861 likes | 1.56k Views
การช่วยเหลือในภาวะที่ได้รับสารพิษ และแมลงสัตว์กัดต่อย. อ . บัณฑิตา นฤมาณเดชะ bantita@sut.ac.th. วัตถุประสงค์ เมื่อเรียนจบแล้วนักศึกษาสามารถ. บอกความหมาย ชนิด และอันตรายของสารพิษ และแมลงสัตว์กัดต่อยได้ อธิบายขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับสารพิษ และจากแมลงสัตว์กัดต่อย
E N D
การช่วยเหลือในภาวะที่ได้รับสารพิษและแมลงสัตว์กัดต่อยการช่วยเหลือในภาวะที่ได้รับสารพิษและแมลงสัตว์กัดต่อย อ.บัณฑิตา นฤมาณเดชะ bantita@sut.ac.th
วัตถุประสงค์ เมื่อเรียนจบแล้วนักศึกษาสามารถ • บอกความหมาย ชนิด และอันตรายของสารพิษ และแมลงสัตว์กัดต่อยได้ • อธิบายขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับสารพิษ และจากแมลงสัตว์กัดต่อย • วิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนการช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
สารพิษ(Poisons) • สารประกอบทางเคมีที่ร่างกายได้รับเข้าไป ทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย • แต่จะเป็นอันตรายมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความเป็นพิษและระยะเวลาที่ได้รับสารพิษ • สารพิษจะไปยับยั้งการย่อย การดูดซึม ภายในร่างกาย ทำให้เกิดสภาวะผิดปกติ • มีอาการแพ้ เจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ หรืออาจถึงตายได้
การได้รับสารพิษอาจเกิดจากการได้รับสารพิษอาจเกิดจาก • โดยไม่ตั้งใจ ไม่ทราบว่ากำลังได้รับสารพิษนั้นอยู่ • อุบัติเหตุขณะทำงานหรือปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน • โดยตั้งใจ เช่นพยายามฆ่าตัวตาย
ทางสารพิษเข้าสู่ร่างกายทางสารพิษเข้าสู่ร่างกาย • ทางปาก: ดื่ม กิน: อาหารเป็นพิษ ยานอนหลับ กรด ด่าง ยาเบื่อหนู เบื่อแมลง • ทางจมูก: หายใจ: แก๊สท่อไอเสีย เตาไฟ ควันไฟ แก๊สคลอรีน ยาฆ่าแมลง • ทางผิวหนัง: สัมผัส และฉีด: ยาฆ่าแมลง งูพิษ สุนัขบ้า เฮโรฮีน
ลักษณะของสารพิษ • กลุ่มแก๊ส: คาร์บอนมอนอกไซด์ แก็สพิษ • กลุ่มระคายเคือง: สารปรอท สารตะกั่ว ฟอสฟอรัส เนื้อสัตว์ปนเชื้อโรค:คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย • กลุ่มกัดกร่อน: กรด ด่าง : เจ็บปวด ทำลายเนื้อเยื่อ • กลุ่มกดประสาท: ฝิ่น มอร์ฟีน : ตื่นเต้นชั่วคราว ซึม หายใจช้า อ่อนแรง • กลุ่มกระตุ้นประสาท: อะโทรปิน การบูร : ผิวหนังแห้ง ร้อนชีพจรเต้นเร็วแต่อ่อนแรง
ชนิดของสารพิษ • สารเคมีสังเคราะห์ • สารพิษจากสัตว์ • สารพิษจากพืช
สารเคมีสังเคราะห์ • ยาฆ่าแมลงได้แก่พาโรไธออนไบกอน ดีดีที • ยาปราบวัชพืช ได้แก่พาราควอตคาราฟอน • สารเคมีกำจัดเชื้อรา ได้แก่คอปเปอร์ซัลเฟตแอนทราโคลโลนาโคล • สารเคมีปราบสัตว์แทะได้แก่ซิงค์ฟอลไฟด์ วาฟาริน
อันตรายจากสารเคมี • ปวดแสบ ปวดร้อน • ผิวหนังเปลี่ยนสี แดง ตุ่มน้ำ ลอก ผิวหนังลอกจากการทำงานสัมผัสกับสารเคมี
สารพิษและอันตรายที่มีต่อร่างกายสารพิษและอันตรายที่มีต่อร่างกาย • แมงกานีส: รง.ถลุงแร่ เหมืองแร่ ถ่านไฟฉาย : กล้ามเนื้อไม่มีแรง ปอดบวม ปอดอักเสบ มีไข้ ไอบ่อย • สารตะกั่ว: ผลิตแบตเตอรี่ บัดกรีหลอมตะกั่ว : อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เบื่ออาหาร โลหิตจาง ซีด ปวดท้อง
สารพิษและอันตรายที่มีต่อร่างกายสารพิษและอันตรายที่มีต่อร่างกาย • สารปรอท: รง.ปุ๋ย กระดาษ ไฟฟ้า : กล้ามเนื้อหมดแรง มือ-ขาสั่น เป็นแผลที่ปาก • คาร์บอนไดออกไซด์: การเผาไหม้เชื้อเพลิง ถ่านหิน : แน่นหายใจไม่สะดวก ขาดออกซิเจน หมดสติ
สารพิษและอันตรายที่มีต่อร่างกายสารพิษและอันตรายที่มีต่อร่างกาย • โครเมี่ยม : ชุบโลหะโครเมี่ยม : มะเร็งปอด แผลในโพรงจมูก ผิวหนังเป็นแผล • ไซยาไนด์ : ชุบโลหะ พลาสติก : หมดสติรวดเร็ว ตาย • สารหนู: ปุ๋ย กลั่นน้ำมัน ทำแก้ว เหล็กกล้า : มะเร็งผิวหน้า ปอด ผื่นแดงผิวหนัง เลือดจาง
การควบคุม ป้องกัน อันตราย • การควบคุมป้องกันระดับบุคคล • การควบคุมป้องกันในระดับโรงงานอุตสาหกรรม
ระดับบุคคล อยู่โรงงาน…อย่าลืมเน้น……การป้องกัน…
ระดับโรงงานอุตสาหกรรมระดับโรงงานอุตสาหกรรม
เป็นเกษตร…..ก็เน้น…… เหมือนกันจ้า
ยกศีรษะให้สูงขึ้น ให้น้ำไหลผ่านตา ช่วยเปิดเปลือกตา ล้างตาอย่างน้อย 15-20 นาที ปิดตาด้วยผ้าสะอาด ส่งโรงพยาบาล
ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารพิษออก • รีบล้างทำความสะอาดร่างกาย • อย่าขัดถูผิวหนัง • เช็ดตัวผู้ป่วยให้แห้ง • ใช้ผ้าสะอาดคลุมผิวที่อักเสบ • ห้ามทาขี้ผึ้ง โรยยาอื่น ๆ • ส่งโรงพยาบาล
การช่วยเหลือเมื่อกินสารพิษการช่วยเหลือเมื่อกินสารพิษ • ทำให้อาเจียน • ลดการดูดซึม
วิธีทำให้อาเจียน • ใช้นิ้วชี้ล้วงกวาดลำคอลึกๆหรือดื่มน้ำอุ่นก่อนแล้วล้วงคอ • ใช้เกลือแกง 2 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว • ใช้น้ำอุ่นละลายสบู่พอควร(ห้ามใช้ผงซักฟอก) ใช้ได้ผลดีกรณีสารปรอท • ขณะทำให้อาเจียน ให้ตะแคงหน้าป้องกันสำลัก
ลดการดูดซึมสารพิษในทางเดินอาหาร • ผงถ่านแอคติเวเต้ดชาร์โคล ขนาดที่ใช้ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1/4 แก้ว • ไข่ขาวดิบ ขนาดที่ใช้ • เด็ก 4 ฟอง , ผู้ใหญ่ 8 ฟอง • ให้ดื่มน้ำหรือนม จะช่วยเจือจางแล้วยังช่วยเคลือบและป้องกันอันตรายต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร
ข้อห้ามทำให้อาเจียน • หมดสติ หรือไม่ค่อยรู้สึกตัว • กินสารพิษชนิดกัดเนื้อ เช่น กรด-ด่าง • กินสารพิษพวกน้ำมันปิโตรเลียม เช่น น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน • สุขภาพไม่ดี เช่น โรคหัวใจ หรือกำลังตั้งครรภ์
นำผู้ป่วยไปยังที่มีอากาศบริสุทธิ์ทันที • ผู้เข้าไปช่วยควรมีเครื่องป้องกันสารพิษ เช่น หรือหน้ากากกันสารพิษ • คลายเสื้อผ้าให้หลวม • ควบคุมอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยร้อน พยายามเช็ดตัว • ห้ามผู้ป่วยสูบบุหรี่หรือดื่มสุรา 3. ถ้าผิวหนังไหม้ให้ใช้ผ้าบาง ๆ ที่นุ่มและสะอาดคลุมทิ้งไว้ ห้ามทาขี้ผึ้ง โรยยาอื่นๆ
กรณีฉุกเฉิน • ปฏิบัติตามขั้นตอนที่แนะนำโดยฉลาก • สติดี ดื่มนมหรือน้ำ (ร่างกายดูดซับสารพิษช้าลง) • อ่อนเพลีย ซึม สลบ ไม่รู้สึกตัวไม่ควรดื่ม • เรียก รถฉุกเฉิน 1669 พาไปพบแพทย์ พร้อมขวดสารพิษ • ไม่แน่ใจว่าเป็นสารพิษอะไร ไม่ควรทำให้อาเจียน • เปื้อนเสื้อผ้า ถอดออก ล้างให้มากที่สุด
สารพิษจากสัตว์แมลงสัตว์กัดต่อยสารพิษจากสัตว์แมลงสัตว์กัดต่อย
สัตว์พวกผึ้ง แตน ต่อ หมาร่า • เหล็กในอยู่ส่วนปลายลำตัว จะปล่อยน้ำพิษออกมา • ถ้ายังไม่ดึงเหล็กในออก กล้ามเนื้อจะหดตัวต่อไปอีก 2-3 นาที ทำให้เหล็กในฝังตัวลึกอีก และน้ำพิษจะถูกปล่อยเข้าไปเพิ่มมากขึ้น อาการแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ • อาการเฉพาะที่ได้แก่ ปวด บวม แดง ร้อน • พิษที่ไปตามกระแสโลหิตเช่น มีอาการคัน ลมพิษ หลอดเลือดบวม หายใจขัด
ปฐมพยาบาล • ให้รีบเอาเหล็กในออก • ล้างบริเวณที่ถูกต่อยด้วยน้ำและสบู่ เช็ดให้แห้ง แล้วทาด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ • ถ้ามีอาการปวดมาก ก็ประคบด้วยความเย็น • ทาบริเวณที่ถูกต่อยด้วย antihistamine cream หรือแอมโมเนียหอม • ถ้าแพ้พิษจะมีอาการรุนแรงหายใจไม่ออก ความดันโลหิตต่ำลงและช็อค รีบไปพบแพทย์ทันที
ปฐมพยาบาล • ทาแผลด้วย antihistamine cream หรือแอมโมเนียหอม • ใช้น้ำแข็งประคบเพื่อลดปวด • ถ้าปวด บวม คัน มาก ต้องรีบไปโรงพยาบาล
ปฐมพยาบาล • ห้ามใช้นิ้วดึงออกหรือใช้วัตถุใดๆ ขูดออกเด็ดขาด • ใช้น้ำส้มสายชูซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ (ร้อยละ 3-5) ราดไปที่แผล • ไม่ใช้น้ำร้อนประคบเพราะจะทำให้เส้นเลือดขยายตัวกระจายพิษง่ายขึ้น • ใช้ทรายหรือผักบุ้งทะเลถูเมือกออก • ล้างด้วยน้ำสบู่ • ทาด้วยแอมโมเนีย หรือเพรดนิโซโล • รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
อาการเกิด ขึ้นได้ 3 ทางคือ พิษต่อประสาท เช่น งูเห่า งูจงอาง : ทำให้ เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ และที่สำคัญทำให้หยุดหายใจ พิษต่อโลหิต เช่น งูแมวเซา งูกะปะ และ งูเขียวหางไหม้ : ทำให้เลือดออกตามที่ต่างๆ เช่น ผิวหนัง ปัสสาวะเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด เป็นต้น พิษต่อกล้ามเนื้อ เช่น งูทะเล : ทำอันตรายต่อเซลล์กล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อมาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง
การปฐมพยาบาล • ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ • บีบเลือดออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ • ควรรัดเหนือ/ใต้บาดแผลประมาณ 3 นิ้วมือ • ใช้ผ้าสะอาดกดแผลโดยตรงเพื่อห้ามเลือด • พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด • วางอวัยวะส่วนนั้นให้ต่ำหรือระดับเดียวกับหัวใจ • ให้ยาแก้ปวดได้ รีบพาไปโรงพยาบาล
ข้อควรระวัง • อาการของพิษงูเกิดได้ตั้งแต่ 15-30 นาที หลังถูกกัด หรือ อาจนานถึง 9 ชม. จึงต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง • การฉีดเซรุ่มแก้พิษงู ส่วนใหญ่ทำมาจากม้า ซึ่งอาจแพ้ได้ จึงควรฉีดต่อเมื่อมีอาการของพิษงูเท่านั้น • ไม่ควรใช้ปากดูดหรือเปิดปากแผลด้วยของมีคม • ห้ามใช้ยาที่มีฤทธิ์แอลกอฮอล์ ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาดองเหล้า • ไม่ควรรัดบาดแผลให้แน่นมาก เพราะจะทำให้อวัยวะส่วนปลายขาดเลือดและเน่าตาย