E N D
บทที่ 9 ธนาคารกลาง
ธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ จะได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นผู้จัดระบบการเงินของประเทศให้ดี และมีประสิทธิภาพสามารถอำนวยประโยชน์สูงสุดให้เกิดแก่เศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ธนาคารกลางจึงได้รับมอบหมายในการควบคุม และกำหนดโครงสร้างทางการเงินของประเทศ รวมทั้งการควบคุมการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่น ๆ ซึ่งเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อระบบการเงินของประเทศเป็นอย่างมาก • ธนาคารกลางควบคุมดูแลการดำเนินงานกระจายในภูมิภาคต่าง ๆ ถึง 12 แห่ง ดังนั้นจึงเป็นที่ยอมรับถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ในปัจจุบันทุกประเทศในโลกจึงมีธนาคารในประเทศของตนเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวทุกประเทศ
ความหมายของธนาคารกลางความหมายของธนาคารกลาง ธนาคารกลาง หมายถึง สถาบันการเงินของรับบาลซึ่งรับผิดชอบในการจัดการในเรื่องปริมาณเงินภายในประเทศ และออกกฎเกณฑ์ในการควบคุมระบบธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจของชาติ อาทิเช่น การมีงานทำอย่างเต็มที่ การมีเสถียรภาพในราคาสินค้า และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ธนาคารกลางเป็นสถาลบันการเงินของรัฐบาลที่มีอำนาจ และหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของประเทศ ทั้งในด้านอุปท่าน (Supply) ของเงินภายในประเทศ จำนวนเงินที่ให้กู้ยืม อัตราดอกเบี้ย รวมถึงการเงินระหว่างประเทศ เพื่อประโยชน์ของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ
ลักษณะสำคัญของธนาคารกลางลักษณะสำคัญของธนาคารกลาง ธนาคารกลางมีฐานะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ด้านการเงินของ ประเทศ ธนาคารกลางจึงมีลักษณะแตกต่างจากสถาบันการเงินอื่น ๆ ดังนี้คือ • การดำเนินงานเป็นไปเพื่อเสถียรภาพ และความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศ • การดำเนินงานของธนาคารมีอิสระในกรอบนโยบายของรัฐบาล แต่ถึงกระนั้นธนาคารกลางก็มีอิสระในการเสนอแนะนโยบายทางการเงินต่อรัฐบาล • การประกอบธุรกิจของธนาคารกลางส่วนใหญ่จะกระทำกับธนาคาร พาณิชย์ และกับสถาบันการเงินบางประเภท แต่ธนาคารกลางจะไม่ทำธุรกิจติดต่อ โดยตรงกับพ่อค้าประชาชนทั่งไป
ประวัติความเป็นมาของธนาคารกลางประวัติความเป็นมาของธนาคารกลาง • ธนาคารกลาง ส่วนใหญ่ที่ก่อตั้งขึ้นในระยะแรก ถือกำเนิดมาจากธนาคารพาณิชย์ที่ได้ช่วยเหลือรัฐบาลของตนในทางการเงิน ดังนั้นรัฐบาลจึงได้ตอบแทนโดยการให้เอกสิทธิในการออกบัตรธนาคาร (Bank Note) เช่น ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ เป็นต้น • ธนาคารกลางเริ่มถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรป ในช่วงตอนปลายศตวรรษที่ 17 • ภายหลังปี พ.ศ.2472 เป็นต้นมา รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ เริ่มเข้าแทรกแซงกิจการของธนาคารกลางมากขึ้น เพื่อให้ธนาคารกลางสามารถควบคุมภาวะทางการเงิน และเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล
ประวัติความเป็นมาของธนาคารกลาง(ต่อ)ประวัติความเป็นมาของธนาคารกลาง(ต่อ) • ในบรรดาธนาคารกลางทั้งหลาย ธนาคารกลางที่เก่าแก่ที่สุด ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศสวีเดน (Risks Bank of Sweden) จนมีผู้ขนานนามว่าเป็น “มารดาแห่งธนาคารกลาง” (Mother of Central Bank) ธนาคารกลางแห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2199 • ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (Bank of England) ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2237 ในรูปของธนาคารพาณิชย์เอกชน และได้รับอำนาจหน้าที่ให้เป็นธนาคารกลางของประเทศในปี พ.ศ.2387 ต่อมาได้โอนกิจการมาเป็นของรัฐบาลในปี พ.ศ.2489 ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษเป็นธนาคารแรกที่ได้รับเอกสิทธิในการออกบัตรธนาคาร (Bank Note)
ประวัติความเป็นมาของธนาคารกลาง(ต่อ)ประวัติความเป็นมาของธนาคารกลาง(ต่อ) • ธนาคารแห่งประเทศฝรั่งเศส (Bank of France)ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2343 • ธนาคารแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ (Bank of Netherland) ตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2357 • ธนาคารแห่งประเทศนอร์เวย์ (Bank of Norway) ตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2359 • ธนาคารชาติแห่งออสเตรีย (National Bank of Austia) ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2360 • ธนาคารแห่งประเทศเดนมาร์ก (Bank of Denmark) ตั้งขึ้นในปี พ. ศ. 2361 • ธนาคารชาติแห่งเบลเยี่ยม (National Bank of Belgium) ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2393 • ธนาคารแห่งประเทศสเปน (Bank of Spain) ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2399 • ธนาคารแห่งประเทศเยอรมัน (Reiechsbank of Germany)
การจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย • การจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย มีรากฐานมาจากการตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย โดยได้มีการตราพระราชบัญญัติ จัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทยพุทธศักราช 2482 ขึ้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2482 และได้เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 กำหนดให้สำนักงานธนาคารชาติไทยมีฐานะเป็นทบวงการเมือง สังกัดกระทรวงการคลัง มีทุนดำเนินงานจากรัฐบาลจำนวน 10 ล้านบาท และให้พระยาทรงสุรรัชฏ์อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานธนาคารชาติไทยจุดประสงค์หลักในการจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย ก็เพื่อฝึกฝนให้คนไทยรู้จักการปฏิบัติธุรกิจธนาคารกลาง และทำหน้าที่บริหารเงินกู้ของรัฐบาล
ต่อมาในปี พ. ศ 2488 จึงได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่วังบางขุนพรหมจนถึงปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า “Bankof Thailand” • ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2485 ทําหน้าที่เป็นธนาคารกลางดําเนินการจัดพิมพ์ธนบัตร นําธนบัตรออกใช้ เป็นนายธนาคารให้แก่รัฐบาลและสถาบันการเงินต่าง ๆ รวมทั้งเป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้ายแก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ นอกจากนี้ ยังดําเนินนโยบายการเงินและรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ดูแลระบบการชําระเงินกํากับควบคุม และตรวจสอบการดําเนินงานของสถาบันการเงิน อันได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และธนาคารเฉพาะกิจตามที่กระทรวงการคลังมอบหมาย
การบริหารและการแบ่งส่วนงานของธนาคารแห่งประเทศไทยการบริหารและการแบ่งส่วนงานของธนาคารแห่งประเทศไทย • การแบ่งส่วนงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ในระยะที่เริ่มก่อตั้งธนาคารประกอบด้วยฝ่ายที่ทำหน้าที่รับผิดชอบธุรกิจของธนาคารโดยตรงเท่านั้น ได้แก่ ฝ่ายบัญชาการ ฝ่ายการธนาคาร ฝ่ายออกบัตร ฝ่ายการคลัง และฝ่ายการบัญชี ต่อมาจึงขยายขอบเขตของงาน และปรับปรุงการแบ่งส่วนของงาน โดยเพิ่มส่วนงานขึ้นอีกหลายฝ่าย
การบริหารและการแบ่งส่วนงานของธนาคารแห่งประเทศไทยการบริหารและการแบ่งส่วนงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ในปัจจุบันส่วนงานของธนาคารแบ่งได้ตามลักษณะและภาระหน้าที่ ดังนี้ 5.1 ส่วนงานที่ทำหน้าที่ประกอบธุรกิจหลักของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง ได้แก่ -ฝ่ายการธนาคาร -ฝ่ายการควบคุมปริวรรต -ฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ -ฝ่ายกำกับและตรวจสอบสกาบันการเงิน -ฝ่ายออกบัตรธนาคาร -พิมพ์ธนบัตร 5.2 ส่วนงานที่สนับสนุนการปฏิบัติงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย -ฝ่ายวิชาการ-ฝ่ายธุรการ -ฝ่ายการพนักงานและการจัดองค์การ -ฝ่ายการบัญชี -ฝ่ายตรวจสอบกิจการภายใน -ฝ่ายวางแผนและปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ -ฝ่ายจัดการกองทุน -ฝ่ายกฎหมาย -สำนักผู้ว่าการ -สำนักงานความปลอดภัย -สำนักงานสุรวงค์-สำนักงานคณะกรรมการโครงการก่อสร้างอาคารธนาคาร -ห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ
การประกอบธุรกิจของธนาคารแห่งประเทศไทยการประกอบธุรกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย