770 likes | 2.53k Views
การสร้างข้อสอบอัตนัย. วิทยากร อ.ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส (ค.ด.การวัดและประเมินผลการศึกษา, จุฬาฯ) อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หลักการสร้างข้อสอบอัตนัย (สมพงษ์ พันธุรัตน์).
E N D
การสร้างข้อสอบอัตนัย วิทยากร อ.ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส (ค.ด.การวัดและประเมินผลการศึกษา, จุฬาฯ) อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักการสร้างข้อสอบอัตนัย (สมพงษ์ พันธุรัตน์) ข้อสอบอัตนัยมุ่งเน้นให้ ผู้สอบจะต้องเรียบเรียงความคิดและความรู้ เรียบเรียงภาษาผูกประโยคให้เป็นข้อความที่ชัดเจน เขียนเป็นคำตอบให้ตรงตามต้องการของคำถาม
ประเภทของข้อสอบอัตนัยประเภทของข้อสอบอัตนัย 1. แบบจำกัดคำตอบ (Restricted Response) 2. แบบขยายคำตอบ (Extended Response)
แบบจำกัดคำตอบ(Restricted Response)กำหนดของเขต แบบฟอร์ม เนื้อหาในการตอบคำถาม ตัวอย่างเช่น - จงอธิบายสาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 มา 3 ประการ • จงยกตัวอย่างการกระทำที่แสดงถึงความรักชาติมา 5 ข้อ ข้อดี • ตรวจง่าย • ลดปัญหาด้านความไม่คงเส้นคงวาของการให้คะแนน ข้อเสีย - ด้วยข้อจำกัดของการตอบ จึงทำให้การวัดความคิดขั้นสูงยังมีข้อจำกัด
แบบขยายคำตอบ/ไม่จำกัดคำตอบ(Extended Response) ตัวอย่างเช่น - จงอธิบายทฤษฎีกำเนิดชนชาติไทยมา 1 ทฤษฎี - จงอภิปรายเกี่ยวกับการสอนแบบบรรยายกับการสอนแบบ สืบสวน โดยให้บอกถึงหลักสำคัญที่ใช้ในการสอนแต่ละวิธี และข้อดี- ข้อเสีย ของการสอนทั้งสองแบบ ข้อดี - ผู้สอบมีอิสระในการตอบ และสามารถวัดการคิดขั้นสูงได้ ข้อเสีย - ยังมีปัญหาในเรื่องความคงเส้นคงวาของการตรวจให้คะแนน
ข้อดีของข้อสอบอัตนัย • เหมาะสมที่จะวัดความคิดขั้นสูง • สร้างง่าย และรวดเร็ว • ส่งเสริมทักษะการเขียน • ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ วัดความสามารถ ในการบูรณาการความรู้ • ให้เสรีภาพแก่ผู้ตอบ • เดาไม่ได้ • ประหยัดค่าใช้จ่าย • ลดการทุจริตในการสอบ • ข้อจำกัดของข้อสอบอัตนัย • ถามได้ไม่คลุมเนื้อหา สุ่มเนื้อหาที่จะวัดได้จำกัด ถามได้น้อยข้อ • มีความไม่ยุติธรรมในการตรวจ • เสียเวลาในการตรวจ
ควรใช้ข้อสอบอัตนัยเมื่อไหร่จึงจะได้ผลดีควรใช้ข้อสอบอัตนัยเมื่อไหร่จึงจะได้ผลดี • จำนวนผู้เข้าสอบพอเหมาะ และไม่นำข้อสอบมาใช้อีก • ผู้สอนต้องการพัฒนาทักษะด้านการเขียนของผู้เรียน • ผู้สอนให้ความสำคัญกับทัศนคติ แนวคิด ข้อคิดเห็น และคำอธิบายของผู้เรียน • ผู้สอนมีความมั่นใจในความสามารถของตนในการอ่าน และตรวจข้อสอบอย่างเป็นธรรม • ผู้สอนมีเวลาเตรียมและออกข้อสอบไม่มากนัก
ข้อเสนอแนะในการเขียนข้อสอบอัตนัยข้อเสนอแนะในการเขียนข้อสอบอัตนัย • ควรใช้วัดความคิดระดับสูง • ควรกำหนดขอบเขตของปัญหา / สถานการณ์ • ควรเป็นปัญหา / สถานการณ์ใหม่ และเป็นจริง • ควรเขียนคำแนะนำในการตอบให้ชัดเจน • ควรให้ทำทุกข้อ ไม่ควรให้เลือกตอบบางข้อ • ควรเขียนคำเฉลยพร้อมกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละข้อ
ลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูงลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูง 3.00 การนำไปใช้ - ให้วางแผนแก้ปัญหา , โจทย์แก้ปัญหา - ให้ประยุกต์หลักการ หรือทฤษฎีกับสถานการณ์ - ให้ยกตัวอย่าง หรือแสดงตัวอย่าง - ให้จัดรวบรวมความคิดใหม่ให้สมบูรณ์ - ให้พิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุดและระบุเหตุผล
ลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูงลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูง 4.00 การวิเคราะห์ - ให้เปรียบเทียบหรือระบุความแตกต่าง - ให้แสดงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล - ให้เหตุผลต่อเหตุการณ์ที่เป็นการตัดสินอย่างใด อย่างหนึ่ง - ให้ระบุสาเหตุที่สำคัญของเรื่อง - ให้บรรยายความผิดพลาดของงาน
ลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูงลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูง 5.00 การสังเคราะห์ - ให้เขียนเรียงความ เขียนโคลง - ให้ออกแบบโครงงาน โครงการ - ให้วางแผนการทดลอง - ให้สร้างข้อสอบ - ให้อภิปรายประเด็นใดประเด็นหนึ่ง - ให้ตั้งประเด็นใหม่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูงลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูง 6.00 การประเมินผล - ให้ตัดสินคุณค่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเทียบกับเกณฑ์ - ให้ตรวจสอบความบกพร่องของกระบวนการ - ให้วิจารณ์ความถูกต้อง ความเหมาะสมของข้อมูล หรือสถานการณ์ - ให้ประเมินคุณค่าของผลงาน
ข้อเสนอแนะในการตรวจข้อสอบอัตนัยข้อเสนอแนะในการตรวจข้อสอบอัตนัย 1. ควรเฉลยคำตอบ พร้อมเกณฑ์การให้คะแนนไว้ก่อน 2. ควรอ่านคำตอบทุกคนคร่าวๆ ก่อน อย่างน้อยหนึ่งรอบ 3. ปรับคำเฉลย และเกณฑ์การให้คะแนนให้รับกับคำตอบ 4. การตรวจคำตอบ - Scoring Rubric เป็นเกณฑ์การให้คะแนนที่มีคำอธิบายพฤติกรรม ในแต่ละระดับของผลสัมฤทธิ์ มี 2 ลักษณะ คือ 1) Holistic Rubric คือ การให้คะแนนในภาพรวม 2) Analytic Rubric คือ การให้คะแนนตามองค์ประกอบย่อย - Benchmarks เป็นตัวอย่างคำตอบที่ใช้เสริม Rubric Scoring เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมว่า ตอบอย่างไรจะได้คะแนนเท่าไร
ข้อเสนอแนะในการตรวจข้อสอบอัตนัยข้อเสนอแนะในการตรวจข้อสอบอัตนัย 5. ควรตรวจคำตอบทีละข้อไปจนครบทุกคน 6. เมื่อจะตรวจข้อต่อไป ควรสลับกระดาษคำตอบ 7. ควรมีการตรวจทานคะแนนอีกครั้ง โดยเฉพาะคนต้น ๆ และ คนท้าย ๆ 8. บันทึกข้อผิดพลาดของผู้ตอบ เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุง การสอนต่อไป
การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบอัตนัย 1. คำถามตรงตามระดับพฤติกรรมที่ต้องการวัด 2. คำถามผู้ตอบต้องใช้ความคิด ไม่ใช่สิ่งที่บอกหรือ อภิปราย ในชั้น หรือในตำรา 3. คำถามชัดเจนมีรายละเอียด และเงื่อนไขพอเพียง 4. เป็นคำถามที่มีคำตอบถูกต้องสมเหตุสมผล 5. บอกคะแนนเต็มของแต่ละข้อ 6. มีคำเฉลย / แนวคำตอบ พร้อมระบุเกณฑ์การให้คะแนน
เกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วน (Analytic Rubric) • แนวทางการให้คะแนนโดยพิจารณาจากแต่ละส่วนของงาน ซึ่งแต่ละส่วนจะต้องกำหนดแนวทางการให้คะแนนโดยมีคำนิยามหรือคำอธิบายลักษณะของงานในส่วนนั้นๆ ในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน และกำหนดน้ำหนักคะแนนของแต่ละส่วนแยกจากกัน มีประโยชน์ในการประเมินสิ่งที่คาดหวังจากงานเป็นด้านๆ และทำให้รู้ว่าต้องแก้ไขปรับปรุงจุดใด
ตัวอย่าง 1 กำหนดให้นักเรียนศึกษาว่ากระดาษทิชชู 3 ยี่ห้อ ยี่ห้อไหนจะซับน้ำได้ดีที่สุด โดยให้อุปกรณ์การทดลองประกอบด้วย หลอดแก้ว ถาด หลอดหยด และตาชั่ง เกณฑ์การให้คะแนนจะพิจารณาวิธีการ การทำให้อิ่มตัว การพิจารณาผล การชั่ง และการสรุปผล คะแนน วิธีการ การทำให้อิ่มตัว การพิจารณาผล การชั่ง ผล 4 ถูก ถูก ถูก ถูก ถูก 3 ถูก ถูก ถูก ผิด ถูก/ผิด 2 ถูก ถูก คลาดเคลื่อน ผิด ถูก/ผิด 1 ถูก ผิด คลาดเคลื่อน ผิด ถูก/ผิด 0 ไม่ได้ปฏิบัติเลย/ปฏิบัติผิดหมด
ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินการเขียนเรียงความตัวอย่างเกณฑ์การประเมินการเขียนเรียงความ แบบแยกประเด็น (Analytic Rubrics)
สรุปผลการประเมิน • ระดับคุณภาพ • ดีมาก 14 – 16 คะแนน • ดี 11 – 13 คะแนน • พอใช้ 8 – 10 คะแนน • ควรปรับปรุง 1 – 7 คะแนน
ตัวอย่างเกณฑ์การตรวจให้คะแนนการเขียนคล่องตัวอย่างเกณฑ์การตรวจให้คะแนนการเขียนคล่อง
ตัวอย่างเกณฑ์การตรวจให้คะแนนความสามารถด้านการคิดแก้โจทย์ปัญหาตัวอย่างเกณฑ์การตรวจให้คะแนนความสามารถด้านการคิดแก้โจทย์ปัญหา
เกณฑ์การประเมินในภาพรวม(Holistic Rubric) • แนวทางการให้คะแนน โดยพิจารณาจากภาพรวมของชิ้นงาน โดยจะมีคำอธิบายลักษณะของงานในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจนมีประโยชน์ในการใช้ประเมินการปฏิบัติงานที่มีกระบวนการซับซ้อนมากๆ เกินกว่าจะแยกแยะเป็นด้านต่างๆ ได้
ตัวอย่าง 2 กระดาษขนาด 8 x 12 นิ้ว ต้องการทำเป็นกล่องสี่เหลี่ยมไม่มีฝา โดยตัด มุมทั้ง 4 ออกให้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่มีด้านเป็นจำนวนเต็มของนิ้ว ควรจะ ตัดออกด้านละกี่นิ้ว โดยให้กล่องมีปริมาตรมากที่สุด เกณฑ์การให้คะแนน 4 - คำตอบถูก แสดงเหตุผลถูกต้อง แนวคิดชัดเจน 3 - คำตอบถูก เหตุผลถูกต้อง อาจมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย 2 - เหตุผลหรือการคำนวณผิดพลาด แต่มีแนวทางที่จะนำไปสู่คำตอบ 1 - แสดงวิธีคิดเล็กน้อยแต่ยังไม่ได้คำตอบ 0 - ไม่ตอบหรือตอบไม่ถูกเลย
ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินการเขียนเรียงความตัวอย่างเกณฑ์การประเมินการเขียนเรียงความ แบบภาพรวม (Holistic Rubrics)
เทคนิคการเขียนคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับเทคนิคการเขียนคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับ เทคนิควิธีที่ 1 กำหนดรายละเอียดขั้นต่ำไว้ที่ระดับ 1 แล้วเพิ่มลักษณะสำคัญๆ สูงขึ้นมาทีละระดับ เช่น การประเมินทักษะการเขียน ในองค์ประกอบด้าน “เนื้อหา” สามารถกำหนดได้ดังนี้ ระดับที่ 1 เนื้อหาที่เขียนสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ระดับที่ 2 เนื้อหาที่เขียนสอดคล้องกับเนื้อเรื่องและลำดับเรื่องได้ไม่วกวน ระดับที่ 3 เนื้อหาที่เขียนสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ลำดับเรื่องได้ชัดเจน สอดแทรกสาระบางอย่าง ทำให้เรื่องน่าสนใจและอ่านแล้วเกิดจินตนาการ
เทคนิคการเขียนคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับเทคนิคการเขียนคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับ เทคนิควิธีที่ 2 กำหนดตัวแปรย่อยที่มีน้ำหนักเท่ากันทุกตัว แล้วระบุว่าตัวแปรหายไปเท่าไร ระดับคะแนนก็ลดหลั่นตามลำดับ เช่น การประเมินการจัดทำรายงาน อาจมีประเด็นของรูปแบบที่ต้องมี ปก คำนำ สารบัญ การอ้างอิง และบรรณานุกรม โดยอาจกำหนดเกณฑ์การประเมินในด้าน “รูปแบบ” ของการเขียนรายงานได้ดังนี้ ระดับ 4 มีครบ คือ ปก คำนำ สารบัญ การอ้างอิง บรรณานุกรม ระดับ 3 ขาด 1 ลักษณะ ระดับ 2 ขาด 2 ลักษณะ ระดับ 1 ขาด 3 ลักษณะ
เทคนิคการเขียนคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับเทคนิคการเขียนคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับ เทคนิควิธีที่ 3 การเขียนรายละเอียดในเชิงปริมาณ เช่น “การใช้ภาษา” ระดับ 1 ภาษาผิดพลาดไม่เกิน 50 % แต่ยังสื่อความหมายได้ ระดับ 2 ภาษาถูกต้อง 50 – 70 % และสื่อความหมายได้ ระดับ 3 ภาษาถูกต้อง 70 – 90 % เชื่อมโยงภาษาได้ดี ระดับ 4 ภาษาถูกต้อง 90 – 100 % ภาษาสละสลวย
เด็กชาย B เด็กชาย A “ชุมชนสุขภาพดี”
แบบเขียนข้อสอบอัตนัย วิชา...........................................................................เลขที่ข้อสอบ มาตรฐานที่/ตัวชี้วัด…………….................................................................................................เนื้อหา........................................................ รูปแบบข้อสอบ จำกัดคำตอบ (Restricted Response) ขยายคำตอบ (Extended Response) ระดับพฤติกรรมที่วัด ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การประเมินค่า การสร้างสรรค์ โจทย์หรือคำถาม ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… แนวคำตอบ (เฉลย) ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… เกณฑ์การตรวจให้คะแนน Holistic Rubric Analytic Rubric ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ผู้เขียนข้อสอบ......................................... ผู้ตรวจคุณภาพข้อสอบ................................................. (..............................................................) (..............................................................)
เพื่ออนาคตของเด็กไทย ร่วมใจกันพัฒนาคุณภาพการศึกษา