1 / 29

การพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ ( Bio-Fuel)

การพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ ( Bio-Fuel). การพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวมวล ( Bio-Fuel). นโยบายรัฐบาล - ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 - รัฐบาลประกาศนโยบายการพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ

audrey-noel
Download Presentation

การพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ ( Bio-Fuel)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio-Fuel)

  2. การพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวมวล (Bio-Fuel) นโยบายรัฐบาล - ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 - รัฐบาลประกาศนโยบายการพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ - มติคณะรัฐมนตรี 17 พฤษภาคม 2548 เรื่องยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศ ให้มีการใช้เชื้อเพลิงอื่นแทนน้ำมัน ประกอบด้วย: - CNG/NGV - แก๊สโซฮอล์ - ไบโอดีเซล

  3. การพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวมวล (Bio-Fuel) (ต่อ) มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ วันที่ 7 เมษายน 2548 - จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ (กชช.) - ขอบเขตหน้าที่ - เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาการส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ ของประเทศ - กำกับดูแลด้านเชื้อเพลิงชีวภาพให้บรรลุผลตามเป้าหมายและ เกิดผลในทางปฏิบัติ

  4. องค์ประกอบ กชช. - รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เป็นประธานกรรมการ (ปัจจุบันย้ายเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นรองประธานกรรมการ - อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน เป็นฝ่ายเลขานุการ - ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ - มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการรวมทั้งสิ้น 24 คน

  5. การกำกับดูแล - มอบหมายให้ กชช. เป็นผู้กำกับดูแลการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ เชื้อเพลิงชีวภาพ ประกอบด้วย - แก๊สโซฮอล์ - ไบโอดีเซล - ให้ยกเลิกคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ และถ่ายโอนภารกิจ ทั้งหมดที่ได้ดำเนินในช่วงปี 2543-2548 ให้กับ กชช. ดำเนินการต่อ

  6. แก๊สโซฮอล์(Gasohol)

  7. การพัฒนาและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ แก๊สโซฮอล์ (Gasohol): น้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอล หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ในอัตราส่วน น้ำมันเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน การผลิตเอทานอล: เกิดจากการแปรรูปพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น มันสำปะหลัง อ้อย และกากน้ำตาล เป็นต้น ให้เป็นแอลกอฮอล์ จากนั้นนำไปกลั่นให้เป็น แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5%

  8. มติคณะรัฐมนตรี (19 เมษายน 2548) - ยกเลิกจำหน่ายน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ในวันที่ 1 มกราคม 2550 - กำหนดเป้าหมายการใช้แก๊สโซฮอล์แทนน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ร้อยละ 50 หรือ 4 ล้านลิตร/วัน ในสิ้นปี 2548 - เร่งขยายสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายแก๊สโซฮอล์ ทั่วประเทศให้ได้ 4,000 แห่ง ในสิ้นปี 2548

  9. การจัดหาเอทานอล - ปัจจุบันมีโรงงานเอทานอลได้รับใบอนุญาตแล้ว จำนวน 24 แห่ง กำลังการผลิตรวม 4.26 ล้านลิตร/วัน - โรงงานเอทานอล5 แห่ง ดำเนินการผลิตแล้ว กำลังการผลิตรวม ประมาณ 0.525 ล้านลิตร/วัน - ปริมาณการผลิตรวม เพียงพอกับเป้าหมายการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ ปริมาณ 4 ล้านลิตร/วัน ในสิ้นปี 2548

  10. โรงงานเอทานอลที่เปิดดำเนินการแล้วโรงงานเอทานอลที่เปิดดำเนินการแล้ว โรงงานที่ตั้งวัตถุดิบกำลังผลิตผลิตจริง (ลิตร/วัน) (ลิตร/วัน) 1.พรวิไล อยุธยา กากน้ำตาล 25,000 25,000 2.ไทยแอลกอฮอล์ นครปฐม กากน้ำตาล 200,000 200,000 3.ไทยอะโกร สุพรรณบุรี กากน้ำตาล 150,000 130,000 4.ไทยง้วน ขอนแก่น มันสำปะหลัง 130,000 70,000 5.ขอนแก่นแอกอฮอล์ ขอนแก่น อ้อย/มัน 100,000 100,000 รวม 775,000525,000 หมายเหตุ ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2549

  11. ปริมาณการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์(2544-2548)ปริมาณการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์(2544-2548) เดือน/ปี ปริมาณจำหน่าย (ล้านลิตร) แก๊สโซฮอล์เฉลี่ย/วันเป้าหมาย/วัน 2544 1.6 0.004 - 2545 0.5 0.001 - 2546 2.6 0.007 - 2547 59.6 0.163 - 2548 674.9 1.85 4 2549 419.7 3.50 4 แหล่งข้อมูล: กรมธุรกิจพลังงาน ณ เดือนมิถุนายน 2549

  12. ปริมาณการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์(ม.ค.- เม.ย. 2549) เดือน/ปีปริมาณจำหน่าย (ล้านลิตร) แก๊สโซฮอล์ เฉลี่ย/วันเป้าหมาย/วัน 2549 419.7 3.50 4 ม.ค. 104.7 3.38 4 ก.พ. 95.9 3.43 4 มี.ค. 109.8 3.54 4 เม.ย. 109.3 3.64 4

  13. การจัดจำหน่าย - ปัจจุบันมีผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ จำนวน 9 ราย ประกอบด้วย บริษัท ปตท. บางจาก เชลล์ คาลเท็กซ์ เอสโซ่ เจ็ท ทีพีไอ ปิโตรนาส และ สยามสหบริการ - จำนวนสถานีบริการน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เดือนเมษายน 2549 - ทั่วประเทศ 3,138 จำนวน - กรุงเทพ 660 จำนวน - ต่างจังหวัด 2,478 จำนวน - บางจาก เพิ่มการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ตั้งแต่ต้นปี 2548 โดยเริ่มจำหน่ายในเขตกรุงเทพก่อน

  14. มาตรการส่งเสริม - เร่งขยายจำนวนสถานีบริการน้ำมันจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ จำนวน 4,000 แห่ง ในปี 2548 - เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ - เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลรถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ - รถยนต์เบนซินระบบเชื้อเพลิงแบบหัวฉีด (Direct Injection) ที่ผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 1995) เป็นต้นมาสามารถใช้ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ - แต่สำหรับรถยนต์เบนซินระบบเชื้อเพลิงแบบ (Carburetor) ยังไม่แนะนำ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชิ้นยางเครื่องยนต์ คือ ชิ้นยางบวม อายุการใช้งานสั้นลง

  15. มาตรการส่งเสริม(ต่อ) - ให้รถยนต์เครื่องยนต์เบนซินของราชการและรัฐวิสาหกิจในจังหวัดที่มี น้ำมันแก๊สโซฮอล์จำหน่าย ต้องใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ - กำหนดราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ต่ำกว่าราคาขายปลีกน้ำมัน เบนซินออกเทน 95 จำนวน 1.50 บาท/ลิตร ตั้งแต่ วันที่ 25 มิถุนายน 2548

  16. มาตรการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเอทานอลมาตรการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเอทานอล - ให้ ปตท.นำเข้าเอทานอลชั่วคราวในช่วงครึ่งปีหลัง 2548 - ห้ามการส่งออกกากน้ำตาล - เร่งจัดหาเอทานอลในประเทศให้เพียงพอ - ให้โรงงานเอทานอลที่ได้รับอนุญาต 24 แห่ง จากกรรมการ เอทานอลแห่งชาติ เร่งดำเนินการก่อสร้างโรงงาน หากไม่มี การดำเนินการหลัง เดือนกรกฎาคม 2549 จะตัดสิทธิ

  17. ไบโอดีเซล(Bio-diesel)

  18. การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล ไบโอดีเซล (Bio-diesel): - น้ำมันที่ผลิตได้จากการนำน้ำมันพืชชนิดต่างๆหรือน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร แล้วมาแปรสภาพโดยผ่านขบวนการเคมี (Transesterification) - เติมแอลกอฮอล์ เช่น เอทานอล หรือ เมทานอล และตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ ภายใต้สภาวะที่มีอุณหภูมิสูง เพื่อเปลี่ยนโครงสร้าง น้ำมันจาก Triglycerides เป็น Oganic Acid Esters ได้เป็นน้ำมันชนิดใหม่ ในรูปของเมทิลเอสเตอร์หรือเอทิลเอสเตอร์ ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องยนต์ได้

  19. มติคณะรัฐมนตรี 17 พฤษภาคม 2548(ต่อ) 1. กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไอดีเซล ด้วยเป้าหมาย การใช้ไบโอดีเซลแทนน้ำมันดีเซล ร้อยละ 10 ในปี 2555 หรือ ประมาณ 8 ล้านลิตร/วัน 2. กำหนดแผนปฏิบัติและส่งเสริมไบโอดีเซล ดังนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - กำหนดพื้นที่ปลูกปาล์มให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน - ให้ภาคใต้และภาคตะวันออกเป็นฐานการปลูกปาล์ม - พัฒนาและทำโครงการนำร่องในภาคอีสานและภาคเหนือ - จัดหาเมล็ดพันธ์ ส่งเสริมการปลูกปาล์ม และศึกษาผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกร - ประสานและจัดทำความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อปลูก ปาล์มในลักษณะ Contact Farming ด้วย

  20. มติคณะรัฐมนตรี 17 พฤษภาคม 2548 (ต่อ) กระทรวงการคลัง - พิจารณาจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) เพื่อส่งเสริมการปลูก ปาล์ม พืชน้ำมัน และการผลิตไบโอดีเซล - ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อแก่ SPV เพื่อดำเนินธุรกิจปาล์มน้ำมัน โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน กระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรม - รับผิดชอบการผลิตและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลให้สอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ - กำหนดนโยบายการก่อสร้างโรงงานไบโอดีเซลให้สอดคล้องกับ การกำหนดพื้นที่เพาะปลูกปาล์ม ที่ตั้งคลังน้ำมัน เพื่อป้องกัน ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับน้ำมันใช้ประกอบอาหาร และลดต้นทุน ค่าขนส่งในการผสมไบโอดีเซล

  21. มติคณะรัฐมนตรี 17 พฤษภาคม 2548 (ต่อ) กระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรม - ควรมีมาตรการภาษี เพื่อให้ราคาขายปลีกไบโอดีเซลแตกต่าง จากราคาน้ำมันดีเซลในช่วงแรก - ระยะแรกควรผสมไบโอดีเซลในอัตราส่วน 5%และจำหน่าย ในบางพื้นที่ เช่น ภาคใต้ และกรุงเทพฯ 3. กำหนดผสมไบโอดีเซลในอัตราส่วนร้อยละ 10 เพื่อจำหน่ายทั่วประเทศ ในปี 2555 4. กำหนดในหลักการงบประมาณแผ่นดิน วงเงิน 1,300 ล้านบาท เพื่อเป็น ค่าใช้จ่าย ดังนี้ - เงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมการปลูก 800 ล้านบาท - ค่าใช้จ่ายในการวิจัยพัฒนาและบริหารจัดการ 500 ล้านบาท

  22. แผนปฏิบัติการไบโอดีเซลแผนปฏิบัติการไบโอดีเซล มติคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ (กชช.) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2548 ได้กำหนดแผน ดังนี้ ปี 2548-2549 พัฒนาการใช้ไบโอดีเซลในระดับชุมชน เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่น ปี 2550-2554 ส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล สัดส่วน 5%เชิงพาณิชย์ โดยเริ่มจากพื้นที่ในภาคใต้และกรุงเทพ ปี 2555 เป็นต้นไป ส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล สัดส่วน 10%ทั่วประเทศ

  23. การเตรียมความพร้อมการพัฒนาและส่งเสริมไบโอดีเซลการเตรียมความพร้อมการพัฒนาและส่งเสริมไบโอดีเซล กระทรวงพลังงาน: 1. จัดทำโครงการสาธิตและทดลองผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว ขนาด 2,000 ลิตร/วัน นำไปผสมกับน้ำมันดีเซลในสัดส่วน 5%จำหน่าย เป็นน้ำมันไบโอดีเซลผ่าน ปตท. และบางจาก โดยกำหนดราคาจำหน่าย ต่ำกว่าน้ำมันดีเซล ประมาณ 0.75 บาท/ลิตร รายละเอียด ดังนี้ จังหวัดเชียงใหม่ - ที่ตั้งโครงการณ อาคารวิจัยพัฒนาและสาธิตไบโอดีเซล สำนักงาน พัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พื้นที่ 10 อ. สันทราย จ. เชียงใหม่ - ทดลองจำหน่ายให้กับรถเทศบาลและรถรับจ้างสาธารณะ

  24. การเตรียมความพร้อมการพัฒนาและส่งเสริมไบโอดีเซล (ต่อ) กรุงเทพ - ที่ตั้งโครงการณ ศูนย์วิจัยเชื้อเพลิงธรรมชาติ สำนักงานพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เขตรังสิต เพื่อสาธิตในชุมชนขนาดเล็ก - จัดทำระบบการผลิตไบโอดีเซลชุมชนขนาด 200 ลิตร/วัน ในพื้นที่ อ. ทุ่งส่ง จ. นครศรีธรรมราช 2. ว่าจ้างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คัดเลือกและทดสอบพันธ์สบู่ดำในภาคเหนือ เพื่อให้ได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 500 กิโลกรัม/ไร่/ปี 3. ขอความร่วมมือจากประเทศอังกฤษ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการส่งเสริม การปลูกและพันธ์สบู่ดำที่ได้รับการพัฒนาในประเทศอินเดียจนมีผลผลิต สูงถึง 1,000-1,300 กิโลกรัม/ไร่/ปี

  25. การเตรียมความพร้อมการพัฒนาและส่งเสริมไบโอดีเซล (ต่อ) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: จัดทำแผนการจัดหาวัตถุดิบ เพื่อผลิตไบโอดีเซล โดยวางแผนการปลูก ปาล์ม 5 ล้านไร่ ในช่วงปี 2548 ดังนี้ - กำหนดพื้นที่ปลูก 4 ล้านไร่ ในประเทศ ทดแทนพื้นที่การเกษตร ที่ให้ผลผลิตต่ำ - สำหรับพื้นที่ 1 ล้านไร่ กำหนดอยู่ในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน

  26. รูปแบบการผลิตไบโอดีเซลรูปแบบการผลิตไบโอดีเซล 1. กำหนดแนวทางการผลิตไบโอดีเซล ออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.1 การผลิตเพื่อใช้ในชุมชน วัตถุดิบ คือ น้ำมันพืชใช้แล้ว 1.2 การผลิตเชิงพาณิชย์ วัตถุดิบ คือ ผลปาล์มดิบ 2. กำหนดรูปแบบโรงงานผลิตไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ 3 รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบที่ 1 ต่อยอดจากโรงหีบน้ำมันปาล์มและปรับปรุงโรงไฟฟ้าเดิม ลงทุนเฉพาะโรงงานผลิตไบโอดีเซล 100,000 ลิตร/วัน รูปแบบที่ 2 ลงทุนเฉพาะโรงงานผลิตไบโอดีเซล 100,000 ลิตร/วัน โดยจัดซื้อวัตถุดิบจากตลาด รูปแบบที่ 3 ลงทุนทั้งระบบ

  27. ตลาดไบโอดีเซล กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้ออกประกาศคุณภาพน้ำมันไบโอดีเซล มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2548 เพื่อรองรับการจำหน่ายไบโอดีเซล เชิงพาณิชย์ มีผู้สนใจลงทุนตั้งโรงงานผลิตไบโอดีเซล จำนวน 3 ราย คือ - ชุมชนสหกรณ์ชาวสวนปาล์ม อ. อ่าวลึก จ. กระบี่ - บริษัทชุมพรน้ำมันปาล์ม - บริษัทซีพี คาดว่าชุมชนสหกรณ์ชาวสวนปาล์ม น่าจะสามารถดำเนินการได้ก่อน เนื่องจาก มีพื้นที่ปลูกปาล์ม และโรงงานหีบน้ำมันปาล์ม จำหน่ายน้ำมันปาล์มอยู่แล้ว

  28. การกำกับดูแลเพิ่มเติมการกำกับดูแลเพิ่มเติม มติ กชช. วันที่ 13 พฤษภาคม 2548 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 ชุด เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน กชช. ดังนี้ 1. คณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล - มีรองปลัดกระทรวงพลังงาน (นายพรชัย รุจิประภา) เป็นประธาน และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ - ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะนโยบายและแผนการ พัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล รวมทั้ง มาตรการด้าน การผลิต และราคาซื้อขาย

  29. การกำกับดูแลเพิ่มเติม (ต่อ) 2. คณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมการใช้เอทานอล - มี ศ.ดร.เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเซษฐ์ เป็นประธาน และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ - ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะนโยบายและแผนการ พัฒนาและส่งเสริมการใช้เอทานอล รวมทั้ง มาตรการด้าน การผลิต และราคาซื้อขาย

More Related