250 likes | 600 Views
นพดล โป่งอ้าย ศึกษานิเทศก์ สพป. ชม. 3. การสร้างข้อสอบ. ง่าย. ยาก. จุดมุ่งหมายทางการศึกษา ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive domain). จำแนกออกเป็น 1.00 ความรู้ความจำ 2.00 ความเข้าใจ 3.00 การนำไปใช้ 4.00 การวิเคราะห์ 5.00 การสังเคราะห์ 6.00 การประเมินผล.
E N D
นพดล โป่งอ้าย ศึกษานิเทศก์ สพป.ชม.3 การสร้างข้อสอบ
ง่าย ยาก จุดมุ่งหมายทางการศึกษาด้านพุทธิพิสัย (Cognitive domain) จำแนกออกเป็น 1.00ความรู้ความจำ 2.00 ความเข้าใจ 3.00 การนำไปใช้ 4.00 การวิเคราะห์ 5.00 การสังเคราะห์ 6.00 การประเมินผล
จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม(Behavioral Objective) • ส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ • พฤติกรรมที่คาดหวัง (Expectedbehavior) • สถานการณ์ (Situation) • เกณฑ์ (Criteria)
คำที่แสดงการกระทำจำแนกตามระดับต่างๆ ของจุดมุ่งหมายทางการศึกษาด้านพุทธิพิสัย 1.00 ความรู้-ความจำ บอก บ่งชี้ บรรยาย แยกประเภท จัดลำดับ ระบุ ให้ตัวอย่าง ให้นิยาม ให้เครื่องหมาย 2.00 ความเข้าใจ แปล เปลี่ยนรูป ใช้ภาษาของตนเอง ยกตัวอย่าง ตีความ บอก จัดเรียงใหม่ ทำนาย กะประมาณ ขยาย คาดคะเน ลงสรุป 3.00 การนำไปใช้ บอก ใช้ คำนวณ เลือก สร้าง เสนอ แก้ปัญหา ผลิต แสดง ดัดแปลง สาธิต เตรียม
คำที่แสดงการกระทำจำแนกตามระดับต่างๆ ของจุดมุ่งหมายทางการศึกษาด้านพุทธิพิสัย 4.00 การวิเคราะห์ บอก บ่ง จำแนก สกัด ค้นหา แยกแยะ บอกความแตกต่าง-คล้ายคลึง ลงสรุป จัดประเภท ประมาณราคา จัดจำพวก ตั้งคำถาม ทดสอบ 5.00 การสังเคราะห์ บอก เขียน สร้าง แก้ไข รวบรวม ประกอบ ขยาย ริเริ่ม ผลิต วางโครงการ เสนอ ออกแบบ ปรับปรุง พัฒนา อนุมาน พิสูจน์ ค้นหา 6.00 การประเมินผล ตัดสิน ประเมิน โต้แย้ง ใช้เกณฑ์วิพากษ์วิจารณ์ ชี้ขาด พิจารณา เปรียบเทียบ ให้คะแนน ใช้เกณฑ์เปรียบเทียบ บ่งเหตผล บ่งความสอดคล้อง
ลักษณะทั่วไปของข้อสอบที่ดี 1. มีความตรงตามเนื้อหา 2. มีความเที่ยง คงเส้นคงวา 3. มีความเป็นปรนัย 4. มีความยากง่ายพอเหมาะ 5. มีอำนาจจำแนก 6. มีความยุติธรรม 7. มีความจำเพาะเจาะจง 8. มีความพอดีในด้านเวลา 9. มีความเหมาะสมกับผู้สอบ
ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบที่ครูสร้าง(Teacher-made Test) 1. ศึกษาจุดมุ่งหมายของรายวิชา เนื้อหาที่จะวัด 2. สร้างตารางการสร้างข้อสอบ (Test Blueprint) 3. กำหนดรูปแบบข้อสอบ จำนวนข้อสอบ และคะแนน 4. ลงมือสร้างข้อสอบตามเนื้อหาและพฤติกรรมที่จะวัดตามที่ระบุในข้อ 2. 5. ตรวจทาน แก้ไขปรับปรุงพร้อมทำเฉลย
ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบที่ครูสร้าง(Teacher-made Test) 6. รวบรวมข้อสอบเข้าเป็นฉบับ พร้อมทั้งเขียนคำชี้แจง เวลา คะแนนในแต่ละข้อ และออกแบบกระดาษคำถามและกระดาษคำตอบ 7. ดำเนินการพิมพ์ และจัดเตรียมแบบทดสอบ 8. ดำเนินการสอบและตรวจให้คะแนน 9. วิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบหลังสอบทั้งรายข้อ และทั้งฉบับ 10. นำมาแก้ไขปรับปรุง และเก็บไว้ในคลังข้อสอบ
ตารางการสร้างข้อสอบ (Test Blueprint)วิชา หลักภาษา อันดับ ความ จำนวนข้อสอบ พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย เนื้อหา 1.00 2.00 3.00 4.00 5.00 6.00 รวม สำคัญ 1. ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย 12 - - 4 - - 16 3 2. ประวัติอักษรไทย 6 - 1 3 - - 10 6 3. ลักษณะสำคัญของภาษาไทย 6 - - 6 - - 12 5 4. คำและความหมายของคำ 13 2 4 9 - - 28 1 5. หน้าที่ของคำเมื่อเข้าประโยค 3 6 5 5 - - 19 2 6. แบบแผนคำประพันธ์ประเภทกาพย์ 6 - 3 6 - - 15 4 รวม 46 8 13 33 - - 100 - อันดับความสำคัญ 1 4 3 2 - - - -
ข้อสอบแบบเลือกตอบ ตัวอย่างข้อสอบแบบเลือกตอบ คำชี้แจงข้อสอบต่อไปนี้เป็นแบบเลือกตอบชนิด 5 ตัวเลือก มีจำนวน 7 ข้อ ให้นักเรียนเลือกตัวเลือกที่ถูกที่สุดเพียงตัวเลือกเดียว 1) เราเรียกกระบวนการที่น้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ ผสมกันเป็นแป้งและน้ำตาล ด้วยพลังงานแสงสว่างและคลอโรฟิล ว่าอะไร ก. ปฏิกิริยาเคมี ข. ปฏิกิริยาแสง ค. สังเคราะห์แสง ง. วิเคราะห์แสง จ. การปรุงแสง
ข้อสอบแบบเลือกตอบ 2) เมื่อแช่เทอร์มอมิเตอร์ไว้ในกาต้มน้ำนั้น เราจะเห็นระดับปรอทสูงขึ้นเรื่อยๆ จนหยุดนิ่งอยู่ที่ระดับหนึ่ง ตลอดเวลาที่น้ำยังเดือดอยู่ การที่ปรอทหยุดนิ่งนี้ แสดงว่าอะไร ก. น้ำหยุดดูดความร้อน ข. การระเหยต้องการความร้อน ค. ความร้อนถูกนำไปใช้ในการพา ง. เมื่อไอน้ำรวมตัวจะคายความร้อน จ. การเปลี่ยนแปลงของระดับปรอทต้องการความร้อน
ข้อสอบแบบเลือกตอบ 3) จันทรุปราคา จะปรากฎอยู่นาน และเห็นเป็นอาณาเขตกว้างกว่า สุริยุปราคา เพราะเหตุใด ก. ดวงจันทร์โคจรช้ากว่า ข. เงาของโลกใหญ่กว่าเงาของดวงจันทร์ ค. เราเห็นดวงจันทร์โตเท่าๆ กับดวงอาทิตย์ ง. ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก อาจอยู่เยื้องๆ กันได้ จ. แสงจากดวงจันทร์ถูกบัง ไม่ใช่จากแสงดวงอาทิตย์ถูกบัง
ข้อสอบแบบเลือกตอบ 4) ข้อความต่อไปนี้ กล่าวถึงอะไร " ความรู้ของมนุษย์เกิดได้หลายทาง ปัจจุบันนิยมหาความรู้โดย ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันได้แก่ วิธีทดลองและวิธีทางสถิติ" ก. ความรู้ ข. มนุษย์ ค. กาลเวลา ง. วิธีทางสถิติ จ. วิธีทดลอง
นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ซึ่งเป็น ครูที่เชี่ยวชาญด้านการสอนและนักวัดผลการศึกษา เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ความสอดคล้องของเนื้อหากับจุดประสงค์ โดยหา ดัชนีความสอดคล้อง (Index of Consistency : IOC) แล้วคัดเลือกข้อคำถามที่มีค่า IOC 0.50 ไว้ใช้ต่อไป
คัดเลือกข้อสอบ 1. ค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.20 - 0.80 2. ค่าอำนาจจำแนกที่มีค่าตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป 3. ค่าอำนาจจำแนกรายตัวลวงมีค่ามากกว่า 0 ขึ้นไป
หาค่าความเชื่อมั่น และหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ นำข้อสอบไปทดลองใช้กับนักเรียน
การวิเคราะห์ข้อสอบ ที่ง่ายที่สุดในโลก EVANA
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การวิเคราะห์ t-test ที่ง่ายที่สุดในโลก SPSS
สร้างแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนสร้างแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน 1. สร้างข้อคำถามความพึงพอใจของนักเรียน โดยตั้งคุณลักษณะให้เหมาะสม 2. จัดระดับความคิดเห็น เป็น 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
กำหนดการแปลความหมายของค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจใช้เกณฑ์ในการแปลความหมาย 4.51 – 5.00 หมายถึง มากที่สุด 3.51 – 4.50 หมายถึง มาก 2.51 – 3.50 หมายถึง ปานกลาง 1.51 – 2.50 หมายถึง น้อย 1.00 – 1.50 หมายถึง น้อยที่สุด นำแบบวัดความพึงพอใจนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องและข้อเสนอแนะ นำมาปรับปรุงแก้ไข