380 likes | 587 Views
รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ( A Study Problems Conditions of Internships Student Majoring Physical Education in the Faculty of Education , Institute of Physical Education. ). ผู้วิจัย
E N D
รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา(A Study Problems Conditions of Internships Student Majoring Physical Education in the Faculty of Education, Institute of Physical Education.)
ผู้วิจัย นายเกียรติวัฒน์วัชญากาญจน์สังกัด ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษปีที่วิจัย : 2553
สภาพปัจจุบันและปัญหา สถาบันการพลศึกษา ได้เริ่มดำเนินการเปิดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการผลิตครู 5 ปี ของคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา มาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2548 จนกระทั่งปัจจุบัน โดยได้กําหนดให้มีการจัดการศึกษา หลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา ที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตเพื่อออกไปเป็นครูพลศึกษา ในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จากโครงสร้างหลักสูตรจะเห็นได้ว่า ในชั้นปีที่ 5 นักศึกษาจะต้องออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในสถานศึกษาจริง เป็นระยะเวลา 2 ภาคเรียนหรือ 1 ปีการศึกษาที่เรียกว่า “การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู” เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงและจะได้นำเอาความรู้ทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติไปใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งพอสรุปได้เป็น 2 ภาค คือ 1. ภาคทฤษฎี ประกอบด้วย 1.1 ความรู้พื้นฐานทางวิชาการ 1.2 วิชาการเฉพาะ 1.3 วิชาชีพครู
2. ภาคปฏิบัติ เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาภาคทฤษฎีครบตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ยังมีวิชาที่สำคัญที่สุดของการเป็นครู นั่นคือ “การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู” ทั้งนี้เพื่อให้ได้มีโอกาสรับประสบการณ์ตรงในด้านการสอน รวมไปถึงการรู้จักรับผิดชอบหน้าที่การงาน อีกทั้งเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตัวไปพร้อมๆ กันด้วย
นับตั้งแต่สถาบันการพลศึกษา ได้ส่งนักศึกษา ชั้นปีที่ 5 ออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ตั้งแต่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 เป็นรุ่นแรก จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เป็นรุ่นที่ 4
ในฐานะที่ผู้วิจัยได้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์นิเทศก์นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถาบันการพลศึกษา จากปัญหาที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
จึงได้ดำเนินการจัดทำการวิจัย เรื่อง การศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา • ซึ่งคาดว่าผลของการวิจัยที่ได้รับจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตครูพลศึกษาที่ตรงตามนโยบายของรัฐบาลในการปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูปการผลิตครูแนวใหม่ในอนาคตต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประชากรที่ใช้ในการวิจัย นักศึกษา อาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยง การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2553 จาก 17 วิทยาเขต
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา อาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยง การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2553 จำนวน 4 วิทยาเขต • โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster or Area Random Sampling)จากการแบ่งกลุ่มวิทยาเขต 17 วิทยาเขตเป็น 4 กลุ่มตามเขตภูมิศาสตร์ แล้วสุ่มโดยจับสลากภายในแต่ละกลุ่มเหลือกลุ่มละ 1 วิทยาเขต ดังนี้ วิทยาเขตกรุงเทพ วิทยาเขตเชียงใหม่ วิทยาเขตกระบี่ และวิทยาเขตศรีสะเกษ
นักศึกษา จำนวน 189 คน • อาจารย์นิเทศก์ จำนวน 74 คน • อาจารย์พี่เลี้ยงจำนวน 92 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89, 0.88 และ 0.90 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของนักศึกษา
ด้านการปฐมนิเทศ การสัมมนา และการปัจฉิมนิเทศ มีสภาพปัญหาในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย (x= 2.80, S.D. = .66) • ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระพลศึกษา) มีสภาพปัญหาในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย (x= 2.38, S.D. = .34)
ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระสุขศึกษา) มีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย (x= 2.73, S.D. = .60) • ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา มีสภาพปัญหาในระดับปานกลางมีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย (x= 3.02, S.D. = .36) • ด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน มีสภาพปัญหาในระดับมาก มีสภาพปัญหาในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (x= 3.94, S.D. = .17)
สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศ ด้านการปฐมนิเทศ การสัมมนา และการปัจฉิมนิเทศ มีสภาพปัญหาในระดับน้อยค่าเฉลี่ย(x= 2.45, S.D. = .31)
ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระพลศึกษา) มีสภาพปัญหาในระดับมากค่าเฉลี่ย (x= 4.20, S.D. = .28) • ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระสุขศึกษา)มีสภาพปัญหาในระดับมากค่าเฉลี่ย (x= 4.06, S.D. = .24)
ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา มีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย (x= 3.37, S.D. = .22) • ด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน มีสภาพปัญหาในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย (x= 4.78, S.D. = .33)
สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตามความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระพลศึกษา) มีสภาพปัญหาในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (x= 3.96, S.D. = .47)
ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระสุขศึกษา) มีสภาพปัญหาในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (x= 4.30, S.D. = .53) • ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา มีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย (x= 2.96, S.D. = .33)
ด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน มีสภาพปัญหาในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (x= 4.25, S.D. = .41) • ด้านคุณลักษณะความเป็นครู มีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย (x= 2.54, S.D. = .34)
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 1. ด้านการปฐมนิเทศ การสัมมนา และการปัจฉิมนิเทศ 1.1 นักศึกษาไม่ตรงต่อเวลาและไม่มีความพร้อมเพรียง 1.2 อาจารย์นิเทศเข้าร่วมและให้คำแนะนำน้อยมาก 1.3 กำหนดการสัมมนาไม่แน่นอน บางครั้งได้รับแจ้งกระชั้นชิด จึงเข้าร่วมไม่ได้เพราะตรงกับกิจกรรม/โครงการที่โรงเรียน 1.4 กิจกรรมล้าสมัย ไม่น่าสนใจ นักศึกษามีส่วนร่วมน้อยมาก 1.5 ควรเพิ่มการสัมมนาเป็นภาคเรียนละ 3 – 4 ครั้งแต่เปลี่ยนหัวข้อ/เนื้อหาการสัมมนา 1.6 ควรนำนักเรียน/ผู้บริหาร/อาจารย์พี่เลี้ยง/ผู้ปกครอง มาแสดงความต้องการและความคิดเห็น
2. ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระพลศึกษา) 2.1 ควรมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการค้นหาทักษะการสอนใหม่ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับเด็กนักเรียนรุ่นใหม่ 2.2 ควรมีการให้ข้อแนะนำและให้คำปรึกษาการเรียนการสอนมากกว่านี้ 2.3 จัดทำและส่งแผนการสอนให้ตรวจไม่ทัน กิจกรรมของโรงเรียนมีมาก 2.4 ขาดสื่อ/นวัตกรรม/อุปกรณ์ 2.5 เวลาเรียน 1 คาบเท่ากับ 50 นาที ไม่เพียงพอ เปลี่ยนกิจกรรมไม่ทันตามแผนการสอน 2.6 สถานที่ไม่เอื้ออำนวยในการเรียนการสอน โดยเฉพาะฤดูฝน 2.7 ควรมีการจัดฝึกอบรมเสริมหลักสูตรทางด้านการเคลื่อนไหว เกมและนันทนาการ
3. ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระสุขศึกษา) 3.1 ควรมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการค้นหาทักษะการสอนใหม่ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับเด็กนักเรียนรุ่นใหม่ 3.2 ควรมีการให้ข้อแนะนำการเรียนการสอนมากกว่านี้ 3.3 จัดทำและส่งแผนการสอนให้ตรวจไม่ทัน กิจกรรมของโรงเรียนมีมาก 3.4 ขาดสื่อ/นวัตกรรม/อุปกรณ์ 3.5 หนังสือประกอบการเรียนไม่เพียงพอ
4. ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา 4.1 บางโรงเรียนเน้นวิชาการ ไม่ส่งเสริมโครงการทางด้านสุขภาพและกีฬา 4.2 นักศึกษามีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการจัดทำโครงการน้อยมาก 4.3 ควรจัดสรรงบประมาณบางส่วนให้นักศึกษาจัดทำโครงการด้วย
5. ด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน 5.1 ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะการวิจัยยังมีน้อยมาก 5.2 สถาบันควรให้คำปรึกษาให้มากกว่านี้ 5.3 แหล่งศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตำรา ข้อมูลสารสนเทศ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่เพียงพอ 5.4 ที่ปรึกษางานวิจัยและผู้เชี่ยวชาญมีน้อยและติดต่อประสานงานยาก 5.5 กิจกรรมที่โรงเรียนมีมากจึงเสนอเค้าโครงงานวิจัยไม่ทัน
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของอาจารย์นิเทศข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของอาจารย์นิเทศ 1. ด้านการปฐมนิเทศ การสัมมนา และการปัจฉิมนิเทศ 1.1 นักศึกษาไม่ตรงต่อเวลาและไม่มีความพร้อมเพรียง 1.2 อาจารย์นิเทศมีส่วนร่วมน้อยมาก 1.3 กำหนดการสัมมนาไม่แน่นอน 1.4 กิจกรรมล้าสมัย ไม่น่าสนใจ 1.5 ควรมีความพร้อมและเนื้อหาที่ชัดเจน 1.6 ควรจัดสรรงบประมาณให้มากกว่านี้
2. ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระพลศึกษา) 2.1 มีสื่อ/นวัตกรรม/อุปกรณ์น้อยและล้าสมัย 2.2 ไม่มีรูปแบบและวิธีการสอนที่หลากหลาย 2.3 นักศึกษาไม่สอนตามแผนการสอน 2.4 นักศึกษาติดต่อสื่อสารและแจ้งข้อมูลข่าวสารให้กับอาจารย์นิเทศน้อยมาก 2.5 ควรมีการจัดฝึกอบรมเสริมหลักสูตรทางด้านการเคลื่อนไหว เกมและนันทนาการ
3. ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระสุขศึกษา) 3.1 มีสื่อ/นวัตกรรม/อุปกรณ์น้อยและล้าสมัย 3.2 ไม่มีรูปแบบและวิธีการสอนที่หลากหลาย 3.3 นักศึกษาไม่สอนตามแผนการสอน 3.4 นักศึกษาติดต่อสื่อสารและแจ้งข้อมูลข่าวสารให้กับอาจารย์นิเทศน้อยมาก 3.5 ควรมีการจัดฝึกอบรมเสริมหลักสูตรทางด้านการใช้ชีวิต สุขอนามัยและสุขนิสัยที่ดี
4. ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา 4.1โครงการไม่มีกิจกรรมใหม่ๆ ส่วนมากเหมือนและคล้ายคลึงกับนักศึกษารุ่นพี่ 4.2 ควรจัดทำภาคเรียนละ 1 โครงการ 4.3 นักศึกษาไม่ดำเนินการตามกระบวนการจัดทำโครงการ 4.4 นักศึกษาไม่ประเมินผล สรุปและรายงานผลโครงการ
5. ด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน 5.1 ควรเน้นปัญหาและกระบวนการวิจัย ที่สอดคล้องกับสภาพผู้เรียนและสามารถนำไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้ 5.2 นักศึกษาไม่ดำเนินการตามแบบแผนการวิจัย 5.3 ความรู้ความสามารถและทักษะการวิจัยมีน้อยมาก 5.4 ควรกำกับ ติดตาม ดูแลและให้คำปรึกษาทางด้านจรรยาบรรณการวิจัยให้มากกว่านี้ 5.5 นักศึกษาต้องมีความพยายามที่จะอุทิศเวลาในการทำการวิจัย
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของอาจารย์พี่เลี้ยงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของอาจารย์พี่เลี้ยง 1. ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระพลศึกษา) 1.1 ควรปรับลดขั้นตอนการสอนลงบ้างเพื่อนักเรียนจะได้มีเวลาปฏิบัติกิจกรรมมากขึ้น 1.2 ไม่มีรูปแบบและวิธีการสอนที่หลากหลาย 1.3 นักศึกษาไม่ส่งแผนการสอนให้ตรวจก่อนสอนตามกำหนด 1.4 นักศึกษาขอคำปรึกษาและแจ้งปัญหาให้กับอาจารย์พี่เลี้ยงน้อยมาก
2. ด้านการเรียนการสอนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา (สาระสุขศึกษา 2.1 ควรเน้นและอธิบายนอกเหนือจากหนังสือประกอบการเรียนบ้าง นักเรียนจะได้เข้าใจได้เร็วและมีความรู้มากยิ่งขึ้น 2.2 สถาบันควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตสื่อ/นวัตกรรม/อุปกรณ์ 2.3 ไม่มีรูปแบบและวิธีการสอนที่หลากหลาย 2.4 นักศึกษาไม่สอนตามแผนการสอน 2.5 นักศึกษาไม่ค่อยขอคำปรึกษากับอาจารย์พี่เลี้ยง 2.6 ควรมีการจัดฝึกอบรมเสริมหลักสูตรทางด้านการใช้ชีวิต สุขอนามัยและสุขนิสัยที่ดี
3. ด้านการจัดโครงการส่งเสริมพลศึกษาและสุขศึกษา 3.1 ควรเพิ่มเวลาและจัดกิจกรรมในโครงการให้มากขึ้นกว่านี้ 3.2 นักศึกษาขาดประสบการณ์ในการจัดทำโครงการ 4. ด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน 4.1 ควรจัดทำวิจัยในชั้นเรียนที่เกิดจากปัญหาของผู้เรียน 4.2 นักศึกษาไม่ดำเนินการตามแบบแผนการวิจัย
5. ด้านคุณลักษณะความเป็นครู 5.1 นักศึกษายังมีความรู้ความเข้าใจจิตวิทยาพัฒนาการของผู้เรียนน้อยมาก 5.2 การควบคุมชั้นเรียนเป็นไปด้วยความลำบาก 5.3 ควรมีความมุ่งมั่นและรับผิดชอบงานให้มากกว่านี้
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ จากข้อค้นพบจากการวิจัย สถาบันผลิตครูและสถานศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ควรนำข้อสรุป การอภิปรายผลและข้อคิดเห็นของนักศึกษา อาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยง ไปพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สถาบันการพลศึกษา ในรูปแบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management)และรูปแบบที่เหมาะสมอื่นๆ ต่อไป
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการเปรียบเทียบความคิดเห็นทางด้านสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2. ควรศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา 3. ควรศึกษาและพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 4. ควรศึกษาความคิดเห็นทางด้านสภาพความต้องการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของผู้บริหาร ผู้ปกครอง และนักเรียน