300 likes | 487 Views
การออกแบบวิธีการทำงานสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่. ( Work Methods Design for A New Product ). การออกแบบวิธีการทำงานเพื่อพัฒนา. ( WORK METHODS DESIGN FOR DEVELOPING A BETTER METHODS ). จุดประสงค์. ทราบถึงขั้นตอนการผลิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถออกแบบกระบวนการผลิตและวิธีการทำงานได้
E N D
การออกแบบวิธีการทำงานสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่การออกแบบวิธีการทำงานสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ( Work Methods Design for A New Product ) การออกแบบวิธีการทำงานเพื่อพัฒนา ( WORK METHODS DESIGN FOR DEVELOPING A BETTER METHODS )
จุดประสงค์ ทราบถึงขั้นตอนการผลิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถออกแบบกระบวนการผลิตและวิธีการทำงานได้ ทำการพัฒนาวิธีการออกแบบกระบวนการผลิต และวิธีการทำงานได้
ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสายการผลิตนั้น นักออกแบบวิธีการทำงานจะใช้กระบวนการแก้ปัญหาทั่วไป มาช่วยกำหนดการผลิตและวิธีการทำงานที่จะนำมาใช้ ซึ่งขั้นตอนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสายการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ด้านด้วยกัน คือ การวางแผน การเตรียมการผลิต การผลิต
1. การวางแผน เป็นขบวนการตัดสินใจเลือกทางที่ดีที่สุด โดยให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้แล้วในการออกแบบวิธีการทำงาน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่นั้น มีองค์ประกอบ 6 ด้าน คือ 1.1 การออกแบบผลิตภัณฑ์ 1.2 การออกแบบขบวนการผลิต 1.3 การออกแบบวิธีการปฏิบัติงาน 1.4 การออกแบบเครื่องมือและเครื่องใช้ 1.5 การออกแบบผังโรงงาน 1.6 การกำหนดเวลามาตรฐาน
1.1 การออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นการเขียนแบบลงในพิมพ์เขียวแสดงส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ขนาด รูปร่าง น้ำหนัก วัสดุที่ใช้และประโยชน์ใช้สอยต่างๆ 1.2 การออกแบบขบวนการผลิต เป็นการกำหนดระบบการผลิตในรูปของเส้นทางการผลิต(Process Routing ) ซึ่งได้แก่ ขั้นการปฏิบัติงานที่จำเป็น ลำดับขั้นตอนของการ ปฏิบัติงาน ตำแหน่งในการวางเครื่องจักร ขนาด และค่าความคลาดเคลื่อนในการผลิต รวมถึงเครื่องมือวัดและเครื่องใช้ที่จำเป็น
1.3 การออกแบบวิธีการปฏิบัติงาน เป็นการบันทึกวิธีการทำงาน ที่จะต้องใช้ภายในบริเวณปฏิบัติงานได้แก่ บันทึกว่า คนงานปฏิบัติงานอย่างไร ในบริเวณปฏิบัติงาน พื้นที่ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการไหลของงาน (flow) ในการออกแบบวิธีการปฏิบัติงานนั้น อาจใช้การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อเลือกวิธีที่ดีที่สุด ณ จุดนี้จะต้องมีการประสานด้านข่าวสารเกี่ยวกับการวางแผนใน ขั้นอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้แน่ในว่า งานทุกอย่างที่จะทำสามารถปฏิบัติ ได้จริง และสัมพันธ์กับวิธีการควบคุมการทำงานที่ได้ตั้งไว้
1.4 การออกแบบเครื่องมือและเครื่องใช้ เป็นรายการแสดง เครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงานประกอบด้วย jigs, fixture ,dies ,gauges, เครื่องจักร ฯลฯ 1.5 การออกแบบผังโรงงาน เป็นการกำหนดเนื้อที่ใช้งานทั้งหมดภายในโรงงานโดยแสดงรายละเอียดของสถานที่ตั้งของเครื่องมือและเครื่องใช้ สถานที่ตั้งของอะไหล่ สถานที่ตั้งของฝ่ายให้บริการ เช่น ไฟฟ้าฯลฯ ผังแสดงบริเวณ ปฎิบัติงานผังแสดงที่ตั้งเครื่องมือที่ใช้ในการขนย้ายวัสดุ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนงานกับเครื่องจักร
1.6การกำหนดเวลามาตรฐาน เป็นการตั้งข้อมูลเวลาสำหรับกิจกรรมที่เครื่องจักรปฏิบัติหรือเวลา สำหรับ กิจกรรมที่คนงานปฏิบัติ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้อาจเป็น วัฏจักร ( cyclic ) หรือไม่เป็นวัฏจักร ( no- cyclic ) ก็ได้ ผลของการกำหนดเวลาจะเป็นข้อมูลเวลาที่ใช้ใน การประมาณต้นทุนและควบคุมแรงงานโดยทั่วไป การวางแผนทั้ง 6 ด้าน เมื่อสำเร็จ จะเป็นข่าวสาร ด้านการวางแผนที่สมบูรณ์ เมื่อนำมาผสมผสานเข้าด้วยกันและ ตรวจสอบความสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง แล้วติดตามการทำงานตามแผนนั้นให้แน่ใจว่าทุกด้านทำได้ทันเวลา
2. การเตรียมการผลิต ข่าวสารด้านการวางแผนทั้งหมดเมื่อเสร็จเรียบร้อยก็ส่งไปยังหน่วยผลิต เพื่อดำเนินการดังนี้ (1 ) ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทำงานกับเวลา ที่ตั้งไว้ (2) เลือกและฝึกหัดพนักงานให้ปฏิงานตามวิธีที่กำหนดไว้ (3) มอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงาน (4) ทดลองใช้วัสดุและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ (5) ติดตั้งสิ่งอำนวยความสะอาด
3. การผลิต เป็นขั้นตอนการผลิตสินค้าตามที่ได้วางแผนและเตรียมการผลิตไว้เป็นขั้นของการใช้พนักงาน-เครื่องจักรและวัสดุ เพื่อผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดโดย มีสิ่งสำคัญที่จะต้องแสดงให้เห็นเด่นชัดในการออกแบบวิธีการทำงานคือ • 3.1 การป้องกันวิธีการทำงานไม่ให้เบี่ยงเบนจาก มาตรฐานวิธีการทำงานที่ตั้งไว้ • 3.2 ทำกาตรวจสอบวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้นำไปสู่วิธีการทำงานที่ดีกว่า
การปฏิบัติจะศึกษาในหัวข้อ การวางแผนการผลิต โดยเน้นที่การออกแบบกระบวนการผลิต และการออกแบบวิธีการทำงาน 1. จากรูปชิ้นงานในรูปให้ออกแบบกระบวนการผลิต และวิธีการ ทำงานในการผลิตชิ้นงานโดยการผลิตจะเริ่มตั้งแต่มีวัตถุดิบ 2. ออกแบบวิธีการผลิตต้องมีรายละเอียดของเครื่องจักรที่ใช้ ขั้นตอนการผลิต 3. การออกแบบวิธีการทำงานแสดงรายละเอียดลำดับการทำงาน ลงในใบสั่งงาน 4. ให้ออกแบบกระบวนการผลิตและวิธีการทำงานให้ใช้ทรัพยากร ภายใต้ขอบเขตที่มีอยู่
ในกรณีที่มีวิธีการทำงานอยู่แล้วและต้องการจะปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหลักการแล้ว ยังใช้กระบวนการแก้ปัญหาโดยทั่วไปมาช่วย ในการ ออกแบบวิธีการทำงาน โดยศีกษาการทำงานเดิม ตรวจตราและพัฒนาไปสู่วิธีใหม่ ซึ่งจะเรียกรวม ๆ ว่าเป็น การศีกษาวิธีการทำงาน ( Methods Study ) หมายถึง การบันทึกการทำงานเดิมที่จะเสนอแนะขึ้นใหม่อย่างมีขั้นตอนและตรวจตราอย่างมีระบบ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิธีการทำงานที่ง่าย มีประสิทธิภาพและประหยัด
การบันทึกการทำงานเดิมที่จะเสนอแนะขึ้นใหม่อย่างมีขั้นตอนและตรวจตราอย่างมีระบบการบันทึกการทำงานเดิมที่จะเสนอแนะขึ้นใหม่อย่างมีขั้นตอนและตรวจตราอย่างมีระบบ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิธีการทำงานวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิธีการทำงาน 1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน โดยหาวิธีการทำงานที่ดีกว่า 2. ลดการใช้วัตถุดิบ หรือลดของเสียลง 3. เพื่อปรับปรุงการวางผังโรงงานให้ดีขึ้น 4. เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายให้ถูกสุขลักษณะ 5. เพื่อหาวิธีการเคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม 6. เพื่อใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ได้เต็มกำลังการผลิต 7. เพื่อลดความเมื่อยล้าของพนักงาน
ขั้นตอนการศึกษาวิธีการทำงานขั้นตอนการศึกษาวิธีการทำงาน แนวทางการศึกษาวิธีการทำงานเป็น 7 ขั้นตอนด้วยกันคือทำการเลือก จดบันทึก ตรวจ พัฒนา ตั้งนิยาม ทำการใช้และดำรงรักษาวิธีการ
2.1 เลือกงานที่จะศึกษา งานที่ออกแบบวิธีการทำงานเลือกมาศึกษา เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานนั้น ควรจะมีสิ่งบอกเหตุว่า สมควรที่จะนำมาศึกษา เช่น 1. งานที่มีปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย งานที่เสียเวลารอคอยในกระบวนการผลิต 2. งานที่มีปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยี ต้องศึกษาวิธีการทำงาน เพื่อให้รับกับเทคโนโลยีใหม่ได้ 3. งานที่มีปัญหาเกี่ยวกับพนักงาน อันเป็นผลมาจากลักษณะของงานที่น่าเบื่อหน่าย ควรพิจารณาถึงปฏิกิริยาของคนงานด้วยว่าจะมีแรงต่อต้านมากน้อยเท่าใด
2.2 การบันทึกวิธีการทำงาน คือ การบันทึกวิธีการทำงานจริงที่ทำอยู่ปัจจุบัน ซึ่งการบันทึกนั้นจะต้องง่ายสำหรับการอ่าน สามารถเข้าใจวิธีการทำงานได้ทันที จึงใช้แผนภูมิ และ ไดอะแกรม ที่มีแบบฟอร์มเป็นมาตรฐานเดียวกัน
2.3 การตรวจตราข้อมูลที่ได้อย่างละเอียดการตรวจตราข้อมูลที่บันทึกไว้โดยใช้เทคนิคการตั้งคำถาม คำถามสำหรับการตรวจตราส่วนมากจะเป็น คำถามสำเร็จรูป (Check list) ที่ตั้งไว้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องกับจุดประสงค์ของการตรวจตราก็เพื่อให้ทราบต้นเหตุของปัญหาและนำไปสู่ การพัฒนาวิธีการทำงานที่ดีกว่า ซึ่งแยกเป็น 4 ด้านด้วยกันดังนี้ 1. เพื่อขจัดงานที่ไม่จำเป็น 2. เพื่อรวมขั้นตอนการปฏิบัติงานเข้าด้วยกัน 3. เพื่อเปลี่ยนลำดับขั้นการปฏิบัติงาน 4. เพื่อทำให้ขั้นการปฏิบัติงานที่จำเป็นนั้นง่ายขึ้น
2.3.1 เพื่อขจัดงานที่ไม่จำเป็น (Eliminate All Unnecessary Work) 1. เลือกงานที่มีปัญหาเรื่องต้นทุนสูง ถ้าสามารถขจัดงานนี้ได้จะทำให้ลดต้นทุนค่าแรงทางตรง 2. กรณีที่ตอบว่าเป็นงานที่ยังจำเป็น เพราะมีวัตถุประสงค์และเหตุที่แน่นอน ควรแยกวัตถุประสงค์ให้เห็นชัดว่าทำงานนั้นเพื่ออะไรบ้าง 3. ตั้งคำถามเพื่อขจัดวัตถุประสงค์ของงาน
ประโยชน์ของการขจัดงานที่ไม่จำเป็นออกมีดังนี้ - ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงวิธีการทำงาน - ไม่เสียเวลาในการปรับปรุงวิธีการทำงานและติดตั้ง วิธีการทำงานใหม่ - ไม่จำเป็นต้องมีการฝึกหัดพนักงานสำหรับวิธี การทำงานใหม่ - ปัญหาเรื่องคนงานคัดค้านมีน้อย - เป็นวิธีการปรับปรุงให้ง่ายขึ้น ผลของงานเท่าเดิม หรือดีกว่า แต่ไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย
ในขบวนการผลิตปกติจะแตกงานออกเป็นขั้น การปฏิบัติงานหลายขั้นเพื่อให้ง่ายสำหรับการแบ่งงานตามความชำนาญของคนงานแต่ละคน การรวมขั้น การปฏิบัติงานเข้าด้วยกัน หรือบางครั้งการเปลี่ยนลำดับการทำงานก็เปิดโอกาสให้มีการปฏิบัติงาน เข้าด้วยกัน 2.3.2 เพื่อรวมขั้นตอนการปฏิบัติงานเข้าด้วยกัน (Combine Operation or Element)
2.3.3 เพื่อเปลี่ยนลำดับขั้นการปฏิบัติงาน (Change the Sequence of Operation)ในการผลิตสินค้าใหม่ มักเริ่มต้นผลิตจำนวนน้อยก่อน เพราะเป็นขั้นทดลอง แต่เมื่อขยายปริมาณการผลิตขึ้นทีละน้อย หากลำดับขั้นการปฏิบัติงานยังคงเหมือนเดิม มักเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาในเรื่องการเคลื่อนย้ายวัสดุและการไหลของงาน จะใช้วิธีการตั้งคำถาม เพื่อดูว่าจะสามารถเปลี่ยนลำดับขั้นการปฏิบัติงานใหม่ได้หรือไม่ เพื่อให้งานง่ายและรวดเร็วขึ้น การใช้แผนภูมิและไดอะแกรมต่าง ๆ บันทึกการทำงานจะช่วยชี้ให้เห็นว่าสมควรจะเปลี่ยนลำดับขั้นการปฏิบัติงานอย่างไร เพื่อลดการเคลื่อนย้ายวัสดุ และทำให้การไหลของงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว
2.3.4 เพื่อทำให้ขั้นการปฏิบัติงานที่จำเป็นนั้นง่ายขึ้น (Simplify the Necessary Operation)เพื่อขจัดงานที่ไม่จำเป็น รวมขั้นการปฏิบัติงานและเปลี่ยนลำดับการปฏิบัติงาน ถ้าขั้นการปฏิบัติงานเหล่านั้นยากและมีวิธีการทำงานอื่นที่ง่ายกว่า สามารถทำงานนั้นให้เสร็จได้เช่นเดียวกัน การตั้งคำถามเพื่อให้งานง่าย จะเริ่มคำถามทุกอย่างที่เกี่ยวกับงานนั้นคำถามที่ตั้งจะขึ้นต้นด้วย “อะไร, ที่ไหน, เมื่อใด, ใคร, อย่างไร และทำไม
2.4 พัฒนาวิธีการทำงานที่เหมาะสมเมื่อวิเคราะห์วิธีการทำงานโดยการตั้งคำถามอย่างครบถ้วนและเป็นระบบต่อเนื่องแล้ว ในขั้นนี้จึงเป็นการบันทึกวิธีการทำงานที่เสนอแนะลงบนแผนภูมิ และ ไดอะแกรมต่าง ๆ พร้อมกับตรวจสอบไปด้วยในตัวว่า มีสิ่งใดหลุดรอดไปจากการพิจารณาบ้าง เปรียบเทียบจำนวนครั้งของขั้นการปฏิบัติงาน ระยะทางการเคลื่อนย้าย การประหยัดเวลา ของวิธีการทำงานเดิมกับวิธีการที่เสนอแนะ
2.5 ตั้งนิยามการทำงานเป็นการกำหนดรายละเอียดของวิธีการที่เสนอแนะไว้ ในแผ่นปฏิบัติงานมาตรฐาน (Standard Practice Sheet) แต่ก่อนที่ทำได้ ควรดำเนินการขออนุมัติวิธีการทำงานที่เสนอแนะโดยการทำเป็นรายงานแสดงถึง 1. ค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบวิธีการทำงานเดิม 2. ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งวิธีการใหม่ 3. สิ่งที่ผู้บริหารจะต้องกระทำเพื่อสนับสนุนวิธีการทำงานใหม่ คือ บันทึกวิธีการทำงานลงในแผ่นปฏิบัติงานมาตรฐาน โดยใช้คำง่าย ๆ อธิบายถึงวิธีการทำงานโดยไม่ใช้สัญลักษณ์อื่นใด
2.6 ทำการใช้วิธีการทำงานใหม่ ก่อนจะเริ่มวิธีการทำงานใหม่ ต้องพยายามโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานทั้งหมดให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ ตั้งแต่ผู้ควบคุมโรงงานฝ่ายบริหารคนงานหรือตัวแทน จำเป็นต้องมีการฝึกคนงานตามวิธีการที่เสนอแนะ เมื่อฝึกคนงานเรียบร้อยแล้ว จึงเริ่มทำการใช้วิธีการนั้นในการทำงานจริง
2.7 ดำรงการปฏิบัติตามวิธีการใหม่อย่างสม่ำเสมอ เป็นการควบคุมดูแลความก้าวหน้าของงานจนกว่าจะแน่ใจว่าสามารถทำงานได้ตามวิธีที่เสนอแนะ และก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพขึ้นจริง ถ้าสามารถปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีกว่าเดิมได้อีก ก็ให้ดำเนินการศึกษาวิธีการทำงานใหม่