300 likes | 608 Views
บทที่ 10. ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญและแนวทางแก้ไข. ภาวะเงินเฟ้อ ( Inflation ). หมายถึงภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยทั่วไปสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง. วัดจาก. Consumer Price Index : CPI (ดัชนีราคาขายปลีกหรือดัชนีราคาผู้บริโภค). 2. Wholesale Price Index : WPI (ดัชนีราคาขายส่ง).
E N D
บทที่ 10 ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญและแนวทางแก้ไข
ภาวะเงินเฟ้อ ( Inflation ) หมายถึงภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยทั่วไปสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง วัดจาก • Consumer Price Index : CPI • (ดัชนีราคาขายปลีกหรือดัชนีราคาผู้บริโภค) 2. Wholesale Price Index : WPI (ดัชนีราคาขายส่ง) 3.GDP deflator
สูตรคำนวณ อัตราเงินเฟ้อ = ระดับราคาปีนี้ – ระดับราคาปีก่อน ระดับราคาปีก่อน X 100 เช่นถ้าปี 2552 มีอัตราเงินเฟ้อ 3 % แสดงว่าปี 2552 มีดัชนีราคาผู้บริโภคสูงกว่าปี 2551 อยู่ 3%
ขนาด ( ระดับ ) ของภาวะเงินเฟ้อ 1. เงินเฟ้ออย่างอ่อน * ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นอย่างช้าๆ * จูงใจให้ผู้ผลิตขยายการผลิต * โดยทั่วไปถือว่าเป็นสถานการณ์ปกติ เป็นบรรยากาศที่ดี 2. เงินเฟ้ออย่างรุนแรง *ระดับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว *ประชาชนเดือดร้อนจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น *เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ
ชนิดของเงินเฟ้อ(แยกตามสาเหตุ)ชนิดของเงินเฟ้อ(แยกตามสาเหตุ) • เงินเฟ้อที่เกิดจากด้านอุปสงค์ เรียกอุปสงค์ฉุด (Demand Pull Inflation) • เงินเฟ้อที่เกิดจากด้านอุปทาน เรียกต้นทุนผลัก (Cost push Inflation)
1. เงินเฟ้อจากอุปสงค์ฉุด สาเหตุ อุปสงค์มวลรวม(AD)เพิ่มขึ้น แต่อุปทานมวลรวม(AS)คงที่ คือเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน เพราะ • การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน • การเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายรัฐบาล • การเพิ่มขึ้นของการส่งออก
ส่งผลโดยตรง M คนมีอำนาจซื้อ,ใช้จ่าย AD P ส่งผลทางอ้อม M r I AD P AD = C + I + G + ( X-M)
1. เงินเฟ้อที่เกิดจากด้านอุปสงค์ ก.เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์ฉุด P AS เงินเฟ้อรุนแรง P4 3 AD4 P3 AD3 2 P2 1 เงินเฟ้อ แบบอ่อนๆ AD2 P1 AD1 AD0 Y 0 Yf
1. เงินเฟ้อจากอุปสงค์ฉุด ผลจากรูป • ราคาสินค้าสูงขึ้น จนเกิดภาวะเงินเฟ้อ 2 ช่วงคือ • ถ้าการผลิตอยู่ต่ำกว่าระดับการจ้างงานเต็มที่ จะทำให้ราคาสินค้าเพิ่มไม่มากนักเพราะปริมาณสินค้าเพิ่มขึ้นด้วย • เรียกเงินเฟ้อแบบอ่อนๆ • ถ้าอยู่ภาวะระดับการจ้างงานเต็มที่ จะทำให้ราคาสินค้าเพิ่มมากเพราะมีการใช้ปัจจัยการผลิตเต็มที่แล้ว การผลิตสินค้าจึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทำให้สินค้าขาดแคลนเรียกเงินเฟ้อที่แท้จริงหรือเงินเฟ้อรุนแรง
2. เงินเฟ้อจากต้นทุนผลัก อุปทานมวลรวม(AS)ลดลง แต่อุปสงค์มวลรวม(AD)คงที่ คือเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน สาเหตุ หลักการ ผู้ผลิตมีต้นทุนลดการผลิตAS Pเงินเฟ้อ
สาเหตุที่ต้นทุนสูงขึ้นสาเหตุที่ต้นทุนสูงขึ้น • เงินเฟ้อเพราะค่าจ้างที่เป็นตัวเงินสูงขึ้น • หรือราคาปัจจัยการผลิตสูงขึ้น การที่ค่าครองชีพ แรงงานขอขึ้นค่าจ้างต้นทุน ข. เงินเฟ้อเพราะผู้ผลิตต้องการกำไรมากขึ้น ผู้ผลิตต้องการกำไร ตั้งราคาไว้สูงขึ้น
2. เงินเฟ้อจากต้นทุนเพิ่ม AS ราคา E3 P3 AS3 E2 P2 E1 P1 AD AS2 AS1 ผลผลิต 0 Qf Q3 Q2
ผลกระทบของเงินเฟ้อ ไม่เป็นธรรม 1. ผลกระทบต่อการกระจายรายได้ ผู้ได้รับประโยชน์ - พ่อค้านักธุรกิจ - ลูกหนี้ - นักเก็งกำไร ผู้เสียประโยชน์ - ผู้มีรายได้ประจำเช่นข้าราชการ - ผู้มีค่าจ้างรายวัน - เจ้าหนี้
ผลกระทบของเงินเฟ้อ 2. ผลทางด้านดุลการชำระเงิน การที่ราคาในประเทศสูงราคาส่งออกสูงแข่งขันในตลาดโลกไม่ได้ สนใจซื้อสินค้านำเข้าที่มีราคาถูกกว่ามากขึ้น ผลคือ -การส่งออกน้อยลง -การนำเข้าสูงขึ้น -ดุลการค้ามีแนวโน้มขาดดุล -ดุลการชำระเงินอาจขาดดุล -ค่าเงินในประเทศอ่อนตัวลง
ผลกระทบของเงินเฟ้อ 3. ผลกระทบต่อการผลิตและการลงทุน เงินเฟ้ออย่างอ่อน(ภาวะต่ำกว่าการจ้างงานเต็มที่) ถือว่าดีเพราะผู้ผลิตจะเกิดแรงจูงใจในการขยายการผลิต เงินเฟ้อรุนแรง(ภาวะการจ้างงานเต็มที่) -ค่าเงินลดลง(รายได้ที่แท้จริงหรืออำนาจซื้อลดลง) -เงินไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และอาจเข้าสู่ระบบใช้ของแลกของ -ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการถือเงินสด สะสมสินทรัพย์อื่น -เงินออมของประเทศลดลง -การลงทุนจะลดลง ,การจ้างงานลดลง ส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ
ผลกระทบของเงินเฟ้อ 4. ผลกระทบต่อรายได้และรายจ่ายของรัฐบาล • การเก็บภาษีมีแนวโน้มเก็บได้มากขึ้น • (รายได้ประชาชนสูงขึ้นจากการขยายการผลิตและจ้างงาน) (กรณีเงินเฟ้ออย่างอ่อน) • -รัฐมีรายจ่ายน้อยลง • ได้ประโยชน์ในฐานะที่รัฐบาลเป็นลูกหนี้
ต้องทำให้AD การแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ 1. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (Restrictive Monetary Policy) * เพื่อลดปริมาณเงิน * โดย : ขายพันธบัตร, เพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย เพิ่มอัตราดอกเบี้ย , เพิ่มอัตราซื้อลด 2. นโยบายการคลังแบบเกินดุลหรือหดตัว (contractionary fiscal policy) 2.1 ลดการใช้จ่ายของรัฐ 2.2 เพิ่มภาษี
ภาวะเงินฝืด ( Deflation) หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไป ลดลงเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง สาเหตุ - การขาดกำลังซื้อที่เพียงพอ - การผลิตสินค้าและบริการที่มากเกินความต้องการ เกิดอุปทานส่วนเกิน คือ AD < AS AD ต่ำ ผู้ผลิตลดราคาลดการผลิตเกิดการว่างงาน ภาวะการค้าและธุรกิจฝืดเคือง จนต้องเลิกกิจการ
ต้องทำให้AD การแก้ไขภาวะเงินฝืด เพิ่มปริมาณเงิน 1.ใช้นโยบายการเงิน แบบขยายตัว (expansionary monetary policy ) เช่น -ซื้อพันธบัตร -ลดอัตราเงินสดสำรอง -ลดอัตราดอกเบี้ย -ลดอัตราซื้อลด -ธ.พ.ปล่อยสินเชื่อมากขึ้น 2. ใช้นโยบายการ คลังแบบขาดดุล ( deficit budget ) เช่นเพิ่มการใช้จ่ายของ รัฐและลดเก็บภาษี ( ตรงข้ามกับกรณีภาวะเงินเฟ้อ) ผลกระทบ
ปัญหาการว่างงาน ( Unemployment ) การว่างงาน หมายถึง ภาวะที่บุคคลที่อยู่ในวัยแรงงาน ( อายุ13 ปีขึ้นไป ) มีความสามารถและมีความเต็มใจทำงาน แต่กลับไม่สามารถที่จะหางานทำได้ เราเรียกการว่างงานในกรณี นี้ว่า การว่างงานโดยไม่สมัครใจ(Involuntary unemployment) ส่วนการว่างงานในกรณีที่สมัครใจไม่ทำงาน หรือรองานที่ ต้องการ ปฏิเสธการทำงานที่ต่ำกว่าความรู้ความสามารถ เรียกว่า การว่างงานโดยสมัครใจ(Voluntary unemployment)
ประเภทของการว่างงาน การว่างงานโดยเปิดเผย(open unemployment) การว่างงานแอบแฝง( Disguised unemployment)
ประเภทของการว่างงาน การว่างงานโดยเปิดเผย(open employment) 1. การว่างงานชั่วคราวด้วยเหตุต่างๆ (Frictional unemployment) เช่น รอบรรจุงาน ,รอเปลี่ยนงาน , โยกย้ายภูมิลำเนา รวมถึงการขาดข้อมูลข่าวสาร 2.การว่างงานตามฤดูกาล ( Seasonal unemployment) เช่น เกษตรกร , คนงานก่อสร้าง 3. การว่างงานเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ( Structural unemployment) เช่น เปลี่ยนกรรมวิธีการผลิต , เปลี่ยนรสนิยม
ประเภทของการว่างงาน 4. การว่างงานเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ( Technological unemployment) เช่น ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มีการนำเครื่องจักรมาใช้แทนคน 5. การว่างงานเนื่องจากวัฏจักรเศรษฐกิจ ( Cyclical unemployment) เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตกต่ำ(การลงทุนลด,ว่างงานมาก)
การว่างงานแอบแฝง หมายถึงภาวะที่บุคคลนั้นทำงานอยู่ แต่ทำงานต่ำกว่าระดับความรู้ความสามารถ หรือมีชั่วโมงการทำงานน้อยเกินไป
ผลกระทบของการว่างงาน • รายได้ประชาชาติ การออม การบริโภคและ การลงทุน • 2. การกระจายรายได้ ไม่ทั่วถึง,มีหนี้สินมาก,เหลื่อมล้ำของรายได้ 3. งบประมาณของรัฐ รายได้จากการเก็บภาษี รัฐช่วยเหลือคนว่างงาน T G ขาดดุลงบประมาณมากขึ้น 4. สังคมและการเมือง เกิดปัญหาสังคม,การเมืองผันผวน
การแก้ไขปัญหาการว่างงานการแก้ไขปัญหาการว่างงาน 1. ลดการว่างงานชั่วคราว โดย :ให้ข้อมูลข่าวสาร จัดนัดพบแรงงาน 2. ลดการว่างงานตามฤดูกาล โดย :จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้สามารถประกอบ อาชีพได้ตลอดปี ส่งเสริมอาชีพ 3. ลดการว่างงานที่เกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดย: อบรม พัฒนาทักษะแรงงานให้สามารถรองรับ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปได้ 4. ลดการว่างงานที่เกิดจากอุปสงค์รวมน้อยเกินไป เช่นช่วงเศรษฐกิจซบเซา โดย:ใช้นโยบายเงินและคลังขยายตัว กระตุ้นเศรษฐกิจ