240 likes | 351 Views
บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Type of Computer). แบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งาน แบ่งตามขนาดและความสามารถ. แบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งาน.
E N D
บทที่ 2ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Type of Computer) • แบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งาน • แบ่งตามขนาดและความสามารถ
แบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งานแบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งาน • แบบใช้งานทั่วไป (General Purpose Computer) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานทั่วไปและมีความยืดหยุ่นในการทำงาน โดยได้รับการออกแบบให้สามารถประยุกต์ใช้ในงานประเภทต่างๆ ในงานแต่ละด้านได้โดยสะดวก โดยจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียนขึ้นมา และเมื่อผู้ใช้ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอะไร ก็เพียงแต่ออกคำสั่งเรียกโปรแกรมที่เหมาะสมเข้ามาใช้งาน แบบใช้งานทั่วไปเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถใช้งานได้หลายโปรแกรมพร้อมกัน • แบบใช้งานเฉพาะด้าน (Special Purpose Computer) หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบตัวเครื่องและโปรแกรมควบคุม ให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยไม่สามารถทำงานอย่างอื่นได้ โดยทั่วไปมักใช้ในงานควบคุม หรืองานอุตสาหกรรมที่เน้นการประมวลผลแบบรวดเร็ว เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมสัญญาณไฟจราจร คอมพิวเตอร์ควบคุมลิฟต์ หรือคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบอัตโนมัติในโรงงานต่างๆเป็นต้น
แบ่งตามขนาดและความสามารถแบ่งตามขนาดและความสามารถ • ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) • เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) • มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) • ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) หรือ พีซี (Personal Computer:PC) • โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึก (Notebook or Laptop) • คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต (Tablet Computer) • คอมพิวเตอร์แบบมือถือ (Handheld Computer) • คอมพิวเตอร์แบบบอร์ดเดี่ยว (Single-Board Computers)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูงสุด เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ที่สุดในคอมพิวเตอร์ทุกประเภท ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อนมากได้อย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลที่ซับซ้อน และต้องการความเร็วสูง ดังเช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA)การพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยลดประสิทธิภาพบางส่วนจากเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อลดต้นทุนการผลิต เมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่ยังมีความเร็วสูงและมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทอื่น เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ดังนั้นจึงสามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อมกัน และสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการบริการลูกค้า
มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) มินิคอมพิวเตอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ขนดกลาง เป็นเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อมๆ กัน แต่จะมีราคาถูกกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ใน 2 ประเภทแรก มินิคอมพิวเตอร์จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์เนื่องจากมีการลดประสิทธิภาพบางอย่างเพื่อให้ได้ราคาที่องค์กรขนาดกลางสามารถที่จะจัดซื้อได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลางเท่านั้นดังเช่นการนำเอามินิคอมพิวเตอร์มาใช้บริการข้อมูลให้แก่ลูกค้าในการจองห้องพักหรือให้บริการในการจัดการงานด้านต่างๆ ของโรงพยาบาล
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) หรือ พีซี (Personal Computer:PC) ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะที่สร้างขึ้นมาจากไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) บางครั้งเรียกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญดังเช่นขอภาพ (Monitor) ตัวเครื่อง (Case) แป้นรับข้อมูล (Keyboard) และ เมาส์ (Mouse)
โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึก (Notebook or Laptop) คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กคือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดบันทึก และนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้นและมีราคาที่ถูกลง
คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต (Tablet Computer) คือคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะคล้ายกับโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ แต่จะมีขนาดเล็กกว่า พกพาได้สะดวก แต่แตกต่างกันที่แท็บเลตสามารถป้อนข้อมูลทางจอภาพได้ตามเทคโนโลยีของผู้ผลิต เหมาะสำหรับใช้ในการเดินทางและการทำงานที่ไม่ซับซ้อนมากนัก
คอมพิวเตอร์แบบมือถือ (Handheld Computer) คือคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กทำให้สามารถที่จะถือเพียงมือเดียวได้ พกพาสะดวก ซึ่งคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานเฉพาะอย่างเช่นใช้เป็นตารางเวลา ปฏิทินนัดหมาย หรือสมุดบันทึกต่างๆ คอมพิวเตอร์ชนิดนี้สามารถนำมาเป็นเครื่องสื่อสารได้เช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือ
คอมพิวเตอร์แบบบอร์ดเดี่ยว (Single-Board Computers) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมากที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ขนาดเล็กที่หาซื้อได้ทั่วไป ไม่มีจอภาพแต่มี 7-เซกเมนต์ (7-Segment) และมีแผงแป้นอักขระหรือแป้นพิมพ์ขนาดเล็ก เหมาะสำหรับใช้งานเฉพาะอย่างเช่น งานควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ งานควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า งานควบคุมหุ่นยนต์ และงานควบคุมในการประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ
การประยุกต์ใช้งานของคอมพิวเตอร์ (Application of Computer) • งานพิมพ์เอกสาร • งานธุรกิจ • งานทางด้านอุตสาหกรรม • งานทางด้านการเงิน • งานทางด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข • งานทางด้านคมนาคมและสื่อสาร • งานทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม • งานภาครัฐ โดยหน่วยงานราชการต่างๆ • งานทางด้านการศึกษา • งานทางด้านการวิจัย • งานทางด้านความบันเทิง
องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ (Basic Element of Computer) • ฮาร์ดแวร์ (Hardware) • ซอฟต์แวร์ (Software) • บุคลากร (People ware) • ข้อมูล (Data)
ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เปรียบเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้หลายกลุ่ม ดังเช่นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ และซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
บุคลากร (1) • หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager: EDP Manager)เป็นบุคลากรที่อยู่ในตำแหน่งทางบริหาร จะมีหน้าที่วางแผนงาน กำหนดนโยบายของหน่วยงาน จัดทำโครงการและแผนงานการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ จัดหาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต้องใช้ในองค์กร อำนวยความสะดวก เป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบสูง และต้องหมั่นติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอยู่เสมอ • นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) เป็นผู้ที่มีหน้าที่วิเคราะห์ระบบและออกแบบระบบ โดยจะรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานเดิม และความต้องการของผู้ใช้ เพื่อทำการวิเคราะห์และออกแบบงานใหม่ หรือปรับปรุงงานเดิมให้มีประสิทธิภาพ ผู้ที่ทำงานด้านนี้ควรมีประสบการณ์เป็นอย่างดี และมีพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมมาก่อน ถึงแม้ว่า SA จะไม่ได้เขียนโปรแกรมเอง แต่จะต้องเป็นผู้ค้นหาวิธีการและขั้นตอนต่างๆ ในการเขียนโปรแกรมเพื่อส่งให้นักเขียนโปรแกรม
บุคลากร (2) • นักเขียนโปรแกรมระบบ (System Programmer)จะมีหน้าที่เขียนโปรแกรมระบบควบคุมเครื่อง จะคอยตรวจสอบและแก้ไขเมื่อระบบคอมพิวเตอร์มีปัญหาบุคลากรประเภทนี้จะต้องมีความรู้ทางฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดี เพราะต้องมีหน้าที่ให้คำปรึกษาต่างๆ เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์เมื่อมีปัญหา และต้องคอยพัฒนาโปรแกรมอำนวยความสะดวกต่างๆ ขึ้น • บุคลากรด้านการเขียนโปรแกรม (Programmer) ได้แก่นักเขียนโปรแกรมที่ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ (Application Program) ทางคอมพิวเตอร์ ตามขั้นตอนที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานโปรแกรมประยุกต์นั้นได้
บุคลากร (3) • ผู้ปฏิบัติการ (Operator) เป็นเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ ที่มีหน้าที่คอยปิดและเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และคอยเฝ้าดูระบบ เมื่อมีปัญหาใดๆ เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ ก็จะเป็นผู้แจ้งให้กับนักเขียนโปรแกรมระบบทราบเพื่อทำการแก้ไข และยังมีหน้าที่ส่งงานต่างๆ เข้าไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์ คอยรับงานการประมวลผลเพื่อแจกจ่าย สำรองข้อมูล • ผู้ใช้ (User) เป็นผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการออกแบบและพัฒนาระบบอย่างมาก เพราะผู้ใช้เป็นผู้ตัดสินใจ และระบุความต้องการลงไปว่าต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำอะไรบ้าง ซึ่งบรรดานักคอมพิวเตอร์ต่างๆ ก็จะต้องพยามตอบสนองความต้องการของผู้ใช้นั้นๆ
ข้อมูล (Data) องค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์พร้อมกับโปรแกรมที่นักเขียนโปรแกรมเขียนขึ้น เพื่อนำไปใช้ในโปรแกรมและผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ดังนั้นข้อมูลที่นำเข้าไปจะต้องมีความถูกต้อง จึงจะได้เอาต์พุตที่ถูกต้องออกมา ซึ่งข้อมูลก็มีหลายประเภทเช่น ข้อมูลตัวเลข ข้อมูลตัวอักขระ ข้อมูลบุคลากร หน่วยงานหรือองค์กร กลุ่มข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการคำนวณ และอื่นๆ อีกมาก
แบบฝึกหัดทบทวน • เราสามารถแบ่งประเภทคอมพิวเตอร์ตามลักษณะการใช้งานได้กี่ประเภท และได้แก่ประเภทอะไรบ้าง • เราสามารถแบ่งประเภทคอมพิวเตอร์ตามขนาดและความสามารถได้กี่ประเภท และได้แก่ประเภทอะไรบ้าง • คอมพิวเตอร์ประเภทอะไรที่มีความเร็วสูงสุดในยุคปัจจุบัน • มินิคอมพิวเตอร์กับไมโครคอมพิวเตอร์แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย • จงยกตัวอย่างของการประยุกต์ใช้งานของคอมพิวเตอร์ 5 ตัวอย่าง • องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย • เราสามารถแบ่งบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ได้ 5 กลุ่ม มีอะไรบ้างจงอธิบาย • ฮาร์ดแวร์คืออะไร จงอธิบาย • ซอฟต์แวร์คืออะไร จงอธิบาย http://www.udru.ac.th
เอกสารอ้างอิง งามนิจ อาจอินทร์, ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์., กรุงเทพฯ, 2542. จุฑารัตน์ สมจริง [Online]. Available: http://vcharkarn.com [1 มีนาคม 2552]. พรรณาพูนพิน[Online]. Available: http://web.bsru.ac.th/~panna/learning.html [1 มีนาคม 2552]. ไพศาล โมลิสกุลมงคล, ประสงค์ ประณีตพลกรัง, อนุโชต วุฒิพรพงษ์ และ ศรายุธ คลังทอง, สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture)., กรุงเทพฯ, 2547. ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, เอกสารประกอบการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร., 2552. สัลยุทธ์ สว่างวรรณ. สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์., กรุงเทพฯ, 2546. http://www.udru.ac.th