130 likes | 260 Views
บุคลิกภาพและตัวตนทางสังคม Personality & Social Self. รองศาสตราจารย์แสงสุรีย์ สำอางค์กูล. ความเบื้องต้น. บทนี้จะให้ความรู้ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ ( personality ) + สถานการณ์ พฤติกรรมสังคม (= social beh. ) หรือ พฤติกรรมเฉพาะอย่าง ( specific behavior ) สรุปภาพรวมบุคลิกภาพ
E N D
บุคลิกภาพและตัวตนทางสังคม Personality & Social Self รองศาสตราจารย์แสงสุรีย์ สำอางค์กูล
ความเบื้องต้น บทนี้จะให้ความรู้ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ (personality) + สถานการณ์ พฤติกรรมสังคม (=social beh.)หรือ พฤติกรรมเฉพาะอย่าง (specific behavior) สรุปภาพรวมบุคลิกภาพ Personality (บุคลิกภาพ) ---->Types(แบบ/ชนิด) ---->Traits(ลักษณะคงที่ ซึ่งจัดเข้าเป็นกลุ่ม/กองไว้ด้วยกัน ---> Behaviors (พฤติกรรมภายนอก /ที่แสดงออกอย่างชัดเจน)
Personality บุคลิกภาพ (Personality)--->ชนิดบุคลิกภาพ (types =ใช้หลักสถิติแบบวิเคราะห์องค์ประกอบ ช่วยแบ่งแยกเป็นชนิดอย่างชัดเจน) ---> บุคลิกลักษณะ/จิตลักษณะ/อุปนิสัย (จัดเป็นกลุ่ม) กล่าวคือ trait ที่เกี่ยวข้องกันเมื่อได้นํามาจัดเข้าเป็นกลุ่มหนึ่งๆ แล้ว ก็จะกลายเป็น แบบบุคลิกภาพ = type) ---> พฤติกรรม (behavior = specific behavior) อย่าลืมเด็ดขาดว่า พฤติกรรม (ภายนอก) ต้องสามารถบรรยายเป็นแบบ เน้นที่นี่ เดี๋ยวนี้ (here and now)
ตัวอย่าง....เช่น เช่น บุคลิก/จิตลักษณะพื้นฐาน 5 ด้าน ที่เรียกว่า The Big Five Type = ด้านเปิดตัว / แสดงตัว (สูง) (Extroversion) = พูดมาก + ว่องไว + กล้าแสดงออก (เหมาะสม) + มีพลัง + ชอบเข้าสังคม (traits กลุ่มหนึ่ง) Type = ด้านเห็นพ้องด้วย (สูง) (Agreeableness) = เห็นใจผู้อื่น + เมตตากรุณา + ซาบซึ้ง + ให้ความรัก +ใจอ่อนโยน (traits กลุ่มหนึ่ง) Type = มโนธรรม (สูง) (Conscientiousness) = ประมวลสรุปเก่ง + ละเอียด + ช่างวางแผน + มีประสิทธิภาพ (traitsกลุ่มหนึ่ง) ฯลฯ (ที่เหลือโปรดทบทวนด้วยตนเองในตํารา + เอกสาร)
การวัดผลบุคลิก / จิตลักษณะ: วัดโดยใช้เครื่องมือวัด / สํารวจบุคลิกภาพที่มีความเที่ยงตรง (สูง) + ความเชื่อมั่น (สูง) เช่น แบบสํารวจMBTI, MMPI, MPI เป็นต้น
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมกับการแสดงพฤติกรรมของบุคคลทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมกับการแสดงพฤติกรรมของบุคคล = บุคคลแสดง beh.แตกต่างกันออกไป เพราะเรียนรู้มาไม่เหมือนกัน beh.ไม่จําเป็นต้องแสดงออกมาเหมือนเดิม คําถามที่น่าสนใจของนักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม มี 3 ข้อ ดังนี้ (1) เราไม่สามารถมองเห็น beh.ที่เป็นผลมาจาก traitภายใน แต่ beh. เป็นผลมาจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม (2) ความแตกต่างระหว่างบุคคลไม่จําเป็นต้องมีความมั่นคง อยู่เสมอ บุคคลสามารถเรียนรู้ที่จะแสดง beh.ในแนวทางที่ใหม่ๆ ได้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมกับการแสดงพฤติกรรมของบุคคล (ต่อ) สไนเดอร์ กล่าวว่า บางคนแสดงพฤติกรรมภายนอกสอดคล้องกับบุคลิกลักษณะของตน (จริงใจ) มากกว่าบางคน (3) บุคคลไม่ได้ถูกบังคับให้แสดง behavior ออกมาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ แต่สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันต่างหาก ที่มักจะเร้าให้บุคคลแสดงออกมาแตกต่าง กัน beh.อาจจะมีความมั่นคงตลอดเวลา ในสถานการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ เพราะสิ่งแวดล้อมนั้นมีปัจจัยอันเดิม
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมกับการแสดงพฤติกรรมของบุคคล (ต่อ) เช่น บุคคลหนึ่งอาจแสดงความเขินอายในระดับต่างกันไปตามลักษณะสถานการณ์ เขาอาจมักจะเขินอายมาก กับบุคคลที่เพิ่งได้รู้จัก ดังนั้น ในหลายสถานการณ์ คนเราจึงไม่จําเป็นต้องแสดงออกมาเป็นประจําในสถานการณ์เดิม ๆ
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมกับการแสดงพฤติกรรมของบุคคล (ต่อ) สรุปได้ว่า บุคลิกลักษณะ (traits) ต่างๆ ไม่ใช่ตัวพยากรณ์ที่ดีของ beh. (ที่เป็นหน่วยเล็กที่สุด) ... กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า พฤติกรรมเดี่ยวๆที่แสดงออกมาก็ไม่ใช่ตัวพยากรณ์ที่ดีของบุคลิกลักษณะ (traits) เฉกเช่นเดียวกัน (มีต่อ)
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมกับการแสดงพฤติกรรมของบุคคล (ต่อ) เช่น ผลวิจัยพบว่า การอนุมานว่าบุคคลนั้น ๆ มีมโนธรรม (trait)... สูงหรือไม่ ในกลุ่มนักศึกษาป.ตรีเราไม่อาจพิจารณาได้ตรงที่การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย แต่การมีมโนธรรมสูงดังกล่าว พิจารณาได้ตรงที่การตรงต่อเวลา + การเอาใจใส่รับผิดชอบงานที่ได้รับ (แสงสุรีย์ สําอางค์กูล และนพนธ์ สัมมา, 2542) การศึกษาtrait กับสถานการณ์ควบคู่กัน…ผลการวิจัยในระยะหลัง พบว่า…beh. ถูกกําหนดโดยอิทธิพลร่วมกันระหว่างบุคลิกลักษณะ + สถานการณ์หลายตัวหลายชนิด (Lewin, 1935, 1936, 1977, 1985)
เราสามารถเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของบุคคลได้หรือ? มีบางแง่มุมของบุคลิกภาพเท่านั้น และมีหลายแนวทาง/เทคนิควิธีการที่จะทำได้ ค่ะ ทางพระพุทธศาสนา มีจุดเน้นไว้ด้วยว่า คนเป็นผู้ที่สอนได้ เปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่เจริญงอกงามเติบโตได้ ถ้ายังมีสติ และ ปัญญาอยู่ รวมทั้งหลงติดยึดกับอวิชชา และมีคติง่ายๆที่ว่า “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” ด้วย ทางจิตวิทยาสังคม ก็มีหลักวิชาที่พิสูจน์ไว้หลายแนวคิด /หลักการ ค่ะ
คิดดีได้ดี คิดร้ายได้ร้าย ดังนั้น จงฝึกคิดดี-รู้สึกดี-ทำดี จนเป็นนิสัยส่วนตัว แล้วจะสุขตลอดไป นะจ๊ะ
ขอบคุณค่ะ ขอให้ทุกคนโชคดีในการสอบ....ค่ะ รองศาสตราจารย์แสงสุรีย์ สำอางค์กูล