • 1 ขวดน้ำมัน ได้แก่ (1) ภาชนะแก้วสำหรับบรรจุน้ำมันชนิดไวไฟมากที่มีปริมาณความจุไม่เกิน 0.5 ลิตร (2) ภาชนะแก้วสำหรับบรรจุน้ำมันชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อยที่มีปริมาณความจุไม่เกิน 1 ลิตร • 2. กระป๋องน้ำมัน ได้แก่ (1) ภาชนะเหล็กเคลือบดีบุกสำหรับบรรจุน้ำมันชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อยที่มีปริมาณความจุไม่เกิน 20 ลิตร (2) ภาชนะพลาสติกสำหรับบรรจุน้ำมันชนิดไวไฟมากที่มีปริมาณความจุไม่เกิน 4 ลิตร (3) ภาชนะพลาสติกสำหรับบรรจุน้ำมันชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อยที่มีปริมาณความจุไม่เกิน 20 ลิตร
สรุปสาระสำคัญ • 3. ถังน้ำมัน ได้แก่ (1) ภาชนะเหล็กสำหรับบรรจุน้ำมันชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยที่มีปริมาณความจุไม่เกิน 227 ลิตร (2) ภาชนะพลาสติกสำหรับบรรจุน้ำมันชนิดไวไฟน้อยประเภทน้ำมันหล่อลื่นที่มีปริมาณความจุเกิน 20 ลิตร แต่ไม่เกิน 227 ลิตร • 4. ถังเก็บน้ำมัน ได้แก่ ภาชนะสำหรับบรรจุน้ำมันที่มีปริมาณความจุเกิน 227 ลิตรแบ่งตามลักษณะการติดตั้งได้ 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) ถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดิน (2) ถังเก็บน้ำมันใต้พื้นดิน (3) ถังเก็บน้ำมันที่ติดตั้งภายในโป๊ะเหล็ก
สรุปสาระสำคัญ • 5. ถังขนส่งน้ำมัน ได้แก่ ภาชนะสำหรับบรรจุน้ำมันเพื่อใช้ในการขนส่งน้ำมันที่มีปริมาณความจุเกิน 500 ลิตรขึ้นไป ที่นำมาตรึงไว้กับตัวโครงรถหรือแคร่รถไฟ หรือที่สร้างเข้าไว้ด้วยกันกับตัวรถ • คลังน้ำมัน ได้แก่ คลังน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับเก็บน้ำมันมีปริมาณเกิน 500,000 ลิตร ขึ้นไป
สรุปสาระสำคัญ • 3. สถานที่เก็บรักษาน้ำมันมี 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ • (1) ลักษณะที่หนึ่ง ได้แก่ สถานที่เก็บน้ำมันชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ดังต่อไปนี้ (ก) สถานที่เก็บน้ำมันชนิดไวไฟมากที่มีปริมาณไม่เกิน 40 ลิตร (ข) สถานที่เก็บน้ำมันชนิดไวไฟปานกลางที่มีปริมาณไม่เกิน 227 ลิตร (ค) สถานที่เก็บน้ำมันชนิดไวไฟน้อยที่มีปริมาณไม่เกิน 454 ลิตร
สรุปสาระสำคัญ • (2) ลักษณะที่สอง ได้แก่ สถานที่เก็บน้ำมันชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ดังต่อไปนี้ (ก) สถานที่เก็บน้ำมันชนิดไวไฟมากที่มีปริมาณเกิน 40 ลิตร แต่ไม่เกิน 454 ลิตร (ข) สถานที่เก็บน้ำมันชนิดไวไฟปานกลางที่มีปริมาณเกิน 227 ลิตร แต่ไม่เกิน 1,000 ลิตร (ค) สถานที่เก็บน้ำมันชนิดไวไฟน้อยที่มีปริมาณเกิน ๔๕๔ ลิตร แต่ไม่เกิน 15,000 ลิตร
สรุปสาระสำคัญ • (3) ลักษณะที่สาม ได้แก่ สถานที่เก็บน้ำมันชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ดังต่อไปนี้ (ก) สถานที่เก็บน้ำมันชนิดไวไฟมากที่มีปริมาณเกิน 454 ลิตรขึ้นไป (ข) สถานที่เก็บน้ำมันชนิดไวไฟปานกลางที่มีปริมาณเกิน 1,000 ลิตรขึ้นไป (ค) สถานที่เก็บน้ำมันชนิดไวไฟน้อยที่มีปริมาณเกิน 15,000 ลิตรขึ้นไป
สรุปสาระสำคัญ • 4. สถานีบริการน้ำมันแบ่งเป็น 6 ประเภท ดังต่อไปนี้ • (1) ประเภท ก • (2) ประเภท ข • (3) ประเภท ค • (4) ประเภท ง • (5) ประเภท จ • (6) ประเภท ฉ
สรุปสาระสำคัญ • ส่วนที่ 2 ก๊าซปิโตรเลียมเหลว • 5. ภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวมี 5 ประเภท ดังต่อไปนี้ • (1) กระป๋องก๊าซปิโตรเลียมเหลว ได้แก่ ภาชนะสำหรับบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นตัวขับแรงดันในภาชนะบรรจุสารเคมีอื่นที่มีปริมาณความจุไม่เกิน 1 ลิตร • (2) ถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม ได้แก่ ภาชนะสำหรับบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวเพื่อใช้ในการหุงต้ม การให้แสงสว่าง หรือจุดประสงค์อื่นที่มีปริมาณความจุไม่เกิน 500 ลิตร โดยผลิตตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สรุปสาระสำคัญ • (3) ถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวรถยนต์ ได้แก่ ภาชนะสำหรับบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงกับรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงกับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก • (4) ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ได้แก่ ภาชนะสำหรับบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่มีปริมาณความจุเกิน 500 ลิตรขึ้นไป ที่ติดตั้งไว้ในคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว
สรุปสาระสำคัญ • (5) ถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว ได้แก่ ภาชนะสำหรับบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวเพื่อใช้ในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่มีปริมาณความจุเกิน 500 ลิตรขึ้นไป ที่นำมาตรึงไว้กับตัวโครงรถหรือแคร่รถไฟ • 6. คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว ได้แก่ คลังน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวและมีการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวระหว่างถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวกับถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือภาชนะขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางน้ำตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย
สรุปสาระสำคัญ • 7. สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวมี 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ • (1) โรงบรรจุ ได้แก่ สถานที่ที่ใช้ในการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มรวมทั้งบริเวณของสถานที่ดังกล่าว • (2) ห้องบรรจุ ได้แก่ สถานที่ที่ใช้ในการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในกระป๋องก๊าซปิโตรเลียมเหลวรวมทั้งบริเวณของสถานที่ดังกล่าว
สรุปสาระสำคัญ • 8. สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวมี 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ • (1) สถานที่ใช้ ได้แก่ สถานที่ที่ใช้ในการเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวไว้เพื่อการใช้เอง มี 3 ลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ลักษณะที่หนึ่ง ได้แก่ สถานที่ใช้ซึ่งใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่มีปริมาณเกิน 250 ลิตร แต่ไม่เกิน 500 ลิตร (ข) ลักษณะที่สอง ได้แก่ สถานที่ใช้ซึ่งใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่มีปริมาณเกิน 500 ลิตร แต่ไม่เกิน 1,000 ลิตร (ค) ลักษณะที่สาม ได้แก่ สถานที่ใช้ซึ่งใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่มีปริมาณเกิน 1,000 ลิตรขึ้นไป
สรุปสาระสำคัญ • (2) ร้านจำหน่าย ได้แก่ สถานที่ที่ใช้ในการเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่บรรจุอยู่ในกระป๋องก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มไว้เพื่อการจำหน่าย มี 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ (ก) ลักษณะที่หนึ่ง ได้แก่ ร้านจำหน่ายที่มีการเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวฃที่มีปริมาณเกิน 150 ลิตร แต่ไม่เกิน 500 ลิตร (ข) ลักษณะที่สอง ได้แก่ ร้านจำหน่ายที่มีการเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่มีปริมาณเกิน 500 ลิตรขึ้นไป
สรุปสาระสำคัญ • (3) โรงเก็บ ได้แก่ สถานที่ที่ใช้ในการเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่บรรจุอยู่ในกระป๋องก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม แต่ไม่รวมถึงสถานที่ใช้หรือร้านจำหน่ายมี 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ (ก) ลักษณะที่หนึ่ง ได้แก่ โรงเก็บที่มีการเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่มีปริมาณเกิน500 ลิตรแต่ไม่เกิน 1,000 ลิตร (ข) ลักษณะที่สอง ได้แก่ โรงเก็บที่มีการเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่มีปริมาณเกิน 1,000 ลิตรขึ้นไป
สรุปสาระสำคัญ • 9. สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว และมีการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวรถยนต์ • ส่วนที่ 3 ก๊าซธรรมชาติ • 10. ภาชนะบรรจุก๊าซธรรมชาติมี 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ • (1) ถังก๊าซธรรมชาติรถยนต์ ได้แก่ ภาชนะที่ใช้บรรจุก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงกับรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงกับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
สรุปสาระสำคัญ • (2) ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ ภาชนะที่ใช้บรรจุก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในสถานะก๊าซหรือของเหลว • (3) ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ ภาชนะสำหรับบรรจุก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในสถานะก๊าซหรือของเหลวเพื่อใช้ในการขนส่งก๊าซธรรมชาติที่นำมาตรึงไว้กับตัวโครงรถหรือแคร่รถไฟ โดยจะติดตั้ง 1 ถังหรือหลายถังก็ได้ และมีปริมาณความจุรวมกันเกิน 500 ลิตรขึ้นไป
สรุปสาระสำคัญ • 11. คลังก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ คลังน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับเก็บก๊าซธรรมชาติ ตาม (1) ของบทนิยามคำว่า “ก๊าซธรรมชาติ” ที่มีปริมาณเกิน 5,000 ลิตรขึ้นไป • 12. สถานที่เก็บรักษาก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ สถานที่ที่ใช้ในการเก็บรักษาก๊าซธรรมชาติตาม (1) ของบทนิยามคำว่า “ก๊าซธรรมชาติ” ที่มีปริมาณไม่เกิน 5,000 ลิตร • 13. สถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ สถานที่ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติตาม (1) ของบทนิยาม คำว่า “ก๊าซธรรมชาติ” เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
สรุปสาระสำคัญ • 14. ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ได้แก่ ระบบที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายก๊าซธรรมชาติตาม (1) ของบทนิยามคำว่า “ก๊าซธรรมชาติ” ผ่านท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งประกอบด้วยท่อ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการขนส่งก๊าซธรรมชาติดังกล่าว • หมวด 2 ประเภทและลักษณะของกิจการควบคุม • 15. กิจการควบคุมประเภทที่ 1 ตามมาตรา 17 ได้แก่ • (1) สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่หนึ่ง • (2) สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทสถานที่ใช้ ลักษณะที่หนึ่ง
สรุปสาระสำคัญ • 16. กิจการควบคุมประเภทที่ 2 ตามมาตรา 17 ได้แก่ • (1) สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สอง • (2) สถานีบริการน้ำมันประเภท ค ลักษณะที่หนึ่ง • (3) สถานีบริการน้ำมันประเภท ง • (4) สถานีบริการน้ำมันประเภท จ ลักษณะที่หนึ่ง • (5) สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทสถานที่ใช้ ลักษณะที่สอง • (6) สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทร้านจำหน่าย ลักษณะที่หนึ่ง • (7) สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงเก็บ ลักษณะที่หนึ่ง • (8) สถานที่เก็บรักษาก๊าซธรรมชาติ
สรุปสาระสำคัญ • 17. กิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามมาตรา 17 ได้แก่ • (1) ถังขนส่งน้ำมัน • (2) คลังน้ำมัน • (3) สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม • (4) สถานีบริการน้ำมันประเภท ก • (5) สถานีบริการน้ำมันประเภท ข • (6) สถานีบริการน้ำมันประเภท ค ลักษณะที่สอง • (7) สถานีบริการน้ำมันประเภท จ ลักษณะที่สอง • (8) สถานีบริการน้ำมันประเภท ฉ • (9) ระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ • (10) ถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว
สรุปสาระสำคัญ • (11) คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว • (12) สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ • (13) สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทห้องบรรจุ • (14) สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว • (15) สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทสถานที่ใช้ ลักษณะที่สาม • (16) สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทร้านจำหน่าย ลักษณะที่สอง • (17) สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงเก็บ ลักษณะที่สอง • (18) ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ • (19) ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติ
สรุปสาระสำคัญ • (21) สถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ • (22) สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ • (23) ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ • หมวด 3 การแจ้งการประกอบกิจการควบคุม (ประเภทที่ 2) • 1. ต้องแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ ธพ.ป.๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมหลักฐานตามที่ระบุไว้ การประกอบกิจกาเกินกว่าหนึ่งแห่ง ให้ผู้ประกอบกิจการแจ้งการประกอบกิจการทุกแห่ง • 2. ได้รับใบรับแจ้งตามแบบ ธพ.ป.๒ ในวันที่รับแจ้ง • 3. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ให้ผู้ประกอบกิจการแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ ธพ.ป.๑ • 4. การแจ้ง ให้แจ้ง ณ สถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนด
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ • หมวด 4 การอนุญาตการประกอบกิจการควบคุม (ประเภทที่ 3) • 5. ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ • 6. การยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามข้อ 5 ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมธุรกิจพลังงาน หรือ ณ สถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนด (2) ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สถานที่ที่อธิบดีประกาศกำหนด
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ • 7. ใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ให้มีอายุถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต การออกใบอนุญาต ให้แยกใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามประเภทและลักษณะของกิจการควบคุม และให้ใช้ได้เฉพาะกับสถานที่ประกอบกิจการ ถังขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง หรือระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น • 8. ให้ผู้รับใบอนุญาตมารับใบอนุญาตภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งออกใบอนุญาต หากไม่มารับภายในเวลาที่กำหนดถือว่าสละสิทธิ
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ • 9. ในกรณี ประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้ หรือเปลี่ยนการใช้อาคารที่ใช้ประกอบกิจการ และประสงค์ให้ผู้อนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นผู้ออกใบอนุญาตใบรับแจ้ง หรือใบรับรองการใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารต่อผู้อนุญาต ณ สถานที่ที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามข้อ 6 • แบบคำขออนุญาต ใบแจ้ง ใบอนุญาต ใบรับแจ้ง และใบรับรองการใช้อาคาร ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร