230 likes | 630 Views
การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการได้รับบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2556 The study of new student's satisfaction on registration service of Mahidol University for academic year 2013. โดย..พัชรา เดช โฮม กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
E N D
การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการได้รับบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2556 The study of new student's satisfaction on registration service of Mahidol University for academic year 2013 โดย..พัชรา เดชโฮม กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษา: รศ.ดร.สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา • จากการที่มีนักศึกษามาขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ เป็นจำนวนมากและมีจุดบริการหลายจุด จึงเป็นการยากที่คณะกรรมการทุกฝ่ายที่รับผิดชอบในการให้บริการขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่จะให้บริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
อีกทั้งเพื่อเป็นการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research: R2R) ที่การปฏิบัติงานด้านการขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ เป็นงานที่กองบริหารการศึกษาปฏิบัติ และรับผิดชอบมาโดยตลอดเป็นประจำในทุกๆ ปี อันจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด เทคนิค และวิธีการในการสร้างสรรค์และพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ซึ่งจะพัฒนาไปสู่การทำงานวิจัยร่วมกันในระดับส่วนงานและมหาวิทยาลัย
Flow Chart การขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ วันที่ ๒๙-๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖
ดังนั้นในการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการได้รับบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2556 ในด้านกระบวนการ ด้านเจ้าหน้าที่ ด้านสถานที่ และด้านความพึงพอใจในจุดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่จะนำมาวางแผนปรับปรุงการให้บริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการต่อไป
วัตถุประสงค์ • เพื่อสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการได้รับบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2556
ขอบเขตของการศึกษา • การศึกษาครั้งนี้สอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการได้รับบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา2556 โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ • 1) ด้านกระบวนการ • 2) ด้านเจ้าหน้าที่ • 3) ด้านสถานที่ • 4) ด้านความพึงพอใจในจุดกิจกรรมต่างๆ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • เพื่อให้มหาวิทยาลัยตระหนักถึงการบริการด้านกระบวนการ ด้านเจ้าหน้าที่ ด้านสถานที่ และ ด้านความพึงพอใจในจุดกิจกรรมต่างๆ • เพื่อนำผลที่ได้มาวางแผนพัฒนาปรับปรุงในจุดอ่อน รักษามาตรฐานการบริการในจุดแข็ง • เพื่อให้นักศึกษาพึงพอใจในการได้รับการบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดลที่ดี และได้มาตรฐานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยมหิดล
ประชากร • ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 1 ที่ขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2556 จำนวน 3,625 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล • แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแนวคิดของLikert แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ • ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะคำถามเป็นแบบให้เลือกตอบ (Checklist) โดยสอบถามเกี่ยวกับเพศ คณะ และสาขา • ตอนที่ 2 ความพึงพอใจในการได้รับการบริการ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแนวคิดของLikert โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านกระบวนการ 2) ด้านเจ้าหน้าที่ 3) ด้านสถานที่ และ 4) ด้านความพึงพอใจในจุดกิจกรรมต่างๆ • ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการ เป็นแบบปลายเปิด
การเก็บรวบรวมข้อมูล • 1. ดำเนินการนำแบบสอบถามไปแจกให้กับประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษามหาวิทยาลัย มหิดล ชั้นปีที่ 1 ที่ขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2556 • 2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของคำตอบในแบบสอบถาม • 3. จัดหมวดหมู่ของข้อมูลในแบบสอบถาม เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ทางสถิติ
การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปใช้ค่าทางสถิติ แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ • ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์หาค่าความถี่และร้อยละแล้วนำเสนอในรูปของตารางประกอบ • ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจในการได้รับการบริการ จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ คือ 1) ด้านกระบวนการ 2) ด้านเจ้าหน้าที่ 3) ด้านสถานที่ และ 4) ด้านความพึงพอใจในจุดกิจกรรมต่างๆ วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแต่ละข้อคำถาม • ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการ เป็นแบบสอบถามปลายเปิด (Open Ended) วิเคราะห์โดยการสรุปรวบรวมเป็นหมวดหมู่ หาค่าความถี่และร้อยละ แล้วนำเสนอในรูปของตารางประกอบ
นักศึกษามีความพึงพอใจในการได้รับการบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา2556 ในแต่ละด้าน และโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า • ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่าด้านอื่นๆ ได้แก่ ด้านเจ้าหน้าที่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 • รองลงมา ด้านสถานที่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 ด้านความพึงพอใจในจุดกิจกรรมต่างๆ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 และด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ • 1. การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการได้รับบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา2556 ด้านกระบวนการ ด้านเจ้าหน้าที่ ด้านสถานที่ และด้านความพึงพอใจในจุดกิจกรรมต่างๆ ในภาพรวมเท่านั้น ดังนั้นจึงควรมีงานวิจัยที่ถามรายละเอียดอย่างลึกซึ้งในแต่ละด้าน เพื่อได้ข้อมูลบ่งชี้ถึงปัญหาอย่างชัดเจน เพื่อใช้ในการดำเนินการแก้ปัญหาได้อย่างตรงประเด็นมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) • 2. การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการได้รับบริการในวันขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา2556 เป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะทำให้มองเห็นทัศนคติและมุมมองของนักศึกษาซึ่งบริการด้านต่างๆ ของกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวางแผนพัฒนาปรับปรุงการให้บริการอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง ดังนั้น กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ควรมีการประเมินหรือศึกษาทัศนคติการได้รับการบริการและความพึงพอใจในการใช้บริการทุกประเภทอย่างต่อเนื่อง