200 likes | 321 Views
บทบาทของ สถ. ในการสนับสนุน การดำเนินงานถ่ายโอนภารกิจ. นายยงยุทธ สิงห์ธวัช กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) จัดตั้งวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการ. วิสัยทัศน์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
E N D
บทบาทของ สถ. ในการสนับสนุน การดำเนินงานถ่ายโอนภารกิจ นายยงยุทธ สิงห์ธวัช กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) จัดตั้งวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการ
วิสัยทัศน์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นวิสัยทัศน์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น “ เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง เพื่อสร้างความมั่นคง และประโยชน์สุข ของประชาชนอย่างยั่งยืน"
สรุปภารกิจของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2545 1. ส่งเสริมให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีความเข้มแข็งมีการบริหารจัดการ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นและมีการบูรณาการ การแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.พัฒนาระบบการกำกับดูแลภาคประชาชนต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น 3. สร้างกลไกตรวจสอบความโปร่งใสในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โครงสร้างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นโครงสร้างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 6 กอง - 10 สำนัก - 2 หน่วยงานภายใน • สำนักงานเลขานุการกรม • กองการเจ้าหน้าที่ • กองคลัง • สำนักกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น • กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศท้องถิ่น • สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น • สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น • สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น • สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น • สำนักประสานการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร • หน่วยงานตรวจสอบภายใน • สำนักพัฒนาระบบรูปแบบและโครงสร้าง • สำนักส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการมีส่วนร่วม • สำนักมาตรฐานการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • สำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น
กระบวนการถ่ายโอนภารกิจกระบวนการถ่ายโอนภารกิจ กกถ.จัดทำ แผนปฏิบัติการ - ครม.เห็นชอบ - รายงานรัฐสภา - ประกาศใช้ แผนกระจายอำนาจ ส่วนราชการ ถ่ายโอน งาน คน เงิน หน้าที่ อปท.
หลักทั่วไปในการถ่ายโอนภารกิจหลักทั่วไปในการถ่ายโอนภารกิจ 1. พิจารณาถึงผลกระทบ / ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน ในพื้นที่ของท้องถิ่น 2. งานที่ครอบคลุมมากกว่า 1 จังหวัด ให้รัฐทำ เว้นแต่ อบจ. จะตกลงกัน โดย กกถ. เห็นชอบด้วย 3. หลักการพิจารณาความพร้อม (รายได้, บุคลากร, ค่าใช้จ่าย, คุณภาพของบริการ) 4. ความคุ้มค่า / การร่วมมือกันทำงานของท้องถิ่น
5. คุณภาพของบริการที่ประชาชนจะได้รับ 6. ถ้าท้องถิ่นใดยังไม่พร้อม ให้รัฐทำแทนไปก่อน หรือร่วมกับรัฐ / ท้องถิ่นอื่นดำเนินการ 7. ระยะแรกให้ถ่ายโอนงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน และคุณภาพชีวิตก่อน 8. โอนทรัพย์สินให้ ยกเว้นที่ดิน
สัดส่วนรายได้ของ อปท. ต่อรายได้ของรัฐบาลปี 2544 - 2549 หน่วย : ล้านบาท
สอดคล้องกับภาระหน้าที่และความพร้อมของ อปท. คำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นกับ อปท. ระบบถ่ายโอนมีความคล่องตัว และจูงใจ มีหลักประกันเรื่องสิทธิประโยชน์และความก้าวหน้า หลักการถ่ายโอนบุคลากร
ผลการถ่ายโอน • ระยะที่ 1 (2546/2547) 4,111 คน • ระยะที่ 2 (2548) 342 คน
บทบาทของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นต่อการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ด้านการพัฒนาบุคลากรของ อปท. (ฝ่ายการเมือง / พนักงาน) • การจัดฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ โดยสถาบันพัฒนาบุคลกรท้องถิ่น • การจัดฝึกอบรมโดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเครือข่าย - การส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่อง (ป.ตรี - ป.โท)
ด้านการปรับปรุงระเบียบ / กฎหมาย - การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เลือกตั้งนายกโดยตรง • การแก้ไขระเบียบ มท. เรื่องค่าตอบแทนของนายก อปท. และฝ่ายสภา เพิ่มขึ้น • การแก้ไขระเบียบว่าด้วยการพัสดุ • การแก้ไขระเบียบว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและการตรวจเงิน ของ อปท.
ด้านการส่งเสริม อปท. ให้มีความเข้มแข็ง • การจัดทำมาตรฐานการบริหาร 24 มาตรฐาน • การจัดทำมาตรฐานการบริการ 24 มาตรฐาน รวม 48 มาตรฐาน • การจัดประกวด อปท. ที่มีการบริหารจัดการที่ดีและ มีความพยายามในการจัดเก็บภาษี
ด้านการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการปกครองท้องถิ่น • การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น • การจัดซื้อ – จัดจ้าง • การร่วมประชุมสภาท้องถิ่น • โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม
ด้านการกำกับดูแล อปท. • การกำกับดูแลโดย มท. (ตามกฎหมายว่าด้วย อปท.) - การอนุมัติข้อบัญญัติท้องถิ่น - การยับยั้งการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ อปท. - การสอบสวนและสั่งให้ผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง - การสั่งยุบสภาท้องถิ่น
ด้านการกำกับดูแล อปท. • การกำกับดูแลโดยประชาชน (ตามรัฐธรรมนูญ) - การลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาหรือผู้บริหาร - การเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น - การขอให้มีการออกข้อบัญญัติ / เทศบัญญัติท้องถิ่น
ส่วนส่งเสริมการกระจายอำนาจส่วนส่งเสริมการกระจายอำนาจ สำนักพัฒนาระบบ รูปแบบ และโครงสร้าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โทรศัพท์ 0-2241-9000 ต่อ 2361-2363 โทรสาร 0-2241-6956 E-Mail Address : skt2362@hotmail.com www.thailocaladmin.go.th