1.14k likes | 2.67k Views
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. ผศ.ดร.วิจิตรา เจริญพงษ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี wijitra2493@gmail.com 081-839-0889. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่. 1 . ความเป็นมาและความหมาย 2 . หลักการพื้นฐาน 3 . รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเรียนเป็นฐาน
E N D
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผศ.ดร.วิจิตรา เจริญพงษ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี wijitra2493@gmail.com 081-839-0889
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ • 1. ความเป็นมาและความหมาย • 2. หลักการพื้นฐาน • 3. รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเรียนเป็นฐาน • 4. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในประเทศไทย • 5. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • 6. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • 7. แนวคิดผู้บริหารโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานประสบผลสำเร็จ
1. ความเป็นมาและความหมาย • คำว่า School-Based Management หรือ SBMนั้น เป็นรูปแบบการบริหารและการจัดการศึกษารูปแบบหนึ่ง มีการเริ่มใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1980 (Cheng, 1996) ในภาษาไทยนิยมใช้ทับศัพท์ว่า School-Based Management หรือเรียกย่อๆว่า SBM มีผู้เรียกชื่อแตกต่างกันไปเช่น ยุวดี ศันสนีย์รัตน์(ม.ป.ป.)เรียกว่าการบริหารจัดการที่สถานศึกษา แต่ • เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์(2541) ใช้คำว่าการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
1. ความเป็นมาและความหมาย • Sackney and Dibski (1995) ให้ความหมายว่าเป็นแบบการกระจายอำนาจและปรับรื้อระบบราชการ บางครั้งจะหมายถึงการเปิดให้มีการร่วมกันในการบริหารงานและเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย
1. ความเป็นมาและความหมาย • ส่วน Levacic (1995)นิยามว่าเป็นรูปแบบในการบริหารสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน โดยมีการกระจายอำนาจไปสู่สถานศึกษาโดยตรง เพื่อให้สามารถตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งด้านองค์ความรู้ เทคโนโลยี อำนาจ วัสดุอุปกรณ์ คน เวลา และเงิน แต่โรงเรียนยังอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยเหนือในแง่ของการจัดสรรทรัพยากรและการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน
สรุป • การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง การพัฒนาโรงเรียนแบบรวมพลังจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ร่วมกันคิด วางแผน ดำเนินการ และประเมินผล ในการบริหารโรงเรียน เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ
2. หลักการพื้นฐาน • อุทัย บุญประเสริฐ (2545) ได้สรุปหลักการสำคัญของการบริหารโรงเรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไว้ 5 ประการคือ • 1. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) • 2. หลักการมีส่วนร่วม (Participation or Collaborationor Involvement) • 3. หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน (Return Power to People) • 4. หลักการบริหารตนเอง (Self-Management) • 5. หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance)
2. หลักการพื้นฐาน • แต่ ถวิล มาตรเลี่ยม(2545) กลับสรุปว่าการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานยืดหลัก 4 ประการคือ • 1. หลักดุลยภาพ (Principle of Equifinality) • 2. หลักการกระจายอำนาจ (Principle of Decentralization) • 3. หลักการบริหารจัดการตนเอง (Principle of Self-ManagementSystem) • 4. หลักการริเริ่ม (Principle of Human Initiative)
2. หลักการพื้นฐาน • หลักการพื้นฐานที่สำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานคือ หลักการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาและหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนมีความคิดริเริ่ม และรวมพลังในการบริหารและพัฒนาการศึกษาในโรงเรียน จะทำให้การบริหารโรงเรียนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • Leithwood,Kennethand Meuzies,Teresa (1998) มีรูปแบบที่สำคัญ 4 รูปแบบคือ • 1.รูปแบบที่มีผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก (Administrative Control) • 2.รูปแบบที่มีครูเป็นหลัก (Professional Control) • 3.รูปแบบที่ชุมชนมีบทบาทหลัก (Community Control) • 4.รูปแบบที่ครูและชุมชนมีบทบาทหลัก(Professional Community Control)
3. รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • มีวิธีการที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการจัดการศึกษา และเมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่า รูปแบบที่ 3 คือรูปแบบที่ชุมชนมีบทบาทหลัก เป็นรูปแบบที่นิยมใช้ในประเทศไทย เพราะมีสัดส่วนคณะกรรมการที่มาจากชุมชนมากที่สุด
4. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในประเทศไทย • ในอดีตประเทศไทยเคยมีโรงเรียนที่ประชาชนจัดตั้งเรียกว่าโรงเรียนประชาบาล ในปี พ.ศ.2543-2544 ได้ศึกษารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 4 รูปแบบ คือ
4. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในประเทศไทย • รูปแบบที่ 1 รูปแบบผู้นำสามประสาน (The Triarchic Leading Model) • รูปแบบที่ 2 รูปแบบผู้บริหาร-ครูเป็นผู้นำ (Principal-Teachers Leading Model) • รูปแบบที่ 3 รูปแบบผู้บริหารเป็นผู้นำ (The Principal Leading Model) • รูปแบบที่ 4 รูปแบบครู-ชุมชนเป็นผู้นำ (The Teachers-community Leading Model)
4. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในประเทศไทย • ผลการวิจัยพบว่า ขนาดที่ตั้งและสังกัดของโรงเรียนมิได้เป็นตัวแปร ในการจำแนกรูปแบบการดำเนินงานของโรงเรียน แต่เกิดจากความศรัทธาในตัวผู้บริหารสำคัญอันดับแรก • นอกนั้นคือการประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายเข้าใจตลอดจนต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นด้วย โรงเรียนขนาดเล็กมีความคล่องตัวกว่าในการดำเนินงาน และใช้วิธีการอย่างไม่เป็นทางการมากกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่
4. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในประเทศไทย • ในปี พ.ศ. 2544 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2549) ได้สนับสนุนให้มีการวิจัย และพัฒนารูปแบบการบริหารฐานโรงเรียน (School-Based Management) 15 รูปแบบ
4. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในประเทศไทย • การออกแบบรูปแบบการบริหารสถานศึกษายึดแนวคิดพื้นฐานในการบริหาร 7 ประการ คือ • 1.การกระจายอำนาจและการบริหารฐานโรงเรียน • 2. การมีส่วนร่วมในการบริหารของบุคลากรภายใน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ • 3. การพึ่งตนเอง
4. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในประเทศไทย • 4. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน • 5. การบริหารงานแบบประชาธิปไตย • 6. การบริหารจัดการที่ดี • 7. การใช้แนวคิดเชิงระบบในการบริหาร
4. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในประเทศไทย • ยึดแนวคิดพื้นฐานเชิงกลยุทธ์และวิธีการ 6 ประการ คือ • 1. การใช้แผนกลยุทธ์เป็นกระบวนการหลักในการบริหาร • 2. การใช้การระดมสรรพกำลัง • 3. การใช้ยุทธศาสตร์เป็นกลไกหลักในการบริหาร • 4. การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
4. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในประเทศไทย • 5. การใช้การวิจัยและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการบริหาร • 6. การใช้แนวคิดเชิงกระบวนการเป็นเครื่องมือในการบริหาร ทั้งกระบวนการบริหารทั้งระบบ เช่นวงจรคุณภาพ หรือกระบวนการดำเนินงานเฉพาะเรื่อง เช่นการบริหารหลักสูตร
องค์ประกอบ • องค์ประกอบของรูปแบบของการศึกษาแบบแผนการออกแบบระบบและกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบมี 3 องค์ประกอบ คือ
องค์ประกอบ • 1. องค์ประกอบด้านผลลัพธ์ของรูปแบบ หมายถึง ผลผลิตสุดท้ายที่รูปแบบการบริหารนั้นๆต้องการให้บรรลุ เป็นองค์ประกอบสำคัญของทุกรูปแบบ • 2. องค์ประกอบที่เป็นกลไกในการดำเนินงาน • 3. องค์ประกอบที่เป็นกลไกในการติดตามและประเมินผลตลอดจนนำผลไปใช้
องค์ประกอบ • ในปี พ.ศ.2550 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 โดยกำหนดให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาดำเนินการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาในด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้านการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือสถานศึกษา
5. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • Odden and Wohlstetter (1995) ได้ทำการศึกษาผลการนำรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไปปฏิบัติพบว่าเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานประสบความสำเร็จมี 2 ประการ คือ • 1. ผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียนต้องมีอำนาจอย่างแท้จริงในการบริหารงบประมาณ บุคลากร และหลักสูตร • 2. อำนาจหน้าที่ต้องถูกใช้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีผลโดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอน
5. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานประสบผลสำเร็จ Wohlstetter and Morhman (1993),Wohlstetter(1995),Odden and Wohlstetter (1995) มี 6 ประการได้แก่
5. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • 1.การกระจายอำนาจ (Disperse Power) • 2. การเน้นที่การพัฒนาวิชาชีพครู (Stress Professional Development) • 3. การเผยแพร่สารสนเทศ (Disseminate Information) • 4. การเลือกผู้บริหารโรงเรียนที่เหมาะสม (Select the Right Principal) • 5.การมีวิสัยทัศน์ (Have a Vision) • 6.การให้รางวัล (Reward Accomplishment)
5. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • อุทัย บุญประเสริฐ (2545) กลยุทธ์สำคัญสำหรับนำรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จไว้ 8 ประการ คือ • 1. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กับผู้เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง • 2. การกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาให้ชัดเจน
5. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • 3. การสรรหาและคัดเลือกคณะกรรมการสถานศึกษา ควรได้คนที่มีความรู้ความสามารถ เสียสละ และเป็นตัวแทนของกลุ่มต่างๆอย่างแท้จริง • 4. จัดการฝึกอบรม สัมมนาให้คณะกรรมการสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการศึกษา และการดำเนินงานการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
5. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • 5. สนับสนุนให้ครูได้ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษาอย่างใกล้ชิด • 6. จัดให้มีเครือข่ายคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และความร่วมมือ
5. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • 7. จัดให้มีการกำหนดมาตรฐานงานของคณะกรรมการสถานศึกษา • 8. การพิจารณาให้สวัสดิการและการบริการพิเศษแก่คณะกรรมการสถานศึกษาตามที่สมควร เหมาะสมและชอบธรรม
5. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2549) ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้ว่า • “คุณลักษณะสำคัญของผู้บริหารโรงเรียนต้นแบบที่ส่งผลต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานคือ ความเป็นตัวของตัวเอง กล้าตัดสินใจ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องโดยไม่ต้องรอต้นสังกัดสั่งการ เป็นผู้นำในการทำเป็นแบบอย่าง ทำเพื่อคนอื่นมากกว่าตนเอง”
6. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • David (1992) Spilman (1996) Latham (1998) มีปัญหา และอุปสรรค 6 ประการ คือ • 1. เวลา • 2. ความคาดหวัง • 3. คณะกรรมการโรงเรียนมีความรับผิดชอบมากมายแต่ขาดคุณสมบัติที่เหมาะสม
6. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • 4. ความไม่สอดคล้องระหว่างความต้องการและการปฏิบัติ • 5. ขาดอิสระในการตัดสินใจ • 6.ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องที่เป็นหัวใจของโรงเรียนคือเรื่องการจัดการเรียนการสอนและผลการเรียนของนักเรียนอย่างแท้จริง
6. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2549) พบปัญหา คือ • 1. ความเป็นอิสระและมีอำนาจเต็มในการบริหารสถานศึกษา • 2. ความไม่ชัดเจนในขอบเขต และบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา
6. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • 3. การจำกัดจำนวนคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก ทำให้ขาดโอกาสของชุมชนที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วม • 4. ข้อจำกัดเรื่องการบริหารงบประมาณ การเงินและทรัพย์สินของโรงเรียน • 5. การแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ทำให้การบริหารงาน ไม่ต่อเนื่อง
6. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2546) พบปัญหา และอุปสรรค 6 ประการ คือ • นโยบายของโรงเรียนต้องเป็นข้อตกลงร่วมกันของบุคลากรทุกฝ่าย • 2. ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรู้ความสามารถ • 3. ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
6. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน • 4. วิธีการกระจายอำนาจในลักษณะกระจายให้กับทีมงานมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากกว่ากระจายให้กับบุคคลอื่นๆ • 5. การโยกย้ายผู้บริหาร • 6. หน่วยงานต้นสังกัดต้องสนับสนุนอย่างจริงจัง
7. แนวคิดผู้บริหารโรงเรียนที่บริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานประสบผลสำเร็จ • สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2549) ได้คัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบประสบการณ์บริหารฐานโรงเรียน (SBM) เพื่อยกย่องและเผยแพร่เกียรติยศชื่อเสียง เกี่ยวกับการบริหารโดยใช้ฐานโรงเรียนจำนวน 33 คน แต่จะนำเสนอเพื่อเป็นตัวอย่างเพียง 2 คน
1. นายนคร ตังคะพิภพ • นายนคร ตังคะพิภพ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จังหวัดเพชรบุรี บริหารโรงเรียนโดยใช้รูปแบบการบริหารยุทธศาสตร์แบบหลอมรวม (Integrated Administration Strategy:IAS) โดยมีกรอบแนวคิดและแนวปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ 3 ส่วน คือ
1. นายนคร ตังคะพิภพ • 3.1 สร้างปัจจัยเอื้อหรือเงื่อนไขในการพัฒนา ) • 3.2 กระบวนการหลอมรวมยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาองค์รวม • 3.3 บังคับทิศทางการบริหารให้โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
2. นายสุเมธ ปานะถึก • นายสุเมธ ปานะถึก ผู้อำนวยการโรงเรียนกุดสะเทียนวิทยาคาร จังหวัดหนองบัวลำภู บริหารโรงเรียนแบบการวางแผนกลยุทธ์ ในการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ประการ คือ 1. การวางแผนกลยุทธ์ 2. การบริหารฐานโรงเรียน 3. การบริหารความเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูสู่มืออาชีพ
2. นายสุเมธ ปานะถึก • ซึ่งครูทุกคนจะต้องเปลี่ยนแนวคิดและการกระทำ 4 ประการ คือ • 1. เปลี่ยนแนวคิดและความเชื่อจากเดิมมายึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ • 2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอน จากเน้นการสอน การถ่ายทอด มาเป็นการจัดกิจกรรมและสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน
2. นายสุเมธ ปานะถึก • 3. ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานให้มีกระบวบการในการทำงาน (PDCA) ใช้ศาสตร์ด้านกระบวนการวิจัยในการแก้ปัญหาและพัฒนาตนเองตลอดเวลา เรียนรู้จากเพื่อน เกื้อกูลซึ่งกันและกันด้วยท่วงทำนองแห่งกัลยาณมิตร • 4. การส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้นวัตกรรมต่าง ๆ เช่น การบูรณาการ การประเมินตามสภาพจริง