250 likes | 334 Views
“ การกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้และการจัดทำรายละเอียดของรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ” ความสำคัญและเหตุผลที่ต้องดำเนินการ. ประสาทพร สมิตะมาน. ประเด็นท้าทายทางการศึกษา การประกันคุณภาพ. ความคาดหวังของสังคมต่อสถาบันอุดมศึกษา/บัณฑิต. ความร่วมมือกับต่างประเทศ. ความเจริญทางเทคโนโลยี.
E N D
“การกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้และการจัดทำรายละเอียดของรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป”“การกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้และการจัดทำรายละเอียดของรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป” ความสำคัญและเหตุผลที่ต้องดำเนินการ ประสาทพร สมิตะมาน
ประเด็นท้าทายทางการศึกษา การประกันคุณภาพ ความคาดหวังของสังคมต่อสถาบันอุดมศึกษา/บัณฑิต ความร่วมมือกับต่างประเทศ ความเจริญทางเทคโนโลยี สถาบันการศึกษา การขยายตัวและความหลากหลายของสถาบันอุดมศึกษา การแข่งขันของสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ การเคลื่อนย้ายและความต้องการของนักศึกษา การเทียบมาตรฐานคุณวุฒิและการเทียบโอนผลการเรียน
การตอบสนองต่อระบบมาตรฐานคุณวุฒิในต่างประเทศการตอบสนองต่อระบบมาตรฐานคุณวุฒิในต่างประเทศ กรอบมาตรฐานของประเทศในทวีปยุโรป • Bologna process • European Qualifications Framework (EQF) • National Qualifications Framework (NQF) ประเทศออสเตรเลีย Australian Quality Framework (AQF) ประเทศอื่นๆเช่น อัฟริกาใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง นิวซีแลนด์ ฟิจิ ประเทศไทย เป็นต้น
Status of NQFs in the Asia-Pacific Region Source : DEEWR. (March,2008) p.16
แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของประเทศไทยแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของประเทศไทย • การกำหนดลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษา โดยคำนึงถึง - พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 - ปรัชญาการศึกษา – มิติความดี + ความงาม + ความจริง - ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ความต้องการของนักศึกษา - การเปลี่ยนแปลงของสังคม – สังคมไทย สังคมโลก • การกำหนดระดับความรู้ ความสามารถ และทักษะ • การกำหนดวิธีการผลิตบัณฑิต และวิธีการประเมินคุณสมบัติ
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(Thai Qualifications Framework for Higher Education ; TQF : HEd) หมายถึง กรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิ การแบ่งสายวิชา ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ การเปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้
หลักการสำคัญของ TQF 1. ใช้เป็นเครื่องมือในการนำแนวนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การจัดการศึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม 2. มุ่งเน้นที่ Learning Outcomes ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเชิงคุณภาพเพื่อ ประกันคุณภาพบัณฑิต 3. มุ่งประมวลกฎเกณฑ์และประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรและ การจัดการเรียนการสอนเข้าไว้ด้วยกันและเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องเดียวกัน 4. เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและ ความมั่นใจในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง/มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคมและสถาบันอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่คาดว่าจะพึงมี
หลักการสำคัญของ TQF (ต่อ) 5. มุ่งให้คุณวุฒิหรือปริญญาของสถาบันใดๆของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงกันได้กับสถาบันอุดมศึกษาที่ดีทั้งใน และต่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัด หลักสูตรตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย โดยมั่นใจถึงคุณภาพของบัณฑิตซึ่งจะมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่มุ่งหวัง สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจ เป็นที่พึงพอใจของนายจ้าง 6. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ TQF 1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมคุณภาพในการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา และเป็นการประกันคุณภาพขั้นต่ำของบัณฑิตในแต่ละสาขา/สาขาวิชาของคุณวุฒิในระดับต่างๆ 2. เพื่อให้แต่ละสาขา/สาขาวิชามีการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตกันเองโดยบัณฑิตในสาขา/สาขาวิชาเดียวกันของแต่ละสถาบันฯมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิระดับการศึกษาของสาขา/สาขาวิชานั้นๆ 3. เพื่อนำไปสู่การลดขั้นตอน/ระเบียบ (deregulations)ในการดำเนินการให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเข้มแข็งและความพร้อมในการจัดการศึกษา
การจัดทำรายละเอียดของรายวิชาการจัดทำรายละเอียดของรายวิชา (มคอ. ๓)
รายละเอียดรายวิชา เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นแนวทางการบริหารจัดการรายวิชาเพื่อให้สอดคล้องกับรายละเอียดของหลักสูตร ประกอบด้วย ๗ องค์ประกอบ ๑. ข้อมูลทั่วไป ๒. จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของวิชา ๓. ลักษณะการดำเนินการ ๔. การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ๕. แผนการสอน และ การประเมินผลรายวิชา ๖. ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน ๗. การประเมินและการปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
การจัดทำเอกสารควรที่จะต้องคำนึงถึงการจัดทำเอกสารควรที่จะต้องคำนึงถึง • หลักสูตร • คำอธิบายรายวิชา (course description) • รายงานผลการดำเนินการรายวิชา (course report) มคอ. ๕ • ข้อสำคัญ “ข้อคิดเห็นจากกลุ่มผู้สอน และความเห็นของสาขาวิชา” “ข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการ หรือ ผู้ใช้บัณฑิต” • “ข้อคิดเห็นจากบัณฑิต” • “ข้อคิดเห็นจากนักศึกษาปัจจุบันที่ผ่านการเรียนวิชานั้น ๆ แล้ว” • หลักใหญ่คือ “การพัฒนารายวิชาให้เหมาะสมกับคุณวุฒิที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รู้ และนำไปปฏิบัติได้ เป็นที่ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต”
๑.๕ ระดับการศึกษา/ปีการศึกษาที่เปิดสอนรายวิชานี้ ปริญญาตรี /ปีที่ ๔ ภาคการศึกษาที่ ๑ ๑.๖ วิชาบังคับก่อนสำหรับรายวิชานี้(ถ้ามี) ไม่มี ๑.๗ วิชาที่ต้องเรียนร่วมกับรายวิชานี้(ถ้ามี) ไม่มี ๑.๘ สถานที่เรียนถ้าไม่เปิดสอนในที่ตั้งหลักของสถาบัน - ๑.๙ วันที่จัดทำข้อกำหนดจำเพาะของรายวิชา หรือวันที่ทบทวนล่าสุด ๑๕ตุลาคม ๒๕๕๑
จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ (ต้องนำข้อมูลเดิมมาเปรียบเทียบ และชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากเดิม)
การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาการพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา หัวข้อนนี้จะต่างไปจากการจัดทำรายละเอียดรายวิชาที่เคยทำมาก่อน เนื่องจากต้องระบุถึงทักษะที่ต้องการพัฒนา วิธีการสอน วิธีการใช้เพื่อการประเมินผลการเรียนรู้ตามทักษะทั้ง ๕ ด้าน ๑. คุณธรรม จริยธรรม ๒. ความรู้ ๓. ทักษะทางปัญญา ๔. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ๕. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ
แผนการสอนและการประเมินผลแผนการสอนและการประเมินผล แผนการสอน ให้ระบุหัวข้อที่สอน ซึ่งต้องพิจารณาลำดับของหัวข้อให้เหมาะกับการพัฒนาการเรียนรู้และให้เสริมความเข้าใจของผู้เรียน จำนวนชั่วโมงการสอน วิธีการสอน กิจกรรมประกอบ สื่อที่ใช้ ให้ชัดเจน แผนการประเมินผลการเรียนรู้ ให้ระบุวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในแต่ละทักษะ ช่วงเวลาที่จะประเมิน และสัดส่วนของการประเมิน
ทรัพยากรประกอบการเรียนและการประเมินผลทรัพยากรประกอบการเรียนและการประเมินผล ระบุ ตำราและเอกสารหลัก เอกสารและข้อมูลสำคัญ (หนังสือ วารสาร สื่อชนิดต่าง ๆ กฎหมาย ระเบียบ ฯ ทีผู้เรียนต้องศึกษาเพิ่มเติม เอกสารข้อมูลแนะนำ เป็นเอกสารอ่านประกอบเพื่อเสริมทักษะต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสาร รายงาน สื่อ ฯ รวมทั้งแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ
การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชาการประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา การประเมินโดยนักศึกษา : วิธีการในการประเมิน กลยุทธ์การประเมินการสอน ให้ระบุทุกวิธีที่ใช้ : การสอบ การสังเกต การนำเสนองาน ฯ ซึ่งจะเป็นการประเมินร่วมกันหลายฝ่าย ผู้สอน ผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ
การปรับปรุงการสอน ให้ระบุวิธีการในการปรับปรุง กลไกในการปรับปรุง มีการวิจัยในชั้นเรียน การประชุมหารือเพื่อการปรับปรุง การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน พิจารณาจากข้อสอบ รายงาน ความเห็นจากบุคคลอื่น ฯ การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงรายวิชา ระบุวิธีการนำข้อมูลจากการประเมิน การทวนสอบมาใช้เพื่อการปรับปรุงรายวิชา