250 likes | 391 Views
การคลังรัฐวิสาหกิจ. บทที่ 1 1. โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สายวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หัวข้อ. ความสำคัญของรัฐวิสาหกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างการคลังภาครัฐบาล กับการคลังรัฐวิสาหกิจ ประเภท โครงสร้าง และรูปแบบของรัฐวิสาหกิจ การคลังรัฐวิสาหกิจ
E N D
การคลังรัฐวิสาหกิจ บทที่ 11 โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สายวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หัวข้อ • ความสำคัญของรัฐวิสาหกิจ • ความสัมพันธ์ระหว่างการคลังภาครัฐบาล กับการคลังรัฐวิสาหกิจ • ประเภท โครงสร้าง และรูปแบบของรัฐวิสาหกิจ • การคลังรัฐวิสาหกิจ • การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ความสำคัญของรัฐวิสาหกิจความสำคัญของรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์กรของรัฐบาล หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีทุนอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50 คำบางคำ State enterprise = รัฐวิสาหกิจ เป็นกิจการที่รัฐถือหุ้นเกิน 50% National enterprise = เครือข่ายระดับชาติ Nationalization = รัฐเอาธุรกิจเอกชนมาดำเนินการเอง Privatization = เอกชนดำเนินการแทนรัฐ
ความเป็นมาของรัฐวิสาหกิจความเป็นมาของรัฐวิสาหกิจ -เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจแทนรัฐ -เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ภาคเอกชนในการดำเนินธุรกิจ -เพื่อความมั่นคงของประเทศ -เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมและบริการสังคม ความสำคัญของรัฐวิสาหกิจ -กระทบต่อการจัดหาเงินทุนให้แก่รัฐวิสาหกิจ เนื่องจากการขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน -กระทบต่อการลงทุน เนื่องจากมีการลงทุนมาก -กระทบฐานะการเงินระหว่างประเทศ เนื่องจากมีการก่อหนี้จำนวนมาก -กระทบภาระทางงบประมาณ จาการจัดสรรเงินอุดหนุนรัฐวิสาหกิจ -กระทบการจัดเก็บรายได้จากภาษีของรัฐบาล จากที่รัฐวิสาหกิจไม่ต้องเสียภาษีบางประเภท เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล -กระทบประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมของประเทศให้ต่ำลง
ความสัมพันธ์ระหว่างการคลังภาครัฐบาล กับการคลังรัฐวิสาหกิจ • การได้รับเงินอุดหนุนจากงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล เพื่อ ชดเชยการขาดทุน เงินลงทุน งบดำเนินการ เพิ่มการลงทุน • การได้รับเงินงบประมาณรายจ่ายเพื่อชำระหนี้ที่รัฐวิสาหกิจก่อไว้ • การนำส่งกำไรเป็นรายได้แผ่นดิน (ต่อกำไรประจำปี) รัฐวิสาหกิจผูกขาด เช่น โรงงานยาสูบ 80% รัฐวิสาหกิจกึ่งผูกขาด เช่น องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ 50% รัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภค เช่น กฟผ. 30% รัฐวิสาหกิจประเภทอุตสาหกรรม เช่น องค์การเภสัชกรรม 40% รัฐวิสาหกิจประเภทอื่น เช่น โรงรับจำนำ 25% รัฐวิสาหกิจประเภทบริษัท ตามสมควร
ประเภทของรัฐวิสาหกิจ • ประเภทหารายได้เข้ารัฐ เช่น โงงานยาสูบ สลากกินแบ่ง • ประเภทสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ >สาธารณูปโภค เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย >สาธารณูปการ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย • ประเภทที่ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐ >สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร >อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ >เกษตรกรรมและพานิชยกรรม เช่น องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย >ส่งเสริม เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ประเภทของรัฐวิสาหกิจ(ต่อ)ประเภทของรัฐวิสาหกิจ(ต่อ) • ประเภทที่ตั้งขึ้นโดยวัตถุประสงค์เดิมเพื่อความมั่นคง เช่น องค์การฟอกหนัง • ประเภทที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด • รัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้จัดประเภทไว้ เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
การคลังรัฐวิสาหกิจ • รายจ่ายของรัฐวิสาหกิจ งบทำการ ตั้งไว้สำหรับการดำเนินการ งบลงทุน ตั้งไว้เพื่อการขยายงานและทดแทนสินทรัพย์เดิม • รายได้รัฐวิสาหกิจ จากงบประมาณแผ่นดิน ในรูปเงินเพิ่มทุน เงินอุดหนุน เงินกู้ จากเงินกู้ทั้งภายในและภายนอกประเทศ จากเงินรายได้ของรัฐวิสาหกิจเอง
ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงิน ภาพรวมรัฐวิสาหกิจ(ไม่รวม ธนาคารแห่งประเทศไทย และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน)
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ • ความหมาย เป็นมาตรการหนึ่งที่รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจนำมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจ • ประเภทของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 1) การถอนตัวจากการผลิต โดยการขายทิ้งกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน 2) ให้เอกชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ โดยการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ 3) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลกับเอกชน 4) การจ้างเหมา โดยการจ้างเอกชนดำเนินการแทนรัฐบาล 5) การให้สัมปทาน ให้สิทธิ์เอกชนดำเนินการ แต่ต้องให้ผลประโยชน์แก่รัฐ 6) การให้เช่า ให้เอกชนเช่าทรัพย์สินดำเนินการ และจ่ายค่าเช่าให้รัฐบาล 7) การเพิ่มเสถียรภาพการดำเนินการ โดยการผ่อนคลายกฎระเบียบ
เหตุผลสำหรับการเป็นเจ้าของโดยรัฐเหตุผลสำหรับการเป็นเจ้าของโดยรัฐ กลไกในการเจริญเติบโต ความยุติธรรมและการกระจายที่ทั่วถึง เพื่อควบคุมอำนาจในการผูกขาด เหตุใดรัฐจึงเป็นเจ้าของกิจการ มีอำนาจต่อประชาชน เครื่องกันปะทะทางการเมือง ผู้อุปการะทางการเมือง
แรงกดดันให้เกิดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แรงกดดันเรื่องหนี้ ภาษี การขาดทุน ความไม่พอใจต่อประสิทธิภาพการดำเนินการ การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และโลกาภิวัฒน์ ผลกระทบจากการแปรรูป การประสบความสำเร็จในต่างประเทศ (อังกฤษ) ความจำเป็นเรื่องทุนมีมีขนาดใหญ่โต ตลาดผลผลิตและตลาดเงินระหว่างประเทศ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 หลักการบริหารยุคใหม่ โดยปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ จาก “การจัดการ” เป็น “การนำ”
สาเหตุของการแปรรูป/ปัจจัยที่นำไปสู่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจสาเหตุของการแปรรูป/ปัจจัยที่นำไปสู่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
สาเหตุที่ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจสาเหตุที่ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ด้านหลักการ แยกขอบเขตระหว่างรัฐบาลและเอกชน ระบบทุนนิยม ด้านเศรษฐกิจ ระบบเสรี เหตุผล แรงงาน ประสิทธิภาพ ด้านการเมือง นักการเมืองที่ต้องการเสรีภาพทางเศรษฐกิจ นโยบายพรรคการเมือง สาเหตุที่ต้อง แปรรูป ด้านการเงิน ผลกระทบต่อการเงินภาครัฐ การก้าวสู่ตลาดการเงินโลก ลดความเสี่ยงภาครัฐ สนับสนุนตลาดหลักทรัพย์ ด้านการจัดการ จุดจบของยุคดำเนินการโดยรัฐ เสรีภาพจากการปลอดจากการ แทรกแซงของรัฐมนตรี
วัตถุประสงค์ในการแปรรูปวัตถุประสงค์ในการแปรรูป -ลดปัญหาด้านการเงิน ลดการพึ่งพางบประมาณของรัฐบาล -ลดปัญหาการบริหารเดิมที่ไม่คล่องตัว ไม่มีประสิทธิภาพ -ได้รับเทคโนโลยีจากพันธมิตรจากต่างประเทศ แต่ไม่ใช่เป็นการ Take Over -เพิ่มบทบาทเอกชนในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ -ลดภาระค่าใช้จ่ายรัฐจากที่เกิดการขาดทุน -ลดภาระหนี้สาธารณะส่วนของรัฐวิสาหกิจ -รัฐนำเงินไปลงทุนอย่างอื่นที่จำเป็น -ส่งเสริมการลงทุนและเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ขจัดการผูกขาด -เปลี่ยนจากการควบคุมการดำเนินการ มาเป็นการควบคุมผลงาน -ประชาชนและพนักงานรัฐวิสาหกิจร่วมเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจโดยการถือหุ้น -พนักงานได้รับสวัสดิการที่เป็นธรรม -ให้มีระบบค่าตอบแทนที่จูงใจในการทำงาน
ผู้ที่ต้องคำนึงถึง -ประชาชน -พนักงาน -รัฐบาล รูปแบบการแปรรูป 1) การทำสัญญาจ้างเอกชนให้บริหารงาน (Contract-Out) 2) การทำสัญญาให้เอกชนเช่าดำเนินการ (Lease Contract) 3) การให้สัมปทานภาคเอกชน (Concession) 4) การกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ผdivestiture) 5) การร่วมลงทุนกับภาคเอกชน (Joint-Venture) 6) การให้เอกชนลงทุนดำเนินการแต่รัฐรับซื้อผลผลิต หรือวิธีการ Build-Onw-Operate (BOO) 7) การจำหน่ายจ่ายโอนและยุบเลิกกิจการ (Trade Sale and Liqidation)
ประชาชนได้อะไรจากการแปรรูปประชาชนได้อะไรจากการแปรรูป ก่อนการแปรรูป -ไม่ใส่ใจ ไม่พัฒนาคุณภาพการบริการ -ไม่มีทางเลือกอื่น ผูกขาด -ไม่ต้องกังวลเรื่องการลงทุน -พนักงานได้ค่าตอบแทนมากกว่าภาคบริการอื่น ๆ -รัฐต้องอุ้มรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุน หลังการแปรรูป -คุณภาพที่ดี มีศักยภาพ ประสิทธิภาพ -มีความมุ่งมั่น ใส่ใจ -มีความต่อเนื่องสืบประสานในการบริหารงาน -เป็นที่ยอมรับ/ยอมรับได้ ทั้งราคาและความรวดเร็ว -เข้าถึงได้โดยเสมอภาค
-เหมาะสมกับภาวการณ์ต่าง ๆ ในขณะนั้น -สินค้าและบริการมีความปลอดภัย -ได้ผลดี -คุ้มราคา
ประโยชน์จากการแปรรูป 1. ประชาชน -บริการดีมีคุณภาพ -อัตราค่าบริการสะท้อนต้นทุนแท้จริงและเป็นไปตามกลไกการแข่งขันของตลาด -การมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของโดยการถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจ -สามารถตรวจสอบได้ 2. พนักงาน -มีส่วนเป็นเจ้าของและค่าตอบแทนในรูปเงินปันผล -ได้รับเงินและสิทธิประโยชน์เท่ากับเอกชนชั้นนำ -เพิ่มโอกาสในการเลื่อนขั้นและค่าตอบแทนตามระบบเอกชน
3. รัฐบาล -ลดภาระภาครัฐในการลงทุนรัฐวิสาหกิจ -ลดภาระการก่อหนี้ของประเทศ -พัฒนาตลาดทุนโดยการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ -เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของรัฐจากการเปิดเสรีทางการค้าในระดับโลก (WTO) 4. รัฐวิสาหกิจ -คล่องตัวในการบริหาร -ลดการแทรกแซงจากทางการเมือง (บอร์ดรัฐวิสาหกิจ) -การตัดสินใจลงทุนรวดเร็ว
กลไกที่นำไปสู่ความสำเร็จในการแปรรูปกลไกที่นำไปสู่ความสำเร็จในการแปรรูป -ผู้นำทำจริง -ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ประชาชน/พนักงาน/รัฐบาล) มีส่วนร่วม -เน้นการประเมิน ต้องมีองค์กรอิสระมาประเมิน -ยึดหลักธรรมรัฐ (Good governance) -มีความโปร่งใส (Transparency) -รับผิดชอบสามารถบริหารได้ (Accountability) -ได้ผลดังที่คาดหมาย/มีประสิทธิภาพ (Predictability) -ทุกฝ่ายในสังคมมีส่วนร่วม (Participation)
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะเปลี่ยนเป็นการผูกขาดโดยเอกชนหรือไม่?การแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะเปลี่ยนเป็นการผูกขาดโดยเอกชนหรือไม่? ต้องมีการแยกหน้าที่ออกจากกันชัดเจน -การกำหนดนโยบาย โดยกระทรวงเจ้าสังกัด -การกำกับดูแล โดยองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการกำกับ นโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) -การประกอบการ โดยรัฐวิสาหกิจ (หมายเหตุ ดูเอกสารเพิ่มเติม/ข้อมูล/ข่าว/บทความที่ -http://web.nkc.kku.ac.th/manit/document/962241_206.htm)
กฎระเบียบรัฐที่เข้มงวดขึ้นกฎระเบียบรัฐที่เข้มงวดขึ้น การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย การจำกัดขอบเขตการเคลื่อนไหวของทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ผลกระทบจากการแปรรูป การเพิ่มขึ้นของเจ้าของกิจการต่างประเทศ การรวมตัวของภาคอุตสาหกรรมที่ดีขึ้น ผลกำไรระดับสูง การจ้างงานลดลงข้อจำกัดทางการเงิน การเพิ่มจำนวนกิจการที่เป็นทั้งของรัฐบาลและเอกชน การดำเนินการ ผลกระทบจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ