170 likes | 530 Views
N. S. P. MD SAYS “ พ่อกับลูก ”. 7 ยุทธศาสตร์หลักการค้าปี 2553. กำเนิดผิด ก็มีโทษ. ถาม - ตอบ ปัญหาสัมมนาเรื่อง “ดู L/C อย่างไรให้เป็นมวย” ( ต่อ ). ตารางโอนสิทธิ์ คือ อะไร ?. การอนุมัติเงินชดเชย. FTA อาเชียน - อียู และแนวโน้มสถานการณ์สินค้าเกษตรปี 53. A.T.A. Carnet?.
E N D
N S P MD SAYS “ พ่อกับลูก” 7 ยุทธศาสตร์หลักการค้าปี 2553 กำเนิดผิด ก็มีโทษ ถาม-ตอบ ปัญหาสัมมนาเรื่อง “ดู L/C อย่างไรให้เป็นมวย” (ต่อ) ตารางโอนสิทธิ์ คือ อะไร ? การอนุมัติเงินชดเชย FTA อาเชียน-อียู และแนวโน้มสถานการณ์สินค้าเกษตรปี 53 A.T.A. Carnet? รุกตลาดใหม่ “Top 10 สินค้ามาแรงหลังวิกฤติเศรษฐกิจ” อัญมณีไทยและเครื่องประดับปี 53
S พ่อกับลูก ผมได้รับฟังเรื่องราวของเพื่อนคนหนึ่ง เขาไม่มีความสุขเมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ไม่ได้ดั่งใจ เขามักคิด มักอยากให้ลูกเป็นและให้ลูกทำในสิ่งที่เขาอยากให้ลูกเป็นและทำ แน่นอนสิ่งที่เขาคิดสำหรับลูกย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกของเขา ผมได้ยินได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับลูกที่เขาเล่าบ่อยครั้ง แม้ขณะที่เขาโทรศัพท์คุยกับลูกและภรรยาด้วยน้ำเสียงและความรู้สึกที่ไม่ดีนัก สภาพที่ผมรับรู้คือ เขามีความสุขที่ไม่สมบูรณ์ และลูกก็มีความสุขที่ไม่สมบูรณ์ วันหนึ่ง เขาถามผมเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงลูกของผม ผมยอมรับตามตรงว่า ผมเองก็ไม่สันทัดต่อการเลี้ยงลูกมากนัก อาจกล่าวได้ว่า ผมน่าจะอยู่ในระดับท้าย ๆ ของพ่อตัวอย่างเลยก็ได้ บ่อยครั้งที่ผมต้องอ่านหนังสือ ดูรายการในทีวีเพื่อหาข้อมูลการเลี้ยงลูก หรือแม้แต่ฟังวิธีการเลี้ยงลูกจากเพื่อนคนอื่นอีกหลายคน และเพื่อนทุกคนที่ผมได้รับฟัง ทำให้ผมตระหนักดีว่า วิธีการเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ดีที่เหมาะสมของแต่ละครอบครัวจริง ๆ เล่าให้ฟังกันได้ ลอกเลียนแบบกันได้ แต่จะสำเร็จเหมือนกันคงเป็นเรื่องยากเต็มที เมื่อเพื่อนถาม ผมจึงต้องเล่าความไม่เอาไหนของผมให้เขาฟัง ความที่ผมไม่สามารถวางแผนให้ลูกได้ ผมจึงยอมรับตามความจริงว่า ผมไม่กล้าคาดหวังสิ่งใดในตัวลูก ผมขอให้ลูกเป็น ขอให้ลูกเรียน ในสิ่งที่ลูกอยากเป็นและอยากเรียน เพราะผมไม่มีวิธีที่โน้มน้าวลูกได้ สิ่งที่ผมทำให้ลูกได้จึงมีแต่เพียงความเข้าใจของผม ความอบอุ่นของผม การมีเวลาอยู่บ้านร่วมกันบ่อย ๆ การหาอะไรทำร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการดูหนังหรือรับประทานอาหารร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ N P ต่อหน้า 2
หน้า 2 เมื่อใดที่ลูกขอคำปรึกษา ผมก็เพียงให้คำปรึกษาแม้ว่าจะไม่เข้าท่านัก ด้วยความที่ผมไม่กล้าจำกัดค่าใช้จ่ายของลูก ผมจึงมักถามลูกอย่างสม่ำเสมอว่า เงินพอใช้หรือไม่ ถ้าไม่พอให้บอกพ่อทันที และทันทีที่ผมรู้ ผมจะต้องหาส่งให้ลูกทันทีเช่นกัน แม้ว่าบ่อยครั้งที่ผมต้องพยายามลดรายจ่ายส่วนตัวลงบ้างบางส่วน เนื่องจากผมรู้ดีว่า เงินหายากจริง ๆ และผมก็เชื่อว่า ลูกไม่รู้แบบที่ผมรู้ ผมบอกเพื่อนว่า ผมขอเพียงให้ลูกผมเป็นคนดี คิดและทำในสิ่งดีก็เพียงพอ ผมไม่ต้องการให้ลูกประสบความสำเร็จหรือร่ำรวย เพราะดูจากผลการเรียนผมคงหวังไม่ได้ไกลขนาดนั้น ผมขอเพียงให้ลูกเมื่อเกิดมาชาติหนึ่งแล้วให้ลูกมีความสุขตามสภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมก็พอแล้ว ทั้งนี้เพราะผมไม่กล้าวางแผนและคาดหวังใด ๆ ในตัวลูก ผมยอมรับกับเพื่อนว่า ผมเองก็เคยคาดหวัง ผิดหวัง และอารมณ์เสียกับลูกเช่นกัน แต่ด้วยความที่ผมไม่รู้ว่า ใครกันที่เป็นฝ่ายถูกหรือผิด และเป้าหมายที่ผมให้ลูกคือความสุข สุดท้ายผมก็ใช้วิธียึดเป้าหมายนั้นไว้ให้มั่น ผมจึงขอโทษลูก เมื่อผมวางแผนให้ลูกไม่ได้ เมื่อผมสอนลูกไม่เป็น สิ่งที่ผมสรุปสุดท้ายให้เพื่อนก็คือ เมื่อใดที่ลูกทำผิด เมื่อใดที่ลูกทำพลาดลงไป ผมก็พร้อมจะเป็นผู้ผิด จะเป็นผู้พลาดตามลูกไปด้วย ผมเล่าความไม่เอาไหน และความไม่กล้าคาดหวังในตัวลูกของผมให้เพื่อนฟังตามความเป็นจริงที่ผมดำเนินชีวิตครอบครัวมาหลายปี คืนนั้นผมได้ยินเพื่อนโทรศัพท์ไปคุยกับภรรยาของเขาด้วยน้ำเสียงที่ผมไม่เคยได้ยินมาก่อนว่า “วันนี้ถ้าลูกกลับบ้านมา ไม่ต้องไปถามอะไรเขานะ ถ้าเขาจะเล่าอะไรก็ปล่อยเขา” ผมประหลาดใจที่น้ำเสียงของเพื่อนผิดไปจากหลายครั้งที่ผมได้ยิน แต่ผมก็ดีใจอยู่เงียบ ๆ ที่ความไม่เอาไหนในการเลี้ยงลูกของผม การไม่สามารถวางแผนชีวิตให้ลูกของผม และการไม่กล้าคาดหวังในตัวลูกของผม จะทำให้เพื่อนของผมมีอารมณ์ดีขึ้นและเชื่อมั่นตนเองมากขึ้นได้เหมือนกัน S N P สิทธิชัย ชวรางกูร กลับเข้าสู่หน้าหลัก
7 ยุทธศาสตร์หลักการค้าปี 2553 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ได้สรุปเกี่ยวกับผลของการประชุมยุทธศาสตร์การค้าโลกว่า ในปี 2553 นั้น การพัฒนาการค้าไทยจะมุ่งเน้นไปยัง 7 ยุทธศาสตร์หลัก 7 ยุทธศาสตร์ โดยจะมีการมุ่งเน้นทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศด้วยการประชุมเรื่องการบริโภค การลงทุนการท่องเที่ยว และบริการควบคุมไปกับการรักษาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งทางกระทรวงพานิชย์ได้มีการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจการพานิชย์เพื่อวิเคราะห์การค้าของแต่ละประเทศและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าไทย ซึ่งหากสามารถทำได้ตาม 7 ยุทธศาสตร์หลักนี้จะสามารถกระตุ้น GDP ของไทยในปี 2553 ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีก 100,000 - 200,000 ล้านบาท ทางด้านปลัดกระทรวงพานิชย์ได้กล่าวว่าแผนยุทธศาสตร์นี้ จะมีการจัดทำรายละเอียดเพื่อให้ทุกหน่วยงานได้ศึกษาและผลักดันการค้าของประเทศให้เป็นรูปธรรม โดยการดึงภาคเอกชนและบุคลากรในส่วนภูมิภาคให้เข้ามามีส่วนร่วมและจัดยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาด้านการค้าชายแดน ในที่ประชุมเชื่อว่าหากมีการจัดทำอย่างจริงจังแล้ว ประเทศไทยจะสามารถขยายมูลค่าการค้าชายแดนได้จากปีละ 700,000 ล้านบาท เป็น 1,000,000 ล้านบาทต่อปี S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
กำเนิดผิด ก็มีโทษ S กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin: ROO) คือ กฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้กำหนดสัญชาติที่แท้จริงของสินค้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในกฎทางการค้า เนื่องจากสามารถนำมาใช้เป็นนโยบายเพื่อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศผู้ส่งออก อาทิ การกำหนดโควตา อัตราภาษีพิเศษ มาตรการป้องกันการทุ่มตลาด ได้ อีกทั้ง โลกาภิวัฒน์ และกระบวนการผลิตซึ่งมีการส่งผ่านหลายประเทศก่อนจะเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ก็ยิ่งทำให้ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ทวีความซับซ้อนมากขึ้น รัฐบาลของแต่ละประเทศมีแนวปฏิบัติในเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้าที่แตกต่างกันออกไป แต่มีบางหลักเกณฑ์และเงื่อนไขซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป อาทิ รัฐบาลบางประเทศ นำหลักเกณฑ์เรื่องการเปลี่ยนแปลงประเภทพิกัดอัตราศุลกากรมาใช้ บางประเทศนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของแหล่งกำเนิดวัตถุดิบ บางประเทศนำเรื่องความซับซ้อนของกระบวนการผลิต มาเป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้า ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ การประสานความร่วมมือกันถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพื่อให้มีการนำวิธีปฏิบัติที่สอดคล้องกันมาใช้ N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
ตารางโอนสิทธิ์ คือ อะไร ? ตารางโอนสิทธิ์ คือ ตารางข้อมูลที่ผู้ส่งของออกแสดงต่อกรมศุลกากรว่า ยินยอมให้ผู้นำของเข้ารายใด นำข้อมูลการส่งออกของตนไปใช้ในการตัดบัญชีวัตถุดิบของที่นำเข้า เพื่อใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ผู้มีหน้าที่ยื่นตารางโอนสิทธิ์ คือ 1. เป็น ผู้ส่งของออก ที่ผ่านพิธีการในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e – Export) และ 2. ที่มีความประสงค์จะโอนสิทธิ์การคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ให้แก่ผู้อื่น ซึ่งเป็นผู้นำของเข้าตามมาตรา 19 ทวิ โดยยินยอมให้ผู้นำของเข้านั้นๆ นำข้อมูลการส่งออกของตนไปใช้ในการตัดบัญชีวัตถุดิบ ต้องยื่นตารางโอนสิทธิ์เมื่อใด ?ที่ไหน ? ผู้ส่งของออกต้องยื่นตารางโอนสิทธิ์ก่อนการส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออก โดยยื่นต่อ ฝ่ายคืนอากร ในสังกัดส่วนคืนและชดเชยอากร สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร โดยพิจารณาดังนี้ 1. ถ้าผู้ยื่นตารางโอนสิทธิ์ เป็นผู้นำเข้าที่ใช้สิทธิ์ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิด้วย ให้ยื่นตารางโอนสิทธิ์ ณ ฝ่ายฯ ที่รับผิดชอบการคืนอากรสำหรับผู้ส่งของออกรายนั้น 2. ถ้าผู้ยื่นตารางโอนสิทธิ์ มิได้เป็นผู้นำของเข้าที่ใช้สิทธิ์คืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ให้ยื่นตารางโอนสิทธิ์ ณ ฝ่ายฯ ที่รับผิดชอบการคืนอากรตามผลิตภัณฑ์ที่ผู้ยื่นตารางโอนสิทธิ์ส่งออก เมื่อผู้ส่งของออกยื่นตารางโอนสิทธิ์ ฝ่ายคืนอากรที่รับผิดชอบจะ Down load ข้อมูลการโอนสิทธิ์ลงในฐานข้อมูลของกรมศุลกากร หากถูกต้องกรมศุลกากรจะออกเลขที่ตารางโอนสิทธิ์ และแจ้งให้ผู้ยื่นทราบในทันที เพื่อนำเลขที่ตารางโอนสิทธิ์นั้น ไปสำแดงในขณะส่งออก S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
การอนุมัติเงินชดเชย กรมศุลกากรจะอนุมัติเงินชดเชยค่าภาษีอากรให้แก่ผู้ส่งออกในรูปของ "บัตรภาษี" ซึ่งสามารถนำไปชำระเป็นค่าภาษีได้ใน 3 หน่วยงาน คือ กรมศุลกากร กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต บัตรภาษีมี 2 ชนิด คือ (1) ชนิดบอกราคา คือ ราคา 100,000.- บาท ราคา 10,000.- บาท ราคา 1,000.บาท (2) ชนิดไม่กำหนดราคาซึ่งระบุจำนวนเงินที่ต่ำกว่า 1,000.- บาท อายุของบัตรภาษีมีระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ออกบัตร และอาจต่ออายุได้ไม่เกิน 2 คราว ๆ ละ 3 ปี ซึ่งจะต้องยื่นขอต่ออายุบัตรก่อนหมดอายุต่อหน่วยงานที่พิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรของสำนักงานศุลกากรส่งออก ท่าเรือกรุงเทพเพื่อดำเนินการอนุมัติให้ต่อไป S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
ยุทธศาสตร์ใหม่หนุน SME ไทยโตยั่งยืน ธุรกิจเอสเอ็มอีมีความสำคัญและเป็นรากฐานของเศรษฐกิจภายในประเทศ เนื่องจากเอสเอ็มอีคิดเป็นอัตราส่วน 95% ของผู้ประกอบการทั้งหมด หรือมีจำนวนผู้ประกอบการ กว่า 2.4 ล้านกิจการ ดังนั้นเศรษฐกิจของประเทศไทยจะดำเนินต่อไปอย่างไรในอนาคต กลไกที่จะมาช่วยขับเคลื่อนอีกตัวหนึ่งก็คือสถานการณ์ความอยู่รอดของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ดังนั้น สสว.ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนเอสเอ็มอีที่สำคัญ จึงจะต้องเดินหน้าให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อให้สามารถยืนหยัดและพัฒนาสินค้าออกสู่ตลาดสากลอย่างยั่งยืนและมั่นคง ยุทธศาสตร์ใหม่ ภายใต้แนวคิด "MOVE" ประกอบด้วย M คือ Missing link ได้แก่ การสร้างเสริมเติมเต็มกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเอสเอ็มอี เช่น สถาบันต่างๆภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อก่อให้เกิดการร่วมมือ เช่น การสร้างโครงการร่วมกัน เพื่อช่วยพัฒนาเอสเอ็มอีในสิ่งที่เอสเอ็มอีต้องการ ส่วน O คือ Onward ได้แก่ การเร่งรัดการดำเนินงาน นอกจากนี้ ต้องเร่งพัฒนาเอสเอ็มอีเข้าสู่ตลาดที่ใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะตลาดอาเซียน และให้เอสเอ็ม-อีเข้ามามีส่วนร่วมกับอาเซียนเพิ่มขึ้น สำหรับ V คือ Value ได้แก่ การเพิ่มคุณค่าการดำเนินงานของ สสว.เพื่อให้ผู้ประกอบการไว้วางใจ เข้าร่วม และให้ความร่วมมือกับ สสว.โดยการสร้างการบริการให้เป็นที่ยอมรับ และ E คือ Efficiency ได้แก่ การดูแลการสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับวิสัยทัศน์ต่างๆ ปรับปรุงโครงสร้างการทำงานให้เหมาะสม มีความคล่องตัว มีธรรมาภิบาล และมีมาตรฐาน นอกจากนี้ ยังจะมีการ แบ่งเอสเอ็มอีออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็ก 2.กลุ่มโอทอป 3.กลุ่มภาคการผลิต เพื่อจัดลำดับความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือ เพราะในแต่ละช่วงเวลา เอสเอ็มอีแต่ละกลุ่มย่อมต้องการความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน และได้รับผลกระทบไม่เท่ากันทุกกลุ่ม อีกทั้งนโยบายในการดำเนินการช่วยเหลือต่างๆ ก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละกลุ่มอีกด้วย S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
FTA อาเชียน-อียู และแนวโน้มสถานการณ์สินค้าเกษตรปี 53 ในสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน ผนวกกับความแปรปรวนของสภาพอากาศของโลกเราในปัจจุบัน เป็นที่แน่นอนว่า ปัญหาเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์โลก และสิ่งที่ต้องคำนึงสูงสุดคือ วัตถุดิบที่จะต้องใช้ในการอุปโภค บริโภค ซึ่งสินค้าเกษตรยังคงเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดในสถานการณ์เช่นนี้ นักวิเคราะห์หลายรายให้มุมมองถึงแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตรทั่วโลกว่าอาจพุ่งขึ้นในปี 2553 ด้วยแรงหนุนจากความกังวลเรื่องสภาวะอากาศ และการใช้เชื้อเพลิงทางเลือก โดยเฉพาะน้ำตาล เนื่องจากมีฝนตกอย่างต่อเนื่องในบราซิล ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตน้ำตาลมากที่สุดในโลก และผลจากอินเดียได้เปลี่ยนสถานะจากประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่มาเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำตาล รวมไปถึงสินค้าการเกษตรอื่นๆ เช่น ข้าวโพด กาแฟ ข้าว ข้าวสาลี โกโก้ และสินค้าการเกษตรอื่นๆ เป็นต้น ในโอกาสนี้ที่ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าทางการเกษตรอันดับต้นๆของโลกก็สมควรที่จะรู้เท่าทันถึงสถานการณ์เพื่อการสร้างกลยุทธ์ทางการค้าที่ได้เปรียบคู่ต่อสู้ อาทิเช่น FTAอาเซียน-อียู เป็นต้น ปัจจุบัน การเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าของรัฐบาลไทยในการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ)อาเซียน-อียู เพื่อให้เอกชนไทยได้รับประโยชน์สูงสุด เบื้องต้นได้ข้อสรุปจุดยืนที่สำคัญ 5 ประการคือ S N P ต่อหน้า 2
1. อียูจะต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าที่ไทยมีศักยภาพเหลือ 0% ทันที หรือเร็วที่สุด 2. กฎแหล่งกำเนิดสินค้า (ROO)จะต้องเป็นไปตามกระบวนการผลิตที่แท้จริงของ อุตสาหกรรมไทย 3. ไทยต้องได้รับประโยชน์จากการลดภาษีนำเข้าให้อียู 4. สินค้าที่ไทยได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีจะต้องมีระยะเวลาในการปรับตัวหรือ ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ 5. อาเซียน และอียูต้องมีกระบวนการแก้ไขปัญหามาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี มี ความร่วมมือทางวิชาการ และการทำความตกลงการยอมรับมาตรฐานสินค้าที่เท่า เทียมกัน สำหรับรายการสินค้าที่มีศักยภาพของไทยที่กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เสนอให้อียูลดภาษีเหลือ 0% ทันที หรือโดยเร็วที่สุด ในสินค้าเกษตรและอาหาร หากสามารถทำได้จริง ประกอบกับความต้องการด้านสินค้าทางการเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต เชื่อว่า เกษตรกรไทยจะสามารถเพิ่มช่องทางในการค้าคาย เละนำเงินตราเข้าสู่ประเทศได้มากขึ้นอย่างแน่นอน S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
A.T.A. Carnet? ผู้ประกอบการท่านหนึ่งได้นำเข้าสินค้ามาเพื่อการแสดง และต้องการใช้สิทธิ์ A.T.A. Carnet เพื่อยกเว้นภาษีอากรขาเข้า งานแสดงจบต้องการส่งสินค้าดังกล่าวกลับประเทศต้นทาง แต่ปรากฏว่าไม่ได้แจ้งความต้องการใช้สิทธิ์ A.T.A. Carnet ก่อนส่งออกที่ประเทศต้นทาง, ไม่ได้ขอหนังสือยืนยันจากผู้ที่จัดงาน และไม่ได้แจ้งตัวแทนออกของล่วงหน้า จึงไม่ได้ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าทำให้ใช้สิทธิ์ A.T.A. Carnet ไม่ได้ จึงต้องเสียภาษีปกติ และหาทางขายที่งานแสดงให้หมด โดยไม่ได้ส่งออก โดยไม่ได้ส่งกลับเพราะขอคืนอากรไม่ได้ ท่านผู้ประกอบการทุกท่าน ควรศึกษาการใช้สิทธิ์ A.T.A. Carnet สำหรับการนำเข้าเพื่อการแสดง เพื่อจะได้ยกเว้นภาษีอากรขาเข้า และส่งออกกลับประเทศต้นทางโดยไม่ต้องเสียภาษีขาเข้า A.T.A. Carnet-Admission Temporaries-Temporary Admission หมายถึง การประกันโดยเอกสารศุลกากรระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเอกสารที่ใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากรแทนใบขนสินค้าขาเข้า ใบขนสินค้าขาออก และใบสุทธินำกลับ ตามข้อตกลงของสภาหอการค้าโลกที่ให้ประเทศสมาชิกใช้ร่วมกัน หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อสอบถามได้ที่คุณวิไลวรรณ พิพิธวณิชการ โทร. 0-2333-1199 ต่อ 102 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
อัญมณีไทยและเครื่องประดับปี 53 สถานการณ์และแนวโน้มปี 2553 การส่งออกทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปนั้นยังคงเป็นตัวแปรสำคัญในการผลักดันการเติบโตของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าในปี 2553การส่งออกอัญมณีไทยและเครื่องประดับของไทยน่าจะขยายตัวไม่ต่ำกว่า ร้อยละ30 เพราะว่าราคาเฉลี่ยของทองคำในปี2553 ยังคงสูงอยู่ โดยคาดการว่าเครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับเทียมยังมีโอกาสขยายได้ในระดับหนึ่ งเพราะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคเศรษฐกิจตกต่ำที่ยังชื่นชอบการแต่งตัวเป็นอย่างดี เนื่องจาราคา ที่ถูกกว่าเครื่องประดับทอง แม้ว่าเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ อันได้แก่ สหรัฐฯ ยูโรโซน และ ญี่ปุ่นจะสามารถฟื้นตัวแต่ภาพรวมแล้วเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศดังกล่าวยังผันผวนพอสมควร ซึ่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการจับจ่ายของประชาชน มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ดังนั้นผู้ประกอบการไทยไม่น้อยต่างเร่งหาตลาดใหม่เพื่อทดแทน โดย ตลาดใหม่ที่น่าสนใจได้แก่ตลาดที่มีแนวโน้มที่ดี โดยรัสเซียนั้นเป็นอีกตลาดที่น่าสนใจแม้ว่าในปี 2552นั้นจะได้ผลกระทบจากเศรษฐกิจโดยเศรษฐกิจหดตัวถึงร้อยละ 7.5 แต่ คาดว่าในปี2553 จะสามารถฟื้นตัวได้อีกร้อยละ1.5 โดยสินค้าพวกเครื่องประดับนั้นได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศมากขึ้น โดยกระแสแฟชั่นจากตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆและสำหรับสินค้าประเภทเครื่องประดับยังสามารถรองรับได้อีกมาก โดยภาพรวมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่ไม่นับรวมทองคำนั้น ซึ่งเป็นผลิตภัณท์ที่สะท้อนถึงการเติบโตของภาคทางการผลิตที่แท้จริงของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยนั้นอาจจะฟื้นตัวไปอย่างช้าๆ โดยมีตลาดใหม่อย่างจีน รัสเซีย และตะวันออกกลางเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
รุกตลาดใหม่ “Top 10 สินค้ามาแรงหลังวิกฤติเศรษฐกิจ” จากการที่เศรษฐกิจโลกหดตัวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่งผลให้พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยเปลี่ยนแปลงไป โดยพบว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มลดการใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือย เช่นการซื้อสินค้าแฟชั่น รวมทั้งความนิยมในการหาความสุข ความบันเทิง อาทิ รับประทานอาหาร ดูหนังฟังเพลง แต่หันไปทำกิจกรรมต่างๆในบ้านมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าผู้บริโภคจะคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากปัจจัยด้านราคาในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการโดยแนวโน้มสินค้าที่คาดว่าจะได้รับความนิยมและมาแรงในตลาดการค้าหลังวิกฤติเศรษฐกิจมีดังนี้ 1. สินค้าอเนกประสงค์ (All-in-one) 2. สินค้าที่ผู้บริโภคสามารถประกอบได้เอง (DIY) 3. สินค้าย้อนอดีตที่ผสมผสานความทันสมัย (Retro Nova) 4. สินค้าที่ทำด้วยมือ (Handmade) 5. สินค้าที่เน้นการออกแบบและบรรจุภัณฑ์ (Design & Packaging) 6. สินค้าที่ปฏิบัติอย่างเป็นธรรม (Fair Trade) คือใช้วัตถุดิบที่ซื้อจากเกษตรกรในประเทศ กำลังพัฒนาด้วยราคาที่เป็นธรรม ไม่มีการกดขี่แรงงาน คำนึงถึงประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมของ องค์กรธุรกิจ 7. สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Product) 8. สินค้าพร้อมรับประทาน (Ready- to-Eat) 9. สินค้าเพื่อสุขภาพ (Organic & Function Food) และ 10. สินค้าที่คำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Walfare) จากความต้องการสินค้าและบริการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถือเป็นความเสี่ยงและโอกาสของผู้ประกอบการในการปรับตัวรับกับแนวโน้มตลาดที่เปลี่ยนไป ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ บริโภคในสินค้าที่ตนส่งออกอย่างใกล้ชิด รวมทั้งวางกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
ถาม-ตอบ ปัญหาสัมมนาเรื่อง “ดู L/C อย่างไรให้เป็นมวย” (ต่อ) ถาม: L/C – prime steel Billets Invoice 1. Steel billets 2. Prime Steel hot roll billets ชื่อ Description ใน Invoiceโชว์มาไม่ตรงกับ L/C (ตามข้างต้น) จะมีปัญหาหรือไม่อย่างไร ตอบ:ตาม UPC 600 ,14E,18C เอกสารอื่นที่แสดงชื่อสินค้าที่ราละเอียดปลีกย่อยไม่ตรงกับ L/C ยกเว้นInvoice หากมีรายละเอียดไม่ตรงกับ L/C ยังรับได้ แต่หากเป็นตัว Invoiceจะเป็น สาระแล้วจะถือว่าไม่ตรงกัน จะถือเป็น Discrepancy ในกรณีตัวอย่าง Invoice ข้อ1,2เป็น สาระสำคัญจึงหน้าจะเป็น Discrepancy ถาม: หากใส่ของแถม1 ชุด ในกล่องสินค้าไม่แสดงรายละเอียดใน invoice – packing list หรือใน L/C จะมี ปัญหาไหม ตอบ: ตาม ISBP (International Standard Banking Practice) ถ้า L/C ไม่อนุญาตให้มีการส่ง Sample Goods และเอกสารที่ยื่น Bank แสดงถึงสินค้าของแถมหรือสินค้าตัวอย่างจะเกิด Discrepancy แต่ถ้า Exporter ไม่แสดงรายละเอียดในเอกสารที่ present ธนาคาร ธนาคารก็ จะไม่จับ Disc. แต่ต้องระวังว่าเอกสารทุกประเภทที่ present bank ต้องไม่ระบุถึงสินค้าตัวอย่าง หรือของแถม ไม่ว่าจะเป็น Invoice, B/L และเอกสารอื่นๆ ถาม: ควรจะใส่ CLAUSE อย่างไรเพื่อให้ได้รับการชำระทันที ตอบ: ปกติการจ่ายเงินตาม L/C นั้น Issuing Bank หรือ Confirming Bank จะจ่ายตามเงื่อนไขของ L/C ใน field ที่ 41A (Available with...by...) โดยไม่จำเป็นต้องระบุ S N P ต่อหน้า 2
clause ใดๆเพิ่มเติม เนื่องจาก UCP 600 ได้กำหนดบทบาทของ Issuing Bank และ Confirming Bank ไว้ดังนี้ 1. ถ้า L/C available by sight payment หมายถึง Bank จะจ่ายเงินทันทีที่ตรวจเอกสารและ เอกสารถูกต้องตาม L/C, UCP 600 and ISBP 2. L/C available by deferred payment เช่น deferred payment 60 days after B/L date ประเภทนี้ หากเอกสารถูกต้องตาม L/C, UCP 600 and ISBP ธนาคารจะจ่ายเงิน 60 วันหลังจากวันส่งสินค้า (on board date) 3. L/C available by acceptance วิธีนี้คล้ายกับ deferred payment คือจ่ายเงินเมื่อถึงวัน ครบกำหนดในอนาคต หากเอกสารถูกต้องตาม L/C, UCP 600 and ISBP เช่น 60 days after B/L dateแต่ต่างจาก deferred payment ตรงที่ L/C จะไม่ขอ Bill of Exchange หรือ Draft 4. L/C available by negotiation วิธีนี้จะมีทั้ง negotiation at sight และ negotiation term (จ่ายเงินทันทีที่เอกสารถูกต้องตาม L/C, UCP 600 and ISBP หรือจ่ายเงินมื่อถึงวันครบ กำหนดในอนาคต) เช่น negotiation 60 days after B/L date ดังนั้น หาก exporter ต้องการที่ จะได้รับการชำระเงินทันที ควรจะตกลงกับผู้ซื้อให้เปิด L/C แบบ payment at sight หรือ negotiable at sight ถาม : ถ้าซื้อขายเป็น Ex work ผู้ส่งออกมีสิทธิ์ขอชดเชยอากรได้หรือเปล่า ? เนื่องจากเท่าที่ทราบมาชดเชยอากรนั้น ศุลกากรจะคิดจาก FOB ` เท่านั้น ตอบ:โดยทางทฤษฎีแล้วเป็นการขัดแย้งที่จะไปสื่อถึงการใช้สิทธิ์ชดเชยลำบาก แต่ในทางปฎิบัติตอนที่ส่งออกใบขนสินค้าส่งออกจะถูกบังคับให้สำแดง FOB อยู่แล้ว ถาม: ในการณี Transferable L/C ทาง Supplier Present เอกสารถูกต้องทั้งหมด แต่ Middle man Present เอกสารไม่ทัน ทำให้ไม่สามารถรับเงินไว้ได้ ในกรณีนี้ Supplier จะสามารถเรียกร้องอะไรได้ บ้าง S N P ต่อหน้า 3
ตอบ:ตาม UCP 600 Art ที่ 38 i กล่าวถึงเรื่อง Transferable Credit ในกรณีที่ Second Bene (Supplier) เอกสารถูกต้องและ present เอกสารภายในระยะเวลาที่ L/C กำหนด (ภายใน period for presentation) แต่ First Bene (Middleman) ทำเอกสารไม่ถูกต้องและธนาคารได้ แจ้งให้ First Bene แก้ไขเอกสารให้ถูกต้อง แต่ First Bene ไม่แก้ไข หรือไม่สามารถ present เอกสารได้ทันตามที่ L/C กำหนด ธนาคารที่ทำหน้าที่เป็น Transferring Bank (ประกบเอกสาร ของ Suppier กับ Middleman) มีสิทธิส่งเอกสารที่ถูกต้องของ Second Bene ไปเรียกเก็บเงินที่ Issuing Bank ได้ จากคำถามแสดงว่า Transferring Bank คงไม่ได้รักษาสิทธิ์ของ Second Bene ตาม UCP ที่กล่าวมาทำให้ไม่สามารถ present เอกสารทัน และIssuing Bank ได้ปฏิเสธการ จ่ายเงินไปแล้วกรณีนี้ Supplier ต้องไปไล่เบี้ยกับ First Bene กันเอง เนื่องจากภาระของ Issuing Bank สิ้นสุดหากเอกสารไม่ถูกต้องตาม L/C, UCP600 and ISBP ถาม: ชื่อผู้เปิด L/C จากประเทศเยเมนมาให้ผู้ขายเมืองไทย เป็นเงิน USD 150,000 แต่ด้วยระยะเวลาที่ตกลงราคากันกับวันที่ได้รับ L/C ทำให้ไม่สามารถขายได้ ผู้ขายได้แจ้งลูกค้าให้ทราบ และ ปล่อยให้ L/C ฉบับนี้หมดอายุไปโดยปริยายถูกต้องใช่ไหม ? ตอบ: ในทางปฎิบัติไม่ควรให้หมดอายุแต่ควรทำเอาหลักการและเหตุผลไปอธิบายกับผู้เปิด L/C เพื่อต่ออายุ L/C โดยมีเสนอว่าจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการต่ออายุ L/Cเอง หรือมีส่วนลดให้ จะดีกว่าแต่อย่างไรก็ตามถ้าผู้เปิด L/C ยืนยันไม่ต่ออายุ L/Cให้ และเราไม่สามารถผลิตได้ทันก็ ต้องปล่อยให้ L/C หมดอายุไปซึ่งเราเองก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น ถาม: Reimbursement Terms – กรณีที่ได้เงิน USD ในวันเดียวกันจาก Bank เมืองนอก ( L/C Issuing Bank อยู่ที่ญี่ปุ่น) แสดงว่า Issuing Bank มีบัญชีเงินฝากอยู่กับ Negotiating Bank ในเมืองไทยใช่หรือไม่ ? ตอบ:ไม่จำเป็นเสมอไปขึ้นอยู่กับข้อตกลงแต่ BANK ที่มีพันธ์กรณีต่อกัน S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก