450 likes | 641 Views
การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา นำเสนอโดย สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา. 1. กรอบการนำเสนอ. แนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและแนวโน้มในอนาคต นโยบายให้คนพิการได้มีโอกาสทางการศึกษา
E N D
การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา นำเสนอโดย สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา 1
กรอบการนำเสนอ • แนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินงานกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ • นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและแนวโน้มในอนาคต • นโยบายให้คนพิการได้มีโอกาสทางการศึกษา • ทิศทาง ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และมาตรการการพัฒนาการจัดการศึกษา • สำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา • กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการบริการสนับสนุน • นักศึกษาพิการในสถานศึกษา • แนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการของ สกอ. • หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุนฯ • สำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา • นโยบายการพัฒนาศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSS Center) • หน้าที่ของศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSS Center) • สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไข • การดำเนินการในระยะต่อไป 2
แนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินงานแนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินงาน “งานช่วยเหลือผู้พิการมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้พิการมิได้เป็นผู้ที่อยากจะพิการ แต่อยากช่วยตนเอง ถ้าเราไม่สามารถช่วยเขาให้สามารถที่จะปฏิบัติงาน เพื่อมีชีวิตและมีเศรษฐกิจของครอบครัว จะทำให้เกิดสิ่งที่หนักในครอบครัว หนักแก่สังคม ฉะนั้น นโยบายที่จะทำก็คือ ช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเองได้ เพื่อที่จะให้เขาสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคม” (พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จ- พระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 22 เดือนมีนาคม พุทธศักราช 2527) 3
แนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินงาน (ต่อ) • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 • มาตรา 55 และมาตรา 80 วรรคสอง • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 • มาตรา 30 มาตรา 49 และมาตรา 80 • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 10 • พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 • มาตรา 15 มาตรา 16 และมาตรา 20 • พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 • มาตรา 5 (1) มาตรา 8 วรรค 4 และวรรค 5 มาตรา 9 วรรค 2 4
แนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินงาน (ต่อ) • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545 - 2549) • มุ่งเน้นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งพัฒนาสังคมไทยสู่ • “สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ” • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 - 2554) • มุ่งเน้นสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันภายใต้แนวปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยการเร่งขยายโอกาสการเข้าถึงบริการสังคม สำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสให้ทั่วถึง • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559) ยังคงยึดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่องจากแผนฯ 9 – 10 รวมถึงความสามารถในการพึ่งตนเองกับการแข่งขันในเวทีโลก 5
แนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินงาน (ต่อ) • แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551 - 2565) มุ่งเน้นยกระดับ คุณภาพอุดมศึกษาไทย ผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพสู่ตลาดแรงงาน • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในกระแสโลกาภิวัฒน์ • แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 - 2554) • ในยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับอุดมศึกษาไทย ได้กำหนดมาตรการสนับสนุน • ให้ผู้พิการได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาและให้จัดสิ่งอำนวย • ความสะดวกให้กับนักศึกษาพิการ • แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559) มุ่งเน้น • ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีศักยภาพตรงตามความต้องการของสังคม มีดุลยภาพ ระหว่างเก่งงานและเก่งความดี มีความรับผิดชอบ มีสุขภาวะทั้งร่างกายและจิตใจ • สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพงานที่เปลี่ยนแปลงได้ 6
ความสำคัญของกฎหมาย • ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะผู้พิการ โดยคำนึงถึงสิทธิและโอกาสที่จะได้รับการศึกษา • คนพิการมีสิทธิได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย • ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยให้สอดคล้องกับ ความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการและต้องมีการปรับปรุงแผน การจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง • ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใด • ทางการศึกษาที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ • สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษาให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย 7
นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • คนพิการ หมายถึง บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด • (ความหมายคนพิการตาม พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 มาตรา 3) 8
นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • การแบ่งประเภทของความพิการ • กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2552 กำหนดประเภทของคนพิการทางการศึกษา ไว้ 9 ประเภท คือ • 1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น • 2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน • 3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา • 4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางกายหรือสุขภาพ • 5. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ • 6. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา • 7. บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ • 8. บุคคลออทิสติก • 9. บุคคลพิการซ้อน 9
นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ ได้ออกประกาศกระทรวงฯ พ.ศ.2552 กำหนดประเภทความพิการไว้ 6 ประเภท คือ • 1. ความพิการทางการเห็น • 2. ความพิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย • 3. ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย • 4. ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรมหรือออทิสติก • 5. ความพิการทางสติปัญญา • 6. ความพิการทางการเรียนรู้ 10
นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • กระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 กำหนดประเภทความพิการไว้ 5 ประเภท คือ • 1. คนพิการทางการเห็น • 2. คนพิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย • 3. คนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว • 4. คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม • 5. คนพิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ 11
นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • องค์การอนามัยโลก (WHO) • คิดประมาณการสัดส่วนคนพิการร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรโลก • ประเทศไทย • กระทรวงสาธารณสุข : ร้อยละ 8.1 ของจำนวนประชากรไทย • สำนักงานสถิติแห่งชาติ : ร้อยละ 1.8 ของจำนวนประชากรไทย • สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจประชากรไทย ปี 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 65.4 ล้านคน • สถิติข้อมูลคนพิการจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) ปี 2555 • คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ มีจำนวน 1,278,605 คน (2 ก.ค.2555) 12
นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • สภาพัฒน์ได้ประมาณการจำนวนคนพิการวัยเรียน (0 – 24 ปี) • ในปี 2555 – 2559 มีแนวโน้มบ่งชี้ว่าจะมีจำนวนคนพิการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ลดลงจากปี 2554 ดังนี้ • ปี คนพิการ เพิ่มขึ้นร้อยละ • 2554 407,182 คน - • 2555 433,260 คน 6.40 • 2556 450,972 คน 10.75 • 2557 447,768 คน 9.97 • 2558 444,768 คน 9.14 • 2559 441,234 คน 8.36 13
นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้สำรวจจำนวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษามาตั้งแต่ปี 2547 – 2553 พบว่า แนวโน้ม มีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยตลอด ดังนี้ • ปี 2547 จำนวน 1,048 คน ปี 2548 จำนวน 1,289 คน • ปี 2549 จำนวน 1,452 คน ปี 2550 จำนวน 1,928 คน • ปี 2551 จำนวน 1,953 คน ปี 2552 จำนวน 2,107 คน • ปี 2553 จำนวน 4,668 คน (ข้อมูลจากศูนย์สารนิเทศ สำนักอำนวยการ สกอ.) • สำหรับในปี 2554 อยู่ในระหว่างการจัดทำฐานข้อมูลและการสำรวจข้อมูลภาวะการมีงานทำของนิสิต นักศึกษาพิการหลังจากสำเร็จการศึกษา 14
นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบบริการให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2547 และผลการสำรวจล่าสุดในเรื่องนโยบาย แนวทางและมาตรการในการรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาพิการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา พบว่า สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดนโยบายที่ชัดเจนแต่ไม่ได้ปิดกั้นสำหรับผู้พิการที่สามารถสอบผ่านได้ โดยสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่มีแนวทางและมาตรการในการรับนิสิต นักศึกษาพิการเข้าศึกษาต่อในสถาบันเหมือนนักศึกษาทั่วไป สำหรับการจัดบริการรองรับนิสิต นักศึกษาพิการระดับอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่มีการจัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ การจัดอาคารสถานที่ให้เหมาะสมกับคนพิการ อาทิ ลิฟท์ ทางลาด ราวจับ ห้องส้วม ห้องน้ำ รวมทั้งการบริการด้านสื่อหนังสืออักษรเบรลล์ การจัดหาอาสาสมัคร เพื่อนช่วยเพื่อน เป็นต้น 15
นโยบายให้คนพิการได้มีโอกาสทางการศึกษานโยบายให้คนพิการได้มีโอกาสทางการศึกษา • เพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการโดยคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการได้ออกระเบียบคณะกรรมการฯ พ.ศ.2552 ข้อ 6 วรรคหนึ่ง “กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษามีสิทธิได้รับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ตามจำนวนเงินที่ต้องเรียกเก็บจากนิสิต นักศึกษาพิการ ทั้งนี้ไม่เกินอัตราและรายการที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการกำหนด” 16
ทิศทาง ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และมาตรการ • การพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ • ในระดับอุดมศึกษา • นโยบายการปฎิรูปการศึกษาสำหรับคนพิการในทศวรรษ ที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดไว้ดังนี้ • วิสัยทัศน์ • คนพิการได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเสมอภาค • พันธกิจ • พันธกิจที่ 1 : คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค • พันธกิจที่ 2 : คนพิการได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของแต่ละประเภทความพิการในทุกระบบและรูปแบบการศึกษา • พันธกิจที่ 3 : การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ • พันธกิจที่ 4 : พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 17
นโยบายการปฎิรูปการศึกษาสำหรับคนพิการในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดไว้ดังนี้ (ต่อ) • ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษา • ยุทธศาสตร์ที่ 1 : เพิ่มโอกาสให้คนพิการได้รับบริการทางการศึกษา • ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ให้เหมาะสมสำหรับคนพิการ • ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สำหรับคนพิการ • ยุทธศาสตร์ที่ 4 : พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้สำหรับคนพิการ • ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ • ยุทธศาสตร์ที่ 6 : พัฒนาระบบการบริหารและกลไกในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ • ยุทธศาสตร์ที่ 7 : ปฏิรูประบบการเงิน การคลัง และงบประมาณเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการ 18
นโยบายการเข้าถึงและได้รับบริการทางการศึกษานโยบายการเข้าถึงและได้รับบริการทางการศึกษา ระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ • ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ในระดับอุดมศึกษา • ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา • วิสัยทัศน์ • จัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยคำนึงถึงความเท่าเทียมและคุณภาพ ในการเข้ารับการศึกษา โดยให้การช่วยเหลือให้นักศึกษาได้ศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เต็มศักยภาพ และมีงานทำ • ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สร้างโอกาสทางการศึกษา • กลยุทธ์ : จัดสรรโอกาสทางการศึกษาให้นักศึกษาพิการที่มีศักยภาพ ได้เข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษา 19
นโยบายการเข้าถึงและได้รับบริการทางการศึกษานโยบายการเข้าถึงและได้รับบริการทางการศึกษา ระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ(ต่อ) • ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาการจัดการการเรียนรู้ของผู้พิการ • กลยุทธ์ที่ 1 : พัฒนาระบบบริการสนับสนุนคนพิการ (DSS) ในสถาบันอุดมศึกษา ที่ส่งเสริมการเรียนของนักศึกษา • กลยุทธ์ที่ 2 : พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาพิเศษและ • การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาพิการ • กลยุทธ์ที่ 3 : พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับคนพิการ • ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาองค์ความรู้ • กลยุทธ์ : ผลิตงานวิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านคนพิการ • ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ส่งเสริมการมีงานทำของบัณฑิตผู้พิการ • กลยุทธ์ : ส่งเสริมความร่วมมือในการสนับสนุนการประกอบอาชีพของบัณฑิตพิการ 20
กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการสนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการสนับสนุน นักศึกษาพิการในสถานศึกษา • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา • สกอ.เตรียมความพร้อมเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษา สร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาพิการ โดยจัดประชุมสัมมนาเรื่องการพัฒนาระบบรองรับคนพิการในสถาบันอุดมศึกษามาเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2546 • จัดทำฐานข้อมูลและสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบบริการเพื่อรองรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษามาตั้งแต่ปี 2547 • แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่เสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการ 1 ชุด และคณะทำงานอีก 7 ชุด • คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ประกอบด้วย หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านคนพิการและองค์กรคนพิการ 21
กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการสนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการสนับสนุน นักศึกษาพิการในสถานศึกษา (ต่อ) • กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ กระทรวงศึกษาธิการ • จัดตั้งตาม พ.ร.บ. การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 • บริหารงานโดยคณะกรรมการ 2 ชุด และคณะอนุกรรมการ 1 ชุด • คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ทำหน้าที่เสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้ความเห็นชอบแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ วางระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง แนวปฏิบัติต่าง ๆ องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ มี รมว.ศธ. เป็นประธาน กรรมการ โดยตำแหน่ง 10 คน กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คนและมี ผอ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นเลขานุการ 22
กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการสนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการสนับสนุน นักศึกษาพิการในสถานศึกษา (ต่อ) • กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ กระทรวงศึกษาธิการ (ต่อ) • คณะกรรมการบริหารกองทุน ทำหน้าที่บริหารกองทุน อนุมัติการจ่ายเงินเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ มีเลขาธิการ กพฐ.เป็นประธาน ผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ผู้แทนองค์กรคนพิการ ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 คน และมี ผอ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นเลขานุการ • คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนฯ ทำหน้าที่พิจารณาโครงการฯ ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เสนอขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนฯ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินต่อไป ทั้งนี้ องค์ประกอบของคณะอนุกรรมการฯ มาจากการแต่งตั้งของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ 23
แนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการของ สกอ. • จัดประชุมสัมมนา เรื่อง การพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษามาเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546 • จัดทำและนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษาให้กระทรวงศึกษาธิการบูรณาการยุทธศาสตร์ร่วมกับหน่วยงานหลัก • จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ สกอ.มาตั้งแต่ปี 2549 • - จัดสรรงบประมาณให้สถาบันอุดมศึกษาที่รับนักศึกษาพิการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปเพื่อพัฒนาการจัดตั้งศูนย์ DSS Center การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา การจัดจ้างล่ามภาษามือ การจัดอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา 24
แนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการของ สกอ. • สกอ. จัดสัมมนาทางวิชาการระดับชาติ เรื่อง การเข้าถึงและได้รับบริการทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ (Accessibility to Higher Education for Persons with Disabilities) เมื่อวันที่ 16 – 17 กรกฎาคม 2552 ณ โรงแรมมณเฑียรริเวอร์ไซด์ • - เชิญนายกรัฐมนตรีมาปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับการสนับสนุนการศึกษาของคนพิการในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย • - เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษทั้งในประเทศและต่างประเทศมาบรรยาย/รายงานผลงานวิจัย/บทความทางวิชาการและจัดนิทรรศการด้านคนพิการ • สกอ.จัดฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ในปี 2551 จำนวน 1 รุ่น และในปี 2553 จำนวน 3 รุ่น 25
แนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการของ สกอ. (ต่อ) • สกอ. ออกประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ • (ประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม 2553) • 1. สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสถาบันในสัดส่วนที่เหมาะสม ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป • 2. สถาบันอุดมศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษามีสิทธิ์ได้รับค่าเล่าเรียน • ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่นตามจำนวนที่สถาบันเรียกเก็บจากนิสิต นักศึกษาพิการ ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราและรายการที่กำหนด • 3. สภาสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ออกข้อกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการรับคนพิการเข้าศึกษาต่อในสถาบันให้สอดคล้องกับแนวทางฯของ สกอ. • 4. สภาสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับนิสิตนักศึกษาพิการเข้าเรียนในสถาบันและแจ้งต่อ สกอ.ทราบไม่น้อยกว่า 120 วัน ก่อนเริ่มปีการศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนงบประมาณให้สถาบันอุดมศึกษา 26
แนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการของ สกอ. (ต่อ) • 5. ให้สถาบันอุดมศึกษาจัดทำแผนการรับและแผนงบประมาณเงินอุดหนุนการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรีต่อ สกอ.ภายในเดือนมกราคมของทุกปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการขอตั้งงบประมาณ • 6. สถาบันอุดมศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษาต้องจัดเทคโนโลยี สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการความช่วยเหลือทางการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างเหมาะสม • 7. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 27
หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการขอรับการ สนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการ ในระดับอุดมศึกษา • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดทำคู่มือ หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ในปี 2553 สำหรับนิสิตนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี ดังนี้ • 1. คุณสมบัติของคนพิการ ที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนทางการศึกษา • 1. มีบัตรประจำตัวคนพิการ (ออกโดยสำนักงานส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ) • 2. ศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในหลักสูตร ไม่สูงกว่าปริญญาตรี • 3. ไม่เคยได้รับเงินอุดหนุนทางการศึกษาตามประกาศนี้ในหลักสูตร ปริญญาตรีมาก่อนและไม่ศึกษาเป็นปริญญาที่สอง 28
หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการขอรับการ สนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการ ในระดับอุดมศึกษา (ต่อ) • 2. รายการที่ให้การอุดหนุน • คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการได้จัดประกาศ เรื่อง กำหนดอัตราและรายการที่ใช้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2553) ประกอบด้วย ค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม ตามรายการที่ปรากฏในระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง (อัตราที่จ่ายจริงไม่เกินขอบเขตที่กำหนด ทั้งนี้ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้) 29
หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการขอรับการ สนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการ ในระดับอุดมศึกษา (ต่อ) • 3. การยื่นคำขอรับเงินอุดหนุน สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการดังนี้ • ประมาณการจำนวนเงินและจำนวนนิสิตพิการที่คาดว่าจะรับเข้าศึกษาในแต่ละปี เพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณประจำปี โดยรายงานต่อ สกอ.ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี • รายงานจำนวนเงินที่ต้องเรียกเก็บและรายชื่อนิสิต นักศึกษาพิการที่รับเข้าศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา พร้อมระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศของสถาบันที่ใช้บังคับในภาคการศึกษานั้นต่อ สกอ.ภายในเดือนมิถุนายนและพฤศจิกายนของทุกปี • สถาบันอุดมศึกษารายงานข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาของนิสิตนักศึกษาพิการต่อ สกอ.อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการต่อไป • สถาบันอุดมศึกษาที่รับนิสิตนักศึกษาพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการเข้าศึกษาก่อนประกาศนี้ ให้ได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาตามประกาศนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป 30
ระบบการดำเนินงานสนับสนุนเงินอุดหนุน ทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการ 31
สรุปขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่ขอรับ การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา จัดทำแผนการรับนิสิตนักศึกษาพิการ พร้อมทั้งแผนงบประมาณเงินอุดหนุนการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรีของสถาบัน สถาบันตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลรายบุคคล ของนิสิตนักศึกษาพิการในสถาบัน สถาบันรับสมัครนิสิตนักศึกษาพิการที่ประสงค์ ขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษา สถาบันตรวจสอบคุณสมบัตินิสิตนักศึกษาพิการและจำนวนเงินที่ได้รับอุดหนุนทางการศึกษา สถาบันแจ้งข้อมูลรายชื่อนิสิตนักศึกษาพิการพร้อมค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนทางการศึกษามายังสกอ. สกอ.ตรวจสอบ/อนุมัติและสรุปจำนวนนิสิตนักศึกษาพิการแจ้งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ (ศธ.) เพื่อขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษา กองทุนฯโอนเงินอุดหนุนทางการศึกษามายังสกอ. สถาบันรับโอนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการ สถาบันจัดส่งหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้สกอ. รายงานผลการศึกษาของนิสิตนักศึกษาพิการ (ภายในเดือนกันยายนของทุกปี) 32
แบบแสดงความจำนงขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรีแบบแสดงความจำนงขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี 33
แบบแสดงความจำนงขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี (ต่อ) 34
แบบฟอร์มการรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัตินิสิตนักศึกษาพิการที่ประสงค์ขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาและจำนวนเงินที่ได้รับเงินอุดหนุนทางการศึกษาแบบฟอร์มการรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัตินิสิตนักศึกษาพิการที่ประสงค์ขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาและจำนวนเงินที่ได้รับเงินอุดหนุนทางการศึกษา 35
นโยบายการพัฒนาศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSSCenter) • กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษาของ สกอ. • จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ สกอ. • ปัจจุบันศูนย์ DSS Center ของ สกอ. มีจำนวน 31 แห่ง (ปี 2555) ดังนี้ • ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ • (9 ศูนย์) มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย • มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม • (วิทยาเขตภาคพายัพ) มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • (8 ศูนย์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร • มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 36
นโยบายการพัฒนาศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSSCenter) (ต่อ) • ภาคกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร • (9 ศูนย์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช • มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี • ภาคตะวันออก • (2 ศูนย์) มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี • ภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา • (3 ศูนย์) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา • โดยสถาบันอุดมศึกษาที่รับนักศึกษาพิการเข้าเรียนจะดำเนินการจัดจ้างบุคลากรประจำศูนย์ DSS เพื่อให้บริการนักศึกษาพิการ จัดซื้อวัสดุ-ครุภัณฑ์ เพื่อนิสิตนักศึกษาพิการแต่ละประเภทความพิการ รวมถึงการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการอื่นใด ให้นักศึกษาพิการในรูปแบบต่าง ๆ 37
หน้าที่ของศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSS Center) • ศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSS Center) ทำหน้าที่บริการนักศึกษาพิการ ดังนี้ • 1. เป็นศูนย์ข้อมูลด้านคนพิการของสถาบัน • 2. บริการให้คำปรึกษา • 3. จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (ISP : Individualized Service Plans) • 4. ให้บริการด้านการจัดสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลือ อื่นใดทางการศึกษา • 5. ประสานงานกับคณะที่มีนักศึกษาเรียนร่วมและเป็นเครือข่ายให้บริการ กับสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ 38
สภาพปัญหาการดำเนินงานและแนวทางการแก้ไขสภาพปัญหาการดำเนินงานและแนวทางการแก้ไข • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษาในปี 2555 สรุปผลการติดตามได้ดังนี้ • 1. การรับนิสิตนักศึกษาพิการเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่ได้กำหนดโควต้ารับนักศึกษาพิการเข้าศึกษาแต่เปิดโอกาสให้ผู้พิการเข้าศึกษาได้ในบางคณะ/สาขาวิชา โดยผ่านกระบวนการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันเช่นเดียวกับนักศึกษาทั่วไป • สถาบันอุดมศึกษาที่กำหนดโควต้ารับนักศึกษาพิการเข้าศึกษา ได้แก่ ม.ธรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ มรภ.เชียงใหม่ และ มรภ.สงขลา • แนวทางการแก้ไข จัดประชุมสัมมนาชี้แจงนโยบายการเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาพิการได้เข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์จัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา โดยให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งจัดสรรโควต้าให้กับนักศึกษาพิการด้วย 39
สภาพปัญหาการดำเนินงานและแนวทางการแก้ไข (ต่อ) • 2. การขาดแคลนงบประมาณ งบประมาณอุดหนุนการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการมีไม่เพียงพอ • แนวทางการแก้ไข ตามระเบียบของคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2552 กำหนดว่า หากสำนักงานไม่สามารถจัดหางบประมาณสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษาตามสิทธิ์ที่ได้รับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นตามจำนวนที่ต้องเรียกเก็บจากนิสิตนักศึกษาพิการได้ให้ส่งเรื่องขอรับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการต่อไป ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราและรายการที่คณะกรรมการกำหนดในปี 2554 สกอ.ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย จำนวน 40 ล้านบาท และได้รับการอนุมัติจำนวนเงินดังกล่าว โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการจัดสรรงบให้สถาบันอุดมศึกษาที่รับนิสิตนักศึกษาพิการ 40
สภาพปัญหาการดำเนินงานและแนวทางแกไข (ต่อ) • 3. การขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาของนิสิตนักศึกษาพิการ การขาดหลักฐานที่สมบูรณ์ครบถ้วนของนิสิต นักศึกษาพิการในการขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการทำให้ต้องเสียเวลาในการติดตามทวงถาม เกิดความล่าช้าในการโอนเงินอุดหนุนฯ • แนวทางการแก้ไข สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประชาสัมพันธ์และแจกจ่ายคู่มือ หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการขอรับเงินอุดหนุนฯ ดังกล่าวไปยังทุกคณะของทุกสถาบันอุดมศึกษา นอกเหนือจากที่ได้จัดส่งให้งานกิจการนักศึกษาแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานของสถาบันอุดมศึกษาต้องชี้แจง ประสานงานให้นิสิตนักศึกษาพิการเข้าใจขั้นตอนการขอรับเงินอุดหนุนดังกล่าว เพื่อความรวดเร็วในการโอนเงินอุดหนุนฯ 41
สภาพปัญหาการดำเนินงานและแนวทางแกไข (ต่อ) • 4. การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดการพัฒนาบุคลากรที่ดูแลรับผิดชอบคนพิการในระดับอุดมศึกษา • แนวทางการแก้ไข สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา (Intensive Program) ในระยะที่ 1 จำนวน 1 รุ่น 24 คน 12 สถาบัน โดยจัดฝึกอบรมในประเทศไทยและศึกษาดูงานประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2551 เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษารุ่นต่อไป และดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ในระยะที่ 2 จำนวน 3 รุ่น 60 คน 37 สถาบัน โดยจัดฝึกอบรมและศึกษาดูงานในประเทศไทยในปี 2553 • สำหรับในปี 2555 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะจัดหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา โดยกำหนดเป็น 4 หลักสูตร (สำหรับผู้บริหาร, คณาจารย์/ผู้สอน, ผู้ปฏิบัติงาน, เจ้าหน้าที่ IT) (ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่างหลักสูตร) 42
การดำเนินการในระยะต่อไปการดำเนินการในระยะต่อไป • การปรับปรุงยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา • การพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปีให้แก่โครงการของมหาวิทยาลัยที่สอดคล้อง กับยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา • การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถาบันอุดมศึกษา • การศึกษาระบบสนับสนุนการจัดบริการทางการศึกษาสำหรับนิสิต นักศึกษาพิการ ในระดับอุดมศึกษา • การสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ DSS Center • การสนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา • การพัฒนามาตรฐานการจัดบริการทางการศึกษาสำหรับนิสิต นักศึกษาพิการในระดับอุดมศึกษา • การสนับสนุนการวิจัยองค์ความรู้ด้านคนพิการในระดับอุดมศึกษา • การพัฒนาการบริการในระยะเปลี่ยนผ่านสำหรับบุคคลพิการจากมัธยมศึกษาสู่อุดมศึกษา • การติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา 43
จบการนำเสนอ ขอบคุณ 44