400 likes | 612 Views
สิทธิ และ ความเสมอ ภาคหญิงและชาย ตามพันธกรณีระหว่างประเทศ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี. บทบาทหญิงชายในระบบเศรษฐกิจ รองศาสตราจารย์ ดร. ภาวดี ทองอุไทย สิงหาคม ๒๕๕๓. Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women (CEDAW).
E N D
สิทธิและความเสมอภาคหญิงและชายตามพันธกรณีระหว่างประเทศอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีสิทธิและความเสมอภาคหญิงและชายตามพันธกรณีระหว่างประเทศอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี บทบาทหญิงชายในระบบเศรษฐกิจ รองศาสตราจารย์ ดร. ภาวดี ทองอุไทย สิงหาคม ๒๕๕๓
Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women (CEDAW) • พันธกรณีระหว่างประเทศ มีส่วนช่วยสร้างความเสมอภาคหญิงชาย/ขจัดการเลือกปฏิบัติในประเทศได้อย่างไร? • หลักการของอนุสัญญา CEDAW • การดำเนินงานของไทยตาม CEDAW • ข้อสงวน • กระบวนการแก้ไข
ความเป็นมา • ไทยเข้าร่วมเป็นภาคี CEDAWพศ. ๒๕๒๘ • ตั้งข้อสงวน ๗ ข้อ • ขอยกเว้นไม่ผูกพัน เพราะ...ยังมีกฎระเบียบที่ขัดแย้งอยู่ • เมื่อแก้ไขแล้ว ยกเลิกข้อสงวน • ปัจจุบันเหลือ๒ ข้อ • ข้อ ๑๖ – ความเสมอภาคในครอบครัวและการสมรส • ข้อ ๒๙ – การให้อำนาจศาลโลกตัดสินกรณีพิพาท
CEDAWมีประโยชน์ต่อสิทธิและความเสมอภาคหญิงชายในประเทศไทยอย่างไร?CEDAWมีประโยชน์ต่อสิทธิและความเสมอภาคหญิงชายในประเทศไทยอย่างไร? • รัฐภาคีมีข้อผูกพันต้องขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี โดย • กฎหมาย นโยบาย และ มาตรการ • ครอบคลุมทุกด้านของชีวิต • รวมถึงความสัมพันธ์ทางครอบครัว
ภาพรวมของอนุสัญญา • ข้อ ๑ – ๑๖ คำจำกัดความ พันธะของรัฐภาคี บทบาทหญิงชายและวัฒนธรรมที่มีผลเสียต่อผู้หญิง การค้ามนุษย์ การเมืองและราชการ การมีส่วนร่วมในระดับสากล สัญชาติการศึกษาการจ้างงาน สุขภาพและการวางแผนครอบครัว เศรษฐกิจและสังคม สตรีชนบท ความเสมอภาคในกฎหมาย การสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัว • ข้อ ๑๗-๓๐ – หน้าที่ของกรรมการ ขั้นตอนการบริหาร • การให้อำนาจศาลโลกตัดสินกรณีพิพาท
พิธีสารเลือกรับ (optional protocol) • สืบเนื่องจาก...รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ รับรองความเสมอภาคหญิงชาย • แสดงถึงความจริงใจในการส่งเสริม คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรี • ปี ๒๕๔๓ ไทยร่วมลงนามในพิธีสารเลือกรับของ อนุสัญญา CEDAW • ปัจเจกบุคคล หรือกลุ่มของปัจเจกบุคคลในประเทศภาคี สามารถร้องเรียน • การละเมิดสิทธิสตรีตามอนุสัญญา • คณะกรรมการเข้ามาไต่สวนในประเทศได้ • ด้วยความยินยอมของรัฐบาล • ได้พยายามแก้ไขด้วยกลไกภายในจนหมดสิ้นแล้ว • หรือล่าช้าผิดปกติ • ครม.เห็นชอบให้รับรองทั้งฉบับ
สามหลักการสำคัญ ของ CEDAW ความเสมอภาค การไม่เลือกปฏิบัติ พันธะกรณีของรัฐ
ความเสมอภาค หมายถึงอะไร? • หญิงและชายต้องมีสิทธิเท่าเทียมกัน?? • หญิงและชายต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเดียวกัน?? • มาตรฐานที่ใช้ต่อหญิงและชายต้องไม่แตกต่างกัน??
ฉะนั้น ความเสมอภาค มีสองระดับ • เสมอภาคในโอกาส – สิทธิเท่าเทียมในทรัพยากรของประเทศ • ตามกรอบของกฎหมาย นโยบาย • สนับสนุนโดยสถาบัน กลไก มาตรการ ฯลฯ • เสมอภาคในผลลัพธ์ • รัฐทำอะไร? ได้ผลหรือไม่? เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสตรีแค่ไหน?
gender-neutral, gender-blind • นโยบาย/กฎหมายอาจ “เป็นกลาง” • แต่ผลลัพธ์อาจเป็นการเลือกปฏิบัติ • เพราะ...หญิงกับชายแตกต่างกันใน • สรีระ • บทบาท- กำหนดโดยการบ่มเพาะทางสังคม • ความคาดหวังเกี่ยวกับหน้าที่ ความสามารถ ความ ต้องการ และความสนใจ
แก้ไข ความไม่เท่าเทียมในอำนาจ ระหว่างหญิงชาย • ได้รับโอกาสเท่ากัน และ เข้าถึงโอกาสเท่ากัน • นโยบาย/กฎหมาย/โครงการต้อง • สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความเสมอภาค • เช่น ให้บริการเศรษฐกิจและสังคม (ศูนย์เลี้ยงเด็ก บริการขนส่ง พัฒนาศักยภาพ) • การดำเนินการเชิงบวก ในรูปของ “มาตรการพิเศษชั่วคราว” • ขจัดอุปสรรคที่หยั่งรากลึก หรือเกิดจากระบบที่ครอบงำโดยอิทธิพลของผู้ชาย
สรุปว่า ในเมื่อหญิงชายแตกต่างกัน ทั้งทางสรีระ และ บทบาท • จะปฏิบัติต่อหญิงและชายเหมือนกันไม่ได้ • ถ้าต้องการ ผลลัพธ์ เท่าเทียมอาจต้องปฏิบัติต่างกัน • พันธะของรัฐภาคี คือประกันให้มีความเสมอภาคใน • โอกาส • การเข้าถึงโอกาส • ผลลัพธ์
ทำอย่างไรจึงจะจัดว่า ไม่เลือกปฏิบัติ? • การเลือกปฏิบัติ มีทั้งทางตรง และ ทางอ้อม • การแบ่งแยก / กีดกัน / จำกัดใดๆ มีผล หรือ มุ่งทำลาย/ปฏิเสธการใช้สิทธิ • แม้ไม่ตั้งใจทำลาย /ปฏิเสธสิทธิ แต่ถ้าเกิดผล ก็ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ • ความเสียเปรียบ ในปัจจุบัน อาจเกิดจากการเลือกปฏิบัติ ในอดีต • นโยบาย “จ้างทีหลัง ออกก่อน” • นโยบายไม่แต่งตั้งผู้หญิงในตำแหน่ง X
พันธกรณี - รัฐภาคีต้องทำอะไรบ้าง? • ต้องยอมรับกฎเกณฑ์ มาตรฐานสากล ที่จะขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี • แก้ไขกฎระเบียบ เพื่อสร้างความเสมอภาคหญิงชาย • ยอมถูกตรวจสอบทั้งในระดับชาติ (เช่น โดย NGO) และ นานาชาติ (โดยคณะกรรมการ CEDAW) • เสนอรายงานทุกๆสี่ปี • ระบุความก้าวหน้าในการขจัดอุปสรรค
ความคืบหน้า • การออกกฎหมายคุ้มครอง/แก้ไขการเลือกปฏิบัติ • การถอนข้อสงวน • กำลังดำเนินเรื่องขอถอนข้อสงวนต่อข้อ ๑๖ ของอนุสัญญา CEDAW • แก้ไขกฎหมายที่มีผลต่อความเสมอภาคในครอบครัวและการสมรส • แต่...ยังต้องดำเนินการเรื่อง • สิทธิตัดสินใจกำหนดจำนวนบุตร • การทำหมัน • การรับผิดชอบบุตรในทางกฎหมายและทางปฎิบัติ
กฎหมายคุ้มครอง/แก้ไขการเลือกปฏิบัติกฎหมายคุ้มครอง/แก้ไขการเลือกปฏิบัติ • รัฐธรรมนูญ พศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐ • บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน • การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง.........เพศ.......จะกระทำมิได้ • มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ.....
ยกร่างกฎหมาย “ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ พศ. ....” • ครม. เห็นชอบในหลักการ • อยู่ระหว่างการพิจารณาโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา • สาระสำคัญที่ครอบคลุม • คณะกรรมการส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ • กำหนดนโยบาย วางแนวทางมาตรการต่างๆ • คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ • บทกำหนดโทษ • สงเคราะห์ผู้เสียหาย • กองทุนส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ
มาตรา ๓ ของร่างพรบ. กำหนดความหมายของ “การเลือกปฏิบัติอันไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” • การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ หมายความว่า • การกระทำหรือการไม่กระทำการใด อันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใดๆ • ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความเป็นธรรม • เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือหญิง • หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด • เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลทางวิชาการ ศาสนา หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ • เทียบกับคำจำกัดความของ CEDAWแตกต่างกัน(ด้อยกว่า)มาก
สิทธิส่วนตัวเช่นเดียวกันในฐานะสามีและภรรยา รวมถึงสิทธิในการเลือกใช้นามสกุลและการประกอบอาชีพ • พระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ๓) พศ. ๒๕๔๘ • คู่สมรสทั้งหญิงและชาย เลือกใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดก็ได้ • หย่า – กลับไปใช้สกุลเดิม • หม้าย – ใช้ต่อไปได้ ถ้าจะสมรสใหม่ กลับไปใช้สกุลเดิมก่อน • พระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พศ. ๒๕๕๑ • อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ยังไม่ได้สมรส ใช้ “นางสาว” • หากจดทะเบียนสมรส เลือกใช้ “นาง” หรือ “นางสาว” • สิ้นสุดการสมรสแล้ว เลือกได้เช่นกัน
สิทธิและความรับผิดชอบเช่นเดียวกันระหว่างการสมรสและการขาดจากการสมรสสิทธิและความรับผิดชอบเช่นเดียวกันระหว่างการสมรสและการขาดจากการสมรส • พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๖) พศ. ๒๕๕๐ • ชายและหญิงคู่หมั้นสามารถเรียกร้องค่าทดแทนจากผู้อื่นที่ร่วมประเวณีหรือข่มขืนกระทำชำเราคู่หมั้น • สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ • เดิม “สามีอุปการะ....” ภริยาฟ้องหย่าได้ • ผู้ชายมีชู้ ภริยาฟ้องหย่าไม่ได้ • แต่ผู้หญิงมีชู้ สามีฟ้องหย่าได้
การให้ความคุ้มครองระหว่างสมรสการให้ความคุ้มครองระหว่างสมรส • พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๙) พศ. ๒๕๕๐ • ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นมีความผิด • เดิม – “หญิงอื่นซึ่งไม่ใช่ภริยา”” • ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี • ซึ่งไม่ใช่ภริยาหรือสามีของตนมีความผิด • เดิม – “เด็กหญิง”” • เดิม – “ไม่ว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม””
สรุป: CEDAW กับความเสมอภาคหญิงชายในประเทศไทย • ความเสมอภาคไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ • การที่รัฐที่เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญา ก็เท่ากับว่า • ตระหนักถึงปัญหาความไม่เสมอภาค • ยอมรับว่า เป็นหน้าที่ของรัฐต้องดำเนินการ • เต็มใจถูกตรวจสอบ • หญิงและชายต้องใช้สิทธิอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ประโยชน์เต็มที่จากหลักการว่า เป็นพันธะของรัฐ • กำหนดเป้าหมาย นโยบาย กฎหมาย ประเมินผล
เนื้อหาโดยสรุปของบทบัญญัติ ในอนุสัญญาCEDAW
ข้อ ๑ คำจำกัดความ ของการเลือกปฏิบัติต่อสตรี • การแบ่งแยก การกีดกันหรือการจำกัดใดๆ เพราะเหตุแห่งเพศ • ซึ่งมีผลหรือความมุ่งประสงค์ที่จะทำลาย หรือทำให้เสื่อมเสียการยอมรับ การได้อุปโภค หรือใช้สิทธิโดยสตรี • โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพด้านการสมรส • บนพื้นฐานของความเสมอภาคของบุรุษและสตรี • ของสิทธิมนุษยชน • และเสรีภาพขั้นพื้นฐานในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม พลเมือง หรือด้านอื่นๆ
ข้อ ๒ • ประณามการเลือกปฏิบัติต่อสตรี • บรรจุหลักการความเสมอภาคหญิงชาย • ไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือในกฎหมายอื่น • กำหนดมาตรการนิติบัญญัติ และข้อกฎหมาย • ห้ามการเลือกปฏิบัติต่อสตรี • จัดให้มีการคุ้มครองทางกฎหมายต่อการเลือกปฏิบัติ • งดเว้นการกระทำใดๆที่เลือกปฏิบัติต่อสตรี
ประกันว่า • เจ้าหน้าที่และสถาบันของรัฐปฏิบัติโดยสอดคล้องกับข้อผูกพันนี้ • ใช้มาตรการที่เหมาะสมทุกอย่างที่จะขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี • โดยบุคคล องค์การ หรือวิสาหกิจใดๆ • ออกกฎหมาย หรือมาตรการที่เหมาะสมอื่นๆ • เพื่อเปลี่ยนแปลงหรือล้มเลิกกฎหมาย ข้อบังคับ ประเพณี และแนวปฏิบัติที่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี • เพิกถอนบทบัญญัติทางอาญา • ซึ่งก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี
ข้อ ๓ • รัฐภาคีต้องใช้มาตรการทั้งปวง ในทุกด้าน • เพื่อรับประกันพัฒนาการและความก้าวหน้าอย่างเต็มที่ของสตรี
ข้อ ๔ มาตรการพิเศษชั่วคราว • การออก มาตรการพิเศษชั่วคราว เพื่อเร่งรัดให้มีความเสมอภาคที่แท้จริงระหว่างหญิงชาย ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ • มาตรการเชิงบวก • มาตรการพิเศษซึ่งมุ่งที่จะปกป้องความเป็นมารดา • ตราบที่ความไม่เสมอภาคยังมี ก็คงมาตรการไว้ได้ • แต่ไม่ใช่ ทำให้เกิด มาตรฐานที่ไม่เท่าเทียม หรือแบ่งแยก
ข้อ ๕ อคติ ประเพณี และวิธีปฏิบัติอื่นๆ ที่อยู่บนพื้นฐานบทบาทเดิมของหญิงชาย • ปรับเปลี่ยนแบบแผนทางสังคมและวัฒนธรรม • เพื่อขจัดวิธีปฏิบัติที่อยู่บนพื้นฐานของความคิดเกี่ยวกับ • บทบาททางเพศแบบเดิมๆ หรือ • ความต่ำต้อยหรือสูงส่งของเพศใดเพศหนึ่ง • รับประกันว่า จะสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับความเป็นมารดา • ว่าเป็นหน้าที่ทางสังคม • การเลี้ยงดูและพัฒนาบุตรเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของหญิงและชาย
ข้อ ๖ การค้าสตรีและการแสวงประโยชน์จากสตรี • รัฐภาคีจะใช้มาตรการที่เหมาะสมทุกอย่าง รวมทั้งการออกกฎหมาย • เพื่อปราบปรามการค้าสตรี • และการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีของสตรี
ข้อ ๗ สิทธิสตรีในการมีบทบาทสาธารณะและการเมือง • ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในการเมืองและราชการ • หญิงและชายต้องมีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะ • ออกเสียงเลือกตั้ง และได้รับเลือกตั้ง • ร่วมในการวางนโยบาย และการปฏิบัติหน้าที่ราชการ • ร่วมในองค์การและสมาคม • ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมสาธารณะและการเมือง • เช่น สหภาพแรงงาน และ สมาคมวิชาชีพ
ข้อ ๘ การเป็นผู้แทนและการมีส่วนร่วมในระดับนานาชาติ • สตรีต้องได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมที่จะ • เป็นผู้แทนรัฐบาล • เข้าร่วมในงานขององค์การระหว่างประเทศ เช่น • สหประชาชาติ องค์การชำนัญพิเศษ • กองทุน และโครงการต่างๆ
ข้อ ๙ สัญชาติ • ให้สิทธิกับหญิงและชายอย่างเสมอภาค ที่จะ • ได้มา เปลี่ยนแปลง หรือ คงไว้ซึ่งสัญชาติของตน • สัญชาติของสตรีจะไม่ถูกกระทบ • จากการแต่งงานกับคนต่างชาติ • หรือจากการเปลี่ยนสัญชาติของสามี • หญิงและชายจะได้รับสิทธิเสมอภาค • เกี่ยวกับสัญชาติของบุตร
ข้อ ๑๐ การศึกษา • ใช้มาตรการเพื่อประกันให้สตรีมีสิทธิเสมอภาคกับบุรุษในการศึกษา เช่น • อาชีพ แนะแนวอาชีพ การฝึกฝนอาชีพทุกแบบ • การศึกษาก่อนเข้าโรงเรียน การศึกษาผู้ใหญ่ • การได้ทุนการศึกษา • ขจัดแนวคิดแบบเก่าเกี่ยวกับบทบาทของบุรุษและสตรี • โดยการทบทวนตำรา วิธีการสอน • ลดอัตราการออกจากโรงเรียนของผู้หญิง
ข้อ ๑๒สุขภาพ • ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในการดูแลสุขภาพ • ประกันการเข้าถึงบริการสุขภาพ • รวมทั้งบริการวางแผนครอบครัว • อย่างเสมอภาคกับบุรุษ • ให้สตรีได้รับบริการที่เหมาะสมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอดบุตร การดูแลหลังคลอด • ให้เปล่าในกรณีที่จำเป็น • จัดให้มีโภชนาการอย่างเพียงพอ • ระหว่างการตั้งครรภ์ และในระยะเวลาการให้นมบุตร
ข้อ ๑๓ เศรษฐกิจและสังคม • ใช้มาตรการที่เหมาะสม เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะสิทธิที่จะ • ได้รับผลประโยชน์ด้านครอบครัว • ได้กู้ยืมจากธนาคาร การจำนอง และสินเชื่อด้านการเงิน • เข้าร่วมในกิจกรรมนันทนาการ กีฬา วัฒนธรรม
ข้อ ๑๔ การเลือกปฏิบัติต่อสตรีในชนบท • คำนึงถึงปัญหาเฉพาะ และบทบาทเศรษฐกิจของสตรีที่ช่วยครอบครัวให้อยู่รอด • รวมทั้งงานที่ไม่มีการตีราคาเป็นตัวเงิน • ให้สตรีมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกับบุรุษที่จะ • เข้าถึงการดูแลสุขภาพ รวมทั้งการวางแผนครอบครัว • ได้รับประโยชน์จากโครงการประกันสังคม • การฝึกอบรมและการศึกษาทุกรูปแบบ • เข้าถึงสินเชื่อ เงินกู้เพื่อการเกษตร การตลาด • การปฏิรูปที่ดิน และการตั้งถิ่นฐานใหม่
ข้อ ๑๕ ความเสมอภาคทางกฎหมาย • สตรีจะมีความสามารถตามกฎหมายเช่นเดียวกับบุรุษ • มีสิทธิเท่าเทียม • ในการทำสัญญา จัดการทรัพย์สิน • ได้รับการปฎิบัติอย่างเท่าเทียม • ในกระบวนการทางศาลและการชำระความทุกขั้นตอน • สัญญา / เอกสารส่วนตัวอื่นๆ ซึ่งมุ่งจำกัดความสามารถทางกฎหมายของสตรี จะถือว่าใช้ไม่ได้และเป็นโมฆะ • สตรีและบุรุษจะได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน • ในเสรีภาพของการโยกย้าย การเลือกถิ่นที่อยู่ และภูมิลำเนา
ข้อ ๑๖ การสมรสและความสัมพันธ์ทางครอบครัว • สตรีจะได้รับสิทธิเช่นเดียวกับบุรุษ • ในการสมรส • มีอิสระในการเลือกคู่สมรส • สตรีจะมีสิทธิและความรับผิดชอบเช่นเดียวกับบุรุษ • ระหว่างการสมรส และขาดจากการสมรส • ในฐานะบิดามารดา • จำนวนและระยะห่างของบุตร การปกครองบุตร • สตรีมีสิทธิส่วนตัวเช่นเดียวกับบุรุษในฐานะสามีภรรยา • ในการเลือกใช้นามสกุล การประกอบอาชีพ • การเป็นเจ้าของ การได้มา การจัดการทรัพย์สิน