120 likes | 208 Views
ปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่. การตั้งค่าระบบพิกัด และการตั้งค่าชุดของค่าคงที่ ( Map Datum ) การบันทึกค่าพิกัดตำแหน่งในขณะที่ดาวเทียมรับสัญญาณไม่เพียงพอ การบันทึกค่าพิกัดตำแหน่งในขณะที่เครื่อง GPS รับสัญญาณนานไม่เพียงพอ สิ่งแวดล้อมในบริเวณรับสัญญาณ
E N D
ปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ ปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ • การตั้งค่าระบบพิกัด และการตั้งค่าชุดของค่าคงที่ (Map Datum) • การบันทึกค่าพิกัดตำแหน่งในขณะที่ดาวเทียมรับสัญญาณไม่เพียงพอ • การบันทึกค่าพิกัดตำแหน่งในขณะที่เครื่อง GPS รับสัญญาณนานไม่เพียงพอ • สิ่งแวดล้อมในบริเวณรับสัญญาณ • ประสิทธิภาพของเครื่อง GPS • ประสบการณ์ ความรู้ ของผู้เก็บข้อมูล และกรอกข้อมูล
แบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลและอุปกรณ์สำหรับจดบันทึกข้อมูลแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลและอุปกรณ์สำหรับจดบันทึกข้อมูล (ดินสอ,ปากกา) ถ่านไฟฉายขนาด AA จำนวน 2 ก้อน และถ่านสำรองอย่างน้อย 1 ชุด ควรมีการวางแผนเส้นทาง ในการสำรวจพื้นที่เพื่อประหยัด งบประมาณและระยะเวลา
ข้อควรระวังในการใช้งานเครื่อง GPS ควรตรวจสอบแบตเตอรี่ก่อนการใช้งาน และควรมีการเตรียมแบตเตอรี่สำรองไว้เสมอ ผู้ใช้งานควรจะอยู่ในที่โล่งแจ้ง ไม่ควรอยู่ใต้ร่มไม้ หรือในอาคารต่าง ๆ ที่จะเป็นสิ่งบดบังสัญญาณจากดาวเทียม เพื่อให้เครื่อง GPS รับสัญญาณดาวเทียมได้ดี การใช้เครื่อง GPS ต้องคำนึงถึงสภาพอากาศ ควรใช้เครื่อง GPS ในวันที่อากาศแจ่มใส ท้องฟ้ามีเมฆน้อย ไม่ควรใช้งานในวันที่มีเมฆมาก เพราะจะทำให้เครื่อง GPS ไม่สามารถค้นหาหรือรับสัญญาณดาวเทียมได้ ในการจัดเก็บข้อมูลแต่ละครั้งควรรอให้เครื่อง GPS รับสัญญาณดาวเทียมตั้งแต่ 4 ดวง ขึ้นไป
การ SET UP เครื่อง GPS ก่อนใช้งานต้องทำการตั้งค่าการใช้งานของเครื่องให้ถูกต้องตรงกับข้อมูลการใช้งานจริงก่อนเสมอ เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตได้ออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้ทั่วโลก แต่เนื่องจากข้อมูลบางอย่างของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นต้องตั้งค่าการใช้งานของเครื่อง ก่อนเสมอ มิฉะนั้นการกำหนดตำแหน่งหรือ หาค่าพิกัด อาจเกิดความผิดพลาดได้ สำหรับข้อมูลที่สำคัญที่ต้องทำการตั้งค่าก่อนใช้งาน (SET UP) ได้แก่
การ SET UP เครื่อง GPS การตั้งค่าเวลา (Time) ระบบเวลา (Time Format) ประเทศไทยใช้เป็นระบบ 24 ชั่วโมง Time Zone ประเทศไทยต้องกำหนดเวลาท้องถิ่นซึ่งมีค่าเป็น +07.00 Ahead of UTC ที่ตัวเครื่อง GPS
การตั้งค่าตำแหน่งพิกัดค่าคงที่ (Map Datum) ตั้งค่าระบบพิกัดเป็น UTM และตั้งค่า Map Datum เป็น WGS-84 ซึ่งเป็นมาตรฐานของกรมประมง รูปแบบตำแหน่ง (Position Format) เลือกเป็น ระบบ UTM/UPS ซึ่งเป็นค่าพิกัด (X,Y) เป็นตัวเลขสิบหลัก ตามแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ที่ใช้งานทั่วไป การตั้งค่าหน่วยวัด ทำการตั้งค่าเป็น METERS ทั้งหมด การตั้งค่าทิศเหนือ (North Reference) ทำการตั้งค่าให้เป็น True (ทิศเหนือจริง)
ข้อควรจำ ค่าพิกัด X คือ Easting (E) / Longitude ค่าพิกัด ประกอบด้วยตัวเลขจำนวน 6 หลัก ค่าพิกัด Y คือ Northing (N) / Latitude ค่าพิกัด ประกอบด้วยตัวเลขจำนวน 6 - 7 หลักขึ้นอยู่กับพื้นที่ ตัวเลขแสดงโซนที่ตั้งตามระบบพิกัด UTM ที่แสดงพื้นที่ในการเก็บข้อมูลว่าอยู่ในเขต UTM โซน 47 หรือ 48 นั้น ไม่ต้องกรอกลงในตาราง (โดยส่วนใหญ่พบว่า มักกรอกข้อมูลผิดพลาด เช่น ค่า พิกัด X คือ 456031 โดยส่วนมากมักกรอกข้อมูลเป็น 47 P 456031 ซึ่งไม่ถูกต้อง) ตัวเลขที่ใช้ในการกรอกข้อมูลต้องเป็นตัวเลขอารบิก (Arabic numerals) เท่านั้น หัวข้อของข้อมูลเชิงบรรยาย เช่น ชื่อ (Name), ที่อยู่ (Address), ประเภท (Type) ฯลฯ ในการกรอก ข้อมูลให้กรอกข้อมูลทั้งหมดต้องสิ้นสุดในบรรทัดเดียวเท่านั้น ไม่ควรขึ้นบรรทัดใหม่ ตารางที่ใช้กรอกข้อมูลไม่ควรทำการรวมเซลล์หรือการผสานเซลล์ทั้งส่วนที่เป็นคอลัมน์ (Column) และแถว (Row)
ติดต่อกลุ่มภูมิสารสนเทศประมงติดต่อกลุ่มภูมิสารสนเทศประมง อาคารปรีดากรรณสูต ชั้น ๕ เกษตรกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์. ๐๒-๕๕๘-๐๑๔๔ ภายใน ๑๓๕๐๘ โทรสาร. ๐-๒๕๖๑-๑๕๙๖ http://www.fisheries.go.th/it-gis/