810 likes | 2.04k Views
การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment). สมพงษ์ พันธุรัตน์ สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. แนวทางการประเมินตามสภาพจริง. การวัดผลทางการศึกษาและแนวทางที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มาตรา 26 หมวด 4
E N D
การประเมินตามสภาพจริง(Authentic Assessment) สมพงษ์ พันธุรัตน์สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
แนวทางการประเมินตามสภาพจริงแนวทางการประเมินตามสภาพจริง • การวัดผลทางการศึกษาและแนวทางที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มาตรา 26 หมวด 4 “ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบของการศึกษา….”
ความหมายของการประเมินตามสภาพจริงความหมายของการประเมินตามสภาพจริง • การประเมินผลที่ใช้วิธีการและเกณฑ์ที่หลากหลายในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะต่าง ๆ ของผู้เรียนอย่างเต็มเวลาของกิจกรรมในแต่ละหลักสูตร โดยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหรือสร้างผลงานออกมาเพื่อแสดงตัวอย่างของความรู้และทักษะที่ตนมี ซึ่งกิจกรรมที่นำมาใช้ในการประเมินนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้มากกว่าเป็นการทดสอบ และข้อมูลของการประเมินผล ได้มาจากทั้งการเก็บรวบรวมผลงานที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติอย่างสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน มีการสังเกตพฤติกรรม ควบคู่ไปกับการทดสอบความรู้ความเข้าใจ
ลักษณะของการประเมินตามสภาพจริงลักษณะของการประเมินตามสภาพจริง • งานที่ปฏิบัติเป็นงานที่มีความหมาย คือ สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน • เป็นการประเมินรอบด้านด้วยวิธีการที่หลากหลาย คือ ประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะและคุณลักษณะ ด้วยเครื่องมือที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ และกระทำหลายครั้งอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่การเรียนรู้เกิดขึ้น • ผลผลิตมีคุณภาพ งานทุกงานมีเกณฑ์มาตรฐานที่ร่วมกันตั้งไว้โดยครู ผู้เรียนและอาจจะมีผู้ปกครองร่วมด้วย ผู้เรียนจะประเมินตนเองตลอดเวลาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง จนผลงานมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีการแสดงผลงานต่อสาธารณะเพื่อสร้างความภูมิใจแก่ผู้เรียนด้วย
ลักษณะของการประเมินตามสภาพจริง (ต่อ) • ใช้ความคิดระดับสูง กล่าวคือ ผลงานที่สร้างนั้นต้องเกิดจากการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินทางเลือก ลงมือกระทำ ตลอดจนต้องใช้ทักษะในการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง • มีปฏิสัมพันธ์ทางบวก กล่าวคือ ผู้เรียน ครู และผู้ปกครองจะต้องมีการร่วมมือกันประเมินและผู้เรียนไม่มีความเครียด • มีการกำหนดจำนวนงาน ขอบเขตและมาตรฐานอย่างชัดเจน และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
ลักษณะของการประเมินตามสภาพจริง (ต่อ) • สะท้อนลักษณะเฉพาะตัวของผู้เรียน โดยผู้เรียนมีโอกาสแสดงความรู้สึกนึกคิด เหตุผลในการทำ ไม่ทำ ชอบหรือไม่ชอบในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น • เป็นการประเมินอย่างต่อเนื่อง ประเมินได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการ เพื่อให้เห็นและทราบถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน • เป็นการบูรณาการซึ่งองค์ความรู้ กล่าวคือ ผลงานที่ทำต้องใช้ทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้ในวิชาต่าง ๆ ในลักษณะสหสาขาวิชา (Interdisciplinary)
ประโยชน์ของการประเมินผลตามสภาพจริงประโยชน์ของการประเมินผลตามสภาพจริง • ใช้งานที่มีลักษณะปลายเปิดและสะท้อนกิจกรรมการเรียนการสอนที่แท้จริง ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากลยุทธการเรียนการสอนที่สำคัญ • เน้นการใช้ทักษะ ความรู้ความเข้าใจระดับสูงที่สามารถประยุกต์ใช้ข้ามวิชาได้ • เน้นที่สาระสำคัญของลักษณะที่บ่งบอกถึงพัฒนาการทางการเรียนรู้มากกว่าเพียงแต่การดูปริมาณของความบกพร่อง
ประโยชน์ของการประเมินผลตามสภาพจริง (ต่อ) • เป็นปฏิบัติการที่เด่นชัดและแสดงให้เห็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีความสลับ ซับซ้อนและยุ่งยากได้เป็นอย่างดี • ส่งเสริมให้มีการใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลาย และบันทึกผลการเรียนรู้ในภาพกว้างที่ได้มาจากสถานการณ์ต่าง ๆ กัน • สามารถใช้ได้กับทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม • ให้ความสำคัญและสนใจในความคิดและความสามารถของปัจเจกบุคคลมากกว่านำมาเปรียบเทียบระหว่างกัน
ประโยชน์ของการประเมินผลตามสภาพจริง (ต่อ) • สนองตอบความแตกต่างระหว่างบุคคลและประเภทของผู้เรียนที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี • ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันในระหว่างกระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการวัดและการประเมินผลระหว่างผู้เรียน ผู้สอนและผู้ปกครอง • ผู้เรียนและผู้สอน ล้วนมีบทบาทสำคัญในการประเมินผล • ไม่เน้นว่าผลการศึกษาจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์สมมุติฐานที่ตั้งไว้ก่อนหน้าที่จะมีการเรียนการสอน • สามารถนำมาใช้เป็นวิธีการประเมินในระยะยาวได้ • ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าที่ต้องการให้เกิดขึ้นมากกว่าการบันทึกจุดอ่อนของผู้เรียน
หลักการประเมินตามสภาพจริงหลักการประเมินตามสภาพจริง • ไม่เน้นการประเมินทักษะพื้นฐาน (Basic Skills Assessment) แต่เน้นการประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อน (Complex Thinking Skill) ในการทำงาน ความร่วมมือ ในการแก้ปัญหา และการประเมินตนเองทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน • เป็นการวัดและประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน • เป็นการสะท้อนให้เห็นการสังเกตสภาพงานปัจจุบัน (Current Work) ของนักเรียน และสิ่งที่นักเรียนได้ปฏิบัติจริง
หลักการประเมินตามสภาพจริงหลักการประเมินตามสภาพจริง • เป็นการผูกติดนักเรียนกับงานที่เป็นจริง โดยพิจารณาจากงานหลาย ๆ ชิ้น • ผู้ประเมินควรมีหลาย ๆ คน โดยมีการประชุมระหว่างกลุ่มผู้ประเมินเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน • การประเมินต้องดำเนินการไปพร้อมกับการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง • นำการประเมินตนเองมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินตามสภาพที่แท้จริง • ควรมีการประเมินทั้ง 2 ลักษณะ คือ การประเมินที่เน้นการปฏิบัติจริง และการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน
แนวปฏิบัติในการประเมินตามสภาพจริงแนวปฏิบัติในการประเมินตามสภาพจริง • กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการประเมิน ต้องสอดคล้องกับสาระ มาตรฐานจุดประสงค์การเรียนรู้และสะท้อนการพัฒนา • กำหนดขอบเขตในการประเมิน ต้องพิจารณาเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน เช่นความรู้ ทักษะและกระบวนการ ความรู้สึก คุณลักษณะ เป็นต้น • กำหนดผู้ประเมิน โดยพิจารณาผู้ประเมินว่าจะมีใครบ้าง เช่น นักเรียนประเมินตนเองเพื่อนนักเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น • เลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือในการประเมิน ควรมีความหลากหลายและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ วิธีการประเมิน เช่น การทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การบันทึกพฤติกรรม แบบสำรวจความคิดเห็น บันทึกจากผู้ที่เกี่ยวข้อง แฟ้มสะสมงาน ฯลฯ
แนวปฏิบัติในการประเมินตามสภาพจริงแนวปฏิบัติในการประเมินตามสภาพจริง • กำหนดเวลาและสถานที่ที่จะประเมิน เช่น ประเมินระหว่างนักเรียนทำกิจกรรม ระหว่างทำงานกลุ่ม/โครงการ วันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ เวลาว่าง/พักกลางวัน ฯลฯ • วิเคราะห์ผลและวิธีการจัดการข้อมูลการประเมิน เป็นการนำข้อมูลจากการประเมินมาวิเคราะห์โดยระบุสิ่งที่วิเคราะห์ เช่น กระบวนการทำงาน เอกสารจากแฟ้มสะสมงาน ฯลฯ รวมทั้งระบุวิธีการบันทึกข้อมูลและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล • กำหนดเกณฑ์ในการประเมิน เป็นการกำหนดรายละเอียดในการให้คะแนนผลงานว่าผู้เรียนทำอะไร ได้สำเร็จหรือว่ามีระดับความสำเร็จในระดับใด คือ มีผลงานเป็นอย่างไร การให้คะแนนอาจจะให้ในภาพรวมหรือแยกเป็นรายให้สอดคล้องกับงานและจุดประสงค์การเรียนรู้
เกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics Score) • ให้คะแนนในลักษณะภาพรวม เป็นการให้คะแนนในความหมายว่า คะแนนนั้นเป็นตัวแทนความประทับใจในผลงานทั้งหมดรวมทุกด้าน มักใช้กับเครื่องมือวัดประเมินผลที่เป็น Authentic Test • ให้คะแนนในลักษณะวิเคราะห์งานเป็นส่วนย่อย เป็นการแตกย่อยผลสัมฤทธิ์ของงานหนึ่งๆ ออกเป็นหลายๆ ด้าน เพื่อวิเคราะห์ระดับความสำเร็จแต่ละด้านในงานนั้น ของนักเรียนข้อมูลมีประโยชน์มากต่อการพัฒนาการเรียนการสอน มักใช้ประเมินแฟ้มสะสม
ตัวอย่างการให้คะแนนในลักษณะภาพรวมตัวอย่างการให้คะแนนในลักษณะภาพรวม ตัวอย่างที่ 1กำหนดสถานการณ์ให้นักเรียนคิด แล้วให้ตอบพร้อมอธิบายวิธีการคิดเกณฑ์การให้คะแนน 0 = ไม่ตอบหรือตอบไม่ถูกและอธิบายวิธีคิดไม่ได้ 1 = ไม่ตอบ แต่แสดงวิธีคิดเล็กน้อย วิธีคิดมีแนวทางจะนำไปสู่คำตอบได้ 2 = ตอบผิดแต่มีเหตุผลหรือเกิดจากการคำนวณผิดพลาด แต่มีแนวทางไปสู่คำตอบที่ชัดเจน 3 = คำตอบถูก เหตุผลถูกต้อง อาจมีข้อผิดพลาดบ้าง 4 = คำตอบถูก แสดงเหตุผลถูกต้อง แนวคิดชัดเจน
ตัวอย่างการให้คะแนนในลักษณะภาพรวมตัวอย่างการให้คะแนนในลักษณะภาพรวม ตัวอย่างที่ 2ใช้แนวคิดคล้ายการประเมินแบบอิงกลุ่ม คือ แบ่งงานนักเรียนออกเป็น 3 กอง กองที่ 1 งานที่มีคุณภาพพิเศษ กองที่ 2 งานที่ได้รับการยอมรับ กองที่ 3 งานที่ไม่ได้รับการยอมรับ แบ่งงานแต่ละกองออกเป็น 2 ระดับ แต่ละกองจะได้ระดับคะแนนเป็น 5-6, 3-4, และ 1-2 ตามลำดับ พร้อมทั้งอธิบายลักษณะงานแต่ละกอง สำหรับงานที่แสดงว่าไม่ได้ใช้ความพยายามเลยให้ “0” คะแนน
ตัวอย่างการให้คะแนนในลักษณะวิเคราะห์งานเป็นส่วนย่อยตัวอย่างการให้คะแนนในลักษณะวิเคราะห์งานเป็นส่วนย่อย การประเมินภาพวาด (ศิลปศึกษา) การจัดองค์ประกอบ 1) คะแนน องค์ประกอบภาพน้อยหรือมากเกินไป เนื้อหาไม่ตรงจุดมุ่งหมาย ระยะภาพมีระยะเดียว 2) คะแนน องค์ประกอบภาพกระจายจนไม่มีจุดเด่น ระยะภาพผิดขนาดในบางส่วน 3) คะแนน ภาพมีความสมดุล จุดเด่นภาพชัดเจน เหมาะสม มีการใช้ระยะภาพใกล้ – ไกล นำสายตาไปยังจุดเด่น การผสมสี 1) คะแนน บีบสีจากหลอด ระบายบนกระดาษเลย และไม่สามารถผสมสีได้ตามต้องการ 2) คะแนน ใช้จานสีในการผสมสี แต่สีเหลวหรือข้นเกินไป 3) คะแนน ผสมสีได้เหมาะสมและใช้สีได้ใกล้เคียงความจริง ฯลฯ
เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริงเครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง • วิธีการ – เครื่องมือ การสังเกต ประกอบด้วย - แบบสำรวจรายการ - ระเบียนพฤติกรรม - แบบมาตราส่วนประมาณค่า • กิจกรรมที่วัด วัดพฤติกรรมที่ลงมือปฏิบัติ แล้วสังเกตความสามารถและร่องรอยของการปฏิบัติ เช่น การปฏิบัติตามคำสั่ง การทำงานร่วมกันอย่างมีขั้นตอน การเข้าร่วมการปฏิบัติหรือกิจกรรมที่กำหนด วัดกิจกรรมที่เป็นลักษณะนิสัยและความรู้สึก
เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริงเครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง • วิธีการ – เครื่องมือ การสัมภาษณ์ ได้แก่ - แบบบันทึกการสัมภาษณ์ • กิจกรรมที่วัด สอบถามเพื่อให้ทราบถึงความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ และการกระทำด้านต่างๆ เช่น ความกล้าในการแสดงความคิดเห็น บอกแนวความคิดที่มี อธิบายสิ่งที่มีความเชื่ออยู่ เป็นต้น
เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริงเครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง • วิธีการ – เครื่องมือ การสอบถาม ได้แก่ - แบบสอบถาม • กิจกรรมที่วัด ใช้วัดความต้องการ ความสนใจ ที่แสดงความรู้สึกได้อย่างอิสระ
เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริงเครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง • วิธีการ – เครื่องมือ การทดสอบ ประกอบด้วย - แบบเขียนตอบ - แบบทดสอบปฏิบัติจริง • กิจกรรมที่วัด ทดสอบทักษะ ความรู้ความสามารถต่างๆ ที่ต้องการทราบ เช่น ความเร็วในการอ่าน รวมทั้งความเข้าใจในการอ่านและการเขียน และการสรุปความ เป็นต้น กิจกรรมที่ไม่อาจสังเกตได้ทุกเวลาและอย่างทั่วถึง รวมทั้ง พฤติกรรมบางอย่างที่จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งเงื่อนไขบางอย่างเกิดขึ้นไม่บ่อยนักทำให้การสังเกตในสถานการณ์จริงเป็นเรื่องยากและเสียเวลานาน ดังนั้น การใช้แบบทดสอบจะมีความเหมาะสมมากกว่า
เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริงเครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง • วิธีการ – เครื่องมือ แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) • กิจกรรมที่วัด กิจกรรมที่ผู้เรียนทำเป็นชิ้นงานออกมา อาจเป็นรายงาน แบบบันทึก เทปบันทึกเสียง ฯลฯ และทำการประเมินโดยตัวผู้เรียนเอง ผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้น โดยมีลักษณะที่เน้นให้ผู้เรียนคิดทบทวนและประเมินตนเอง
การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio Assessment) • เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินตามสภาพจริง และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับการวัดและประเมินผลทางการศึกษา เนื่องจากมีหลักการสำคัญของการวัดผล คือ กระบวนการในการรวบรวมเหตุการณ์และข้อมูลที่ผู้เรียนสามารถทำได้ และแปลความหมายของเหตุการณ์ หรือ ข้อมูล และตัดสินจากข้อมูลเหล่านั้น
ความหมายของแฟ้มสะสมงานความหมายของแฟ้มสะสมงาน • แฟ้มสะสมงาน คือ การสะสมเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย ผลงานหรือชิ้นงาน ที่แสดงถึงทักษะ ความสามารถ ความคิด ตลอดจนพัฒนาการของผู้เรียน โดยผู้เรียนนั้นมีส่วนร่วมในการคัดเลือกเนื้อหา กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือก เกณฑ์การตัดสินคุณค่าของงาน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองด้วย
ลักษณะสำคัญของการประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงานลักษณะสำคัญของการประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน • มุ่งวัดศักยภาพของผู้เรียนในแง่ของการผลิต มากกว่าการเลือกคำตอบถูกในข้อสอบ เน้นกิจกรรมที่มีความหมาย • วัดความสามารถในการดำเนินงาน หรือวิธีการ • เน้นการสะท้อนความคิดต่อผลงานของตนเอง (self-reflection) และการประเมินตนเอง (self-assessment) • การดำเนินการเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับการสอน • ไม่เน้นการแข่งขัน แต่เน้นการคิดและการแสดงออกของผู้เรียน
ชนิดของแฟ้มสะสมงาน (Kinds of Portfolios) • แฟ้มสะสมโครงการ (Project Portfolios) มีวัตถุประสงค์เพื่อสะสมหรือบันทึกเอกสารหลักฐานของการดำเนินงานโครงการ สำหรับแสดงถึงความสำเร็จ ความพึงพอใจ ในระหว่างเวลาที่ดำเนินโครงการจนกระทั้งสิ้นสุดโครงการ บางครั้งก็มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงความสามารถในลักษณะของกระบวนการเขียน หรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และยังสามารถเป็นเอกสารที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการได้อีกด้วย
ชนิดของแฟ้มสะสมงาน (Kinds of Portfolios) (ต่อ) • แฟ้มสะสมพัฒนาการ (Growth Portfolios) ใช้แสดงถึงพัฒนาการของความสามารถได้มากกว่า 1 เป้าหมายของการเรียนรู้ เป็นเอกสารที่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของผลสัมฤทธิ์ นักศึกษาจะเลือกหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของการเรียนรู้ได้ในหลายช่วงเวลาของการเรียนรู้ และเขียนบรรยายระดับสัมฤทธิผลในแต่ละชิ้นของหลักฐานที่นำเสนอ หลักฐานที่เลือกเก็บนั้นอาจเป็นงานที่ดีที่สุด หรือ เป็นตัวอย่างงานก็ได้
ชนิดของแฟ้มสะสมงาน (Kinds of Portfolios) (ต่อ) • แฟ้มสะสมผลสัมฤทธิ์ (Achievement Portfolios) เป็นเอกสารแสดงถึงระดับผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งประกอบด้วยผลงานที่ดีที่สุดตามเป้าหมายของการเรียนรู้ ในกรณีของแฟ้มสะสมผลสัมฤทธิ์นี้จะให้ความสำคัญกับจำนวนของตัวอย่างที่จัดเก็บ ซึ่งต้องมีความหลากหลายเพื่อแสดงถึงระดับของผลสัมฤทธิ์ การเขียนบรรยายประกอบของนักศึกษาจะเป็นการแสดงถึงเป้าหมายการเรียนรู้และระดับความสามารถในแต่ละชิ้นของตัวอย่างงาน และมีบ่อยครั้งที่ใช้เป็นฐานสำหรับการอภิปรายและกำหนดเป้าหมายในการจัดสัมมนา
ชนิดของแฟ้มสะสมงาน (Kinds of Portfolios) (ต่อ) • แฟ้มสะสมความสามารถ (Competence Portfolios) จะแสดงถึงหลักฐานอ้างอิงที่ใช้สนับสนุนการได้มาซึ่งการยอมรับหรือการยกย่องระดับความสัมฤทธิ์ผล ในทำนองเดียวกันกับ แฟ้มสะสมผลสัมฤทธิ์ แฟ้มสะสมความสามารถ ก็ให้ความสำคัญกับประเด็กการเลือกตัวอย่าง จำนวนชิ้นของหลักฐานก็ใช้ในสนับสนุนหรืออ้างถึงความสามารถตามเป้าหมายของการเรียนรู้ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงถึงระดับผลสัมฤทธิ์ที่ยั่งยืน
ชนิดของแฟ้มสะสมงาน (Kinds of Portfolios) (ต่อ) • แฟ้มสะสมประกาศนียบัตร (Celebration Portfolios) ใช้เก็บเอกสารใบประกาศที่แสดงถึงความสำเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่ภาคภูมิใจที่สุด ในกรณีนี้ นักศึกษาจะตัดสินใจเองว่าจะจัดเก็บอะไรบ้าง และ ทำไมจึงเก็บ ในเบื้องต้น ครูอาจจะเลือกเก็บใบประกาศแบบไม่ต้องมีกฎเกณฑ์มากนัก ที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอนก็ได้ เช่น ทุกอย่างที่ทำให้ภาคภูมิใจ จากนั้นจึงเน้นเลือกเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่สอน
เอกสารอ้างอิง • ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์. (2540). “การประยุกต์ใช้การวัดและประเมินความสามารถจริงในสภาพการเรียนการสอน”. วารสารแนะแนว, ปีที่ 31. ฉ.167 หน้า: 9-17. • สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). การวัดและประเมินผลสภาพแท้จริงของนักเรียน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. • Morgan, Bobbette M. (1999). “Portfolios in Preservice Teacher Fieldbased Program : Evolution of a Rubric for Performance Assessment.” Education. Vol. 119, Issue 3, Page: 416-426. • Reckase, Mark D. (1995). “Portfolio Assessment : A Theoretical Estimate of Score Reliability.” Educational Measurement: Issues and Practice. Vol. 14, No. 1, Page: 12-14. • Richard, J. Stiggins, Judith A. Arter, Jan Chappuis, and Stephen Chappuis. (2007). Classroom Assessment for Student Learning. New Jersey : Pearson Education, Inc. • Weldin, Donna J. and Tumarkin, Sandra R. “Parent Involvement More Power in the Portfolio Process.” Childhood Education. Vol. 75, No. 2. Page: 90-95.