1 / 22

บทที่ 12 รายได้ประชาชาติ (National Income)

บทที่ 12 รายได้ประชาชาติ (National Income). ผลตอบแทนปัจจัยการผลิต (ค่าเช่า, ดอกเบี้ย, ค้าจ้าง ,กำไร). ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน, ทุน, แรงงาน, ผู้ประกอบการ). ผู้บริโภค. ผู้ผลิต. สินค้าและบริการ. ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าแล ะ บริการ. รายได้ประชาชาติคืออะไร ?.

awen
Download Presentation

บทที่ 12 รายได้ประชาชาติ (National Income)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 12 รายได้ประชาชาติ (National Income)

  2. ผลตอบแทนปัจจัยการผลิต (ค่าเช่า, ดอกเบี้ย, ค้าจ้าง ,กำไร) ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน, ทุน, แรงงาน, ผู้ประกอบการ) ผู้บริโภค ผู้ผลิต สินค้าและบริการ ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ

  3. รายได้ประชาชาติคืออะไร ? • กระแสการหมุนเวียนของการใช้จ่ายและการผลิต เป็นตัวชี้วัดระดับ กิจกรรมทางเศรษฐกิจคือการผลิตและบริโภค • ถ้าการหมุนเวียนของการใช้จ่ายและการผลิตมาก ก็จะทำให้เกิดรายได้ประชาชาติมากขึ้น • คือมูลค่าหรือผลรวมของรายได้ประเภทต่างๆ ที่พลเมืองของระบบเศรษฐกิจได้รับเนื่องจากการมีส่วนร่วมในการผลิตสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาหนึ่ง

  4. การคำนวณรายได้ประชาชาติการคำนวณรายได้ประชาชาติ • Product Approach เป็นการคำนวณด้านผลผลิต คือ มูลค่าที่แท้จริงของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่พลเมืองของประเทศผลิตขึ้นในระบบเศรษฐกิจภายในรอบระยะเวลาหนึ่ง • Income Approach เป็นการคำนวณด้านรายได้ คือ รายได้ทั้งหมดที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับในรอบระยะเวลาหนึ่ง • Expenditure Approach เป็นการคำนวณด้านรายจ่าย คือ รายจ่ายรวมที่หน่วยเศรษฐกิจใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ (คำนวณโดย สศช. ตามระบบขององค์การสหประชาชาติ)

  5. ประโยชน์ของการศึกษาเรื่องรายได้ประชาชาติประโยชน์ของการศึกษาเรื่องรายได้ประชาชาติ • ทำให้รู้สถานการณ์ของประเทศ เนื่องจากรายได้เป็นดัชนีชี้วัดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ • ใช้เทียบมาตรฐานการครองชีพของประชาชน เช่น ระดับราคาสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหรือไม่ • เป็นเครื่องวัดความสำเร็จของนโยบายต่างๆ ของรัฐ และใช้ในการวางแผนกำหนดนโยบายในอนาคต • ทำให้รู้โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศว่า มีรายได้มาจากด้านใด และใช้จ่ายไปในด้านใดบ้าง • ใช้เปรียบเทียบระดับความเจริญเติบโต และมาตรฐานการครองชีพกับประเทศอื่นๆ

  6. ประเภทของรายได้ประชาชาติประเภทของรายได้ประชาชาติ • ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product : GDP) • ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product : GNP) • ผลิตภัณฑ์ประชาติสุทธิ (Net National Product : NNP) • รายได้ประชาชาติ (National Income : NI) • รายได้ส่วนบุคคล (Personal Income : PI) • รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (Disposible Income : DI)

  7. 1. Gross National Product : GNP ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น • มูลค่าตามราคาตลาด (Market Price) ในปัจจุบันของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตขึ้นด้วยทรัพยากรของประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่ง (Pmarket x Q) เช่น GNP ของไทย คือผลรวมมูลค่าผลผลิต ที่คนไทยผลิตได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ณ ราคาตลาดในปีนั้นๆ

  8. 2. Gross Domestic Product : GDPผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น • มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นในประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่ง เช่น GDP ของไทย คือ มูลค่าผลผลิตที่ชาวไทยและชาวต่างประเทศผลิตขึ้นได้ ในประเทศ • GDP = GNP - F โดย F = รายได้สุทธิจากต่างประเทศ • ถ้าไม่มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากร GDP = GNP • ! GDP ไม่สะท้อนความมั่งคั่งของประเทศเพราะไม่รวมรายได้จากการใช้ทรัพยากรของไทยในประเทศอื่น

  9. 3. Net National Product : NNPผลิตภัณฑ์ประชาติสุทธิ • มูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่คิดตามราคาตลาดในรอบระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งหักค่าเสื่อมราคาของการใช้ทุนออกแล้ว • ค่าเสื่อมราคาการใช้ทุน (Capital Consumption Allowance : CCA) • ค่าเสื่อมราคา (Depreciation)** • ค่าเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต (Equipment) ที่ชำรุด • ค่าทรัพย์สินสูญหาย (Accidental Damage) • NNP = GNP – CCA • ทำให้ทราบว่าแต่ละปีประเทศหนี่งสามารถผลิตสินค้าได้เพิ่มขึ้นสุทธิเป็นจำนวนเท่าใด

  10. 4. National Income : NIรายได้ประชาชาติ • ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิที่คิดตามราคาปัจจัยการผลิต (NNP at factor costs) • NI = NNP at Market Price - Indirect Tax

  11. 5. Personal Income : PIรายได้ส่วนบุคคล • รายได้ส่วนบุคคลทั้งหมดก่อนหักภาษีเงินได้ส่วนบุคคล • PI = NI - กำไรที่กันไว้ขยายกิจการ - ภาษีเงินได้นิติบุคคล + เงินโอน • เงินโอน เป็นรายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการผลิตแต่เป็นการโอนอำนาจซื้อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง เช่น เงินที่รัฐจ่ายให้ผู้ได้รับความช่วยเหลือ เงินสงเคราะห์คนชรา เงินชดเชยการว่างงาน เงินทำบุญ เงินมรดก

  12. 6. Disposible Income : DI รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ • รายได้ส่วนบุคคลที่ได้รับมาหักด้วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • DI = PI - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • แสดงถึงอำนาจซื้อและความสามารถในการออมของบุคคล

  13. GDP + (F) GNP - CCA NNP - (Indirect Tax) NI - ภาษีเงินได้นิติบุคคล - กำไรที่ธุรกิจกันไว้ขยายกิจการ + เงินโอน (จากรัฐและเอกชน) PI - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา DI - C S

  14. รายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงินและรายได้ประชาชาติที่แท้จริง (Money GNP and Real GNP) • รายได้ประชาชาติในปี 2548 มีมูลค่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ เกิดจากผลผลิต 50,000 ชิ้น ณ ระดับราคาเฉลี่ย 10 ดอลลาร์ • รายได้ประชาชาติในปี 2549 มีมูลค่า 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ • รายประชาชาติเพิ่ม แต่ประเทศมีการเจริญเติบโตจริงหรือ? Ans. ประเทศจะเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพต้องมีการผลิตการลงทุน • ดังนั้น การวัดปริมาณผลผลิตที่แท้จริง ต้องเทียบจากการายได้ที่แท้จริงที่ขจัดการเปลี่ยนแปลงของราคาออกไป

  15. รายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงินและรายได้ประชาชาติที่แท้จริง (Money GNP and Real GNP) • Real GNP = Money GNP * ดัชนีราคาปีฐาน ดัชนีราคาปีเดียวกัน • Real GNP = Money GNP * 100 ดัชนีราคาปีเดียวกัน Ex รายได้ประชาชาติตามราคาปี 2549 (Money GNP) = 30,000 ล้านบาท ดัชนีราคาปี 2549 = 120 Real GNP = 30,000 * 100 120 = 25,000 ล้านบาท

  16. รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล (Per Capita Income) รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลต่อปี = Real GNP จำนวนประชากร • เปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ • เนื่องจากแต่ละประเทศมีจำนวนประชาการต่างกัน

  17. การคำนวณรายได้ประชาติ 3 วิธี Product Approach Income Approach Expenditure Approach

  18. วิธี Product Approach คำนวณจากผลผลิตขั้นสุดท้ายที่ผลิตได้จากสาขาการผลิตต่างๆ ในรอบระยะเวลาหนึ่ง NI = GNP – CCA – IT มีการคำนวณ 2 วิธี • คำนวณจากผลผลิตขั้นสุดท้าย (Final Product) • เป็นการหาผลรวมของสินค้าขั้นสุดท้าย (Final Product) หรือสินค้าที่ซื้อไปเพื่อบริโภค โดยตรงในรอบระยะเวลาหนึ่ง • ไม่รวมสินค้าขั้นกลาง (Intermediate Product) หรือซื้อเพื่อเป็นวัตถุดิบเพราะจะเกิดการนับซ้ำ • ทางปฏิบัติ สินค้าชนิดเดียวกันอาจเป็นได้ทั้ง Final Product และ Intermediate Product • คำนวณจากมูลค่าเพิ่ม (Value Added) • คำนวณหาผลรวมของมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการผลิตในแต่ละขั้น เพื่อขจัดปัญหาการนับซ้ำ

  19. คำนวณจากมูลค่าเพิ่ม (Value Added) *** ข้อสมมุติ : Value Added ต้องเกิดขึ้นทุกขั้นการผลิต

  20. วิธี Income Approach • คำนวณจากผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิต ในการผลิตสินค้าและบริการทั้งหมดของประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่ง GNI = Wage + Rent + Interest + Profit NI = GNI - CCA - IT • รายการที่ไม่นำมาคำนวณรายได้ประชาชาติ • เงินโอน (Transfer Payment) • กำไรจากการขายสินทรัพย์ (Capital Gain) • รายได้ผิดกฎหมาย (Illegal Activities)

  21. วิธี Expenditure Approach • คำนวณจากรายจ่ายทั้งหมดในการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนในประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท • รายจ่ายจากการอุปโภคบริโภคของเอกชน (Personal Consumption Expenditure : C) • รายจ่ายในการลงทุนภาคเอกชน (Gross Private Domestics Investment : I) • รายจ่ายของรัฐบาล (Government Expenditure : G) • การส่งออกสุทธิ (Net Export : X-M) • GNE = C + I + G + (X - M) NI = GNE - CCA - IT

  22. ข้อบกพร่องของรายได้ประชาชาติข้อบกพร่องของรายได้ประชาชาติ • ไม่ได้รวมสินค้าขั้นสุดท้ายที่ผลิตได้จริงทั้งหมด • ไม่ได้คำนึงถึงการพักผ่อนหย่อนใจ • ปัญหาการนับซ้ำ • วัดแต่ปริมาณสินค้าเท่านั้น • มิได้แสดงการกระจายรายได้ • มิได้คำนึงถึงผลกระทบทางสังคมจากการผลิต

More Related