830 likes | 1.82k Views
งานวิจัยในชั้นเรียน ( Classroom Action Research :CAR). นางณีรนุช อินตาพรหม ครูเชี่ยวชาญ คศ . ๔ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ช่วยราชการโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔.
E N D
งานวิจัยในชั้นเรียน(Classroom Action Research :CAR) นางณีรนุช อินตาพรหม ครูเชี่ยวชาญ คศ. ๔ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ช่วยราชการโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูให้มี ความเป็นผู้นำทางวิชาการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ให้ครูสามารถใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และสามารถศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ในแต่ละระดับการศึกษา (มาตรา ๓๐) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ (มาตรา ๒๔(๕))
ความหมายการวิจัยชั้นเรียนความหมายการวิจัยชั้นเรียน ใคร ครู ทำอะไร เก็บข้อมูลและหาวิธีการแก้ปัญหา ที่ไหน ตามสภาพที่เกิดขึ้นจริงในชั้นเรียน
เมื่อไหร่ ในขณะจัดการเรียนการสอน อย่างไร ด้วยกระบวนการวิจัยที่เชื่อถือได้ แก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนา เพิ่มพูน เพื่ออะไร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร เกี่ยวกับอะไร
ความหมายของการวิจัย การวิจัย (research) หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาข้อเท็จจริงหรือความรู้เพื่อตอบคำถามหรือปัญหาที่มีอยู่อย่างเป็นระบบ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น เพื่อสร้างองค์ความรู้ หรือพัฒนานวัตกรรมด้วยวิธีการที่เป็นระบบ เชื่อถือได้
ใน 1 ภาคเรียนท่านคิดว่าครู ควรจะทำงานวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียน • กี่เรื่อง ? • เรื่องอะไรบ้าง? CAR FOR TEACHER By Dr. C. Bhaowises (PhD, UK)
ในความเป็นไปได้... 4 เรื่อง...? • CAR 1:รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล • CAR 2:การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ • CAR 3:กรณีศึกษานักเรียน • CAR 4: ID – Planสู่การพัฒนานวัตกรรม CAR FOR TEACHER By Dr. C. Bhaowises (PhD, UK)
ลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียนลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียน • เป็นการศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอน • เป็นการศึกษาสภาพปัญหาเพื่อนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน • เป็นการศึกษาและวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอน เพื่อนำผลไปใช้ในการแก้ปัญหาการสอนของตน และเพื่อเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นต่อไป
จุดประสงค์ทั่วไปของการทำวิจัยจุดประสงค์ทั่วไปของการทำวิจัย 1. เพื่อแก้ปัญหา/พัฒนานักเรียนในชั้นที่ตนเองสอน โดยจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมการสอน สร้างสื่อหรือคิดวิธีสอนที่ดี และเหมาะสมสำหรับนักเรียนที่จะส่งผล ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น หรือมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ตาม ความคาดหวังของหลักสูตร 2. เพื่อประกอบการเสนอเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น
กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน 1. สำรวจ/วิเคราะห์ปัญหา/พัฒนา 2. ศึกษาแนวคิด หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย 3. ออกแบบวางแผนพัฒนานวัตกรรม 4. พัฒนานวัตกรรมและทดลองใช้ 5. นำนวัตกรรมไปใช้ /เก็บรวบรวมข้อมูล /วิเคราะห์ข้อมูล 6. สรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา/เขียนรายงาน****
1.สำรวจ/วิเคราะห์ปัญหา/การพัฒนา1.สำรวจ/วิเคราะห์ปัญหา/การพัฒนา 1.1 ศึกษาจากข้อมูลของผู้เรียนหลายๆ ด้าน - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน - พฤติกรรมของผู้เรียน - การปฏิบัติงานของผู้เรียน โดยใช้วิธีที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การทดสอบ การสัมภาษณ์ การบันทึกข้อมูล การสำรวจ 1.2 นำปัญหาที่พบมาพิจารณาจัดลำดับความสำคัญ 1.3 เลือกปัญหาที่สำคัญและเหมาะสมที่สุด 1.4 กำหนดวิธีการและนวัตกรรมในการแก้ปัญหา*** 1.5 ตั้งหัวข้อการวิจัยและกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย***
นวัตกรรมทางการศึกษา • หมายถึง แนวคิด วิธีการ กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร ประเภท • สื่อการสอน เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ เอกสารประกอบการสอน บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน รายงานโครงการ ฯลฯ • สื่อโสตทัศนูปกรณ์ เช่นภาพยนตร์ สไลด์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เทปเพลง เทปเสียง ฯลฯ • เทคนิคการสอน เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน แสดงบทบาทสมมุติ การสอนเสริม การสอนแบบโครงงาน การสอนแบบแก้ปัญหา การจัดกิจกรรมใช้สื่อใกล้ตัว ฯลฯ 1. สำรวจ/วิเคราะห์
2. ศึกษาแนวคิด หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถมองปัญหาที่จะวิจัยได้ชัดเจนมากขึ้น รวมแนวคิดความรู้พื้นฐานทฤษฎีต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่จะศึกษา สามารถเลือกเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้ถูกต้อง เลือกสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้อย่างเหมาะสม
3. ออกแบบวางแผนพัฒนานวัตกรรม เมื่อกำหนดวิธีการหรือกิจกรรม หรือนวัตกรรม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา/พัฒนาแล้ว ผู้วิจัยจะต้องออกแบบการวิจัย ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยคำนึงถึงกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรที่จะศึกษา โดยทั่วไปการวิจัยในชั้นเรียนนิยมใช้รูปแบบ การวิจัยเชิงทดลอง
4. พัฒนานวัตกรรมและทดลองใช้ - สร้างและพัฒนานวัตกรรม ตามขั้นตอนของการผลิตในรูปแบบนวัตกรรมแต่ละชนิด พร้อมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล - ทำการทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพและคุณภาพของเครื่องมือ ก่อนไปใช้จริง ถ้าเครื่องมือมีคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์จะต้องมี การปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพก่อนนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล - จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ หรือคู่มือประกอบการใช้นวัตกรรมนั้น
5. นำนวัตกรรมไปใช้ /เก็บรวบรวมข้อมูล /วิเคราะห์ข้อมูล - นำนวัตกรรมที่ผ่านการหาประสิทธิภาพแล้วไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่จะพัฒนาตามกระบวนการหรือขั้นตอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ ที่กำหนดไว้ • เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้เครื่องมือที่สร้างไว้ และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามหลักทางสถิติ • สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) ค่าสัมประสิทธิ์ของการกระจาย (C.V) สถิติค่าที (t-test)
6. สรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา/เขียนรายงาน - การสรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา ซึ่งอาจนำเสนอด้วยตาราง แผนภูมิ หรือกราฟ และแปลความหมาย และสรุปผลการวิเคราะห์ไว้ใต้ตาราง ใต้แผนภูมิหรือใต้กราฟ - การเขียนรายงาน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย เพื่อแสดงกระบวนการพัฒนากระบวน การเรียนรู้ของผู้เรียน การเขียนรายงานต้องเขียนหลังจากที่ได้เห็นผลการวิจัยแล้ว ซึ่งอาจเขียน แบบง่ายๆ หรือแบบสมบูรณ์ 5 บทก็ได้ กิจกรรมที่ 2 การเขียนโครงร่างงานวิจัย
การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยการตั้งชื่อเรื่องงานวิจัย ชื่อเรื่องของงานวิจัยที่ดีควรประกอบด้วย • การแก้ปัญหา/พัฒนาอะไรอย่างไร(โดยใช้นวัตกรรมอะไร) กับใคร เช่น การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดย ใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 ***
กิจกรรม ที่ 1การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการพัฒนา คำชี้แจง วิเคราะห์ปัญหา/แนวทางการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน ปัญหา/แนวทางการพัฒนาที่ 1 ................................................................ ปัญหา/แนวทางการพัฒนาที่ 2 ................................................................. ปัญหา/แนวทางการพัฒนาที่ 3 ................................................................. เลือกปัญหา/แนวทางการพัฒนาที่สำคัญและเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่........ ............................................................... เลือกแนวทางในการแก้ปัญหาหรือพัฒนา ได้แก่ (นวัตกรรม)......... ............................................................... เหตุผลที่เลือกเพราะ.......................................................................... ชื่อเรื่องงานวิจัย................................................................................
กิจกรรมที่ 2 การเขียนโครงร่างงานวิจัย 1.ชื่อปัญหาการวิจัย……………………………** 2.ความสำคัญของปัญหา………………………………*** 3.วัตถุประสงค์การวิจัย………………………… *** 4. ขอบเขตของการวิจัย*** 4.1 - ประชากรคือ…………………………………… - กลุ่มตัวอย่างคือ................................................... 4.2 ตัวแปร - ตัวแปรต้น ได้แก่............................................. - ตัวแปรตาม ได้แก่ ..........................................
4.3 เนื้อหา ........................................................................................... 4.4 ระยะเวลา..................................................................................... 5. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 5.1. เครื่องมือในการแก้ปัญหา/แนวทางแก้ปัญหา….. 5.2 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล…………… 6. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 7. สถิติที่ใช้และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล 8. กรอบแนวคิด • ชื่อผู้เสนอโครงการวิจัย ............................…..……….……......สวัสดี
กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหากระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนา การเขียนรายงานการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย บทนำ 1. ความสำคัญและความเป็นมา 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3. สมมุติฐานการวิจัย 4. ขอบเขตการวิจัย 5. นิยามศัพท์ 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ สำรวจ/วิเคราะห์ปัญหา/พัฒนา ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้าง กรอบความคิด การศึกษาเอกสารแนวคิด ทฤษฎีหลักการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กระบวนการวิจัย การเขียนรายงานวิจัย • กระบวนการวิจัย • วิธีดำเนินการวิจัย • ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง • เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล • วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล • วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล - ออกแบบวางแผนพัฒนานวัตกรรม - พัฒนานวัตกรรมและทดลองใช้ นำนวัตกรรมไปใช้/รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล/ผลการวิจัย สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สรุปและรายงาน
การเขียนรายงานการวิจัย 5 บท ส่วนประกอบ ส่วนที่ 1 ส่วนนำประกอบด้วย • ปกนอก • ปกใน/รองปก • คำนำ/กิตติกรรมประกาศ • บทคัดย่อ • สารบัญเนื้อเรื่องและสารบัญตาราง
ส่วนที่ 2ส่วนของเนื้อหา ประกอบด้วย บทที่ 1 บทนำ 1. ความสำคัญและความเป็นมา - กล่าวถึงสภาพการเรียนการสอนที่พึงปรารถนา หรือกล่าวถึง นโยบายการจัดการศึกษา เป้าหมาย มาตรฐานของหลักสูตร หรือ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 - กล่าวถึงสภาพปัญหาการเรียนการสอนที่ประสบ และสภาพที่ พึงปรารถนาหรือต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งเกิดจากการสำรวจและ วิเคราะห์ปัญหา ถ้ามีตัวเลข สถิติประกอบให้ระบุด้วย - สรุปแนวทางที่จะแก้ปัญหาหรือพัฒนา ต้องชี้ให้เห็นถึงเหตุผล หรือมูลเหตุจูงใจที่ทำให้ผู้วิจัยที่จะแก้ปัญหาหรือพัฒนาในเรื่องนั้นๆ พร้อมทั้งประโยชน์ที่ได้รับ ลักษณะในการเขียนต้องกระชับได้ใจความและมี ความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ***
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัยกำหนดว่าจะศึกษาอะไร กับใคร ด้วยวิธีใด ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับปัญหาในการแก้ไขหรือพัฒนา และเขียนตามลำดับความสำคัญ เช่น 1. เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับ ใจความหลังการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3. เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ***
3. สมมติฐานการวิจัย • เป็นการกล่าวถึงความคาดหวังของผู้วิจัยก่อนดำเนินวิจัยว่าเมื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้แล้ว ผลที่ได้จะเป็นอย่างไร การตั้งสมมติฐานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
4. นิยามศัพท์ มีคำบางคำในรายงานวิจัยต้องให้ความหมาย เพื่อให้ผู้วิจัยและผู้อ่านเข้าใจตรงกัน ซึ่งคำเหล่านั้นจะมีความหมายแตกต่างไปจากความหมายทั่วไป
5. ขอบเขตของการวิจัย • เป็นการกำหนดขอบเขตของการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ให้ครอบคลุมสิ่งที่จะศึกษา ได้แก่ ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง เนื้อหา ตัวแปร เวลา และสถานที่ ตัวอย่าง เช่น ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน...... กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่านจับใจความต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 10 คน ตัวแปร ตัวแปรต้น ได้แก่ ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่าน จับใจความ เวลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 สถานที่ โรงเรียน........***
6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นการกล่าวถึงผลที่ได้รับจากการวิจัยโดยตรง และประโยชน์ในการนำผลการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ไปใช้ในการเสริมสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งต้องสอดคล้องกับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เช่น • เพื่อเป็นแนวทางให้ครูได้รูปแบบและวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย • เพื่อนำความคิดเห็นของนักเรียนไปใช้ในการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงวิธีการสอน รายวิชาภาษาไทย
บทที่ 2 บทเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • การศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แนวการเขียนควรเขียนให้มีความสัมพันธ์ ผสมผสานกลมกลืนและต่อเนื่องกัน โดยแยกเป็นตอนหรือหัวข้อตามเนื้อหาที่ทำวิจัยหรือพัฒนา หลังจากได้นำเสนอแนวคิด ทฤษฎีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยต้องสรุปกรอบความคิด หลักการ แนวทาง หรือรูปแบบของนวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาด้วย ตัวอย่าง • หลักสูตรสาระการเรียนรู้ภาษาไทย • ทักษะการอ่าน • การกิจกรรมการเรียนรู้
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย • จุดเน้นของบทนี้ จะแสดงให้เห็น • ลำดับขั้นตอนของการสร้างและการพัฒนานวัตกรรม • บอกขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือ • ระบุเป้าหมายที่ใช้ในการทดลอง • รูปแบบการทดลอง • วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล • และการวิเคราะห์ข้อมูล • แนวทางในการเขียน แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ • ขั้นเตรียมการ • ขั้นดำเนินการ • ขั้นเผยแพร่
1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในการเรียน การสอน 1.2 ศึกษาเนื้อหา หลักสูตร และเอกสารต่างๆ เพื่อเลือกรูปแบบหรือวิธีการแก้ปัญหา 1.3 พัฒนารูปแบบหรือวิธีการที่จะใช้ดำเนินการแก้ปัญหา
1.4 สร้างเครื่องมือ ตรวจสอบประสิทธิภาพและคุณภาพของเครื่องมือ เพื่อให้มีมาตรฐานที่เชื่อถือได้ โดยมีหลักการดำเนินการดังนี้ • ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ • หาความเที่ยงตรงด้านเนื้อหา โดยหาค่าดัชนี ความสอดคล้อง (IOC) • หาความเป็นปรนัย คือ เครื่องมือที่ทุกคนอ่านแล้วเข้าใจง่าย มีความชัดเจนตรงกัน • และนำไปปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ • นำไปทดลองกับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง การวิจัย (Try-Out)
หาประสิทธิภาพ E1/E2 (สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 หรือ70/70) • ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (ไม่น้อยกว่า 0.80) • ค่าอำนาจจำแนก (ข้อที่มีค่าเป็นบวกเป็นข้อสอบที่มีค่าจำแนกดี ข้อสอบที่ดีมีค่าจำแนก มีค่าตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป • ความยากง่าย (มีค่า 0.50แสดงว่าข้อสอบยากง่าย ปานกลาง ถ้ามีค่ามากกว่า 0.50แสดงว่าข้อสอบง่ายขึ้นถ้าน้อยกว่า 0.50แสดงว่าข้อสอบยากขึ้น ข้อสอบที่ดี มีความยากง่ายระหว่าง 0.20 – 0.80
2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ขั้นการทดลอง 2.1.1 ระบุประชากร/กลุ่มตัวอย่าง โดยระบุวิธีการสุ่มตัวอย่าง มีขั้นตอนการสุ่มอย่างไร และบอกขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วย (อาจใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกรน) 2.1.2 การรวบรวมข้อมูล ระบุว่าใครเป็นคนเก็บข้อมูล มีวิธีการเก็บอย่างไร มีการติดตามผลการเก็บข้อมูลอย่างไร 2.1.3 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยเลือกสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ให้สอดคล้องกับสมมติฐาน ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และลักษณะของข้อมูลที่วัด
2.2 ขั้นดำเนินการแก้ปัญหา-นำนวัตกรรมที่ได้ตรวจสอบคุณภาพแล้วไปใช้ในการดำเนินการเรียนการสอน - เก็บรวบรวมข้อมูล - วิเคราะห์ข้อมูล 3. ขั้นเผยแพร่ ระบุว่ามีการเผยแพร่โดยวิธีใด มีหลักฐานการเผยแพร่อะไรบ้าง และผลการเผยแพร่เป็นอย่างไร
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์/ผลการวิจัย • การนำเสนอควรเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของ การวิจัยทีละข้อ • การนำเสนอผลการวิเคราะห์อาจนำเสนอในรูปตาราง และการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล ควรแปลเฉพาะประเด็นที่สำคัญ หรือข้อค้นพบที่เด่นๆ แปลความ เชิงสถิติเป็นหลัก ไม่ควรตีความหรือขยายความเพิ่มเติมในบทนี้
ใช้เทคนิคในการแปลผลที่เรียกว่า “ข้อมูลพูดได้” เช่น ใช้แผนภูมิ แผนภาพ ประกอบในการแปลผล ไม่จำเป็นต้องเสนอตารางที่มีตัวเลขมากๆ • ใช้ภาษาเขียนที่อ่านง่ายและเหมาะสมกับผู้อ่าน โดยแปลภาษาทางสถิติให้เป็นภาษาเขียนที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจง่าย • การเขียนหัวตาราง ต้องเขียนให้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ บอกลำดับตารางเพื่อง่ายแก่การค้นหาจากสารบัญตาราง • เสนอผลกระทบ ซึ่งเกิดจากการดำเนินการแก้ปัญหา
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การสรุปผล • นำเสนอข้อสรุป หรือค้นพบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย • ก่อนเขียนสรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะให้เขียนวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินการโดยย่อ (จากบทที่ 3) • การเขียนสรุปผล ควรสรุปสั้นๆ กระชับสอดคล้องและเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
การอภิปรายผล • เขียนเพื่อชี้แจงให้เห็นว่าผลการวิจัยที่ได้สอดคล้องหรือขัดแย้งกับหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยของผู้อื่นที่ทำไว้อย่างไร ถ้าขัดแย้งให้เสนอความคิดเห็นหรือเหตุผลหรือข้อจำกัดที่ทำให้เกิดผลเช่นนั้น ในการอภิปรายควรแยกประเด็นอภิปรายทีละประเด็น
ข้อเสนอแนะ การเขียนข้อเสนอแนะ นิยมเขียนเป็น 2 ส่วน คือ - ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ประโยชน์ เขียนให้สอดคล้องกับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับที่ระบุไว้ในบทที่ 1 - ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย เป็นข้อเสนอแนะเพื่อทำวิจัยเพิ่มเติมหรือแนวคิดที่ควรจะมีการดำเนินการในการวิจัยในระยะต่อไปว่ามีในหัวข้อใดบ้าง
ส่วนอ้างอิง • บรรณานุกรม นำเอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงในบทที่ 1-5 มารวบรวมเขียนไว้ในบรรณานุกรม และให้เขียนตามแบบมาตรฐานของการเขียนบรรณานุกรม และใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม แยกภาษาไทยและภาษาอังกฤษ • ภาคผนวก ส่วนที่เป็นรายละเอียดเพิ่มเติมที่ไม่จำเป็นต้องใส่ไว้ในส่วนของเนื้อหา นำมารวมไว้ตอนท้ายเล่ม เช่น รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ ตัวอย่างเครื่องมือ หนังสือขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เอกสารการเผยแพร่ หรืออื่นๆ (ถ้ามี) การเขียนโครงร่างงานวิจัย ประวัติผู้วิจัย
ผลงานที่ดีต้องมีคุณภาพผลงานที่ดีต้องมีคุณภาพ คุณภาพของผลงานวิชาการดูจาก: • ความถูกต้องของรูปแบบงานวิชาการนั้น ๆ ( 15 คะแนน) 2. เนื้อหาสาระของผลงาน ( 20 คะแนน) 3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ( 10 คะแนน) 4. การอ้างอิง การพิมพ์และจัดรูปเล่ม ( 5 คะแนน)
ความถูกต้องของรูปแบบผลงานวิชาการ (15 คะแนน) ผลงานวิชาการที่นำเสนอจะต้องพิถีพิถันเรื่อง ความถูกต้องของรูปแบบตามชนิดหรือประเภท ของผลงานนั้น ๆ • งานวิจัย • บทเรียนสำเร็จรูป • รายงานการประเมินโครงการ • รายงานการพัฒนาและการใช้สื่อ นวัตกรรม • อื่น ๆ
เนื้อหาสาระของผลงานวิชาการ(20 คะแนน) • มีความถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างครบถ้วน • เนื้อหาทันสมัย มีความเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน • อ้างอิงได้ถูกต้อง เชื่อถือได้ • เรียบเรียงเนื้อหาได้ถูกต้องตามหลักภาษา • มีการจัดเรียงหัวข้อ เนื้อหาเป็นระบบเดียวกันทั้งหมด • ลำดับเนื้อเรื่องได้อย่างเหมาะสม สอดคล้อง
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในผลงานวิชาการ(10 คะแนน) • ไม่ลอกเลียนแบบ หรือเนื้อหาสาระจากผลงานวิชาการของบุคคลอื่น • แสดงให้เห็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการนำเสนองานในรูปแบบที่อ่านเข้าใจง่าย การจัดวางรูปภาพ แผนภูมิ ตาราง และสาระน่ารู้มีความเหมาะสม สอดคล้อง มีการนำเสนอ และสะท้อนประเด็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนที่ตกตะกอนในชิ้นงานอย่างต่อเนื่อง • มีการสอดแทรกเนื้อหาสาระที่ทันสมัย และเป็นประโยชน์ รวมทั้งมีการนำเสนอรูปแบบ เทคนิค วิธีการ แนวทางปฏิบัติการสอนใหม่ ๆ
การอ้างอิงและบรรณานุกรม(5คะแนน)การอ้างอิงและบรรณานุกรม(5คะแนน) การอ้างอิงถูกต้องตามหลักการอ้างอิงมีรูปแบบเป็นแนวเดียวกันตลอดทั้งเล่ม กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วยSPSS for Windows.กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด, 2546. ประคอง กรรณสูต.สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
การพิมพ์และการจัดรูปเล่มการพิมพ์และการจัดรูปเล่ม • จัดพิมพ์เป็นระเบียบ สวยงามน่าอ่าน น่าหยิบจับมาศึกษา • จัดวางรูปเล่มถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น ต้องมีปกหน้า ปกหลัง ใบรองปก คำนำ สารบัญ บัญชีตาราง/แผนภูมิ เนื้อหา บรรณานุกรม และภาคผนวก • คำนึงถึงความถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น การพิมพ์ การเรียงลำดับหัวข้อ การย่อหน้า การจัดพิมพ์ตาราง การเลือกใช้ชนิดและขนาดของตัวอักษร เชิงอรรถ บรรณานุกรม เป็นต้น