830 likes | 2.42k Views
บทที่ 2 . พันธะแรกแห่ง ชีวิต และ พัฒนาการทางจริยธรรม. ความหมายของพันธะแรกแห่งชีวิต. องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ( UNESCO) ได้กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของมนุษย์ เอาไว้ 4 ประการ 1.Learn to know 2.Learn to do 3.Learn to with the others 4.Learn to be.
E N D
บทที่ 2 พันธะแรกแห่งชีวิต และพัฒนาการทางจริยธรรม
ความหมายของพันธะแรกแห่งชีวิตความหมายของพันธะแรกแห่งชีวิต • องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของมนุษย์ เอาไว้ 4 ประการ 1.Learn to know 2.Learn to do 3.Learn to with the others 4.Learn to be • จะเห็นได้ว่า การเรียนรู้ข้างต้น เป็นเป้าหมายที่เชื่อมโยงการพัฒนาลักษณะนิสัยทางจริยธรรม ในการอยู่ร่วมกับคนอื่น และพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
พันธะแรก = การที่บุคคลมีจริยธรรม • มนุษย์มีพันธะหลักๆ 2 อย่าง คือ • พันธะในการพัฒนาตนเองให้เป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคม • พันธะในการพัฒนาตนเองให้เข้าถึงสัจธรรมสูงสุดหรือความจริง ความดี ความงาม เพื่อความมีอิสรภาพ ความรัก และความสุขที่แท้จริง • พันธะแรกแห่งชีวิต คือการพัฒนาตนเองให้เป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคม....การที่บุคคลมีจริยธรรมในการดำเนินชีวิตในสังคม
ความหมายของจริยธรรม • จริยธรรม ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Ethic” • จริยธรรม เป็นคำสมาส มาจากคำว่า “จริยะ” หรือ “จริยา” กับคำว่า “ธรรม” คำว่า “จริยะ” หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า “ธรรม” มีความหมายหลายอย่าง เช่น คุณความดี หลักคำสอนของศาสนา หลักปฏิบัติ • เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น “จริยธรรม” จึงได้ความหมายตามตัวอักษรว่า “หลักแห่งความประพฤติ” หรือ “แนวทางการประพฤติ”
จริยธรรม จึงเป็นพันธะหรือหน้าที่ของบุคคล อันเป็นสิ่งที่สังคมประสงค์และปลูกฝังให้คนในสังคมประพฤติ จึงเป็นหลักหรือแนวทางการปฏิบัติ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคม โดยมุ่งหวังให้สังคมสงบสุข • จริยธรรมในสังคมไทย จะเกี่ยวโดยตรงกับหลักธรรมของพุทธศาสนา เพราะ........................................................................................................................................................................................................
ความสำคัญของจริยธรรม • สังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยเป็นสังคมที่เคยพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน กลายเป็นสังคมที่ต่างคนต่างอยู่ แข่งขัน • ปัญหาสังคมมากมาย • สังคมจะสงบสุขได้ก็เมื่อประชากรที่อยู่ในสังคมนั้นมีจริยธรรม
พัฒนาการทางจริยธรรม ผู้สร้างทฤษฎีการวัดพัฒนาการทางจริยธรรม สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง • ใช้วิธีการวัดความรู้เกี่ยวกับความดีความชั่ว ความเชื่อและทัศนคติทางจริยธรรม โดยใช้กระดาษ ดินสอ • วิธีการในยุคนี้ ขาดทฤษฎีและแนวความคิดที่ชัดเจนในการกำหนดเนื้อหาของแบบวัดต่างๆ ใช้แยกเด็กปกติออกจากเด็กที่มีแนวโน้มที่จะประกอบอาชญากรรม
กลุ่มที่สอง • เริ่มมีหลักและทฤษฎีประกอบการวัดจริยธรรมมากขึ้น โดยเน้นที่พัฒนาการทางการคิดและการตัดสินทางจริยธรรม • ศึกษาบุคลิกภาพต่างๆที่มีหลักมาจากทฤษฎีจิตวิเคราะห์และทฤษฎีพฤติกรรมนิยม วิธีการวัดเพื่อตรวจสอบการควบคุมตนเอง
กลุ่มที่สาม • ใช้วิธีการวัดแบบสะท้อนภาพ เป็นการวัดเนื้อหาทางจริยธรรมที่มีต่อการทำงานของบุคคล โดยใช้ภาพกระตุ้นให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็น
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม แนวคิดของเพียเจย์ แนวคิดของโคลเบิร์ก
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวคิดของเพียเจย์ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวคิดของเพียเจย์ • เพียเจย์เป็นนักจิตวิทยา ชาวสวิส เป็นผู้ริเริ่มทางความคิดว่า พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์นั้นย่อมขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคล
เพียเจย์ได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมเป็น 3 ระยะคือเพียเจย์ได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมเป็น 3 ระยะคือ • ขั้นก่อนจริยธรรม เป็นระยะแรกเริ่มตั้งแต่เกิดถึงสองขวบ • ขั้นยึดคำสั่งเป็นใหญ่ เป็นระยะที่สองระดับอายุตั้งแต่ 2-8 ปี • ขั้นยึดหลักแห่งตน เป็นระยะที่สาม ระดับอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป
ขั้นก่อนจริยธรรม • ระยะแรกเริ่มตั้งแต่เกิดถึงสองขวบ • จริยธรรมเกิดจากผู้ใหญ่เป็นผู้สนองความต้องการของเด็ก เด็กไม่สามารถรับรู้ต่อสภาพแวดล้อมอย่างสมบูรณ์
ขั้นยึดคำสั่งเป็นใหญ่ขั้นยึดคำสั่งเป็นใหญ่ • ระยะที่สองระดับอายุตั้งแต่ 2-8 ปี • เด็กเริ่มมีการรับรู้ต่อสภาพแวดล้อมอย่างละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น เด็กต้องการกระทำหรืองดการกระทำตามที่พ่อแม่หรือผู้ใหญ่กำหนด ทั้งนี้เพราะเด็กต้องการความรัก ความเอาใจใส่ คำชมเชย การยอมรับจากผู้ใหญ่ จึงต้องกระทำตามคำสั่ง
ขั้นยึดหลักแห่งตน • ระยะที่สาม ระดับอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป • ระดับนี้เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญาสูงรู้อะไรถูกอะไรควรไม่ควร จากความสามารถของตนเอง และจากการได้ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับเพื่อน ๆ ทำให้เด็กยอมรับกฎเกณฑ์สากล สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่พัฒนาการทางจริยธรรมเป็นของตนเอง
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวคิดของโคลเบิร์กทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวคิดของโคลเบิร์ก • โคลเบิร์ก เกิดเมื่อปี 1927 เติบโตที่บรูกวิวล์ ในนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา • โคลเบิร์ก ศึกษาพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์โดยยึดฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของจอง เพียเจย์ (Jean Piaget)
โคลเบิร์กเน้นพัฒนาการทางจริยธรรม ที่เกิดจากระบวนการคิดโดยให้เหตุผลในการกระทำ ซึ่ง • โคลเบอร์ก ศึกษาตามแนวทฤษฎีของเพเจย์แล้วพบว่า พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ส่วนมากไม่ได้บรรลุถึงขั้นสูงสุดเมื่ออายุ 10 ปี แต่จะมีพัฒนาการอีกหลายขั้นตอนจากอายุ 1 ปี ถึง 25 ปี • โคลเบอร์กเชื่อว่าการบรรลุนิติภาวะเชิงจริยธรรมของบุคคลนั้นจะแสดงออกทางการใช้เหตุผลทางจริยธรรมซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับ กฎเกณฑ์ของสังคมใดสังคมหนึ่ง เป็นเหตุผลที่ลึกซึ้งบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นสากลกว้างขวางมีหลักการไม่ขัดแย้งไม่เข้าข้างตนเองและเป็นอุดมคติ
วิธีการศึกษาของโคลเบอร์ก คือ การใช้เรื่องราวที่มีเป็นปัญหาทางจริยธรรม(moral dilemmas) เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันที่ตัดสินใจยาก จำนวน 10 เรื่อง คำถามจะเป็นคำถามปลายเปิดให้เด็กตอบคำถามและให้เหตุผล • โคลเบิร์กไม่ได้สนใจว่ากลุ่มตัวอย่างจะตอบ ว่าควรทำ หรือไม่ควรทำ แต่เหตุผลจากคำตอบเป็นสิ่งที่โคลเบิร์กสนใจ
โคลเบิร์กใช้เวลาในการศึกษาและวิจัยเป็นเวลา 12 ปี และพบว่า พัฒนาการทางจริยธรรมขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของมนุษย์ ซึ่งผูกพันกับอายุ โดยแบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออก3 ระดับ (Levels) แต่ละระดับมีแบ่งการให้เหตุผลทางจริยธรรมออกเป็น 2 ขั้น (Stages) • การพัฒนาจะก้าวขึ้นไปทีละ 1 ขั้น จากขั้นต่ำไปขั้นสูง ไม่มีการข้ามขึ้นหรือย้อนกลับ โดยการขึ้นไปทีละขั้น บุคคลเกิดการพัฒนาจริยธรรมให้สูงขึ้นไปอีก 1 ขั้น จะต้องให้เด็กมีการอภิปรายร่วมกัน ทำให้ได้รับฟังความคิดเห็นของบุคคลที่มีระดับพัฒนาการทางจริยธรรมที่สูงกว่าตนเอง อย่างน้อย 1 ขั้น
พัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวคิดของโคลเบิร์กพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวคิดของโคลเบิร์ก
ระดับที่ 1 ระดับก่อนมีจริยธรรมหรือระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม พบในเด็ก 2-12 ปี • ขั้นที่ 1 การถูกลงโทษและการเชื่อฟัง เด็กจะยอมทำตามคำสั่งผู้มีอำนาจเหนือตนโดยไม่มีเงื่อนไขเพื่อไม่ให้ตนถูกลงโทษ ทำ“ผิด” ถูกลงโทษจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งนั้นอีก ทำ “ถูก” ได้รับรางวัลหรือคำชมจะทำซ้ำอีกเพื่อหวังรางวัล • ขั้นที่ 2 ความพอใจและการแลกเปลี่ยน “ถ้าเธอทำให้ฉันฉันจะให้.......”
ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม พบในวัยรุ่นอายุ 12 -20 ปี • ขั้นที่ 3 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม พฤติกรรมที่จะทำให้ผู้อื่นชอบและยอมรับจึงใช้หลักทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบใช้เหตุผลเลือกทำในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะครอบครัวและกลุ่มเพื่อน เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับ ไม่เป็นตัวของตัวเอง • ขั้นที่ 4 การทำตามกฎระเบียบของสังคม บุคคลเรียนรู้การเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมปฏิบัติตามหน้าที่ของสังคมเพื่อดำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ในสังคม
ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณ หรือระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคมพบในบุคคลมีอายุ 20 ปี ขึ้นไป • ขั้นที่ 5 สัญญาสังคม บุคคลมีเหตุผลในการเลือกกระทำที่ถูกต้องตามค่านิยมของตนและมาตรฐานของสังคมพฤติกรรมที่ถูกต้องจะต้องเป็นไปตามค่านิยมส่วนตัวผสมผสานกับมาตรฐานจากสังคมที่ให้มีการแก้ไขได้โดยคำนึงถึงประโยชน์และสถานการณ์แวดล้อมในขณะนั้น • ขั้นที่ 6 หลักการจริยธรรมของสากล เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรมเพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชนและเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคนเป็นขั้นสูงสุดพบในวัยผู้ใหญ่ที่มีความเจริญทางสติปัญญา
ความรู้เพิ่มเติม ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรม จริยศาสตร์ และปรัชญา • จริยศาสตร์เป็นศึกษาเรื่องที่ว่าอะไรถูกอะไรผิดอะไรควรอะไรไม่ควรอะไรดีอะไรชั่ว • จริยศาสตร์ จึงทำให้เกิดหลัก หรือแนวในการประพฤติปฏิบัติ ก็คือ จริยธรรม • จริยศาสตร์เป็นสาขาย่อยหนึ่งของปรัชญา
ปรัชญา ในภาษาไทยเป็นคำที่พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ทรงบัญญัติขึ้นใช้แทนคำว่า Philosophy ในภาษาอังกฤษ • ปรัชญาหมายถึงความรู้อันประเสริฐ เป็นความรอบรู้ รู้กว้างขวาง • อยากรู้หรือไม่ว่า จริยศาสตร์ จึงเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา
คุณวิทยา (Axiology) • แบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท คือ • จริยศาสตร์ ได้แก่คุณค่าแห่งความประพฤติ หลักแห่งความดี ความถูกต้อง เป็นคุณค่าแห่งจริยธรรม เป็นคุณค่าภายใน • สุนทรียศาสตร์ ได้แก่คุณค่าความงามทางศิลปะ ซึ่งสัมพันธ์กับ
การศึกษาจริยศาสตร์มีประโยชน์มากมาย สรุปได้ดังนี้ • ทำให้รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่วอะไรถูกอะไรผิดสามารถเลือกปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร • ทำให้รู้ทางดำเนินชีวิตทั้งในส่วนตัวและสังคม • ทำให้เข้าใจกฏความจริงของชีวิตเป็นสิ่งที่ชีวิตต้องการทำให้ชีวิตสมบูรณ์การศึกษาจริยธรรมจึงเป็นการศึกษาถึงกฏธรรมชาติให้รู้ว่าชีวิตที่แท้จริงคืออะไรต้องการอะไร • การประพฤติหลักจริยธรรมเป็นการพัฒนาสิ่งมีชีวิตให้สูงขึ้นเรียกว่ามีวัฒนธรรมทำให้ชีวิตมนุษย์เป็นชีวิตที่ประเสริฐกว่าสัตว์ถ้าขาดด้านจริยธรรมแล้วคนไม่ต่างจากสัตว์แต่อย่างใด • ทำให้รู้จักค่าของชีวิตว่าค่าของชีวิตอยู่ที่ไหนทำอย่างไรชีวิตจะมีค่าและก็เลือกทางที่ดีมีค่าชีวิตก็มีค่าตามที่ต้องการ
หลักเกณฑ์และการตัดสินคุณค่าทางจริยธรรมหลักเกณฑ์และการตัดสินคุณค่าทางจริยธรรม
หลักเกณฑ์และการตัดสินคุณค่าทางจริยธรรมหลักเกณฑ์และการตัดสินคุณค่าทางจริยธรรม • เกณฑ์ตัดสินจริยธรรม คือ หลักที่ใช้ตัดสินว่าการกระทำอย่างหนึ่งดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของจริยศาสตร์ …. อยู่ในคุณวิทยา (Axiology) ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับคุณค่าหรือค่านิยม (Value) • ปัญหานี้คือ เมื่อคนคนหนึ่งกระทำการอย่างใดอย่าง หนึ่งลงไป เราจะใช้หลักเกณฑ์อะไรมาตัดสินว่าการกระทำของเขาถูกหรือผิด หรือเมื่อเราตกอยู่ใน สถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป เรามีหลักศีลธรรมใดที่จะช่วยเราบอก ว่าเราควรทำอย่างนั้น เราควรทำอย่างนี้
ค่านิยม (Value) • ความเชื่อว่าอะไรดี ไม่ดี อะไรควร ไม่ควร ค่านิยม (value)จึงเป็นแนวคิดหรือเกณฑ์มาตรฐาน กติกาของสังคม • ค่านิยม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท • ค่านิยมจริยธรรม • ค่านิยมสุนทรียภาพ • ค่านิยมสังคมและการเมือง
การพิจารณาคุณค่าทางจริยะและสนุทรียะการพิจารณาคุณค่าทางจริยะและสนุทรียะ แนวคิดสัมพัทธ์นิยม (Relativism) • การกระทำอย่างหนึ่งดีหรือเลว ถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และปัจจัยหลายอย่าง • แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 2 กลุ่ม คือ 1.1.พวกโซฟิสท์ (Sophist) “คนแต่ละคนเป็นผู้ตัดสินทุกสิ่งเอง” 1.2.เกณฑ์การตัดสินจริยธรรมขึ้นอยู่กับจารีตประเพณีของแต่ละสังคม
แนวคิดพวกสัมบูรณนิยม (Absolutism) • มีทัศนะตรงข้ามกับพวกสัมพัทธนิยม • เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมที่ถูกต้องสูงสุดนั้นมีเพียงเกณฑ์ เดียว และเป็นเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว
แนวประโยชน์นิยม (Utilitarianism) • แนวคิดที่สอดคล้องกับพวกสัมพัทธนิยม ความดีมีลักษณะ ไม่เด็ดขาดตายตัวภายในตัวของมันเอง • แต่พวกประโยชน์นิยมจะมีทัศนะเพิ่มเติมออกไปในแง่ที่ถือว่า ดีชั่ว ขึ้นอยู่กับ ผลประโยชน์สุข • ยึดหลักหลักมหสุข (The Greatest Happiness Principle) • การกระทำดี ที่สุดคือการกระทำที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สุขมากที่สุดแก่คนจำนวนมากที่สุด
ตามทัศนะของกลุ่มประโยชน์นิยมนี้ ในการตัดสินคุณค่าทางจริยธรรม มีหลักเกณฑ์พอสรุปได้ ดังนี้ (1) จะต้องกำหนดในสิ่งที่สามารถให้ประโยชน์สุขที่สุด และยาวนานที่สุด (2) จะต้องเลือกเอาสิ่งที่เลวน้อยที่สุด ถ้าหากไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เลือก (3) จะต้องยึดเอาประโยชน์สุขจำนวนมากที่สุดของคนจำนวนมากที่สุดในสังคมนั้น (4) จะต้องไม่ลดประโยชน์สุขของตนให้น้อยลงไปกว่าประโยชน์ของผู้อื่น หรือไม่ลด ประโยชน์ของผู้อื่นให้น้อยไปกว่าประโยชน์ของตน นั่นคือจะต้องให้เกิดความสุขเสมอหน้ากัน (5) จะต้องไม่คำนึงถึงเจตนาในการกระทำเป็นสำคัญ แต่จะถือเอาประโยชน์ที่เกิดขึ้น อันเป็นผลสำคัญยิ่งกว่า (6) จะต้องคำนึงตัวผู้กระทำนั้นด้วยว่าเป็นผู้หนึ่งที่จะได้รับผลของการกระทำนั้น เหมือนกันกับผู้อื่นในสังคม
แนวคิดปฏิบัตินิยม • การตัดสินคุณค่าทางจริยธรรมว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด เป็นต้น ต้องอาศัยผลของการปฏิบัติ • ความดี ความชั่วจึงสามารถจะยืดหยุ่นได้เสมอไม่ตายตัว • สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสังคม ตามกาลสมัยนั้น ๆ หลักการทางจริยธรรมที่จะอำนวย ประโยชน์สุขแก่สังคม หรือใช้ได้ในสังคมจะต้องยืดหยุ่นได้เสมอ • คุณค่าทางจริยธรรมก็คือ การทดสอบว่าใช้ได้จริง ใช้ประโยชน์ได้จริงตามสมมติฐานที่ได้วางไว้ และประโยชน์สุขนั้นจะต้องเป็น ประโยชน์สุขของส่วนรวม และเป็นที่ยอมรับของสังคมด้วย
แนวคิดบริสุทธิ์นิยม • เจตนาดีเป็นเครื่องตัดสินการกระทำของมนุษย์ ว่าอะไรดี อะไรถูกต้อง • อิมมานูเอลค้านท์ ผู้ก่อตั้งแนวคิดนี้กล่าวว่า “การกระทำที่ดีคือการกระทำด้วยเจตนาดี และการกระทำด้วยเจตนาดีนี้เอง หมายถึง การกระทำตามหน้าที่”
แนวคิดอัตถิภาวะนิยม • คุณค่าทางจริยธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนด ขึ้นมาเอง โดยอาศัยความรับผิดชอบเป็นพื้นฐาน ไม่มีเกณฑ์ทางจริยธรรมที่แน่นอนตายตัว แต่มนุษย์ เป็นผู้สร้างเกณฑ์ขึ้นมาเองโดยอิสระ และอาศัยเสรีภาพ โดยทำแต่ในสิ่งที่ดีและมีคุณค่าแก่ตนเอง และผู้อื่นให้มากที่สุด “มนุษย์เป็นผู้กำหนดชนิด กำหนดการใช้ และกำหนดคุณค่าให้แก่ทุก ๆ สิ่ง”
กิจกรรม • ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ทุกกลุ่มทำกิจกรรมต่อไปนี้ • แต่ละกลุ่มศึกษาตัวอย่างคำถามปัญหาทางจริยธรรม ของโคลเบิร์ก แล้วระดมสมองว่า ถ้าหากตนเองประสบสถานการณ์ตามตัวอย่างนี้ จะเลือกตัดสินใจปฏิบัติอย่างไรหรือแก้ไขปัญหาอย่างไร พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ • หลังจากนั้น ให้วิเคราะห์เพิ่มเติมว่า การตัดสินใจเลือกนั้น ใช้หลักเกณฑ์และการตัดสินคุณค่าทางจริยธรรมตามแนวใด เพราะเหตุใด • แต่กลุ่มนำคำตอบที่ได้เขียนลงในกระดาษ A4 ส่งท้ายคาบเรียน
ตัวอย่างคำถามปัญหาทางจริยธรรม ของโคลเบิร์ก • เรื่อง ฮินซ์ขโมยยา ในยุโรป หญิงสาวคนหนึ่งกำลังใกล้จะเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง เนื่องจากไม่มียา หมอจึงไม่สามารถรักษาเพื่อช่วยชีวิตเธอได้ แต่ในร้านขายยาแห่งหนึ่งมีตัวยาที่สามารถจะรักษาเธอซึ่งราคาสูงมากเพราะคนขายยาเอากำไรมาก ราคาต้นทุนยาเพียง 200 ดอลลาร์ แต่ขายให้คนซื้อถึง 2,000 ดอลลาร์ ฮินซ์สามีของหญิงชาวผู้นี้ พยายามไปขอยืมเงินจากทุกคนเพื่อจะซื้อยา แต่ก็สามารถหามาได้เพียงครึ่งเดียวของราคายา คือ 1,000 ดอลลาร์ ฮินซ์บอกกับคนขายยาให้ช่วยขายยาให้เขาก่อนเพราะภรรยาของเขากำลังจะตาย แล้วเขาจะนำเงินส่วนที่เหลือมาคืนให้ในภายหลัง แต่เจ้าของร้านยาปฏิเสธที่จะขายให้เขา เขาจึงหมดหวังและได้เข้าไปขโมยยา ถามว่า “ฮินซ์เขาควรทำหรือไม่ ?”