1 / 10

สื่อทางเลือกกับโลกยุคใหม่

สื่อทางเลือกกับโลกยุคใหม่. สฤณี อาชวานันทกุล Fringer | คนชายขอบ http://www.fringer.org/ นำเสนอในการอบรมเชิงปฏิบัติการ นักข่าวพลเมือง (ด้านพลังงาน) วันที่​ 24 มิถุนายน​ 2551 จัด​โดย หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ประชาไท และมูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน.

Download Presentation

สื่อทางเลือกกับโลกยุคใหม่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สื่อทางเลือกกับโลกยุคใหม่สื่อทางเลือกกับโลกยุคใหม่ สฤณี อาชวานันทกุล Fringer | คนชายขอบ http://www.fringer.org/ นำเสนอในการอบรมเชิงปฏิบัติการ นักข่าวพลเมือง (ด้านพลังงาน) วันที่​ 24 มิถุนายน​ 2551 จัด​โดย หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ประชาไท และมูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน งานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบ Attribution Non-commercial Share Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ทำซ้ำ แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วนหนึ่งของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณีที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่นำไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่งานดัดแปลงภายใต้ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น

  2. เหตุผลที่คนแสวงหา “สื่อทางเลือก” มากขึ้น • การแข่งขันที่รุนแรง นำไปสู่การผูกขาดสื่อกระแสหลักในมือนักธุรกิจไม่กี่คน นำไปสู่ปัญหาด้านคุณภาพ และผลประโยชน์ทับซ้อนของสื่อกระแสหลัก • เว็บล็อก (Weblog ย่อว่า “บล็อก) เป็นการนำเสนอประสบการณ์ ข้อมูล และมุมมองของคนคนเดียว เขียนเพราะอยากเขียน ไม่ใช่เขียนเพราะอยาก “ขายข่าว” คนอ่านจึงเข้าถึงได้ง่ายกว่า เชื่อได้มากกว่าว่าเป็นอิสระ • วิวัฒนาการใหม่ๆ ในโลกไซเบอร์ เช่น กูเกิ้ล ทำให้คนสามารถค้นเจอเนื้อหา/ข้อมูลที่ต้องการในโลกอันวุ่นวายของบล็อกได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย

  3. “ข่าวทางเลือก” ด้านพลังงานไม่มีวันล้าสมัย • ในระดับโลก วิกฤตพลังงาน และวิกฤตอาหาร (ที่ส่วนหนึ่งเป็นผลจากวิกฤตพลังงาน) กำลังกดดันให้สังคมมนุษย์มีการปรับตัวครั้งใหญ่ แสวงหาพลังงานทดแทน ปฏิรูปแนวทางพัฒนาไปเป็น “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” • ชัดเจนปัญหาโลกร้อน ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม ฯลฯ ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของ “คนเมือง” ด้วย • คุณภาพชีวิตของชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ เป็น “มาตรวัด” ที่ดีที่สุดในการประเมินคุณภาพของการพัฒนา • ใครก็ตามที่สนใจเรื่องนี้ ต้องสนใจ “เสียง” ของชุมชน

  4. นักข่าวรากหญ้ามีอะไรที่สื่อกระแสหลักไม่มี?นักข่าวรากหญ้ามีอะไรที่สื่อกระแสหลักไม่มี? ประสบการณ์ตรง อิสรภาพในการนำเสนอ

  5. Hu Jia นักเคลื่อนไหวผู้ถูกรัฐบาลจีนกักบริเวณ ที่มา: http://www.globalvoicesonline.org/2008/03/03/china-hack-into-freedom-city/

  6. ความเคลื่อนไหวของ Hu Jia มีผู้ติดตามมากมาย ที่มา: http://hujiajinyan.wordpress.com/

  7. ไม่ต้องเขียนให้เป็น “ข่าว” ก็ใช้รูป “เล่าเรื่อง” ได้ ที่มา: http://www.oknation.net/blog/kanis/2008/05/19/entry-1

  8. ใช้รูป “เล่าเรื่อง” ได้ (ต่อ) ที่มา: http://www.fringer.org/?p=181

  9. ข้อคิดบางประการ • ประโยชน์ของสื่อรากหญ้าสะสมผ่านกาลเวลา และขึ้นอยู่กับจังหวะและสถานการณ์ ฉะนั้นอย่าหมดกำลังใจถ้าบล็อกหรือเว็บไซต์มีคนเข้า “น้อย” • ไม่ควรสนใจข้อครหาว่ามี “อคติ” หรือ “ไม่เป็นกลาง” มากนัก • โดยธรรมชาติ “ข่าว” ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดจากการเลือกประเด็น เลือกให้น้ำหนัก ตลอดจนน้ำเสียงนั้น “ไม่เป็นกลาง” อยู่แล้ว • สื่อที่ “ดี” จึงไม่ใช่สื่อที่ “เป็นกลาง” หากเป็นสื่อที่นำเสนอข้อเท็จจริงอย่างไม่บิดเบือน และไม่ปิดบังจุดยืนของตัวเอง • สื่อพลเมืองเป็นเจ้าของประสบการณ์

  10. ข้อคิดบางประการ (ต่อ) • ไม่ต้องพยายามทำตัวเป็น “นักข่าวอาชีพ” มากนัก • “ความน่าเชื่อถือ” ของสื่อรากหญ้า ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่นำเสนอ โดยเฉพาะในฐานะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง มากกว่าความสละสลวยของภาษา • เราเป็นผู้กำหนดเองว่าอะไรควรเป็น “ข่าว” • แต่ต้องมีประเด็นที่ชัดเจน และทำให้คนอ่านเข้าใจว่าเชื่อมโยงกับสังคมอย่างไร • ในขณะเดียวกัน พยายามเน้นการจัดทำและอัพโหลด “ข้อมูลดิบ” เช่น รูปถ่าย คลิปวีดีโอ ฯลฯ • เป็นวัตถุดิบชั้นดีสำหรับสื่อรากหญ้า สื่อกระแสหลัก นักเขียน และนักวิชาการ • ทำให้ข้อครหาว่า “อคติ” หมดความหมาย และลดความเสี่ยงที่จะถูกฟ้อง เพราะไม่มีใครเถียงข้อเท็จจริงได้

More Related