670 likes | 943 Views
การจัดตั้งศูนย์ประสานการทดสอบสินค้าเพื่อผู้บริโภค. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.). สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. บริษัทสาระกรุ๊ป จำกัด. การศึกษาเพื่อจัดทำแนวทางการตั้งศูนย์ประสานการทดสอบ. มีหน้าที่ในการ. ปัจจุบันคือยังขาดหน่วยงานที่ทำหน้าที่โดยตรง หรือ
E N D
การจัดตั้งศูนย์ประสานการทดสอบสินค้าเพื่อผู้บริโภคการจัดตั้งศูนย์ประสานการทดสอบสินค้าเพื่อผู้บริโภค
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริษัทสาระกรุ๊ป จำกัด การศึกษาเพื่อจัดทำแนวทางการตั้งศูนย์ประสานการทดสอบ
มีหน้าที่ในการ ปัจจุบันคือยังขาดหน่วยงานที่ทำหน้าที่โดยตรง หรือ เป็นตัวประสานงานในการทดสอบ หรือ พิสูจน์สินค้าหรือบริการต่างๆที่ผู้บริโภคร้องเรียน สำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กำหนดนโยบาย หรือ กำหนดแนวทาง ในการคุ้มครองผู้บริโภค จากการใช้ผลิตภัณฑ์รวมทั้ง บริการต่างๆ
รวมทั้งข้อกฎหมายและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้สามารถจัดตั้งศูนย์ได้ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค • มีการศึกษาแนวทางในการจัดตั้งศูนย์เพื่อให้ทราบบทบาท หน้าที่ โครงสร้างองค์กร • รวมทั้งแผนดำเนินการของศูนย์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
เสนอให้ สคบ. CPSC (Consumer Product Safety Commission) ของประเทศสหรัฐอเมริกา คกก. ตรวจสอบระบบการดูแลความปลอดภัยของเล่นสำหรับเด็ก ศึกษาแนวทางการจัดตั้งหน่วยงาน สุ่มตรวจสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อความปลอดภัย ที่มีลักษณะคล้ายกับหน่วยงาน
การออกสุ่มตรวจตัวอย่างสินค้าการออกสุ่มตรวจตัวอย่างสินค้า แหล่งผลิต/แหล่งจำหน่าย ก.พ. สนับสนุนให้มีการจัดตั้งหน่วยงานสุ่มตรวจสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อความปลอดภัย ประสานเชื่อมโยงกับส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างระบบการตรวจสอบการวิเคราะห์ความปลอดภัยในลักษณะการทำงานที่เป็นเครือข่าย (ความเห็นของสำนักงาน ก.พ. เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550)
ที่มีหน้าที่ ในการวิเคราะห์สินค้า ที่ไม่ปลอดภัย ที่เป็นอิสระในทางวิชาการ องค์กร • เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สคบ. ได้จัดตั้งศูนย์ประสานการทดสอบสินค้า ขึ้นเป็นหน่วยงานราชการภายใน • การประชุมพิจารณาร่าง พรบ. ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น • จากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 • สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมีคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ • (ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ) เสนอให้ คกก. คุ้มครองผู้บริโภค ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 • พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522/2541 • พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า • ที่ไม่ปลอดภัยพ.ศ. 2551 • พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความผู้บริโภค พ.ศ. 2551
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ในบทเฉพาะกาล มาตรา 303 วรรคหนึ่ง กำหนดให้มีการจัดทำหรือ ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระตาม มาตรา 61 ภายในหนึ่งปีนับจากวันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา กฏหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 61 : กำหนดให้มีการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคและกำหนด ให้มีองค์การเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจาก หน่วยงานของรัฐ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522/2541 กฏหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 4 (3) : ได้กำหนดว่าผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยในสินค้าหรือบริการ มาตรา 5 (1) : กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจ และเก็บสินค้าในปริมาณ พอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อทำการทดสอบโดยไม่ต้องชำระราคาสินค้า มาตรา 10 (2) : กำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจหน้าที่ ในการดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ตาม มาตรา 36
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 กฏหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 36 วรรค 1 : ให้อำนาจคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีคำสั่งให้ผู้ประกอบการ ดำเนินการทดสอบ หรือพิสูจน์สินค้า ที่อาจเป็นอันตราย หรือ จัดให้มีการดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าที่อาจเป็นอันตราย โดยผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย มาตรา 36 วรรค 2 : ให้อำนาจคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจในการออก คำสั่งห้ามขายสินค้าเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการทดสอบ หรือพิสูจน์สินค้าที่อาจเป็นอันตราย มาตรา 20 (2) : ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจและหน้าที่ จัดให้มีการทดสอบ หรือพิสูจน์สินค้าหรือบริการใด ตามที่เห็น สมควรและจำเป็นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า ที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 กฏหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 4 : ได้กำหนดนิยามคำว่า “สินค้าที่ไม่ปลอดภัย” ไว้ว่า “สินค้าที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุจากความบกพร่อง ในการผลิตหรือการออกแบบ หรือ ไม่ได้กำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า หรือ กำหนดไว้แต่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ชัดเจน ตามสมควร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงสภาพของสินค้า รวมทั้งลักษณะการใช้งาน และ การเก็บรักษาตามปกติธรรมดาของสินค้าอันพึงคาดหมายได้”
พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า ที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 กฏหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 6 ประกอบ มาตรา 10 กำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสียหายโดยต้องพิสูจน์ว่า ผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากสินค้าของผู้ประกอบการ
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความผู้บริโภค พ.ศ. 2551 กฏหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 19 : รับรองหลักการในเรื่องการให้ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจ ฟ้องคดีคุ้มครองผู้บริโภคแทนผู้เสียหาย
การสำรวจเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศการสำรวจเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศ • ทีมงานโครงการได้ทำการสำรวจข้อมูลของศูนย์ที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบสินค้าหรือการคุ้มครองผู้บริโภคหรือศูนย์ฯที่มีลักษณะคล้ายกันจากประเทศต่าง ๆ จำนวน 6 ประเทศ คือ • ญี่ปุ่น • สหรัฐอเมริกา • เยอรมนี • ฟินแลนด์ • ออสเตรเลีย • นิวซีแลนด์
ผลการสำรวจเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศผลการสำรวจเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศ จากผลการศึกษาพบว่าในทั้ง 6 ประเทศนั้น มีลักษณะของหน่วยงานและบทบาทหลักที่เหมือนกันอยู่ 5 ประเภท ดังต่อไปนี้ • ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศเพื่อผู้บริโภค • ศูนย์ทดสอบสินค้า • ศูนย์วิจัยและพัฒนา • หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน • หน่วยงานการให้คำปรึกษาแก่ผู้บริโภค
การสำรวจบทบาท หน้าที่ และกิจกรรมของหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย 1.สำรวจจากข้อมูลใน Website ของหน่วยงาน 2. สำรวจด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหาร หน่วยงาน 17
หน่วยงานต่างๆที่เข้าสัมภาษณ์หน่วยงานต่างๆที่เข้าสัมภาษณ์ 18
จุดประสงค์ของการสำรวจจุดประสงค์ของการสำรวจ • เพื่อเข้าใจบทบาท หน้าที่ และกิจกรรมของหน่วยงานต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน • เพื่อวิเคราะห์หาบทบาทหน้าที่และกิจกรรมที่ซ้ำซ้อนกัน • เพื่อวิเคราะห์หาบทบาทหน้าที่และกิจกรรมที่เป็นช่องโหว่หรือขาดหายไป • เพื่อออกแบบ พันธกิจ บทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ รูปแบบของกิจกรรมที่เหมาะสม
หน่วยงานในปัจจุบันที่มีบทบาทในการคุ้มครองผู้บริโภค (1) • สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) • กระทรวงอุตสาหกรรม • สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) • สถาบันยานยนต์ • สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ • สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ • สถาบันอาหาร • กระทรวงสาธารณสุข • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) • กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
หน่วยงานในปัจจุบันที่มีบทบาทในการคุ้มครองผู้บริโภค (2) • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ • สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) • กรมวิชาการเกษตร • กรมประมง • กรมปศุสัตว์ • กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ • สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) • กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • กรมวิทยาศาสตร์บริการ • ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ 21
สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจ ประเด็นการจัดตั้งศูนย์ทดสอบสินค้า • ในมุมมองของศาลเห็นด้วยเป็นอย่างมากที่ทาง สคบ. จะจัดตั้งศูนย์ฯ ขึ้นมาเพื่อที่จะเป็นหน่วยงานกลางใน การที่จะประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ เพราะใน ปัจจุบันนี้ยังไม่มีหน่วยงานประเภทนี้ • หลายหน่วยงานไม่สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ที่มี ลักษณะที่มีห้องปฏิบัติการและทำการทดสอบทุกขั้นตอน เองเนื่องจากจะต้องมีการลงทุนที่สูงมาก
สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจ แนวทางการทดสอบผลิตภัณฑ์ควรจะประกอบไปด้วย การทดสอบเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงโดยที่มีมาจากการร้องเรียนของผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการใช้สินค้า การทดสอบเพื่อเปรียบเทียบสินค้าเพื่อเป็นข้อมูลที่จะช่วยให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม 2. ประเด็นการทดสอบผลิตภัณฑ์ • ผลของการทดสอบควรจะต้องมีการนำเสนอต่อ คณะกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาความ เหมาะสมก่อนจะนำเสนอผลทดสอบต่อสาธารณะ • การทดสอบผลิตภัณฑ์ควรจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับ การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้บริโภคโดยส่วนรวมได้ รับทราบ
สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจ ประเด็นการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัยกับ สคบ. • สคบ. ต้องระวังที่จะไปก้าวก่ายหน้าที่ของหน่วยงานอื่น ที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรง • สคบ. ควรทำหน้าที่เชิงรุก เป็นผู้นำในการประเมินความ เสี่ยงของสินค้าที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค (Risk Assessment) โดยเฉพาะสินค้าที่ยังไม่มี มาตรฐานบังคับ และเป็นช่องโหว่ของกฎหมายอยู่
สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจ ประเด็นการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัยกับ สคบ. (ต่อ) • สคบ. ควรทำหน้าที่ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจจะมีฐานข้อมูลของห้องปฏิบัติการที่สามารถทำ การตรวจสอบสินค้าชนิดต่างๆ ได้ เพื่อความรวดเร็ว ในการส่งเรื่องเพื่อการพิสูจน์ทราบ • ต้องมีเครื่องมือต่างๆ จำนวนหนึ่งในการตรวจสอบที่ จำเป็น มิฉะนั้นงานเหล่านี้จะมีความล่าช้า
สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจ ประเด็นมาตรฐานที่ซ้ำซ้อน ในปัจจุบัน Certification Body (CB) หลักๆ ที่ใช้และบังคับใช้มีอยู่ คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก) ซึ่งออกโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อย. ซึ่งออกโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ซึ่งออกโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ • พบว่ามาตรฐานของสินค้าบางอย่างจะมีความซ้ำซ้อนกันบ้างโดยเฉพาะ ด้านอาหาร แต่ก็ได้มีการทำความเข้ากันในระหว่างหน่วยงาน และ ได้มีการเชิญบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุม เมื่อจะมี การกำหนดมาตรฐานต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน แต่อาจจะมีการ อ้างอิงมาตรฐาน และมีการต่อยอดกันได้ เช่น ข้อกำหนดของ อย. เป็นข้อกำหนดขั้นพื้นฐาน (Minimum Requirement) ส่วนทาง สมอ. อาจจะมีข้อกำหนดอื่นๆ เพิ่มเติมเมื่อต้องการมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ สูงขึ้น
สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจ ประเด็นความรับผิดชอบต่อสินค้าชนิดต่างๆ • หน่วยงานต่างๆที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานสินค้าจะมี พรบ. รองรับ เช่น • ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารและยา ก็จะมี พรบ. อาหารและยา ซึ่ง • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้บังคับใช้ • ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมก็จะมี พรบ. มาตรฐานอุตสาหกรรม ซึ่ง • สำนักงานและมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นผู้บังคับใช้ • ผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหารก็จะมี พรบ. มาตรฐานสินค้า • เกษตรและอาหาร ซึ่งสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร • แห่งชาติ เป็นผู้บังคับใช้ • ฉะนั้นเมื่อจะมีการตรวจสอบหรือกระบวนการแจ้งเตือน พักใช้ เพิกถอนต่อสินค้ากลุ่มต่างๆ ควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ต่อสินค้าชนิดนั้นโดยตรง ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะมีกระบวนการตรวจสอบ ทดสอบการกำกับดูแล และออกใบอนุญาตที่เป็นระบบอยู่แล้ว
สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจ 6. ประเด็นความร่วมมือระหว่าง สคบ. กับหน่วยงานภาคประชาชน • ในปัจจุบัน สคบ. ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานภาคประชาชน • เช่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคดีในระดับหนึ่ง • สคบ. ควรมีหน่วยงานที่สามารถให้คำแนะนำต่อผู้บริโภคทาง • ด้านการให้คำแนะนำการซื้อหรือการใช้สินค้า • ควรมีการให้งบประมาณต่อหน่วยงานภาคประชาชนต่างๆ • เช่น มูลนิธิที่ไม่หาผลกำไรเพื่อผู้บริโภค เพื่อให้สามารถทำงาน • เป็นปากเป็นเสียง และเผยแพร่ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค • ทั่วไปได้มากขึ้นและกว้างขวางขึ้น
การวิเคราะห์ SWOT ของการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย
จุดแข็ง (STRENGTHS) มีหลายหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค ภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบของตน หน่วยงานทุกหน่วยงานไม่เกี่ยงกันทำงาน แต่แสวงหาความรับผิดชอบมากขึ้นในการคุ้มครองผู้บริโภค มีหน่วยงานหลายหน่วยงาน ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานสินค้า และบริการซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัย และความคุ้มค่าของผู้บริโภค หน่วยงานในประเทศไทยมีห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถตรวจสอบสินค้าได้ค่อนข้างครอบคลุม มีหลายหน่วยงานทำการสุ่มตรวจสินค้า เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
จุดอ่อน (WEAKNESSES) พบทั้งความซ้ำซ้อน และช่องโหว่ของบทบาทหน้าที่ของหลายหน่วยงาน ยังขาดหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าต่างๆ ยังขาดหน่วยงานหลักที่เป็นศูนย์กลางประสานการทดสอบซึ่งรวบรวมข้อมูลสินค้าทุกชนิดที่ไม่ปลอดภัย ลักษณะการใช้งานที่ทำให้เกิดอันตราย สถิติการเกิดอันตรายลักษณะต่างๆ และความเสียหายที่เกิดขึ้น การเผยแพร่สื่อสารข้อมูลสินค้าที่อาจเป็นอันตราย และการเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะสมยังมีน้อยมาก
จุดอ่อน (WEAKNESSES) การสุ่มตรวจสินค้าโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังทำได้ไม่ทั่วถึง เนื่องจากมีงบประมาณและทรัพยากรไม่เพียงพอ มาตรฐานสินค้าที่กำหนดส่วนมากไม่ใช่มาตรฐานบังคับ สินค้าจึงไม่จำเป็นต้องมีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน คนไทยไม่ชอบร้องเรียนอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะการฟ้องร้องต่อศาล
โอกาส (OPPORTUNITIES) มีข้อมูลอ้างอิงจากต่างประเทศในเรื่องความไม่ปลอดภัยของสินค้า และลักษณะการใช้งานที่เป็นอันตราย หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศยินดีให้ความช่วยเหลือประเทศไทย ถ้าประเทศไทยประ สานงานขอความช่วยเหลือ ผู้บริโภคเริ่มเข้าใจสิทธิของตนเองมากขึ้น และสน ใจในคุณภาพความปลอดภัยของสินค้ามากขึ้น PL Law ทำให้ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าใส่ใจในความปลอดภัยของสินค้าและมากขึ้น โดยครอบคลุมสินค้าทุกชนิด
อุปสรรค (THREATS) สินค้านำเข้าด้อยคุณภาพ ไม่ทราบผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ส่งเข้ามาขายในไทยจำนวนมาก ร้านค้าจำนวนมาก รวมทั้งห้างขนาดใหญ่ขายสินค้าที่อาจเป็นอันตราย และด้อยคุณภาพ ผู้บริโภครับทราบได้ยากมากในขณะซื้อว่าสินค้าจะเป็นอันตรายหรือไม่ มีโฆษณาจำนวนมากที่ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อในคุณภาพของสินค้าที่ไม่เป็นจริง
เหตุผลที่ควรจัดตั้งศูนย์เหตุผลที่ควรจัดตั้งศูนย์ • กำจัดจุดอ่อน • ศูนย์ฯ ทำหน้าที่ • - ประสานการทดสอบ • - รวบรวมข้อมูลสินค้าที่ไม่ปลอดภัย • - รวบรวมข้อมูลลักษณะการใช้งานที่เป็นอันตราย • - รวบรวมสถิติการเกิดอันตราย • - เผยแพร่ข้อมูลสินค้าอันตราย • ให้คำปรึกษาแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า • สุ่มตรวจสินค้าให้ทั่วถึงมากขึ้น • ช่วยศาลหาหลักฐาน ให้ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ • เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคในการร้องเรียน ถ้าผู้บริโภคไม่ต้องการฟ้องร้องต่อศาล • ใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์ • ใช้ข้อมูลอ้างอิงจากต่างประเทศ เรื่องความไม่ปลอดภัยของสินค้า • ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานในต่างประเทศ
แนวทางในการดำเนินงานของศูนย์แนวทางในการดำเนินงานของศูนย์
แจ้งจับผู้ผลิต/จำหน่ายสินค้า เจ้าหน้าที่ตำรวจ สคบ. เรียกร้องค่าเสียหายแทนผู้บริโภค จับกุม/ดำเนินคดี ผลการ ทดสอบสินค้า เรื่องร้องเรียนเพื่อพิสูจน์สินค้า ผู้ผลิต/จำหน่ายสินค้า ศูนย์ เก็บ ตย.สินค้าอันตราย ร้องเรียนสินค้าอันตราย สุ่มตรวจสินค้า กรณีเกิดอันตรายจากการใช้สินค้า ส่งสินค้า เพื่อทดสอบ ฟ้องศาลตาม PL Law ห้องปฏิบัติการทดสอบ ศาล ถามความเห็น ส่งเรื่องร้องเรียน นักวิชาการ นักวิจัย สมาคม/มูลนิธิทีเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค (อย., สมอ. ฯลฯ) โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ร้องเรียน 1. สัญญา 2. ฉลาก 3. สินค้าอันตราย 4. โฆษณาเกินจริง
แนวทางการดำเนินงาน กรณีสุ่มตรวจ
ผลสำรวจกลุ่มสินค้าที่ควรสุ่มตรวจผลสำรวจกลุ่มสินค้าที่ควรสุ่มตรวจ ศึกษาจากแบบสอบถามผู้บริโภคที่มาในงานวันคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน 967 คน (หญิง 685 คน ชาย 282)
ผลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ ผลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับกลุ่มผลิตภัณฑ์
ข้อแนะนำที่ได้จากแบบสอบถาม ข้อแนะนำที่ได้จากแบบสอบถาม กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม • กลุ่มยาและเครื่องสำอาง
ข้อแนะนำที่ได้จากแบบสำรวจ ข้อแนะนำที่ได้จากแบบสำรวจ กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ • กลุ่มผลิตภัณฑ์ซักล้างและทำความสะอาดร่างกาย
รูปแบบของศูนย์- ระยะสั้น (1 – 3 ปี) - ระยะยาว
รูปแบบของศูนย์ในระยะสั้นรูปแบบของศูนย์ในระยะสั้น • เป็นหน่วยงานภายใต้ สคบ. ในโครงสร้างระบบราชการปรกติ สคบ. ผู้อำนวยการศูนย์ฯ 1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป 2. ส่วนวิชาการและวิจัยพัฒนา 3. ส่วนประสานการทดสอบ 4. ส่วนบริการข้อมูลและสารสนเทศ
กฎหมายการจัดตั้งองค์กร (ระยะสั้น) การออกกฎ ประกาศ คำสั่ง เพื่อรองรับการทำงานของศูนย์ฯ ประกาศกำหนดสินค้าที่เข้าข่ายต้องทำการทดสอบ ประกาศกำหนดหน่วยงานที่ทำหน้าที่ทดสอบ ประกาศกำหนดลักษณะวิธีการตรวจพิสูจน์สินค้าที่ไม่ปลอดภัย ประกาศกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายในตรวจพิสูจน์ ประกาศกำหนดลักษณะรูปแบบของรายงานผลการทดสอบเพื่อเป็นพยานหลักฐานทางคดี การประสานหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขกฎหมายหรือกฎให้สอดคล้องกัน
รูปแบบของศูนย์ในระยะยาวรูปแบบของศูนย์ในระยะยาว
รูปแบบของศูนย์ในระยะยาวรูปแบบของศูนย์ในระยะยาว ปัญหาของศูนย์ฯเมื่ออยู่ภายใต้ สคบ. ในโครงสร้างปรกติ การบริหารงานไม่คล่องตัว ดำเนินงานได้ไม่รวดเร็วเท่าที่ควร ไม่เป็นนิติบุคคลจึงไม่สะดวกในการทำนิติกรรมและสัญญากับภาคเอกชน ไม่สะดวกในการตั้งเงินกองทุนรับประกันความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ค่าตอบแทนบุคลากรต่ำ ไม่สามารถดึงดูดบุคลากรด้านเทคนิคได้ ดังนั้นทางเลือกคือ หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (SDU= Service Delivery Unit) หรือ องค์การมหาชน
หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (SDU) SDU คือ หน่วยงานให้บริการภายในของระบบราชการ ที่มุ่งเน้นในเรื่องของประสิทธิภาพและคุณภาพของการ ดำเนินงาน การจัดตั้งเป็นไปตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารงานของ หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. 2550
กำกับดูแล มอบอำนาจ หน่วยงาน แม่ SDU (ศูนย์รับผิดชอบ) รับผิดชอบผลงาน รายงานผลการดำเนินงาน ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานแม่และหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
การบริหารงานในรูปแบบ SDU • ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการอำนวยการหรือคณะกรรมการบริหารที่ได้รับการแต่งตั้งจากหน่วยงานแม่ต้นสังกัดประมาณ 3-5 คน • อาจมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมกันเป็นคณะกรรมการบริหารก็ได้ • มีผู้อำนวยการซึ่งผ่านการคัดเลือกตามเงื่อนไขที่กำหนดทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งหน่วยงาน