240 likes | 482 Views
งานนำเสนอเรื่อง. วัดศรีสวาย. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. จัดทำโดย. 5. น.ส. เพ็ญจิรา งามสง่า 6. น.ส. อาภาวรรณ กองมณี 7. นาย จักรพันธุ์ กาพย์แก้ว. 1. น.ส. กมลรส ทำจ้อม 2. น.ส. ศุภาวรรณ ซุยกระเดื่อง 3. น.ส. ธัญชนก พิมพ์บึง 4. น.ส.วนิดา นามบ้านเหล่า
E N D
งานนำเสนอเรื่อง วัดศรีสวาย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
จัดทำโดย 5. น.ส. เพ็ญจิรา งามสง่า 6. น.ส. อาภาวรรณ กองมณี 7. นาย จักรพันธุ์ กาพย์แก้ว 1. น.ส. กมลรส ทำจ้อม 2. น.ส. ศุภาวรรณ ซุยกระเดื่อง 3. น.ส. ธัญชนก พิมพ์บึง 4. น.ส.วนิดา นามบ้านเหล่า ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เสนอ แม่ครู อรวรรณ กองพิลา รายวิชา ประวัติศาสตร์ โรงเรียนฝางวิทยายน
วัดศรีสวาย ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นวัดที่มีศิลปะแบบขอม สร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 เดิมเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ มีพระปรางค์สามยอดเป็นประธาน ลักษณะเป็นรูปกลีบขนุน ประดับด้วยปูนปั้นรูปครุฑยุดนาค นางอัปสรและลายดอกไม้จีน ด้านหน้าพระปรางค์เป็นที่ตั้งของพระวิหาร ซึ่งมีระเบียงคดล้อมองค์พระปรางค์และพระวิหาร ด้านหลังโบราณสถานมีสระน้ำ เรียกว่า สระลอยบาป
ครุฑยุดนาค ครุฑมีจุดกำเนิดเดิมในศาสนาฮินดู เป็นเทพพาหนะของพระนารายณ์
ลักษณะของครุฑที่วัดศรีสวายลักษณะของครุฑที่วัดศรีสวาย
สระลอยบาป ตั้งอยู่ด้านหลังพระปรางค์ทั้งสาม เดิมใช้เป็นสถานที่ทำพิธีลอยบาปหรือล้างบาปตามความเชื่อลัทธิพราหมณ์
วัดศรีสวาย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย วัดศรีสวาย มีโบราณสถานสำคัญที่ตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ประกอบด้วยปรางค์ 3 องค์ รูปแบบศิลปะลพบุรี ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียว ตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ ลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน
วัดศรีสวาย เป็นศาสนสถานแบบขอมโบราณ ในคติวัชรยาน สามยอด หมายถึง พระไตรรัตนมหายานแต่จริง ๆ ไม่เกี่ยวกับมหายานเลยปรางค์กลาง หมายถึง พระอาทิพุทธ หรือ พระวัชรสัตว์หรือพระอมิตาภะปรางค์ข้าง คือ พระอวโลกิเตศวร (อละปรัชญาปารมิตา) พลังอำนาจและปัญญา ที่เฉียบคมดั่งวัชระลักษณะเดียวกันอยู่ที่ปรางค์สามยอด ลพบุรีหลังจากศาสนาวัชรยานหมดความนิยมวัดศรีสวายก็ได้กลายมาเป็น พระธาตุ ในคติมหายาน และ เถรวาทลังกาวงศ์ในสมัยสุโขทัย
ครั้งเมื่อสำรวจวัดได้มีการพบ รูปพระอิศวร และหินจำหลัก ทับหลังพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ รูปพระนารายณ์สี่กรและชิ้นส่วนของเทวรูปและลึงค์ทำด้วยสำริด ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ลักษณะเด่นของวัดศรีสวายลักษณะเด่นของวัดศรีสวาย ปูนปั้นรูปครุฑยุดนาค และนางอัปสร ครุฑยุดนาค ประดับอยู่ระหว่างนางอัปสรทั้งสอง บริเวณกลางพระปรางค์ของแต่ละด้านประดับด้วยกรอบหน้านาง ซึ่งเป็นรูปนาคซ้อนกันเป็นชั้นอย่างสวยงาม
ลักษณะของลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน ปูนปั้นที่บูรณะใหม่ ลักษณะลวดลายปูนปั้น
ได้มีการพบทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ที่แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน แล้วแปลงเป็นพุทธสถานโดยต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้า แล้วเป็นวัดในพุทธศาสนาภายหลัง รูป ฐานโยนี รองรับศิวลึงค์
พระปรางค์ ภายในพระปรางค์มีงานจิตรกรรมฝาผนัง เป็นภาพลายเส้น แสดงรูปคนยืนพนมมือ ซึ่งค่อนข้างเลือนลาง ภายในพระวิหาร มีฐานชุกชีเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน
ผนังด้านข้างพระวิหาร ผนังด้านข้างพระวิหาร เป็นผนังก่ออิฐถือปูน มีช่องลมก่อด้วยอิฐ ช่องเว้นช่องเพื่อระบายอากาศ
ซุ้มบันแถลง ทางเข้าพระวิหาร บริเวณหน้าทางเข้าพระวิหาร มีซุ้มบันแถลงทั้งสาม ล้อกันไปกับจำนวนของพระปรางค์ ก่อไว้เหนือประตูทางเข้า โดยด้านข้างทั้งสองเป็นผนังทึบ
ประวัติของวัดศรีสวาย วัดศรีสวาย เดิมเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ลักษณะเป็นปรางค์สามยอดแบบขอมมีคูน้ำล้อมรอบปรางค์สามองค์ โบราณสถานดังกล่าวนี้มีที่มาจากทรงปราสาทแบบขอม แต่ได้รับการดัดแปลงแตกต่างจากต้นแบบ เช่นส่วนประดับของปราสาทขอมที่เรียกว่า บันแถลง
ปรางค์วัดศรีสวายจึงแตกต่างจากปรางค์สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีต้นแบบจาก ปรางค์ในศิลปะขอมและคล้ายคลึงแบบขอมมากกว่าปรางค์ในแบบของช่างสุโขทัย
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย ทรงพบรูปพระอิศวรและและโบราณวัตถุหินจำหลักเป็นทับหลังรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ รูปพระนารายณ์สี่กร และชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ทำด้วยสำริด จึงทรงสันนิษฐานว่า วัดศรีสวายนี้คงเป็นสถานที่พวกพราหมณ์ใช้ทำพิธีโล้ชิงช้า (ตรียัมปวาย) แต่ต่อมาเมื่อคนไทยเข้ามาครอบครองกรุงสุโขทัย วัดนี้จึงถูกดัดแปลงให้เป็นวัดทางพระพุทธศาสนา
แหล่งอ้างอิง • www.SiamFreestyle.com • www.oknation.net/blog/saleman • http://www.oknation.net/blog/print.php?id=43415