401 likes | 799 Views
บทที่ 8. หนี้สาธารณะ. โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สายวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หัวข้อ 8.1 ความหมายและความสำคัญของหนี้สาธารณะ 8.2 วัตถุประสงค์การก่อหนี้สาธารณะ 8.3 ประเภทหนี้สาธารณะ 8.4 แนวคิดเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ 8.5 หลักการ และการควบคุมการก่อหนี้สาธารณะ
E N D
บทที่ 8 หนี้สาธารณะ โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สายวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หัวข้อ 8.1 ความหมายและความสำคัญของหนี้สาธารณะ 8.2 วัตถุประสงค์การก่อหนี้สาธารณะ 8.3 ประเภทหนี้สาธารณะ 8.4 แนวคิดเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ 8.5 หลักการ และการควบคุมการก่อหนี้สาธารณะ 8.6 ผลการก่อหนี้สาธารณะ 8.7 วิวัฒนาการหนี้สาธารณะของไทย 8.8 หนี้สาธารณะและวิกฤติเศรษฐกิจ 8.9 สถานะหนี้และภาระหนี้ของรัฐบาล
8.1 ความหมายและความสำคัญของหนี้สาธารณะ 1)ความหมายของรายจ่ายสาธารณะ - หนี้สาธารณะ(Public Debt)หรือหนี้รัฐบาล( Government Debt ) หมายถึง “ หนี้สินที่รัฐบาลก่อขึ้นเพื่อนำมาใช้จ่ายในกิจการของ รัฐบาล และที่อยู่ในรูปของสัญญาใช้เงินที่รัฐบาลให้ไว้แก่ผู้ที่รัฐบาล กู้ยืมว่ารัฐบาลจะจ่ายคืนเงินต้นที่กู้มาพร้อมทั้งดอกเบี้ยจำนวนหนึ่ง เมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญา” -หนี้สาธารณะยังมีความหมายครอบคลุมถึงข้อผูกพันที่รัฐบาล จะต้องรับผิดชอบตามพันธกรณีที่รัฐบาลได้กระทำในฐานะผู้ค้ำประกัน เงินกู้และรับรองปริวรรตเงินตราอีกด้วย ปัจจุบันขยายครอบคลุมถึง หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(1) การค้ำประกันเงินกู้ (Loan Guarantee) การที่รัฐยอมข้อ • ผูกพันในการรับประกันการชำระหนี้ให้แก่หน่วยราชการต่างๆ และ • รัฐวิสาหกิจ • (2) การรับรองปริวรรติเงินตรา (Exchange Guarantee) การที่ • รัฐบาลรับรองว่าจะให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้แลกเปลี่ยนเงินตรา • ต่างประเทศ และอนุญาตให้ส่งเงินไปชำระหนี้เงินกู้ให้กับเจ้าหนี้ใน • ต่างประเทศตามงวดสัญญาที่ต้องชำระคืน • (3) หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน • การเงิน เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังเกิดวิกฤตในภาคเศรษฐกิจและการเงินปี • 2540 ที่กองทุนฯเข้าไปช่วยเหลือสถาบันการเงิน
2) ความสำคัญของหนี้สาธารณะ - มีความสัมพันธ์กับการเก็บภาษี อันส่งผลต่อการใช้จ่ายและการ ออมของประชาชน -มีผลต่อการใช้หรือจัดสรร หรือการเคลื่อนย้ายทรัพยากรทางการ เงินระหว่างภาครัฐบาลกับภาคเอกชน(ทั้งบุคคลและสถาบันหรือองค์กร ที่เกี่ยวข้อง) และการเคลื่อนย้ายทรัพยากรระหว่างประเทศ -มีผลต่อการพัฒนาของประเทศ โดยเฉพาะกรณีที่ทรัพยากร ทางการเงินของประเทศหรือของรัฐบาลมีไม่เพียงพอ เพื่อนำมาใช้จ่าย ในการลงทุนของรัฐบาล -มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการหมุนเวียนของปริมาณเงินใน ระบบเศรษฐกิจ และกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
8.2 วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้สาธารณะ 1)เพื่อใช้จ่ายในการลงทุน เป็นรายจ่ายลงทุนในโครงการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เช่น ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 2)เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งด้านรายได้(เศรษฐกิจ ขยายตัว-เศรษฐกิจหดตัว)และระดับราคา(เงินเฟ้อ-เงินฝืด) 3)เพื่อชดเชยงบประมาณที่ขาดดุล (รายรับ<รายจ่าย) 4)เพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน เช่น ประสบภัยทางธรรมชาติ สงคราม 5)เพื่อรักษาและเพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศ ในกรณีที่ดุลการ ชำระเงินขาดดุลติดต่อกันหลายๆปีทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประ เทศลดลงเหลือน้อยกว่าระดับปกติ กระทบความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
6)เพื่อระดมทุนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ กรณี ที่ประชาชนเก็บออมเงินไว้เฉยๆ ไม่ใช้จ่าย ทำให้เกิดภาวะเงินฝืด 7)เพื่อนำมาหมุนเวียนใช้หนี้เก่า กรณีถึงกำหนดชำระคืน แต่ รัฐบาลไม่มีเงินเพียงพอที่จะใช้คืน 8)เพื่อปรับปรุงโครงสร้างภาระหนี้ให้มีการกระจายหนี้ดีขึ้น (Refinancing) กรณีที่ภาวะการณ์และแหล่งเงินทุนใหม่มีดอกเบี้ย ต่ำและให้เงื่อนไขที่ดีกว่า
8.3 ประเภทของหนี้สาธารณะ 1)แบ่งตามระยะเวลาการกู้ เป็นเป็น 3 ประเภท (1) หนี้ระยะสั้น (Short-Term Loan) -ระยะเวลาการไถ่ถอนคืนไม่เกิน 1 ปี ส่วนใหญ่ 3 เดือน -สาเหตุจากรัฐบาลมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย โดยเฉพาะ ในช่วงต้นปีงบประมาณ -วิธีการกู้ยืมโดยการออกตั๋วเงินคลัง(Treasury Bills)โดย รัฐมนตรีว่าหารกระทรวงการคลังเป็นคนมีอำนาจกระทำ(กู้) และการ กู้ยืมโดยการเบิกเกินบัญชี (Overdraft หรือ O/D) จากธนาคารแห่ง ประเทศไทย(กู้ได้ไม่เกิน 25% ของงบประมาณรายจ่าย และดอกเบี้ย ไม่เกิน 2% ต่อปี ไถ่ถอนคืนภายใน 3 เดือนแรกของปีถัดไป)
(2) หนี้ระยะกลาง (Medium-Term Loan) -ระยะเวลาการไถ่ถอนคืน 1-5 ปี -ไม่เป็นที่นิยมในการกู้ (3) หนี้ระยะยาว (Long-Term Loan) -ระยะเวลาการไถ่ถอนคืน 5 ปีขึ้นไป ปกติ 10-20 ปี -เครื่องมือโดยการออกพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) โดยราคาไม่สูงนักและอัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ประจำของธนาคารพาณิชย์ -นำไปใช้ในโครงการใหญ่ๆ และสาธารณูปโภคที่ให้ผลตอบแทน ระยะยาว เช่น ไฟฟ้า ประปา
2)แบ่งตามแหล่งที่มาของเงินกู้ แบ่งเป็น 2 ประเภท (1) หนี้ภายในประเทศ (Internal Debt) -กู้จากธนาคารกลาง ธนาคารพาณิชย์ มูลนิธิ และสถาบัน การเงินต่างๆ (2) หนี้ภายนอกประเทศ (External Debt) -กู้จากเอกชนต่างประเทศ ธนาคารต่างประเทศ รัฐบาล ต่างประเทศ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ 3)แบ่งตามลักษณะการก่อหนี้ แบ่งเป็น 2 ประเภท (1) การก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Non- Expansionary Borrowing) -เป็นการเปลี่ยนมือผู้ใช้เงินจากภาคเอกชนมาสู่ภาครัฐบาล
เงินเอกชนส่วนที่จะบริโภคเงินเอกชนส่วนที่จะบริโภค ค่าใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจไม่เปลี่ยน เงินเอกชนส่วนที่ออม ค่าใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น - -กรณีขายให้เอกชน ทำให้ปริมาณเงินในมือประชาชนลดลง การใช้จ่ายลดลง รัฐนำเงินไปใช้จ่าย ระบบเศรษฐกิจจึงอยู่ในสมดุล เดิม -กรณีกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น โดยเงิน ที่นำมาให้กู้(หรือนำมาซื้อพันธบัตร)เป็นส่วนที่ขายตราสารให้เอกชนหรือ เรียกเงินกู้ยืม(คืน)จากเอกชน การใช้จ่ายเอกชนลด รัฐนำมา ใช้จ่ายทำให้การใช้จ่ายภาครัฐบาลเพิ่ม แต่ไม่ทำให้ของระบบ เปลี่ยนแปลง
(2) การก่อหนี้ที่ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Expansionary Borrowing) - -กู้จากธนาคารกลาง -กู้จากธนาคารพาณิชย์ โดยพันธบัตรส่วนที่ซื้อสามารถเป็นส่วน หนึ่งของเงินสดสำรองตามกฎหมาย(เป็นส่วนที่ธนาคารเก็บสำรองไม่ได้ นำมาปล่อยสินเชื่อ) ไม่กระทบต่อปริมาณการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร เมื่อรัฐบาลใช้จ่ายจะทำให้เป็นการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ
-กู้จากต่างประเทศ ใช้จ่ายไปใน โครงการพัฒนาต่างๆ เศรษฐกิจขยายตัว การสงคราม หรือซื้ออาวุธ เศรษฐกิจไม่ขยายตัว แนวคำถาม - “รัฐบาลจำเป็นต้องก่อหนี้สาธารณะ” ท่านเห็นด้วยกับคำกล่าว ข้างต้นหรือไม่ อย่างไร? - การก่อหนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร? หากรัฐต้องก่อหนี้จะต้อง คำนึงถึงอะไรหรือปัจจัยใดบ้าง? - “การก่อหนี้ก่อให้เกิดผลทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันตาม แหล่งที่มาของเงินกู้” ท่านเข้าใจอย่างไร? อธิบาย
8.4 แนวคิดเกี่ยวกับการก่อหนี้ - ปริมาณหนี้สาธารณะของแต่ละประเทศจะมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายประการ เช่น (1) ขนาดของระบบเศรษฐกิจ(วัดจาก GDP) (2) การสะสมทุนภายในประเทศ(การสะสมทุนภายในประเทศตำ ประเทศต้องกู้เงินมาก) (3) ความจำเป็นในการใช้เงินเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาต่างๆ ถ้า มีความจำเป็นมาก การก่อหนี้จะมากตามไปด้วย (4) ความสามารถในการชำระหนี้คืนในอนาคต ถ้าสูงจะทำให้การ ก่อหนี้สูงตามไปด้วย(ผู้ให้กู้ก็อยากให้กู้) (5) ภาวะทางเศรษฐกิจ เช่น รุ่งเรือง-ถดถอย, เงินเฟ้อ-เงินฝืด (6) ภาระทางงบประมาณในอนาคต
- สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการก่อหนี้สาธารณะ เช่น (1) ปริมาณเงินกู้ (2) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (3) ระยะเวลาการไถ่ถอนเงินกู้ (4) ประสิทธิภาพการบริหารเงินกู้ (5) ผลกระทบต่อการจัดสรรทรัพยากร และผลกระทบต่อระบบ เศรษฐกิจ -การวัดระดับปริมาณหนี้สาธารณะวัดจาก (1) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติ:GNP(หรือต่อ ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น:GDPก็ได้) (2) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
- แนวคิดในการก่อหนี้สาธารณะ 3 แนวคิด 1) การก่อหนี้และการบริหารหนี้แบบต้านวงจรเศรษฐกิจ (The Counter-Cyclical Approach) -วัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (เสถียรภาพของ P,Y) -ศ.ก.รุ่งเรือง MS>MD,AD>AS,เงินเฟ้อ(P ),Y ต้อง MS โดย ขายพันธบัตรซึ่งเป็นการก่อหนี้ระยะยาวMS AD P ,Y -ศ.ก.ถดถอย ADP ,Y ซื้อคืนพันธบัตรMS C AD P , Y G AD P ,Y -เงื่อนไข ดอกเบี้ยที่ให้ผู้ให้กู้ต้องสูงกว่าปกติเพื่อเป็นแรงจูงใจ
2) การก่อหนี้และการบริหารหนี้แบบตามวงจรเศรษฐกิจ (The Cyclical Approach) -การก่อหนี้และการบริหารหนี้ที่ดีที่สุดควรดำเนินการโดยให้เกิด ภาระดอกเบี้ยเงินกู้แก่รัฐบาลน้อยที่สุด ต้นทุนเงินกู้ของรัฐบาลต่ำสุด -ศ.ก.รุ่งเรือง ปัจจุบันดอกเบี้ย(R)สูง Rอนาคตจะต่ำ ควร ก่อหนี้ระยะสั้นเพราะจะทำให้เสียต้นทุนดอกเบี้ยสูงไม่นาน เมื่อ ดอกเบี้ยลดค่อยกู้ใหม่อีก -ศ.ก.ตกต่ำ R ต่ำ ก่อหนี้ระยะยาว(เพราะดอกเบี้ยต่ำ,ควร ยืดระยะเวลาการไถ่ถอนเพราะเสียต้นทุนดอกเบี้ยต่ำ)
3) การก่อหนี้และการบริหารหนี้แบบเป็นกลาง (The Neutrality Approach) -มีข้อโต้แย้ง 2 แนวคิดแรก (1) แบบแรก เน้นเสถียรภาพมากเกินไป โดยรัฐบาลรับภาระ ดอกเบี้ยสูง ไม่ยุติธรรมสำหรับคนรุ่นหลัง (2) แบบสอง ไม่คำนึงเสถียรภาพ ก่อให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้น รายได้ประชาชาติลด(Y ) -แนวคิดหลัก การก่อหนี้ต้องเป็นไปโดยสม่ำเสมอและทำเป็น ประจำ โดยมีหลักทรัพย์รัฐบาลไม่มากประเภทนัก จะง่ายต่อการ คาดคะเนผลทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และการกู้จากแหล่งเงินกู้ภายใน ประเทศทำให้การคาดคะเนผลทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นค่อนข้างแน่นอน -วัตถุประสงค์เพื่อเกิดความแน่นอนของแหล่งเงินกู้
8.5 หลักการและการควบคุมการก่อหนี้สาธารณะ 1)หลักผลประโยชน์ แบ่งเป็น 2 ประการ (1) พิจารณาจากงบลงทุน การก่อหนี้ควรจะนำเงินไปใช้จ่ายในงบ ลงทุน เพื่อเกิดผลตอบแทนในอนาคต (2) พิจารณาจากผลตอบแทน ผลตอบแทนที่ได้รับต้องไม่ควร น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยหรือต้นทุนของการลงทุน(หรือเงินกู้) โดยใช้ หลักการวิเคราะห์โครงการ 2)หลักการชำระหนี้คืนและมาตรการควบคุม (1) การก่อหนี้โดยตรงของรัฐบาล (1.1)การกู้จากต่างประเทศ - ไม่เกินร้อยละ 9 ของเงินตราต่างประเทศที่หามาได้
- ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี - ไม่เกินร้อยละ 13 ของรายได้ของรัฐบาล (1.2) การกู้ภายในประเทศ -ไม่เกินร้อยละ 20 ของบประมาณรายจ่ายหรืองบประมาณรายจ่าย เพิ่มเติม -ไม่เกินร้อยละ 80 ของงบประมาณในการชำระต้นเงินกู้ (2) การกู้โดยรัฐบาลค้ำประกัน -มีการกำหนดข้อจำกัดในการกู้ที่คิดเป็นสัดส่วนกับรายจ่าย ประจำปีหรือกำหนดการกู้ไม่ให้เกินจำนวนเท่าของเงินทุนที่ชำระแล้ว 3)หลักนิติบัญญัติ - ส่วนราชการที่จะก่อหนี้ต้องเสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณา และ รมต.การคลังเป็นผู้มีอำนาจลงนามสัญญาเงินกู้
- การก่อหนี้กระทำโดยการออกกฎหมายรองรับ 4)หลักการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ - เพื่อควบคุมภาวะเศรษฐกิจให้เป็นไปตามที่ต้องการ ทั้งด้านอุป สงค์รวม การว่างงาน รายได้ประชาชาติ ระดับราคา เป็นต้น 8.6 ผลการก่อหนี้สาธารณะ - ผลของการก่อหนี้สาธารณะกับการโอนภาระหนี้ 1) แนวคิดเกี่ยวกับการโอนภาระหนี้สาธารณะ (1) แนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม (Conservative) ไม่เห็นด้วยกับการ ก่อหนี้ของรัฐบาล เพราะประโยชน์ตกแก่คนรุ่นปัจจุบัน ภาระตกแก่ คนรุ่นต่อไป รัฐบาลเป็นหนี้เพราะใช้จ่ายฟุ่มเฟือย (2) แนวคิดแบบเสรีนิยม(Liberals) รัฐจำเป็นต้องก่อหนี้เพราะ
หารายได้ไม่ทันกับรายจ่าย นำไปจ่ายลงทุนได้ผลตอบแทนอนาคต 2) ผลการโอนภาระหนี้สาธารณะ (1) การโอนภาระหนี้ต่อการเก็บภาษี กรณีเก็บภาษีแล้วนำไปชำระ หนี้ - ถ้าโครงสร้างภาษีทางอ้อมส่วนใหญ่(ซึ่งเป็นแบบถดถอย) ไม่ ยุติธรรมสำหรับผู้มีรายได้น้อยซึ่งต้องเสียภาษี เท่ากับเป็นการโอน ภาระหนี้ให้ผู้มีรายได้น้อยมากกว่าผู้ที่มีรายได้สูง - ถ้าอัตราส่วน หนี้ ต่อ GNP (หรือ GDPก็ได้) มีค่าลดลง การก่อ หนี้ทำให้ GNP ขยายตัวสูง จึงไม่เป็นภาระแก่คนรุ่นหลัง (2) การโอนภาระหนี้กับการสะสมทุนภายในประเทศ -พิจารณาวิธีการหาเงิน(เก็บภาษี,กู้) และการใช้จ่าย(ประจำ,ลงทุน)
-ถ้า ภาษี ใช้จ่ายประจำ และเงินกู้ ใช้จ่ายลงทุน เป็นการ ยุติธรรมกับคนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นต่อไป -ถ้าภาษี ใช้จ่ายลงทุน ภาระภาษีตกแก่คนรุ่นปัจจุบัน ประโยชน์ตกแก่คนรุ่นต่อไป และเงินกู้ ใช้จ่ายประจำ ภาระภาษีตกแก่คนรุ่นต่อไป แต่ ประโยชน์ตกแก่คนรุ่นปัจจุบัน สรุปว่า เกิดความไม่ยุติธรรม (3) การโอนภาระหนี้จากการก่อหนี้ต่างประเทศ - พิจารณาผลประโยชน์ที่ได้รับ - ไม่มีผลให้การบริโภคและการลงทุนของคนรุ่นปัจจุบันลดลง -ถ้าสามารถนำเงินกู้มาลงทุนก่อให้เกิดผลผลิตหรือรายได้หรือ เงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่าเงินต้นและดอกเบี้ยที่จ่าย ถือว่าไม่ เป็นภาระแก่คนรุ่นต่อไป
(4) การโอนภาระหนี้กับการพัฒนาเศรษฐกิจ -เป้าหมายการกู้เพื่อลงทุนในการพัฒนาประเทศ โดยกู้จากต่างประ เทศไม่ถือว่าเป็นภาระแก่คนรุ่นต่อไปเพราะประโยชน์ตกแก่คนรุ่นต่อไป -ผลกระทบของการก่อหนี้ต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจ 1. ผลทางด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจของการก่อหนี้สาธารณะ 1) การกู้จากต่างประเทศ -เกิดจากปัญหาขาดแคลนเงินทุนภายในประเทศ -สาเหตุการกู้จากต่างประเทศ (1) กู้เพื่อทดแทนส่วนที่ขาดระหว่างการออมในประเทศกับการ ลงทุนในประเทศ เรียกว่า ช่องว่างการออม (Saving Gap) เพราะการ ออม(หรืออุปทานเงินให้กู้) มีน้อยกว่าความต้องการลงทุน(หรืออุปสงค์ ต่อเงินกู้) ผลคือ การบริโภคในประเทศไม่ลด นำเงินกู้มาลงทุน
ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว (2) กู้เพื่อนำมาทดแทนช่องว่างระหว่างรายได้กับรายจ่ายเงินตรา ต่างประเทศ เกิดจากส่งออก(รายได้เงินตราต่างประเทศ)น้อยกว่านำเข้า (รายจ่ายเงินตราต่างประเทศ) เรียก ช่องว่างทางการค้า (Trade Gap) กู้มาเพื่อใช้จ่ายนำเข้า ไม่ส่งผลต่อการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศ จึงส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจน้อย 2) การกู้จากธนาคารกลาง -เหมือนกับการพิมพ์เงินเพิ่ม ทำให้ปริมาณเงินเพิ่ม รัฐบาลกู้แล้ว นำมาใช้จ่าย ทำให้การให้สินเชื่อแก่เอกชนเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว -ปริมาณเงินในระบบจะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าธนาคาร กลางมีนโยบายการเงินในขณะนั้นเป็นแบบใด(แบบขยายตัวหรือแบบ หดตัว) ถ้าเป็นแบบขยายตัวปริมาณเงินจะเพิ่มมาก
-สิ่งที่ต้องระวังคือผลกระทบต่อเงินเฟ้อ -สิ่งที่ต้องระวังคือผลกระทบต่อเงินเฟ้อ 3) การกู้จากธนาคารพาณิชย์(ธพณ.) -กู้จากส่วนที่ ธพณ.ปล่อยสินเชื่อ เป็นการแย่งเงินทุนจากเอกชน -กู้จากส่วนที่เหลือจากการปล่อยกู้ แล้วนำมาใช้จ่าย อุปสงค์รวม เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว -ส่วนที่กู้โดยออกพันธบัตร ธพณ.นำไปเป็นเงินสำรองตามกฎหมาย ไม่ทำให้การปล่อยสินเชื่อลดลง รัฐนำมาใช้จ่าย เศรษฐกิจขยายตัว 4) การกู้จากเอกชน -กู้จากส่วนที่ออม(S) G AD Y -กู้จากส่วนที่บริโภค(C) C G Y , Y (ขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพการใช้จ่ายและผลของตัวทวีคูณการบริโภคกับการใช้จ่าย)
3) ผลทางด้านการกระจายรายได้ -กู้ภายในประเทศ ผลได้ที่เป็นการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยจะ ตกแก่คนรวยเป็นส่วนใหญ่(คนรวยถือพันธบัตร แต่คนจนถือน้อย) การเก็บภาษีเพื่อนำมาชำระหนี้กระทบคนจนมากกว่า รายได้และการ บริโภคลดลงมากกว่า -กู้จากต่างประเทศ และหากส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ กระทบต่อผู้ที่มี รายได้ประจำ ผู้ถือพันธบัตร และเจ้าหนี้ แต่จะเกิดผลดีต่อพ่อค้านัก ธุรกิจ ผู้ถือสินทรัพย์(เช่นที่ดิน) และรัฐบาล(ลูกหนี้) เกิดการ เปลี่ยนแปลงในการกระจายรายได้จากกลุ่มเกิดผลเสียสู่กลุ่มที่เกิดผลดี 4) ผลต่อระดับราคาสินค้า ดุลการค้า และดุลการชำระเงิน ระหว่างประเทศ
(1) ผลทางด้านระดับราคาสินค้า -เศรษฐกิจตกต่ำ ราคาปัจจัยการผลิตไม่เปลี่ยน การใช้จ่าย เพิ่มขึ้น อุปสงค์รวมเพิ่มขึ้น กระทบราคาน้อยมาก -เศรษฐกิจรุ่งเรือง ปัจจัยการผลิตถูกใช้เต็มที่แล้ว การใช้จ่าย รัฐบาล ทำให้อุปสงค์รวมเพิ่มขึ้น ราคาปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น ราคา สินค้าเพิ่มขึ้น (2) ผลทางด้านดุลการค้าและดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ -ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้จ่ายและแหล่งที่มาของเงินกู้ -ถ้านำเงินกู้ไปซื้อสินค้า อาวุธ หรือชำระหนี้ต่างประเทศ ทำ ให้ดุลการค้าและดุลการชำระเงินเลวลง -กู้ภายในประเทศ แล้วนำไปเป็นทุนสำรองหรือใช้จ่าย ไม่ กระทบดุลการค้าและดุลการชำระเงิน
8.7 วิวัฒนาการหนี้สาธารณะของไทย 1.วิวัฒนาการของการก่อหนี้ต่างประเทศของไทย -ครั้งแรกปลายปี 2445 กู้เพื่อสร้างทางรถไฟจากลพบุรีไป อุตรดิตถ์และสาธารณประโยชน์ต่างๆ สกุลเงินปอนด์ ตลาดเงิน ลอนดอนและปารีส -ปัจจุบันกู้มาเพื่อพัฒนาประเทศ และการเศรษฐกิจต่างๆ จาก ธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย รัฐบาลประเทศต่างๆ ตลาดเงิน ยุโรป ตลาดเงินโตเกียว ตลาดเงินนิวยอร์ค เป็นต้น 2.วิวัฒนาการการก่อหนี้ภายในประเทศ -ระยะที่ 1 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อใช้จ่ายในงบประมาณ แผ่นดิน (เพื่อสหกรณ์ เพื่อการอุตสาหกรรม เพื่อเทศบาล และเพื่อ ช่วยชาติ)
-ระยะที่ 2 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 -2502 เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ โดยออกตั๋วเงินคลัง -ระยะที่ 3 2503-2522 เพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุล ส่วนใหญ่ เป็นพันธบัตร -ระยะที่ 4 2523-2533 เพื่อแก้ปัญหาความซบเซาทางเศรษฐกิจ -ระยะที่ 5 2534-ปัจจุบัน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ 8.8 หนี้สาธารณะและวิกฤตเศรษฐกิจ -ผลกระทบภายหลังวิกฤต เช่น ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง เงินทุนต่างประเทศของเอกชนไหลออก ส่งผลกระทบค่าเงินบาทและ สภาพคล่องภายในประเทศ สถาบันการเงินถูกปิดกิจการ
-มาตรการที่รัฐดำเนินการ 1)เสริมสร้างทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อรักษาค่าเงิน 2)งบประมาณขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 3)บรรเทาผลกระทบทางสังคม 4)เพิ่มทุนสถาบันการเงินของรัฐเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง 5)แทรกแซงสถาบันการเงินเพื่อประกันเงินฝาก 6)เพิ่มทุนให้สถาบันการเงิน -มาตรการก่อหนี้ 1)การก่อหนี้ต่างประเทศ เพื่อ 1.1)ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ(SAL) เพื่อเพิ่มทุนสถาบันการเงิน เฉพาะกิจของรัฐ 1.2)เงินกู้โครงการลงทุนทางสังคม(SIP)
1.3)เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ(Miyazawa) 1.3)เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ(Miyazawa) 1.4)เพื่อปรับโครงสร้างทางการเกษตร 2)หนี้ในประเทศ 2.1)เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2.2)เพื่อชดเชยความเสียหายกองทุนฟื้นฟูฯ 2.3)เพื่อช่วยเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินตามโครงการ14 สิงหาคม2541
8.9 สถานะหนี้และภาระหนี้ของรัฐบาล -การวิเคราะห์พิจารณาว่า 1)วิเคราะห์ว่าระดับของหนี้อยู่ในระดับที่จัดการได้(Manageable) 2)ระดับหนี้ลดลงในระยะยาว(Sustainable) -องค์ประกอบที่ต้องพิจารณาในการวิเคราะห์ 1)ฐานะการคลัง การเกินดุล-ขาดดุลงบประมาณ ถ้าเกินดุลได้ดี 2)สัดส่วนหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ต่อ GDP สูงต่ำเพียงไร สูงสุด เมื่อไร ระยะปานกลางและระยะยาวลดลงไหม 3)ภาระหนี้(รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม) ต่อ งบประมาณรายจ่ายรวม (Dept service) อยู่ระดับใด สูงสุดเมื่อไร ทยอยลดลงไหมในระยะปานกลาง
คำถามท้ายบทที่ 8 หนี้สาธารณะ จากข้อมูลที่กำหนดให้ ในแต่ละช่วงรัฐบาลสมควรก่อหนี้ หรือไม่ เพราะเหตุใด ?
"การเมืองบีบเรามาตลอด ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า จุดยืนของเราเป็นอย่างไร ผมเคยบอกแล้วว่า ผมอยู่ที่นี่แม้วันเดียว และผมได้ทำความถูกต้องเป็นอุดมการณ์ ดีกว่าผมอยู่ 10 ปีแล้วยอมปล่อย..เป็นสวะลอยน้ำ.." ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์